ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จำนวนฟีโบนัชชี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 119: บรรทัด 119:


[[ar:عدد فيبوناتشي]]
[[ar:عدد فيبوناتشي]]
[[az:Fibonaççi ədədləri]]
[[bg:Числа на Фибоначи]]
[[bn:ফিবোনাচ্চি রাশিমালা]]
[[bs:Fibonaccijev broj]]
[[ca:Successió de Fibonacci]]
[[cs:Fibonacciho posloupnost]]
[[da:Fibonacci-tal]]
[[de:Fibonacci-Folge]]
[[el:Ακολουθία Φιμπονάτσι]]
[[en:Fibonacci number]]
[[eo:Fibonaĉi-nombro]]
[[es:Sucesión de Fibonacci]]
[[et:Fibonacci jada]]
[[eu:Fibonacciren zenbakiak]]
[[fa:اعداد فیبوناچی]]
[[fi:Fibonaccin lukujono]]
[[fr:Suite de Fibonacci]]
[[ga:Seicheamh Fibonacci]]
[[gv:Straih Fibonacci]]
[[he:סדרת פיבונאצ'י]]
[[hi:हेमचन्द्र श्रेणी]]
[[hr:Fibonaccijev broj]]
[[hu:Fibonacci-számok]]
[[hy:Ֆիբոնաչիի թվեր]]
[[id:Bilangan Fibonacci]]
[[is:Fibonacci-runa]]
[[it:Successione di Fibonacci]]
[[ja:フィボナッチ数]]
[[kaa:Fibonachchi sanları]]
[[kk:Фибоначчи сандары]]
[[ko:피보나치 수]]
[[la:Numeri Fibonacciani]]
[[lt:Fibonačio skaičius]]
[[lv:Fibonači skaitļi]]
[[mk:Фибоначиева низа]]
[[ml:ഫിബനാച്ചി ശ്രേണി]]
[[mn:Фибоначчийн тоо]]
[[ms:Bilangan Fibonacci]]
[[nl:Rij van Fibonacci]]
[[nn:Fibonaccifølgja]]
[[no:Fibonaccitall]]
[[pl:Ciąg Fibonacciego]]
[[pms:Sequensa ëd Fibonacci]]
[[pt:Número de Fibonacci]]
[[ro:Numerele Fibonacci]]
[[ru:Числа Фибоначчи]]
[[scn:Succissioni di Fibonacci]]
[[si:ෆිබොනාච්චි සංඛ්‍යා]]
[[simple:Fibonacci number]]
[[sk:Fibonacciho postupnosť]]
[[sl:Fibonaccijevo število]]
[[sq:Numrat e Fibonaccit]]
[[sr:Фибоначијев низ]]
[[sv:Fibonaccital]]
[[ta:ஃபிபனாச்சி எண்கள்]]
[[tl:Bilang Fibonacci]]
[[tr:Fibonacci dizisi]]
[[uk:Послідовність Фібоначчі]]
[[uz:Fibonachchi sonlari]]
[[vi:Dãy Fibonacci]]
[[vls:Reke van Fibonacci]]
[[war:Ihap Fibonacci]]
[[zh:斐波那契数列]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:05, 9 มีนาคม 2556

การจัดเรียงสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความยาวด้านเท่ากับจำนวนฟีโบนัชชี

จำนวนฟีโบนัชชี หรือ เลขฟีโบนัชชี (อังกฤษ: Fibonacci number) คือจำนวนต่าง ๆ ที่อยู่ในลำดับจำนวนเต็มดังต่อไปนี้

0, 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, 233, 377, 610, 987, 1597, 2584, 4181, 6765, 10946 ... (ลำดับ OEISA000045)

โดยมีนิยามของความสัมพันธ์ว่า จำนวนถัดไปเท่ากับผลบวกของจำนวนสองจำนวนก่อนหน้า และสองจำนวนแรกก็คือ 0 และ 1 ตามลำดับ และลำดับของจำนวนดังกล่าวก็จะเรียกว่า ลำดับฟีโบนัชชี (อังกฤษ: Fibonacci sequence)

