ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โดรน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต: แก้ไขจาก zh:無人航空載具 ไปเป็น zh:无人机
Rubinbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต: แก้ไขจาก zh:无人机 ไปเป็น zh:無人航空載具
บรรทัด 128: บรรทัด 128:
[[uk:Безпілотний літальний апарат]]
[[uk:Безпілотний літальний апарат]]
[[uz:Odamsiz havo apparati]]
[[uz:Odamsiz havo apparati]]
[[zh:]]
[[zh:航空載具]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:48, 1 มีนาคม 2556

เอ็มคิว-9 รีพเปอร์ ยูเอวีนักล่าสังหารที่ใช้โดยกองกำลังสหรัฐและกองกำลังอังกฤษในอิรักและอัฟกานิสถาน
แม้ว่ายูเอวีส่วนมากจะเป็นอากาศยานปีกนิ่ง แต่เอ็มคิว-8 ไฟร์สเกาท์ที่เป็นยูเอวีแบบใบพัดก็ถูกใช้เช่นกัน

อากาศยานไร้คนขับ หรือ ยูเอวี (อังกฤษ: Unmanned Aerial Vehicle, UAV) เป็นอากาศยานไร้คนขับ มันแตกต่างจากขีปนาวุธตรงที่มันสามารถนำมาใช้ใหม่ได้ เป็นพาหนะไร้คนขับที่สามารถควบคุม ได้รับความเสียหาย บินต่างระดับ และใช้เครื่องยนต์ไอพ่นหรือเครื่องยนต์ลูกสูบ กระนั้นขีปนาวุธก็ไม่ถูกจัดว่าเป็นยูเอวีเพราะว่ามันเหมือนกับขีปนาวุธนำวิถีมากกว่า ซึ่งเป็นอาวุธที่ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ แม้ว่ามันจะไร้คนขับและถูกควบคุมจากระยะไกลก็ตาม

ยูเอวีนั้นมีรูปร่าง ขนาด รูปแบบ และเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ตามหลักแล้วยูเอวีคือโดรน (Drone) นั่นเอง[1] (เป็นอากาศยานที่ควบคุมจากระยะไกล) แต่การควบคุมอัตโนมัติที่เหมือนกับยูเอวีมากกว่า ยูเอววีมีสองแบบ บ้างควบคุมจากระยะไกล และบ้างก็บินได้ด้วยตนเองโดยอาศัยการโปรแกรมที่เป็นระบบซึ่งซับซ้อนกว่า

ปัจจุบันยูเอวีของทหารนั้นทำหน้าที่สอดแนมและภารกิจโจมตี[2] ในขณะที่โดรนโจมตีมากมายที่ประสบความสำเร็จถูกรายงานว่าพวกมันได้รับความเสียหายได้ง่ายและมักมีข้อผิดพลาด[1] ยูเอวียังถูกใช้ในจำนวนที่น้อยในทางพลเรือน อย่างการดับเพลิง ยูเอวีนั้นมักจะทำหน้าที่ในภารกิจที่ยากและอันตรายเกินกว่าที่จะใช้เครื่องบินที่มีคนขับทำ

ประวัติ

ยูเอวีรุ่นแรกๆ คือ"แอเรียล ทาร์เก็ท"เมื่อปีพ.ศ. 2459[3] หลังจากนั้นเครื่องบินที่ควบคุมด้วยรีโมตมากมายก็ตามมา รวมทั้งเครื่องบินอัตโนมัติฮีวิตต์-สเปอร์รี่ในสงครามโลกครั้งที่ 1 รวมทั้งพาหนะควบคุมจากระยะไกลหรืออาร์พีวี (Remote Piloted Vehicle, RPV) ที่พัฒนาโดยเรจินัลด์ เดนนี่ในปีพ.ศ. 2478[3] มีอีกมายที่สร้างเพราะความเร่งรีบทางเทคโนโลยีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกมันถูกใช้เพื่อเป็นเป้าฝึกให้กับพลปืนต่อต้านอากาศยานและภารกิจโจมตี เครื่องยนต์ไอพ่นถูกนำมาใช้หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่าง ไฟร์บี 1 ในขณะที่บริษัทอย่างบีคราฟท์ก็สร้างโมเดล 1001 ขึ้นมาให้กับกองทัพเรือสหรัฐในปีพ.ศ. 2498[3] กระนั้นพวกมันก็ไม่ต่างจากเครื่องบินควบคุมด้วยรีโมตจนกระทั่งถึงยุคสงครามเวียดนาม

เอ็มคิว-1 พรีเดเตอร์

ด้วยเทคโนโลยีที่กำลังก้าวหน้าและเริ่มมีขนาดเล็กลงของทศวรรษที่ 2523 และ 2533 ทำความสนใจในยูเอวีของกองทัพมีมากขึ้น ยูเอวีนั้นดูเหมือนจะถูกกว่า เป็นเครื่องจักรที่สามารถต่อสู้ได้ซึ่งสามารถถูกใช้เพื่อลดความเสี่ยงของลูกเรือ ในรุ่นแรกๆ นั้นมันเป็นเหมือนอากาศยานตรวจตรามากกว่า แต่มีบ้างที่ติดอาวุธ (อย่างเอ็มคิว-1 พรีเดเตอร์) ซึ่งใช้ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นเอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์) ยูเอวีที่ติดอาวุธจะถูกเรียกว่าอากาศยานต่อสู้ไร้คนขับหรือยูซีเอวี (unmanned combat air vehicle, UCAV)

ในอนาคตอันใกล้นั้นจะมีการใช้อากาศยานไร้คนในด้านการรุกสำหรับการทิ้งระเบิดและการโจมตีภาคพื้นดิน ในฐานะเครื่องมือสำหรับการค้นหาและช่วยเหลือ ยูเอวีจึงสามารถช่วยคนหามนุษย์ที่หลงป่า ติดอยู่ในซากปรักหักพัง หรือติดอยู่กลางทะเล

ในขณะที่การต่อสู้ทางอากาศยังตกเป็นของนักบินที่เป็นมนุษย์ แต่เมื่อเครื่องบินขับไล่ไร้คนขับมาทำหน้าที่แทน พวกมันจะได้เปรียบมากกว่าเพราะว่ามันจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากแรงจี

ชนิดของยูเอวี

ลูน่า เอ็กซ์ 2000 ยูเอวีของกองทัพเยอรมนี

ยูเอวีนั้นมักจะอยู่ในหมวดหมู่ดังนี้

  • เป้าหมายและเป้าล่อ - เป็นเป้าฝึกให้กับพลปืนต่อต้านอากาศยานหรือขีปนาวุธ
  • สอดแนม - เป็นหน่วยข่าวกรองในสมรภูมิ
  • ต่อสู้ - ทำภารกิจโจมตี (ดูที่อากาศยานต่อสู้ไร้คนขับ)
  • ขนส่ง - เป็นยูเอวีที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อการขนส่ง
  • วิจัยและพัฒนา - ใช้เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีของยูเอวีเพื่อนำไปใช้กับยูเอวีจริง
  • พลเรือนและการตลาด - เป็นยูเอวีที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้โดยพลเรือน

พวกมันสามารถจัดประเภทตามพิสัยและความสูงได้ตามนี้

  • แบบขนาดเล็ก บินได้ 2,000 ฟุต พิสัย 2 กิโลเมตร
  • แบบสำหรับระยะใกล้ บินได้ 5,000 ฟุต พิสัย 10 กิโลเมตร
  • แบบนาโต้ บินได้ 10,000 ฟุต พิสัย 50 กิโลเมตร
  • แบบยุทธวิธี บินได้ 18,000 ฟุต พิสัย 160 กิโลเมตร
  • แบบระดับความสูงปานกลาง บินได้ 30,000 ฟุต พิสัย 200 กิโลเมตร
  • แบบระดับความสูงสูง บินได้ มากกว่า 30,000 ฟุต พิสัยไม่จำกัด
  • แบบความเร็วเหนือเสียง มีความเร็วตั้งแต่ 1-5 มัค และ 5 มัคขึ้นไป โดยบินได้ 50,000 ฟุต พิสัย 200 กิโลเมตร
  • แบบบินในวงโคจรโลก เร็วมากกว่า 25 มัค

รูปแบบการทำงาน

ยูเอวีนั้นมีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่นั้นจะเป็นระบบรีโมต นั่นก็เพื่อการสอดแนมที่เป็นหน้าที่ของยูเอวีส่วนใหญ่ ยูเอวีส่วนน้อยที่ทำหน้าที่ขนส่ง

