ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บริติชแอร์เวย์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
Jirutsunbg (คุย | ส่วนร่วม)
บริติช แอร์เวย์ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น บริติชแอร์เวย์ ทับหน้าเปลี่ยนทาง: เปลี่ยนชื่อภาษาอั�
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:42, 1 เมษายน 2550

บริติช แอร์เวย์
ไฟล์:British Airways logo.png
IATA ICAO รหัสเรียก
BA BAW
SHT
XMS
SPEEDBIRD
SHUTTLE
SANTA
ก่อตั้งพ.ศ. 2467 (ในชื่อ อิมพีเรียลแอร์เวย์)
ท่าหลักท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์
ท่าอากาศยานลอนดอนแกตวิค
เมืองสำคัญท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์
สะสมไมล์Executive Club
พันธมิตรการบินวันเวิลด์
ขนาดฝูงบิน234 (+19 กำลังสั่งซื้อ)
จุดหมาย222
บริษัทแม่บมจ. บริติช แอร์เวย์
สำนักงานใหญ่วอเตอร์ไซด์, ฮาร์มอนด์เวิร์ธ, สหราชอาณาจักร
บุคลากรหลักWillie Walsh (ประธานบริหาร)
เว็บไซต์www.britishairways.com

บริติช แอร์เวย์ (LSE: BAY, NYSE: BAB) (อังกฤษ: British Airways) เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของสหราชอาณาจักร และเป็นลำดับที่สามของทวีปยุโรป (ตามหลัง แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม และ ลุฟต์ฮันซา) และมีเที่ยวบินจากยุโรปข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมากกว่าสายการบินอื่นๆ

ท่าอากาศยานหลักของบริติชแอร์เวย์ คือ ลอนดอนฮีทโธรว์ และ ลอนดอนแกตวิค

ประวัติ

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2462 บริษัท Aircraft Transport and Travel (AT&T) เริ่มเปิดบริการเที่ยวบินระหว่างประเทศระหว่างกรุงลอนดอนกับกรุงปารีส จนกระทั่งในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2467 สายการบินสัญชาติอังกฤษ 4 ราย Instone, Handley Page, Daimler Airways [เปลี่ยนมาจาก AT&T] และ British Air Marine Navigation ควบรวมกิจการเข้าด้วยกันเป็นอิมพีเรียล แอร์เวย์ (Imperial Airways) ให้บริการเส้นทางจากอังกฤษไปยัง ออสเตรเลีย และแอฟริกา

ในระหว่างนั้นสายการบินขนาดเล็กอื่นๆ ของอังกฤษ ก็เริ่มเปิดให้บริการบ้าง และต่อมาก็ได้ควบรวมกิจการในปี พ.ศ. 2478 เข้าเป็น บริติช แอร์เวย์ จำกัด (British Airways Ltd.) หลังจากนั้นไม่นานรัฐบาลอังกฤษจึงได้แปรรูปกิจการ อิมพีเรียล แอร์เวย์ และ บริติช แอร์เวย์ จำกัด เข้ามาเป็นรัฐวิสาหกิจ บริติช โอเวอร์ซี แอร์เวย์ คอร์ปปอเรชั่น (British Overseas Airways Corporation: BOAC) ในปีพ.ศ. 2482 จนใช่วงหลังสงครามโลก BOAC ยังคงให้บริการเส้นทางบินระยะไกลอยู่ ยกเว้นเส้นทางไปอเมริกาใต้ ที่ให้บริการโดย บริติช เซาท์ อเมริกัน แอร์เวย์ (British South American Airways) ซึ่งก็ได้ยุบรวมเข้ากับ BOAC ในปีพ.ศ. 2492 ส่วนในเส้นทางภายประเทศและเส้นทางระหว่างประเทศในทวีปยุโรป ให้บริการโดยสายการบินแห่งใหม่ บริติช ยูโรเปียน แอร์เวย์ (British European Airways: BEA)

