ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันสตรีสากล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}

[[ไฟล์:Frauentag 1914 Heraus mit dem Frauenwahlrecht.jpg|thumb|โปสเตอร์ วันสตรีสากล ปี พ.ศ. 2457]]
[[ไฟล์:Frauentag 1914 Heraus mit dem Frauenwahlrecht.jpg|thumb|โปสเตอร์ วันสตรีสากล ปี พ.ศ. 2457]]


'''วันสตรีสากล''' (International Women's Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี (อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ) เป็นวันที่มีการประท้วงของแรงงานหญิง ณ เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา กรรมกรสตรีในโรงงานทอผ้าได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบกดขี่ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน
'''วันสตรีสากล''' (International Women's Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี (อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ) เป็นวันที่มีการประท้วงของแรงงานหญิง ณ เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา กรรมกรสตรีในโรงงานทอผ้าได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบกดขี่ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน


== [[ประวัติ]] ==
== ประวัติ ==
[[ประวัติ]]ความเป็นมา ของ "วันสตรีสากล" เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 (พ.ศ. 2400)
ประวัติความเป็นมา ของ "วันสตรีสากล" เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 (พ.ศ. 2400)


จากนั้นในปี ค.ศ.1907 (พ.ศ. 2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก
จากนั้นในปี ค.ศ.1907 (พ.ศ. 2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก
บรรทัด 39: บรรทัด 41:
{{Link FA|ka}}
{{Link FA|ka}}
{{Link GA|eo}}
{{Link GA|eo}}

[[ar:اليوم الدولي للمرأة]]
[[arz:يوم الستات الدولى]]
[[ast:Día Internacional de la Muyer]]
[[az:Beynəlxalq Qadınlar Günü]]
[[be:Міжнародны жаночы дзень]]
[[be-x-old:Міжнародны жаночы дзень]]
[[bg:Международен ден на жената]]
[[bn:আন্তর্জাতিক নারী দিবস]]
[[bs:Međunarodni dan žena]]
[[ca:Dia de la Dona Treballadora]]
[[cs:Mezinárodní den žen]]
[[cv:Пĕтĕм тĕнчери хĕрарăмсен кунĕ]]
[[da:Kvindernes internationale kampdag]]
[[de:Internationaler Frauentag]]
[[el:Παγκόσμια Ημέρα της Γυναίκας]]
[[en:International Women's Day]]
[[eo:Internacia tago de virinoj]]
[[es:Día Internacional de la Mujer]]
[[et:Rahvusvaheline naistepäev]]
[[eu:Emakume Langilearen Nazioarteko Eguna]]
[[fa:روز جهانی زنان]]
[[fi:Kansainvälinen naistenpäivä]]
[[fr:Journée internationale de la femme]]
[[gl:Día da Muller Traballadora]]
[[gn:Kuña Yvoragua Ára]]
[[he:יום האישה הבינלאומי]]
[[hr:Međunarodni dan žena]]
[[hu:Nemzetközi nőnap]]
[[hy:Կանանց միջազգային օր]]
[[id:Hari Perempuan Internasional]]
[[is:Alþjóðlegur baráttudagur kvenna]]
[[it:Giornata internazionale della donna]]
[[ja:国際女性デー]]
[[ka:ქალთა საერთაშორისო დღე]]
[[kk:Халықаралық әйелдер күні]]
[[km:ទិវានារីអន្តរជាតិ]]
[[kn:ಅಂತರರಾಷ್ಟ್ರೀಯ ಮಹಿಳಾ ದಿನಾಚರಣೆ]]
[[ko:세계 여성의 날]]
[[ku:Roja Jinên Cîhanê]]
[[la:Dies Internationalis Mulierum]]
[[lt:Tarptautinė moters diena]]
[[lv:Starptautiskā sieviešu diena]]
[[mk:Меѓународен ден на жената]]
[[ml:അന്താരാഷ്ട്ര വനിതാദിനം]]
[[mn:Олон улсын эмэгтэйчүүдийн өдөр]]
[[mr:जागतिक महिला दिन]]
[[ms:Hari Wanita Antarabangsa]]
[[mwl:Die anternacional de la mulhier]]
[[ne:अन्तर्राष्ट्रिय महिला दिवस]]
[[nl:Internationale Vrouwendag]]
[[nn:Den internasjonale kvinnedagen]]
[[no:Den internasjonale kvinnedagen]]
[[or:ଅନ୍ତରାଷ୍ଟ୍ରୀୟ ମହିଳା ଦିବସ]]
[[pl:Dzień Kobiet]]
[[pt:Dia Internacional da Mulher]]
[[ro:Ziua Internațională a Femeii]]
[[ru:Международный женский день]]
[[sa:अन्ताराष्ट्रिय-महिलादिनम्]]
[[scn:Jurnata Ntirnazziunali dâ Fìmmina]]
[[sh:Međunarodni dan žena]]
[[simple:International Women's Day]]
[[sk:Medzinárodný deň žien]]
[[sl:Dan žena]]
[[sq:Dita Ndërkombëtare e Gruas]]
[[sr:Међународни дан жена]]
[[sv:Internationella kvinnodagen]]
[[ta:அனைத்துலக பெண்கள் நாள்]]
[[te:అంతర్జాతీయ మహిళా దినోత్సవం]]
[[tg:Рӯзи байналхалқии занон]]
[[tr:Dünya Kadınlar Günü]]
[[uk:Міжнародний жіночий день]]
[[uz:Xalqaro xotin-qizlar kuni]]
[[vi:Ngày Quốc tế Phụ nữ]]
[[zh:国际妇女节]]
[[zh-min-nan:Kok-chè Hū-lú-cheh]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:24, 8 มีนาคม 2556