หากเขียนให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ ลำดับ Fn ของจำนวนฟีโบนัชชีนิยามขึ้นด้วยความสัมพันธ์เวียนเกิดดังนี้

โดยกำหนดค่าเริ่มแรกให้ [1]

ชื่อของจำนวนฟีโบนัชชีตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ เลโอนาร์โดแห่งปีซา (Leonardo de Pisa) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามฟีโบนัชชี (Fibonacci) ผู้ค้นพบจำนวนฟีโบนัชชีในต้นศตวรรษที่ 13

รูปปิด

เนื่องจากลำดับฟีโบนัชชีเป็นลำดับที่นิยามด้วยความสัมพันธ์เวียนบังเกิดเชิงเส้น เราจึงสามารถหารูปปิดของจำนวนฟีโบนัชชีได้ โดยสมการแสดงรูปปิดของจำนวนฟีโบนัชชี มีชื่อเรียกว่า สูตรของบิเนต์ มีดังต่อไปนี้

โดย เป็นตัวเลขที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าอัตราส่วนทองคำ

การพิสูจน์:

พิจารณาสมการพหุนาม เมื่อคูณทั้งสองข้างด้วย เราได้ว่า

ผลเฉลยของสมการ ได้แก่ และ ดังนั้น

= และ
=

พิจารณาฟังก์ชัน

เมื่อ และ เป็นจำนวนจริงใดๆ

เราได้ว่าฟังก์ชันเหล่านี้สอดคล้องกับความสัมพันธ์เวียนบังเกิดที่ใช้นิยมเลขฟีโบนัชชี

เลือก and เราได้ว่า

และ

เราสามารถใช้ข้อความนี้เป็นฐานของการพิสูจน์แบบอุปนัยเชิงคณิตศาสตร์ของข้อความ และใช้เอกลักษณ์ของ พิสูจน์กรณีอุปนัยได้ เราจึงสามารถสรุปว่า

สำหรับจำนวนเต็มที่ไม่เป็นลบ ทุกตัว

เนื่องจาก สำหรับทุกๆ เราจึงได้ว่า จึงเป็นจำนวนเต็มที่ใกล้ ที่สุด หรือเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์โดยใช้ฟังก์ชันพื้น (floor function) ได้ว่า

ความสัมพันธ์กับอัตราส่วนทองคำ

โยฮันน์ เคปเลอร์ ค้นพบว่าอัตราส่วนของจำนวนฟีโบนัชชีที่ติดกันลู่เข้าสู่อัตราส่วนทองคำ กล่าวคือ

ลู่เข้าสู่อัตราส่วนทองคำ

การพิสูจน์:

สำหรับจำนวนจริง เราได้ว่า

,

เนื่องจาก ดังนั้น

เนื่องจากจำนวนฟีโบนัชชีคือ เมื่อ และ ลิมิตของอัตราส่วนของเลขฟีโบนัชชีที่ติดกันจึงสอดคล้องกับสมการข้างบนด้วย

ลำดับฟิโบนัชชีในธรรมชาติ

สิ่งที่ปรากฏตามธรรมชาติมิได้มีแต่รูปร่างง่ายๆ เท่านั้น บางอย่างมีรูปร่างที่มีแบบแผนทางคณิตศาสตร์ที่ยุ่งยากขึ้นไปอีก ตัวอย่างที่น่าสนใจของธรรมชาติที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ คณิตศาสตร์ชั้นสูง ได้แก่ เส้นโค้งก้นหอย ซึ่งมีคุณสมบัติว่า ถ้าลากเส้นตรงจากจุดหลายของเกลียวข้างในสุดไปตัดกับเส้นโค้งแล้ว มุมที่เกิดจากเส้นตรงนั้นกับเส้นสัมผัสกับเส้นโค้ง ณ จุดตัดจะเท่ากันเสมอดังรูป มุม A = มุม B = มุม C เส้นโคังที่มีลักษณะเป็นก้นหอยจะพบได้ในหอยบางชนิด เช่น หอยทาก

นอกจากนี้ยังมีความโค้งของงาช้าง ความโค้งของเกสรดอกทานตะวัน ตาสับปะรดและตาลูกสน ก็มีลักษณะคล้ายส่วนของเส้นโค้งก้นหอยด้วย ยังมีเรื่องที่น่าสนใจในธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อีก จากการศึกษาเส้นโค้งของตาลูกสน ตาสับปะรด และเกสรดอกทานตะวัน จะเห็นว่าเส้นโค้งที่หมุนตามเข็มนาฬิกาของตาลูกสนมีจำนวน 5 เส้น และหมุนทวนเข็มนาฬิกามีจำนวน 3 เส้น หรืออาจกล่าวได้ว่า จำนวนเส้นโค้งสองแบบมีอัตราส่วนเป็น 5 ต่อ 8 สำหรับตาสับปะรด เส้นโค้งตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา มีอัตราส่วนเป็น 8 ต่อ 13 เส้นโค้งที่เกิดจากเกสรดอกทานตะวันตามเข็มนาฬิกา และทวนเข็มนาฬิกามีอัตราส่วนเป็น 21 ต่อ 34 ปรากฏการณ์นี้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของเลขฟีโบนัชชี

การนำไปใช้

จำนวนฟีโบนัชชีมีความสำคัญในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของยูคลีเดียนอัลกอริทึมซึ่งใช้ในการหาตัวหารร่วมมากของจำนวนเต็มสองจำนวน โดยยูคลิเดียนอัลกอริทึมจะทำงานได้ช้าที่สุดถ้าข้อมูลเข้าเป็นจำนวนฟีโบนัชชีสองตัวที่ติดกัน

ยูริ มาทิยาเซวิช พิสูจน์ได้ว่าจำนวนฟีโบนัชชีมีนิยามในรูปของผลเฉลยของสมการไดโอแฟนไทน์ ซึ่งความจริงข้อนี้นำไปสู่การแก้ปัญหาข้อที่ 10 ของฮิลแบร์ท

จำนวนเต็มทุกจำนวนสามารถเขียนอยู่ในรูปของผลบวกของจำนวนฟีโบนัชชีที่ไม่ติดกินได้เพียงแบบเดียวเท่านั้น ความจริงข้อนี้เป็นที่รู้จักกันในนามทฤษฎีบทของเซคเคนดอร์ฟ การเขียนจำนวนเต็มในรูปดังกล่าวเรียกว่า การนำเสนอแบบเซคเคนดอร์ฟ

ตัวกำเนิดจำนวนสุ่มเทียมบางตัวใช้จำนวนฟีโบนัชชีเป็นเครื่องมือในการสร้างเลขสุ่ม

จำนวนฟีโบนัชชีถูกใช้กำหนดความยาวของส่วนประกอบต่างๆ ของงานศิลปะ และถูกใช้ในการเทียบเสียงเครื่องดนตรี ผลงานเพลงที่มีความเกี่ยวข้องกับจำนวนฟีโบนัชชี ได้แก่ เพลงสำหรับเครื่องสาย เครื่องประกอบจังหวะ และซีเลสตา ของ เบลา บาท็อก, และเพลงแลเทอราทัส ของวงทูล ซึ่งมีจำนวนพยางค์ในวรรคของเนื้อร้องเท่ากับจำนวนฟีโบนัชชี ("Black/Then/White are/All I see/In my infancy/Red and yellow then came to be")

อ้างอิง

  1. Lucas p. 3
  • Ball, Keith M. (2003). "Chapter 8: Fibonacci's Rabbits Revisited". Strange Curves, Counting Rabbits, and Other Mathematical Explorations. Princeton University Press. ISBN 0691113211.
  • Lucas, Édouard (1891). Théorie des nombres. Vol. 1. Gauthier-Villars.