ในปี พ.ศ. 2495 BOAC ให้บริการด้วยเครื่อง De Havilland Comet ไปยังโจฮานเนสเบิร์ก ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางได้ และมีบริการจัดเที่ยวบินพิเศษทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการบิน BEA จึงต้องสู้ด้วยการตั้ง BEA Airtours ในปีพ.ศ. 2513 จนกระทั่งปีพ.ศ. 2515 BOAC และ BEA ก็ควบรวมการบริหารโดยตั้งกรรมการบริติช แอร์เวย์ (British Aiways Board) เข้ามาดูแลแต่ยังแยกกันดำเนินกิจการ ก่อนที่จะยุบรวมเข้าเป็นสายการบินเดียวกันคือ บริติช แอร์เวย์ ในปีพ.ศ. 2517 ภายใต้การดูแลของเดวิด นิโคลสัน ประธานกรรมการในขณะนั้น

บริติช แอร์เวย์ เริ่มให้บริการเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงครั้งแรกของโลก คองคอร์ด ไปพร้อมๆกับสายการบินแอร์ฟรานซ์ ในปีพ.ศ. 2519

การแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจเป็นเอกชน

เซอร์จอห์น คิง ถูกแต่งตั้งให้เป็นประธานในการเตรียมพร้อมการแปรรูปกิจการไปเป็นบริษัทเอกชน ในปีพ.ศ. 2524 คิงได้ว่าจ้าง โคลิน มาร์แชล มาเป็นประธานบริหาร ในปี พ.ศ. 2526 คิงเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงด้านการปรับเปลี่ยนสายการบิรที่ขาดทุนมหาศาลให้เป็นสายการบินที่สามารถทำกำไรได้มากที่สุดของโลกได้ ในขณะที่สายการขนาดใหญ่อื่นๆยังคงประสบปัญหาอยู่ ทั้งฝูงบินและเส้นทางบินได้ถูกปรับเปลี่ยนตั้งช่วงแรกที่คิงเข้ามาบริหาร ด้วยการทำการตลาดและระดมนักโฆษณามาสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับสายการบิน มีการปลดพนักงานกว่า 23,000 ตำแหน่งใรช่วงปี 1980 (พ.ศ. 2523) แต่คิงก็มีวิธีการสร้างขวัญกำลังให้พนักกงานที่เหลือและได้ปรับเปลี่ยนขั้นตอนการดำเนินงานให้ทันสมัยมากขึ้นไปพร้อมๆกัน

สายการบินแห่งชาติอังกฤษก็ได้แปรรูปกิจการและเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน (London Stock Exchange) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 ในสมัยรัฐบาลพรรคอนุรักษ์นิยม ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2531 ผลของบริติช แอร์เวย์ ส่งไปถึงการเข้าครอบครองกิจการสายการบินอันดับสองของอังกฤษ บริติช คาลโดเนียน (British Caledonian) และในปีพ.ศ. 2535 ได้ซื้อสายการบินแดนแอร์ (Dan-Air) ซึ่งมีฐานอยู่ที่แกตวิค

จุดหมายปลายทาง

ดูรายละเอียดที่ จุดหมายปลายทางของบริติช แอร์เวย์

ฝูงบิน

เครื่องบินคองคอร์ดที่ฮีโธรว์

นับเรื่อยมาจนกระทั่งปลายทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533) บริติช แอร์เวย์ เป็นลูกค้าหลัดของโบอิง ซึ่งเป็นข้อถกเถียงกันว่า สายการบินประจำชาติอังกฤษเองควรจะสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินของอังกฤษ หรือซื้อเครื่องบินจากแอร์บัส (ชิ้นส่วนปีกของแอร์บัสและชิ้นส่วนอีกหลายส่วน มีฐานการผลิตอยู่ในอังกฤษ) ทางบริษัทเองก็ออกแถลงการปกป้องตัวเองว่า นอกจากเครื่องบินโบอิง 777 28 ลำจากทั้งหมดแล้ว เครื่องบินโบอิงลำอื่นๆก็ใช้เครื่องยนต์ของโรลส์รอยซ์ ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอังกฤษ ซึ่งคำสั่งซื้อแบบนี้ก็สามารถนับย้อนไปจนถึงการซื้อเครื่องบินโบอิง 707 ที่ให้ใช้เครื่องยนต์ของโรลส์รอยซ์ เมื่อช่วงปี 1960 (พ.ศ. 2503)

