ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การปลุกเสก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: el:Ξόρκι
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 15: บรรทัด 15:
[[หมวดหมู่:เวทมนตร์]]
[[หมวดหมู่:เวทมนตร์]]


[[az:Arpağ]]
[[ba:Һамаҡ]]
[[br:Orezon]]
[[el:Ξόρκι]]
[[el:Ξόρκι]]
[[en:Incantation]]
[[fi:Loitsu]]
[[fr:Incantation]]
[[he:לחש]]
[[it:Incantesimo]]
[[mhr:Ю]]
[[pl:Zaklęcie (magia)]]
[[ru:Заклинание]]
[[tr:Arpağ]]
[[zh:咒语]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:26, 8 มีนาคม 2556

การปลุกเสก (อังกฤษ: incantation) คือการกระทำให้สิ่งที่เป็นวัตถุที่กำหนดไว้ให้มีคุณค่าขึ้นมา เช่น การปลุกเสกพระเครื่อง

การปลุกเสกพระเครื่อง เดิมทีเดียวพระเครื่องเป็นวัตถุผสมด้วย ดิน หรือโลหะ หรือธาตุ หรือกระดูกคนตาย หรือสิ่งอื่น และตัวทำแข็ง ทำเหลว ตัวยึดติด อาจเป็นเป็นน้ำมันเหลวแห้งได้ดีเมื่อรมด้วยควันไฟ มีอาทิเช่น ตั่งออิ้วที่มีกลิ่นหอม ยางไม้รมบาตรมาจากประเทศจีนมีราคาแพง หรือนำมันชนิดอื่น หรือการทำด้วยปูนพลาสเตอร์ (ปูนปารีส) ชนิดแห้งไว หรือหล่อด้วย ธาตแข็งชนิดอื่น เช่น ทองคำ ทองเหลือง ทองแดง ตะกั่ว ทองขาว เหล็ก อื่น ๆ หรือด้วยพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ ธาตุวัตถุต่าง ๆ แล้วนำมาปลุกเสก ๆ เรียกเป็นภาษาราชการว่า ทำพิธีกรรม การปลุกเสกแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ พิธีทางราชการ และพิธีไม่ใช่ราชการ ที่ทราบกันดีคือการพุทธาภิเษก หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าการปลุกเสกพระเครื่องรางของขลัง ของมงคล ตามพิธีกรรมที่สิบทอดกันมา หรือทำให้สิ่งธรรมมีชีวิตทางไสยวิทยาขึ้นมา จนเสร็จพิธี ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ เมื่อเสร็จตามขั้นตอน แบบที่ คติชนวิทยา หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน จะยอมรับว่าสิ่งนั้นศักดิ์สิทธ์ได้ด้วยพิธีกรรมเหล่านี้แล้ว จะปรากฏออกมาในท้องตลาด หรือในสังคมทั้วไปทุกระดับ เช่นพระเครื่อง วัตถุมงคล รุ่นต่าง ๆ จากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ดั่งที่ทราบกันว่า บางชนิดเมื่อเสร็จพิธี แล้ว สามารถใช้ป้องกันตัว หรือเก็บพกพาติดตัวเป็นมงคลอื่น ๆ เช่นยิงรันฟันแทงไม่เข้า แคล้วคลาด กันผี บำรุงขวัญ เป็นเสน่ห์ เป็นมงคล เมตตามหานิยม ค้าขายดี มีหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบที่เป็นพระเครื่อง และไม่ไช่พระเครื่อง ที่นิยมปรากฏต่อมหาชนปัจจุบัน เช่น สมเด็จรุ่นแรก วัดระฆัง ที่เชื่อว่าปลุกเสกออกมาโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหฺมรํสี) กรุวัดระฆัง เป็นต้น

การปลุกเสก มี 2 ชนิด ชนิดใช้นักบวชปลุกเสก ใช้คนที่ไม่ใช่นักบวชปลุกเสก การปลุกเสกยังแยกออไปอีกเช่น การปลุกเสกด้วยน้ำธรรมดาเพื่อเสกให้เป็นน้ำมนต์ เพื่อรดปัองปัดรังควานเสนียดจัญไร เป็นต้นให้ผู้ป่วย หรือผู้ต้องการ ในทางพุทธศาสนามีการปลุกเสกเช่นกัน แต่คติปรัชญาทางศาสนาพุทธถือว่า จุดสำคัญเพื่อให้รำลึกในคุณพระรัตนตรัยเท่านั้น ให้นำพระรัตนตรัยไปใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวโดยมีสิ่งที่กำหนดนี้เป็นสื่อ เมื่อเชื่อเช่นนี้แล้ว ประกอบด้วยพิธีกรรมที่มีลักษณะคล้ายการปลุกเสกนี้ขึ้น ที่เชื่อว่าจะบำรุงขวัญคนได้ ทำให้รักษากายใจได้ มันเป็นเรื่องวจิตบำบัดชนิดหนึ่ง ที่มีระบบจิตวิทยารองรับแล้ว และในพุทธศาสนาสิ่งสำคัญตรงนี้คือต้องยึดศีล 5 เป็นประการสำคัญด้วย และไม่งมงาย ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา มีเหตุการณ์การรดน้ำมนต์ ที่ผ่านการสวด การบริกรรม การภาวนา การปลุกเสก ที่สามารถทำให้แก้โรคห่าลงเมืองได้ ด้วยพระปริตรที่พระในพระพุทธศาสาสวดใช้กันตามปกติทุกวัน อาทิบท "ยานี" เป็นต้น จะพบเสมอที่เรียกว่า "การสวดพระพุทธมนต์ และการเจริญพระพุทธมนต์ " ของพระสงฆ์ ตามลำดับ ผลของการปลุกเสก จะทำให้จิตใจผู้ใช้มีสมาธิ มีขวัญดี มีความเชื่อมั่นตนเองขึ้น มีผลดีทางจิตวิทยามากมาย การปลุกเสกดังกล่าวนี้กล่าวเฉพาะฝ่ายดีเท่านั้น

มีการปลุกเสกอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นของชาวบ้าน ที่เรียกว่า การเล่นของ เช่นคนธรรมดา อยากจะปลุกพระเครื่อง เขาจะนั่งสมาธิ บริกรรมคาถาในสูตรของเขา มีมือกำพระเครื่องไว้ในอุ้งมือแน่น แล้วภาวนา หลับตาอย่างมีสมาธิแน่วแน่ตามสูตร จนพระเครื่องหรือสิ่งของที่ปลุกเสกนั้นขึ้น คนที่ทำกคือคนที่ปลุกเสกจะมีอาการเต้นสั่นบ้างบางครั้ง ขณะเต้นไม่มีใครเอาอยู่จนกว่า จะมีกำลังเหนือปกติขึ้นมา จนปล่อยพระเครื่องหรือวัตถุที่ปลุกเสกนั้นออกจากมือของคนปลุกเสก อาการก็จะหมดไป นี้เป็นตัวอย่าง และตามปกติคนที่ทำพิธีจะใสชุดขาว เว้นอาหารเนื้อสัตว์ก่อนทำ เป็นตามที่กำหนดไว้ หรือเป็นโยคีหนึ่งระยะ และยังมีอีกหลายวิธีตามแต่ละสำนึกสิบทอดกันมา บางอย่างมาจากพราหมณ์ บางอย่างมาจากศาสนาอื่น บางอย่างมาจากพุทธ (ทางพุทธศาสนาไม่ส่งเสริมเรื่องนี้ทีเดียว) บางอย่างมาจากผีบรรพบุรุษ บางอย่างมาจากคติชนวิทยาทั่วไป