ตัวตรวจจับ

อาร์คิว-7 ชาโดว์ที่สามารถบรรทุกของได้ 20 ปอนด์ มันจะมีอุปกรณ์การแพทย์สำหรับส่งให้กับทหารในแนวหน้า

การทำงานแบบนี้จะมีทั้งเซ็นเซอร์แม่เหล็กไฟฟ้า เซ็นเซอร์ชีวภาพ และเซ็นเซอร์เคมี แบบที่เป็นเซอร์แม่เหล็กไฟฟ้าจะใช้ทั้งกล้องสเปคตรัมภาพ อินฟราเรด หรือสิ่งที่คล้ายอินฟราเรดเช่นเดียวกับเรดาร์ ตัวตรวจจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างเซ็นเซอร์ไมโครเวฟและอัลตร้าไวโอเล็ตนั้นก็กใช้เช่นกัน แต่ไม่มากนัก เซ็นเซอร์ชีวภาพนั้นสามารถตรวจจับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กหรือองค์ประกอบทางชีวิภาพที่ลอยมากทางอากาศได้ เซ็นเซอร์เคมีนั้นจะใช้เลเซอร์เพื่อประเมินส่วนประกอบต่างๆ ที่อยู่ในอากาศ

การขนส่ง

ยูเอวีสามารถขนส่งวัสดุได้หลายอย่างโดยขึ้นอยู่กับตัวยูเอวีเอง โดยส่วนใหญ่นั้นก็จะเป็นการเก็บวัสดุไว้ภายในโครงสร้าง ในแบบที่เป็นเฮลิคอปเตอร์นั้นจะบรรจุวัสดุไว้ด้านนอกหรือข้างใต้ได้ ในแบบที่เป็นอากาศยานปีกนิ่งจะติดตั้งไว้กับโครงสร้าง แค่อากาศพลศาสตร์ของยูเอวีนั้นอาจด้อยลงไป สำหรับกรณีนั้นวัสดุจะต้องบรรจุในหีบห่อเมื่อต้องทำการขนส่ง

การวิจัยทาง

ยูเอวีมีความสามารถที่ไม่เหมือนใครในการเจาะทะลุพื้นที่ซึ่งอาจอันตรายเกินไปสำหรับนักบิน มันเคยถูกใช้ในการตามหาเฮอร์ริเคนในปีพ.ศ. 2549 ในออสเตรเลียมีการออกแบบและผลิตระบบน้ำหนัก 35 ปอนด์ ซึ่งสามารถบินเข้าไปในพายุเฮอร์ริเคนและให้การสื่อสารเกือบเท่าเวลาจริงกับศูนย์เฮอร์ริเคนในฟลอริดาได้ นอกจากมันจะให้ข้อมูลแรงดันบารอเมตริกแบบมาตรฐานกับข้อมูลอุณหภูมิแล้ว มันยังเข้าใกล้พื้นน้ำได้มากกว่าเคยอีกด้วย การใช้งานในอนาคตสำหรับยูเอวีจะมากขึ้นเมื่อมีการพัฒนาการอำนวยความสะดวกภายในน่านฟ้าสากล

การโจมตี

ด้านท้ายของเอ็มคิว-1 พรีเดเตอร์

เอ็มคิว-1 พรีเดเตอร์เป็นยูเอวีติดอาวุธด้วยขีปนาวุธเฮลไฟร์ที่ปัจจุบันถูกใช้เพื่อจัดการเป้าหมายบนพื้นดินในพื้นที่อันตราย พรีเดเตอร์ที่ติดอาวุธถูกใช้ครั้งแรกในปลายปีพ.ศ. 2544 จากฐานในปากีสถานและอุซเบกิสถาน ส่วนมากใช้เพื่อทำการลอบสังหารในอัฟกานิสถาน ตั้งแต่นั้นมาก็มีการรายงานจำนวนมากถึงการลอบสังหารที่เกิดขึ้นในปากีสถาน ข้อได้เปรียบจากการใช้ยูเอวีคือเพื่อหลีกเลี่ยงการทูตที่ว่าเครื่องบินควรถูกยิงตกและนักบินถูกจับ ตั้งแต่มีการทิ้งระเบิดในประเทศเพื่อนบ้านโดยที่ไม่มีการขออนุญาตจากประเทศนั้นๆ[4][5][6][7]