การเปลี่ยนแปลงฝูงบินที่มีเครื่องบินที่ไม่ใช่ของโบอิงมากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะมาจากการควบรวมกิจการกับสายการบินอื่นๆ ตัวอย่างเช่น การซื้อสายการบินบริติช ดาลโดเนียน แอร์เวย์ในช่วงปี พ.ศ. 2520 ซึ่งให้บริการเครื่องบินแมคโดนัล ดักลาส ดีซี10 และเอบัส เอ 230 ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533) บริติช แอร์เวย์ จึงได้เริ่มสั่งเครื่องแอร์บัส เอ 320/เอ 319เป็นจำนวนกว่า 100 ลำ เพื่อแทนที่เครื่องบินโบอิง 737

บริติช แอร์เวย์ ยังเคยเป็นให้บริการเครื่องบินคองคอร์ด มีเที่ยวบินทุกวันระหว่างฮีทโธรว์และนิวยอร์ก (จากเดิมที่ให้บริการไปบาห์เรน) โดยแรกเริ่มนั้นคอนคอร์ดมีต้นทุนในการให้บริการสูงเกินควร และได้รับคำวิจารณ์เชิงลบว่าเป็นการลงทุนที่เปล่าประโยชน์ แต่บริติช แอร์เวย์ ก็สามารถดึงความสนใจจากผู้โดยสารได้

หลังจากอุบัติเหตุของเครื่องบินคอนคอร์ดของแอร์ฟรานซ์ และวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานพุ่งสูงขึ้น ยิ่งทำให้อนาคตของคองคอร์ดริบหรี่ลงไปอีก จึงได้มีแถลงการณ์ (ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2546) ว่าหลังจาก 24 ตุลาคม พ.ศ. 2546 จะเริ่มกระบวนการลดเที่ยวบินคองคอร์ดลง เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง เที่ยวบินคองคอร์ดสุดท้ายของบริติช แอร์เวย์ ออกจากฮีทโธรว์ไปบาร์บาดอส ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2546 บริติช แอร์เวย์ ยังเป็นเจ้าของเครื่องคองคอร์ดอยู่ทั้งหมด 8 ลำ โดยทำสัญญาเช้ายืมระยะยาวกับพิพธภัณฑ์ต่างๆในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และบาร์บาดอส

ฝูงบิน

รายชื่อฝูงบินของบริติช แอร์เวย์ ณ มีนาคม พ.ศ. 2550 [1]

เครื่องบิน จำนวน ชั้นบิน
(ชั้นหนึ่ง/ธุรกิจ/ประหยัดพิเศษ/ประหยัด)
เส้นทาง หมายเหตุ
แอร์บัส เอ 319-100 33 126 ฮีทโธรว์ - สหราชอาณาจักร, ยุโรป เส้นทางระยะสั้น
แอร์บัส เอ 320 26
(สั่งซื้อ 10 รายการ)
149
150
ฮีทโธรว์ - สหราชอาณาจักร, ยุโรป เส้นทางระยะสั้น
แอร์บัส เอ 321 7
(สั่งซื้อ 5 รายการ)
194 ฮีทโธรว์ - สหราชอาณาจักร, ยุโรป เส้นทางระยะสั้น
โบอิง 737-300 5 126 แกตวิค - สหราชอาณาจักร, ยุโรป เส้นทางระยะสั้น
โบอิง 737-400 19 147 แกตวิค - สหราชอาณาจักร, ยุโรป เส้นทางระยะสั้น
โบอิง 737-500 9 110 แกตวิค - สหราชอาณาจักร, ยุโรป เส้นทางระยะสั้น
โบอิง 747-400 57 291 (14/70/20/177)
390 (14/38/36/272)
ฮีทโธรว์ - อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, เอเชีย, ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้ เส้นทางระยะยาว
โบอิง 757-200 13 180 ฮีทโธรว์ - สหราชอาณาจักร, ยุโรป เส้นทางระยะสั้น
โบอิง 757-300ER 31 181
252
ฮีทโธรว์ และ แมนเชสเตอร์ - อเมริกาเหนือ, ยุโรป, แคริบเบียน, แอฟริกา เส้นทางระยะสั้นและระยะยาว
โบอิง 777-200 5 229 (14/48/40/127) ฮีทโธรว์ - ตะวันออกกลาง, อเมริกาเหนือ, แคริบเบียน, เอเชียตะวันออก, แอฟริกา เส้นทางระยะกลาง
โบอิง 777-200ER 40
(สั่งซื้อ 4 รายการ)
288 (48/24/127)
224 (14/48/40/122)
ฮีทโธรว์ และ แกตวิค - ตะวันออกกลาง, อเมริกาเหนือ, เอเชียตะวันออก, แอฟริกา เส้นทางระยะกลาง

