ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แขวงหลวงน้ำทา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JAnDbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต แก้ไข: de:Provinz Luang Namtha, es:Provincia de Luang Namtha
บรรทัด 79: บรรทัด 79:
[[ace:Propinsi Louang Namtha]]
[[ace:Propinsi Louang Namtha]]
[[ar:محافظة لوانغ نامثا]]
[[ar:محافظة لوانغ نامثا]]
[[de:Luang Namtha (Provinz)]]
[[de:Provinz Luang Namtha]]
[[en:Luang Namtha Province]]
[[en:Luang Namtha Province]]
[[eo:Provinco Luang Namtha]]
[[eo:Provinco Luang Namtha]]
[[es:Provincia de Louang Namtha]]
[[es:Provincia de Luang Namtha]]
[[fr:Province de Luang Namtha]]
[[fr:Province de Luang Namtha]]
[[hu:Luangnamtha tartomány]]
[[hu:Luangnamtha tartomány]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:10, 4 มีนาคม 2556

แม่แบบ:กล่องข้อมูล หน่วยการบริหารย่อย

แขวงหลวงน้ำทา (ลาว: ຫຼວງນໍ້າທາ, ຫລວງນໍ້າທາ, อังกฤษ: Luoang Namtha) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาวที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสุดของประเทศ ทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศใต้ติดกับแขวงบ่อแก้ว ทิศตะวันออกติดกับแขวงอุดมไซ และทิศตะวันตกติดกับประเทศพม่า แขวงนี้แต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ แขวงหัวของ เป็นพื้นที่ของแขวงหลวงน้ำทาและบ่อแก้วในปัจจุบันรวมกัน ต่อมาจึงได้ยุบแขวงหัวของลงและแยกออกเป็น 2 แขวง ที่ตั้งแขวงหัวของเดิมได้ถูกยุบลงและตั้งเป็นแขวงใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็นแขวงบ่อแก้ว และแยกเมืองทางเหนือของแขวงหัวของเดิมไปตั้งแขวงใหม่ คือแขวงหลวงน้ำทาในปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่ รหัสเมือง เมือง (ไทย) เมือง (ลาว) เมือง (อังกฤษ)
03-01 น้ำทา ນໍ້າທາ Namtha
03-02 สิงห์ ສີງ Sing
03-03 ลอง ລອງ Long
03-04 เวียงภูคา ວຽງພູຄາ Viangphoukha
13-05 นาแล ນາແລ Nale

ประวัติแขวงหลวงน้ำทา

เป็นจุดหมายปลายทางของผู้ที่ชอบแสวงหาสิ่งใหม่ๆ หลวงน้ำทามีทั้งการให้ชมวิถีชีวิตของชนเผ่าต่างๆ ร่องรอยจากสงครามกองทัพขบวนการปะเทดลาวกับกองโจรม้ง กอปรกับเมืองสิงห์ ซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ

ในช่วงสงครามอเมริกา พ.ศ. 2498-2518 พื้นที่แถบนี้เคยเป็นสมรภูมิรบ ระหว่างขบวนการปะเทดลาวและกลุ่มกองโจรของพวกชาวเขา ส่วนใหญ่เป็นม้ง ที่ได้รับการหนุนหลังจากหน่วยงานซีไอเอของสหรัฐฯ ส่งผลให้ตัวเมืองถูกทำลายโดยไม่สามารถซ่อมแซมได้ ต้องย้ายไปสร้างเมืองใหม่ที่ริมฝั่งแม่น้ำทา ห่างจากที่ตั้งเดิมมาทางเหนือ 7 กิโลเมตร ใกล้กับทางหลวงที่ใช้ไปยังเมืองสิงห์ อุดมไชย และบ่อเต็น ประกอบด้วยคนหลายชนเผ่า แม้ว่าทางการจะย้ายเมืองหลวงใหม่มาแล้วก็ตาม แต่สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองเก่า ชาวหลวงน้ำทาเรียกเขตนี้ว่า เมือง และเรียกเขตที่สร้างใหม่ว่าแขวง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเข้ามาแวะพักเพื่อเดินทางต่อไปยังแขวงบ่อแก้ว หรือไม่ก็ไปจีน หรือไปยังเมืองสิงห์ ภายตัวเมืองหลวงน้ำทามีที่พักแบบเกสต์เฮาท์ค่อนข้างเยอะ ปัจจุบันหลวงน้ำทามีถนนสายกว้าง ถ้าเดินมาทางเชิงสะพานด้านตะวันออกของถนนสายหลักในยามเช้า จะเห็นผู้คนออกมาจับจ่ายซื้อของที่ตลาดซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของสถานีรถขนส่ง ถัดจากเมืองประมาณ 2 กิโลเมตรไปตามเส้นทางเมืองสิงห์ จะพบศูนย์หัตถกรรมหลวงน้ำทาซึ่งสหภาพยุโรปเป็นผู้ออกเงินสร้างเพื่อให้มีที่จำหน่ายสินค้าหัตถกรรมของชาวบ้าน

ภูมิประเทศ

เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน จึงเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ ม้ง ขมุ ไทเหนือ ไทดำ ไทแดง ไทขาว ไทยวน ไทลื้อ ละวิด ละเมด สีดา อีก้อ มูเซอ กะลอม ไทยใหญ่

แหล่งท่องเที่ยว

การเดินทาง

การเดินทางมายังหลวงน้ำทา มีรถประจำทางไว้บริการจากหลวงพระบางและห้วยทรายทุกวัน และจากหลวงน้ำทาก็มีรถประจำทางมายังเมืองสิงห์เช่นกัน ระยะทางประมาณ 59 กิโลเมตร ใช้เวลา 2 ชั่วโมง