ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดีปลี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink: คอมมอนส์
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 44: บรรทัด 44:
[[หมวดหมู่:เครื่องเทศ]]
[[หมวดหมู่:เครื่องเทศ]]
{{โครงพืช}}
{{โครงพืช}}

[[de:Langer Pfeffer]]
[[dv:ވަކިފޫ]]
[[en:Long pepper]]
[[es:Piper longum]]
[[fi:Pitkäpippuri]]
[[fr:Poivrier long]]
[[id:Cabe jawa]]
[[it:Piper longum]]
[[ja:ヒハツ]]
[[map-bms:Cabe jawa]]
[[ml:തിപ്പലി]]
[[ne:पिपला]]
[[pl:Pieprz długi]]
[[pt:Pimenta-longa]]
[[ru:Перец длинный]]
[[tr:Uzun biber]]
[[vi:Tiêu lốt]]
[[zh:荜拔]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:00, 9 มีนาคม 2556

ดีปลี
ใบและผลของดีปลี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Magnoliids
อันดับ: Piperales
วงศ์: Piperaceae
สกุล: Piper
สปีชีส์: P.  longum
ชื่อทวินาม
Piper longum
L.

ดีปลี (Long Pepper) มีชื่อท้องถิ่นอื่นอีกคือ: ดีปลีเชือก (ภาคใต้) ประดงข้อ ปานนุ (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ดีปลีเป็นไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง ใบรูปไข่ โคนมน ปลายแหลม เป็นพืชใบเดี่ยว คล้ายใบย่านางแต่ผิวใบมันกว่า บางกว่าเล็กน้อย ดอกเป็นรูปทรงกระบอกปลายมน เมื่อแก่จะมีผลเป็นสีแดง

การปลูกเลี้ยง

นิยมปลูกโดยการใช้เถา ชอบดินร่วนและอุดมสมบรูณ์ ทนแห้งแล้งได้ดี ฤดูที่เหมาะสมในการปลูกก็คือฤดูฝน เวลาปลูกใช้เถาที่ชำจนรากงอกแล้วปลูก แล้วทำเสาให้เลื้อย ควรดูแลเรื่องน้ำและศัตรูพืชด้วย ดีปลีเป็นสมุนไพรที่ใช้มากในอุตสาหกรรม ยาแผนโบราณประมาณ 5000 - 7000 กิโลกรัม/ปี ปลูกได้ดีในภาคกลางของประเทศไทย นับว่าเป็นพืชสมุนไพรตัวหนึ่งที่อยู่ในแผน พัฒนาเพื่อส่งเป็นสินค้าออก

ประโยชน์

ดีปลีตากแห้ง

ใช้ผลแก่แห้งเป็นยา โดยเก็บช่วงที่ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก ตากแดดให้แห้ง มีรสเผ็ดร้อน ขม มีสรรพคุณขับลม บำรุงธาตุ แก้จุกเสียด

ซึ่งจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ดีปลีแห้งประกอบด้วย " อัลคาลอยด์" ชื่อว่า Piperine ประมาณ 4 - 6% chavicine, น้ำมันระเหยหอม 1% ตามรายงานการศึกษาวิจัยพบว่า ดีปลีใช้ประกอบตำรับยาที่ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ท้องอืดเฟ้อ ธาตุไม่ปกติ ทั้งนี้เพราะดีปลีมีน้ำมันหอมระเหย

ผลแก่แห้งของดีปลี ใช้เป็นยารักษาอาการดังนี้ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และอาการปวดท้อง รวมทั้งแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ที่เกิดจากธาตุที่ไม่ปกติ โดยการใช้ผลแก่แห้ง 1 กำมือ (ประมาณ 10-15 ดอก) ต้มเอาน้ำมาดื่ม ถ้าไม่มีดอกก็ให้ใช้เถาต้มแทนได้อาการไอและมีเสมหะ ใช้ผลแก่แห้งประมาณครึ่งผล ฝนกับน้ำมะนาวผสมเกลือกวาดในลำคอหรือจิบบ่อยๆ

นอกจากนี้ ผลดีปลีแห้งสามารถใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหารต่างๆได้

อ้างอิง

  • ดีปลี สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
  • ลั่นทม ดอนจวบทรง ดีปลี ผักพื้นบ้าน(ภาคใต้). ทางเลือกในการผลิตและการบริโภค. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก,2537.
  • ดีปลี thaigoodview.com