โปสเตอร์ วันสตรีสากล ปี พ.ศ. 2457

วันสตรีสากล (International Women's Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี (อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ) เป็นวันที่มีการประท้วงของแรงงานหญิง ณ เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา กรรมกรสตรีในโรงงานทอผ้าได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบกดขี่ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน

ประวัติ

ประวัติความเป็นมา ของ "วันสตรีสากล" เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 (พ.ศ. 2400)

จากนั้นในปี ค.ศ.1907 (พ.ศ. 2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก

ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้ "คลาร่า เซทคิน" นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมันตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย อย่างไรก็ตามแม้การเรียกร้องครั้งนี้ จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ "คลาร่า เซทคิน" และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น

ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1908 (พ.ศ. 2451) มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า "ขนมปังกับดอกกุหลาบ" ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อมๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง

จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 (พ.ศ. 2453) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย

ทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของ "คลาร่า เซทคิน" ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็น วันสตรีสากล

สาเหตุ

เพราะสตรีถูกเอาเปรียบกดขี่ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน

ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั่วโลก

วันสตรีสากล ไม่ได้เป็นเพียงวันที่กลุ่มสตรีทั่วโลกร่วมฉลองกันเท่านั้น แต่เป็นวันที่องค์กรสหประชาชาติได้ร่วมเฉลิมฉลองด้วย และอีกหลายประเทศได้กำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันหยุดประจำชาติของตน กลุ่มสตรีจากทุกทวีปไม่ว่าจะแตกต่างกันโดยเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ หรือ การเมืองก็ตาม ได้รวมตัวกันเพื่อฉลองวันสำคัญนี้ เพื่อรำลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้อันยาวนาน เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคความยุติธรรม สันติภาพและการพัฒนา

ผลจากการตัดสินใจของที่ประชุม ณ กรุงโคเปนเฮเกน ทำให้มีการจัดกิจกรรมวันสตรีสากลขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1911 ในประเทศออสเตรีย เดนมาร์ก เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ มีประชาชนทั้งหญิงชายมากกว่า 1 ล้านคน เข้าร่วมการชุมนุมเรียกร้องสิทธิในการทำงาน การเข้ารับการอบรมในวิชาชีพ และให้ยุติการแบ่งแยกในการทำงานในปีถัดมาได้มีการจัดกิจกรรมวันสตรีสากลเพิ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน และในปี ค.ศ. 1913 มีการจัดชุมนุมวันสตรีสากลในรัสเซียเป็นครั้งแรก ที่นครเซนต์ปีเตอร์เบอร์ก แม้ว่าจะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจขัดขวางก็ตาม วันสตรีสากลได้จัดขึ้นโดยเชิดชูคำขวัญของขบวนการสันติภาพ ทั้งนี้เพื่อต่อต้านสงครามที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในยุโรปนับตั้งแต่ปีแรกๆ เป็นต้นมา ความสำคัญของการฉลองวันสตรีสากลได้ทวีมากขึ้น โดยมีสตรีในทวีปแอฟริกา เอเชียและละตินอเมริกา เริ่มร่วมมือกันเพื่อทบทวนความก้าวหน้าของการต่อสู้เพื่อสิทธิที่เท่าเทียมกัน และเพื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งพยายามผลักดันให้มีการตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชนของสตรีอย่างสมบูรณ์

ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะปฏิบัติตามพันธสัญญาต่อเวทีโลกที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับบทบาทและสถานภาพสตรีโดยได้มีการดำเนินการทั้งในแง่กฎหมาย นโยบาย มาตรการและกิจกรรมต่างๆ ในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย คือ เจตนารมณ์ให้มีความเป็นธรรมเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายในทุกรูปแบบ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการใช้ การควบคุมทรัพยากร เพื่อให้หลุดจากการกีดกันต่างๆ ให้สตรีได้มีโอกาสรับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน

ความสำคัญ

วันสตรีสากล มิเพียงแค่การเฉลิมฉลองเหมือนงานประเพณีที่มักทำติดต่อกันทุกปี หากจะเป็นการตระหนักร่วมและให้คุณค่าทางประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ของผู้ใช้ แรงงานหญิง และสืบทอดเจตนารมย์ที่ต้องการให้ผู้หญิงได้รับการปกป้องคุ้มครองให้ปลอดภัย จากความรุนแรง และยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ผู้ใช้แรงงานต้องได้รับการดูแลในด้านสวัสดิการ สุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งผู้หญิงต้องได้รับการปฏิบัติอย่างให้เกียรติและเท่าเทียมในฐานะที่ ผู้หญิงก็เป็นสมาชิกหนึ่งในสังคม

อ้างอิง

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA