ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซีเกมส์ 2007"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.buriram (คุย | ส่วนร่วม)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 268: บรรทัด 268:
[[หมวดหมู่:เทศกาลกีฬาในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:เทศกาลกีฬาในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:จังหวัดนครราชสีมา]]
[[หมวดหมู่:จังหวัดนครราชสีมา]]

[[de:Südostasienspiele 2007]]
[[en:2007 Southeast Asian Games]]
[[fr:Jeux d'Asie du Sud-Est de 2007]]
[[id:Pesta Olahraga Asia Tenggara 2007]]
[[km:ស៊ីហ្គេមលើកទី២៤]]
[[ko:2007년 동남아시아 경기 대회]]
[[ms:Sukan Asia Tenggara 2007]]
[[tl:Palaro ng Timog Silangang Asya 2007]]
[[vi:Đại hội Thể thao Đông Nam Á 2007]]
[[zh:2007年東南亞運動會]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:28, 9 มีนาคม 2556

การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 24
สัญลักษณ์การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 24
คำขวัญSPIRIT, FRIENDSHIP AND CELEBRATIONS
"สปิริต มิตรภาพ และ การเฉลิมฉลอง"
ประเทศเข้าร่วม11
นักกีฬาเข้าร่วม5,282 คน
กีฬา43 ชนิด
พิธีเปิด6 ธันวาคม พ.ศ. 2550
พิธีปิด15 ธันวาคม พ.ศ. 2550
ประธานพิธีสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร
ผู้จุดคบเพลิงอุดมพร พลศักดิ์
สนามกีฬาหลักสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

ซีเกมส์ 2007 เป็นการแข่งขันกีฬา ซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ซึ่งจัดขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 6 ถึง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 การจัดการแข่งขันครั้งนี้ ถือเป็นหนึ่งในการเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

กีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 24 ถือเป็นการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันครั้งที่ 6 ของประเทศไทย

สรุปเหรียญการแข่งขัน

 อันดับ  ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
1 ไทย 183 123 103 409
2 มาเลเซีย 68 52 96 216
3 เวียดนาม 64 58 82 204
4 อินโดนีเซีย 56 64 83 203
5 สิงคโปร์ 43 43 41 127
6 ฟิลิปปินส์ 41 91 96 228
7 พม่า 14 26 47 87
8 ลาว 5 7 32 44
9 กัมพูชา 2 5 11 18
10 บรูไน 1 1 4 6
11 ติมอร์-เลสเต 0 0 0 0
รวม 476 470 595 1542

สถานที่จัดการแข่งขัน

ไฟล์:Sea24-001.jpg
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550

จังหวัดหลักในการจัดการแข่งขันคือจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 ที่สร้างขึ้นใหม่เป็นสนามกีฬาหลักในการแข่งขัน นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันกีฬาหลายประเภทแยกย้ายกันไปจัดตามสนามกีฬาต่างๆ ในจังหวัดนครราชสีมา เช่น สนามกีฬาเทศบาลนคร นครราชสีมา สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หรือสนามกีฬาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นต้น[1]

การแข่งขันกีฬาบางประเภทจะใช้สนามของการกีฬาแห่งประเทศไทย ในกรุงเทพมหานคร และสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ 60 พรรษา จังหวัดปทุมธานี สำหรับกีฬาทางน้ำจะจัดแข่งขันที่เมืองพัทยา

ตราสัญลักษณ์

สัญลักษณ์การแข่งขัน ออกแบบโดย คุณประสิทธิ์ นุ่นสังข์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ออกแบบเป็นรูปทรงปราสาทหินพิมาย ของ จ.นครราชสีมา พร้อมรูปเรือใบ 3 ลำ สื่อความหมายในเรื่องของความก้าวหน้า การผสานวัฒนธรรม และ เทคโนโลยีของประเทศไทย ส่วนของใบเรือใบแรก ได้จัดวางสัญลักษณ์ห่วงวงกลมของสหพันธ์กีฬาซีเกมส์ สื่อถึงความสัมพันธ์ทางด้านการกีฬาของประชาชาติในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