ทั้งนี้ไม่รวมฝูงบินของสายการบินลูก และแฟรนไชส์

ณ มีนาคม พ.ศ. 2549 อายุการใช้งานเฉลี่ยของฝูงบินของบริติช แอร์เวย์ คือ 9.7 ปี

สายการบินลูก และแฟรนไชส์

สายการบินลูก

แฟรนไชส์

บริติช แอร์เวย์ มีหุ้นอยู่ในสายการบินสัญชาติสเปน อิเบอเรีย อยู่ 10% โดยสัดส่วนหุ้นจาก 9 % เป็น 10% จากการซื้อหุ้นที่ถือโดยอเมริกันแอร์ไลน์ ทำให้บริติช แอร์เวย์สามารถแต่งตั้งกรรมการบอร์ดบริหารได้ 2 คน

บริติช แอร์เวย์ เป็นสมากชิกผู้ก่อตั้งเครือข่ายพันธมิตรสายการบิน วันเวิลด์

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • บริติช แอร์เวย์ ได้รับใบอนุญาตจาก กรมขนส่งทางอากาศของสหราชอาณาจักร ประเภท เอ อนุญาตให้ดำเนินกิจการขนส่งผู้โดยสาร สินค้า และไปรษณีย์ บนเครื่องบินที่มีขนาด 20ที่นั่ง หรือมากกว่านั้น [2]
  • บริติช แอร์เวย์ และ แอร์ฟรานซ์ เป็นเพียงสองสายการบินเท่านั้นที่ให้บริการเครื่องบินคอนคอร์ด และบริติช แอร์เวย์ ยังช่วยดำเนินการเครื่องคอนคอร์ดให้กับสายการบินบรานิฟ อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์เวย์ และสิงคโปร์แอร์ไลน์ ในช่วงระยะสั้นหนึ่งด้วย
  • เป็นสายการบินที่ให้บริการเครื่องบินโบอิง 747-400 ขนาดใหญ่ที่สุดจำนวน 57 ลำ ถึงแม้ว่าเจแปนแอร์ไลน์จะเป็นผู้ให้บริการฝูงบินโบอิง รุ่น 747 ขนาดใหญ่ที่สุด แต่มีเครื่องรุ่น400เพียง 45 ลำ
  • โดยทั่วไปแล้วบริติช แอร์เวย์ จะใช้รหัสเรียกชื่อสายการบินว่า "Speedbird" แต่เที่ยวบินภายในประเทศที่ระหว่างฮีทโธรว์และแกตวิค จะใช้รหัสเรียกชื่อว่า "Shuttle" และเฉพาะเที่ยวบินเหมาลำในช่วงคริสต์มาส จะใช้รหัสเรียกชื่อว่า "Santa"
  • บริติช แอร์เวย์ ได้รับรางวัล สายการบินแห่งปี 2549 จาก World Airline Awards จัดโดย Skytrax
  • บริติช แอร์เวย์ เป็นสายการบินหลักของการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน

อุบัติเหตุ

  • 10 กันยายน พ.ศ. 2519 เที่ยวบินที่ 476 เครื่องบินทรีเดนท์ 3บี จากฮีทโธรว์ไปยังเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี และเครื่องบินดักลาส ดีซี 9 เที่ยวบินที่ 550 ของสายการบินไอเน็ก-เอเดรีย จากเมืองสปลิท ประเทศโครเอเชีย ไปยังเมืองโคโลญจ์ ประเทศเยอรมนีตะวันตก เฉี่ยวชนกลางอากาศเหนือน่านฟ้าซาเกรบ ซึ่งก็คือประเทศยูโกสลาเวียในเวลาต่อมา ผู้โดยสารทั้งหมด 176 คน เสียชีวิต
  • 24 มิถุนายน พ.ศ. 2525 เที่ยวบินที่ 9 เครื่องบิน โบอิง 747-200 G-BDXH City of Edinburgh บินผ่านกลุ่มเถ้าธุลีเหนือจากภูเขาไฟกาลังกัง เป็นเหตุให้เครื่องเกิดความเสียหายขนาดหนัก เครื่องยนต์ทั้ง 4 ตัวไม่ทำงาน นักบินสามารถนำเครื่องออกจากกลุ่มเถ้าธุลีได้ และสามารถติดเครื่องยนต์ได้อีกครั้ง (มีการล้มเหลวเพียงครั้งเดียว ขณะพยายามจะไต่ระดับขึ้นเหนือยอดเขา) และสามารถลงจอดฉุกเฉินที่กรุงจาการ์ตา ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ
  • 10 มิถุนายน พ.ศ. 2533 เที่ยวบินที่ 5390 เครื่องบินบีเอซี 1-11 ขณะเดินทางจากเบอร์มิงแฮมไปมาลากา ถูกกระแสลมกระแทกเข้าใส่ จนนักบินกระเด็นออกจากห้องบังคับเครื่องบินแต่ลูกเรือช่วยไว้ได้ทัน ผู้ช่วยนักบินสามารถนำเครื่องลงจอดได้อย่างปลอดภัยที่ท่าอากาศยานเซาท์แธมตัน
  • 2 สิงหาคม พ.ศ. 2533 เที่ยวบินที่ 149 ลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติคูเวต 4 ชั่วโมงหลังจากที่อิรัคได้บุกเข้ายึดคูเวต ผู้โดยสารและลูกเรือถูกจับตัว และเครื่องบินถูกทำลาย
  • 10 ตุลาคม พ.ศ. 2543 เครื่องบินโบอิง 757 จากลอนดอนไปยังอัมสเตอร์ดัม บินผ่ากลางพายุ 2 ลูก โดนฟ้าผ่าลงที่ใต้หน้าต่างนักบินคนที่ 1 ริชาร์ด แอดค็อก ทำให้โดยกระแสไฟฟ้าช็อตขณะจับหน้าปัดแผงควบคุมและทำให้แผงควบคุมใช้การไม่ได้ จึงได้เปลี่ยนการควบคุมให้กับผู้ช่วยนักบิน ไมค์ แทร์รี่ เครื่องสามารถบินต่อไปและลงจอดได้โดยไม่เกิดอุบัติเหตุอีก ผู้โดยสารทั้งหมด 157 คนไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ ยกเว้ยเพียงนักบินที่ 1 เป็นแผลไฟไหม้ที่หน้าอก
  • 29 ธันวาคม พ.ศ. 2543 เที่ยวบินที่ 2069 จากท่าอากาศยานลอนดอนแกตวิคไปยังไนโรบี ถูกจี้เครื่องบินขณะบินเหนือน่าฟ้าซูดาน พอล มูโกนยี นักเรียนชาวเคนยาและอาการป่วยทางจิต บุกเข้าในห้องบังคับการบิน ลูกเรือทั้ง 3 คน พยายามห้ามมูโกนยีไว้ ระบบการบินอัตโนมัติไม่ทำงาน ทำให้เครื่องบินดิ่งลดระดับไปประมาณ 10,000 ฟุต ผู้โดยสารทั้ง 398 คน ในจำนวนนั้นรวมถึงนักดนตรีร็อคชาวอังกฤษ ไบรอัน เฟอร์รี่ และ เจอมีมา คาน ด้วย เหตุการณ์นี้นักบินสามารถควบคุมเครื่องเอาไว้ได้ทันและสามารถลงจอดได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งสามารถจับตัวมูโกนยีใส่กุญแจมือไว้ได้
  • 5 กันยายน พ.ศ. 2544 เครื่องบินโบอิง 777-200 G-VIIK เกิดไฟไหม้ที่ท่าอากาศยานนานนาชาติเดนเวอร์ เมืองเดนเวอร์ มลรัฐโคโลราโด เพลิงไหม้เกิดขณะที่เครื่องจอดอยู่ที่หลุมจอด กำลังระบายผู้โดยสารออกและเติมเชื้อเพลิงใหม่ ขณะเกินเหตุมีนักบินและผู้ช่วงนักบินอีก 2 คน ลูกเรือ 13 คน และผู้โดยสารอีก 10 คน ยังอยู่บนเครื่องบิน แต่ไม่มีรายงานว่าได้รับบาดเจ็บ แต่หน่วยให้บริการภาคพื้นดินได้รับความเสียหายอย่างหนัก
  • 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เกิดเหตุเครื่องยนต์เครื่องบินโบอิง 747-400ขัดข้อง และเสียหายภายในตัวเครื่อง หลังจากที่นำเครื่องขึ้นจากลอสแองเจลีสเพื่อจะมุ่งหน้าไปฮีทโธรว์ โดยมีลูกเรือทั้งหมด 16 คน และผู้โดยสาร 351 คน นักบินได้ดับเครื่องยนต์ที่เสีย แต่ก็ยังไต่ระดับและตรวจสอบสมรรถภาพก่อนที่จะตัดสินใจบินต่อไป ตามมาตรการการบินของบริติช แอร์เวย์ ที่ใช้กับเครื่องบินแบบ 4 เครื่องยนต์ แต่เนื่องจากไม่สามารถทำความเร็วได้เท่ากับการใช้เครื่องยนต์ทั้ง 4 ตัว จึงได้เปลี่ยนเส้นทางการบินไปลงที่แมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร แทน ทั้งนี้องค์กรการบินสหรัฐอเมริกา (FAA) ได้ออกมาตำหนิการตัดสินใจของนักบิน[3] และระเบียบวิธีการบินของบริติช แอร์เวย์ ว่าไม่เหมาะสม จนกระทั้งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 หน่วนงานสอบสวนอุบัติเหตุทางอากาศของสหราชอาณาจักร ได้เสนอแนะให้หน่วยการที่ควบคุมการบินทั้งของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรได้ตรวจสอบและปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติและแนวทางที่ชัดเจนสำหรับการตัดสินใจ ซึ่งก็ไม่มีหน่วยงานใดรับไปพิจารณา แต่องค์กรการบินสหรัฐอเมริกาก็ได้ออกมายอมรับการตัดสินใจของกรมการขนส่งทางอากาศของสหราชอาณาจักรในภายหลังว่าเหมาะสมแล้ว[4]
  • 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เครื่องบินลำเดิม G-BNLG ได้เกิดเหตุและต้องดับเครื่องยนต์อีกครั้ง ในเที่ยวบินจากสิงคโปร์ไปลอนดอน และนักบินก็ยังคงตัดสินใจบินต่อไปเช่นเดิม และครั้งนี้ก็ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆเกิดขึ้น[[5]
  • 10 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ได้มีการยกเลิกเที่ยวบินหลายเที่ยวบินที่จะออกจากท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ เนื่องจากข่าวการลอบวางระเบิดเพื่อจะทำลายเครื่องบินที่จะบินไปยังสหรัฐอเมริกา บริติช แอร์เวย์ ได้ออกแถลงข่าวในภายหลังว่าเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความมสูญเสียเป็นมูลค่าถึง 40 ล้านปอนด์ และทำให้ 1,280 เที่ยวบินถูกยกเลิกในช่วงวันที่ 10 ถึง 17 สิงหาคม[6]
  • 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 บริติช แอร์เวย์ ได้ประกาศพักการบินของเครื่องบินโบอิง 767 3 ลำ เพื่อตรวจหาหลักฐานและกัมมันตภาพรังสี คดีการตายของอเล็กซานเดอร์ ลิทวิเนนโก เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านั้น มีเครื่องบิน 2 ลำ ที่ตรวจสอบที่ฮีทโธรว์ ส่วนอีกลำตรวจสอบที่ท่าอากาศยานโดโมเดโดโวของมอสโคว[7] และมีข่าวปรากฏภายหลังว่าเครื่องบินที่จอดอยู่ที่มอสโคว บินเครื่องเปล่ากลับมายังฮีโธรว์สำหรับการตรวจหลักฐาน ผลตรวจขั้นต้นไม่พบร่องรอยและกัมมันตภาพรังสีที่สำคัญบนเครื่องบิน 2 ใน 3 ลำ [8]

แหล่งข้อมูลอื่น