พรีเดเตอร์ที่ตั้งฐานในประเทศเพื่อนบ้านอาหรับ ถูกใช้เพื่อสังหารกลุ่มอัลกออิดะฮ์ในเยเมนเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 นี้เป็นครั้งแรกที่ใช้พรีเดเตอร์เป็นอากาศยานโจมตีนอกเขตสงครามอย่างอัฟกานิสถาน[8]

มีคำถามเกิดขึ้นเกี่ยวกับความแม่นยำของยูเอวี ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 "เดอะ การ์ดเดียน"ได้รายงานว่ายูเอวีติดอาวุธของอิสราเอลได้สังหารชาวปากีสถานไป 48 รายในฉนวนกาซา รวมทั้งเด็กอีกสองคนในสนามและผู้หญิงกับเด็กผู้หญิงกลุ่มหนึ่งบนถนน[9] ในเดือนมิถุนายน กลุ่มสิทธิมนุษยชนได้สืบสวนการโจมตีหกครั้งของยูเอวีซึ่งทำให้พลเรือนเสียชีวิต และพบว่ากองกำลังอิสราเอลไม่สามารถระบุได้ว่าเป้าหมายดังกล่าวคือทหารหรือพลเรือน [10][11][12] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 มีรายงานว่าการโจมตีของโดรนในปากีสถานโดยสหรัฐ ได้สังหารพลเรือนไป 10 รายต่อทหารทุกหนึ่งนาย[13][14] เอส. อัซเหม็ด ฮัสซัน อดีตทูตปากีสถาน ได้กล่าวในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 ว่ายูเอวีของอเมริกาที่ทำการโจมตีทำให้ปากีสถานกลายเป็นศัตรูของสหรัฐ และการโจมตี 35-40 ครั้งฆ่าทหารอัลกออิดะฮ์ไปเพียง 8-9 นายเท่านั้น[15]

ค้นหาและช่วยเหลือ

ยูเอวีดูเหมือนจะมีบทบาทมากขึ้นในการค้าหาและช่วยเหลือในสหรัฐ นั่นแสดงให้เห็นชัดเจนเมื่อยูเอวีทำหน้าที่ของมันในเหตุการณ์หลังเฮอริเคนเมื่อปีพ.ศ. 2551 ในการค้นหาผู้คนในหลุยส์เซียน่าและเท็กซัส

ตัวอย่างเช่น พรีเดเตอร์ที่ทำการบินระหว่าง 18,000-29,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล จะทำหน้าที่ค้าหาและช่วยเหลือและประเมินความเสียหาย โดยมันจะติดตั้งเซ็นเซอร์มองและเรดาร์ เรดาร์ของพรีเดเตอร์สามารถทำงานได้ในทุกสภาพอากาศ มันจะให้ภาพที่คมชัดผ่านกลุ่มเมฆ ฝน หรือหมอก และได้ทั้งกลางวันและกลางคืน

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Pir Zubair Shah, "Pakistan Says U.S. Drone Kills 13", New York Times, June 18, 2009.
  2. David Axe, "Strategist: Killer Drones Level Extremists’ Advantage", Wired, June 17, 2009.
  3. 3.0 3.1 3.2 Taylor, A. J. P. Jane's Book of Remotely Piloted Vehicles.
  4. Fox News
  5. Defense Industry Daily
  6. MSNBC
  7. Globe and Mail
  8. Federation of American Scientists
  9. The Guardian, 23 March 2009. "Cut to pieces: the Palestinian family drinking tea in their courtyard: Israeli unmanned aerial vehicles—the dreaded drones—caused at least 48 deaths in Gaza during the 23-day offensive." Retrieved on August 3, 2009.
  10. "Precisely Wrong: Gaza Civilians Killed by Israeli Drone-Launched Missiles", Human Rights Watch, 30 June 2009.
  11. "Report: IDF used RPV fire to target civilians", YNET, 30 June 2009
  12. "Israel/Gaza: Civilians must not be targets: Disregard for Civilians Underlies Current Escalation". Human Rights Watch. 2008-12-30. สืบค้นเมื่อ 2009-08-03.
  13. Drones kill 10 civilians for one militant: US report, Dawn (newspaper), 2009-07-21
  14. "Do Targeted Killings Work?", Brookings Institution, 2009-07-14
  15. Newsweek, July 8, 2009. Anita Kirpalani, "Drone On. Q&A: A former Pakistani diplomat says America's most useful weapon is hurting the cause in his country." Retrieved on August 3, 2009.

UAVs world classification