รูปทรงปรางค์ของปราสาทหินพิมาย แสดงถึงความล้ำค่าของ จ.นครราชสีมาและความภาคภูมิใจ ของคนในจังหวัด ตราสัญลักษณ์นี้ ผู้ออกแบบยังได้แรงบันดาลใจ จากการเฉลิมฉลองโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2550 และการที่ปีนี้เป็นโอกาสครบรอบ 40 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชนะเลิศการแข่งขัน กีฬาเรือใบ ประเภท OK ในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง (ชื่อเดิมของกีฬาซีเกมส์) ในการแข่งขัน ครั้งที่ 4 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2510

สีเหลืองที่ใช้ เป็นสีของวันพระราชสมภพ (วันจันทร์) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การใช้สี เหลือง แดง และ น้ำเงิน ประกอบกันเพราะต่างก็เป็นแม่สีตามทฤษฎีสี สื่อความหมายถึงกีฬาของชาวเอเชียอาคเนย์ที่ก่อเกิด เอกภาพ สัมพันธภาพ และมิตรภาพที่ดีต่อกัน[2]

สัญลักษณ์นำโชค

ไฟล์:Mascot1.jpg
“แคน” สัตว์สัญลักษณ์นำโชคประจำการแข่งขันฯ

เป็นรูปแมวสีสวาดกำลังเป่าแคน มีผ้าขาวม้าสีสันสดใสแบบชาวอีสานคาดที่พุง และตราสัญลักษณ์ซีเกมส์ครั้งที่ 24 อยู่ที่แขนเสื้อ ออกแบบภาพตัวนำโชคโดย นายสะอาด จอมงาม ชาวจังหวัดเชียงใหม่

แมวสีสวาด มีถิ่นกำเนิดที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นจังหวัดหลักของการแข่งขันครั้งนี้ ชาวไทยเชื่อกันว่า เป็นสัตว์ที่แสดงถึงความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ นำโชคลาภ และความเป็นสิริมงคล มาสู่ผู้เลี้ยงดูและผู้พบเห็น นอกจากนี้ ยังแสดงถึงเอกลักษณ์ไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

สำหรับชื่อของแมวสัญลักษณ์นำโชคเพศผู้ตัวนี้ มีชื่อว่า “แคน” (อังกฤษ: CAN) แปลว่า ความสามารถ สื่อความหมายถึง การส่งแรงใจให้นักกีฬาทุกชาติที่ร่วมแข่งขัน ให้สามารถคว้าเหรียญทองได้สำเร็จ ถือเป็นชื่อสั้น ออกเสียงง่าย อีกทั้งพ้องเสียงกับชื่อเครื่องดนตรีประจำภาคอีสานด้วย สำหรับผู้ตั้งชื่อสัญลักษณ์นำโชคตัวนี้ คือ เด็กหญิงปิยะธิดา ศรีวิมล อายุ 8 ปี ชาวจังหวัดนนทบุรี[3]

เพลงประจำการแข่งขัน

นายมนต์ชีพ ศิวะสินางกูร หรือ ครูเป็ด นักแต่งเพลงชื่อดัง ได้แต่งเพลงที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 นี้ มีทั้งหมด 3 เพลง คือ

  • Rythm of the winner

เนื้อหาของเพลงมีจังหวะสนุกสนาน คล้ายกับจังหวะแซมบ้าของบราซิล ที่มีจังหวะเร้าใจ เพื่อกระตุ้นคนดูให้เกิดความสนใจ ไม่ว่าคุณจะมาจากไหน ไม่ว่าผู้ชนะจะเป็นใคร แต่ขอให้คุณชนะใจตัวเองก็สามารถเป็นที่ 1 ได้

  • We are the Water

ใช้ในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 เนื้อหาของเพลงใช้น้ำ เป็นสื่อในการเปรียบเทียบ ว่าน้ำไม่มีการแบ่งแยก ไม่ว่าจะเป็น น้ำทะเล น้ำฝน หรือ น้ำคลอง แต่น้ำก็ยังสามารถมารวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกทั้งน้ำ ยังให้คุณประโยชน์หลายอย่างมากมาย

  • Friendship Card

เป็นเพลงที่มีจังหวะช้า และใช้เครื่องดนตรีน้อยลง เพลงนี้จะใช้เป็นของขวัญมอบให้กับนักกีฬาที่เราชื่นชอบ เพื่อสื่อถึงมิตรภาพ ซึ่งจะใช้ในพิธีปิดการแข่งขันวันที่ 16 ธันวาคม


เนื้อร้องภาษาไทย
ได้ยินไหม... เสียงที่ดังกังวานและเร่งเร้า
เสียงที่ทำให้ใจ และวิญญาณของพวกเราถูกปลุกขึ้นมา
(*) อยู่ตรงนี้...เต้นไปตามทำนองแห่งศักดิ์ศรี
นักกีฬาจะครองเวที ท่ามกลางสายตาคนทั้งโลก


(**) ไม่สำคัญว่าที่หนึ่งจะเป็นใคร แต่ว่าใจเรามุ่งมั่น และศรัทธา
และทุกคนมีจังหวะแห่งชัยชนะ ในใจของเรา


(***) นี่คือ Rhythm of the winner ที่เป็นของเธอ และฉัน
นี่คือ Rhythm of the winner ที่ทำให้เราทุกคนเต้นไปด้วยกัน


จับมือไว้ ไม่ว่าเธอจะมาจากที่ไหน
ขอเพียงตัวเราเองได้ภูมิใจที่เราทุกคน คือนักสู้ (*),(**),(***)


ไม่สำคัญว่าที่หนึ่งจะเป็นใคร แต่ว่าใจเรามุ่งมั่น และศรัทธา
และทุกคนมีจังหวะแห่งชัยชนะ ในใจของเรา
นี่คือ Rhythm of the winner ที่เป็นของเธอ และฉัน
นี่คือ Rhythm of the winner ที่ทำให้เราทุกคนเต้นไปด้วยกัน ...Rhythm of the winner(ซ้ำ)


Lyric English version


Can you hear it, Voice that’s calling from your spirit.
Voice that cheers and excites us all to this mantra.


To be right here, dancing strong moving along with our pride.
Each to try with all the best he can for the world to witness him.


Shining bright with a dedication, growing stronger even if you don’t win.
Everybody shares the very same rhythm in his heart.


Sharing rhythm of the winner that is yours and is mine.
Sharing rhythm of the winner that wakes us up all to share this dance.


Hold our hands doesn’t matter where you may come from.
Celebrate together out loud the victory of our sports.


ชนิดกีฬา

ผลสรุปล่าสุดจากการประชุมของมนตรีซีเกมส์มีความเห็นว่าจะจัดการแข่งขัน 43 ชนิดกีฬา 485 เหรียญทอง ดังนี้[4]

ชนิดกีฬา จำนวนเหรียญทอง
กรีฑา 45
ว่ายน้ำ 43
ยิงธนู 8
แบดมินตัน 7
บาสเกตบอล 2
เบสบอล 1
บิลเลียด-สนุ้กเกอร์ 13
โบว์ลิ่ง 11
มวยสากลสมัครเล่น 17
เรือแคนู 12
เรือพาย 11
จักรยาน 19
ขี่ม้า 6
ขี่ม้าโปโล 1
ฟันดาบ 12
ฟุตบอล 4
กอล์ฟ 4
ยิมนาสติก 25
แฮนด์บอล 2
ฮอกกี้ 2
ยูโด 16
คาราเต้-โด 18
รักบี้ฟุตบอล 2
สควอซ 2
เรือใบ-วินด์เซิร์ฟ 18
ตะกร้อ 8
ยิงปืน-ยิงเป้าบิน 38
ซอฟต์บอล 2
เทเบิลเทนนิส 7
เทควันโด 16
เทนนิส 7
ไตรกีฬา 4
วอลเลย์บอล 4
ยกน้ำหนัก 15
มวยปล้ำ 9
วูซู 14
เพาะกาย 5
ลีลาศ 10
ลอนโบวล์ส 6
มวยไทย 12
เปตอง 9
ปันจักสีลัต 14
เรือประเพณี 4

ผู้สนับสนุน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ซีเกมส์ 2007 ถัดไป
ซีเกมส์ 2005
(ประเทศฟิลิปปินส์)
ไฟล์:Seagf.png
การแข่งขันกีฬาซีเกมส์
(6 - 15 ธันวาคม ค.ศ. 2007)
ซีเกมส์ 2009
(เวียงจันทน์, ประเทศลาว)