ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โยเซ็ฟ เพ็ทซ์วัล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: ja:ジョセフ・マキシミリアン・ペッツヴァール
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต เพิ่ม: sv:Josef Maximilian Petzval
บรรทัด 57: บรรทัด 57:
[[pt:Josef Maximilian Petzval]]
[[pt:Josef Maximilian Petzval]]
[[sk:Jozef Maximilián Petzval]]
[[sk:Jozef Maximilián Petzval]]
[[sv:Josef Maximilian Petzval]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:46, 24 กุมภาพันธ์ 2556

โจเซฟ แมกซิมิเลียน เพทช์วอล (สโลวัก: Jozef Maximilián Petzval Josef , Maximilian Petzval , Petzvál József Miksa) (6 มกราคม พ.ศ. 235017 กันยายน พ.ศ. 2434)

เพทช์วอล เกิดในฮังการี เขาได้เข้ารับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งบูดาเปสต์ ที่นั่นเขาได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้สอนบรรยายวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1835) และในปี พ.ศ. 2380 (ค.ศ. 1837) เขาได้ย้ายไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยแห่งกรุงเวียนนา

กล้อง Dagurre ได้ถูกเรียกว่า “Wollaston – Chevalies” เลนส์ด้วยเช่นกัน เลนส์ชนิดนี้ได้ถูกใช้ได้จริงกับกล้อง Daguerrotype แต่เลนส์ไม่มีความสามารถมากพอสำหรับช่องรับแสงที่ f/17และไม่มีทีเดียวที่จะได้รับความสะดวกว่องไวและคมชัดที่ดีพอในขณะที่เปิดช่องรับแสง

เพทช์วอล ได้ออกแบบเลนส์ชนิดใหม่มา 2 ชนิด

  • ชนิดแรกคือเลนส์ Portrait ประกอบด้วยช่องรับแสงที่ f/3.6 และเลนส์ชนิดนี้ดีกว่า Chevalier type 16 เท่า
  • ชนิดที่ 2 เหมาะสำหรับภาพถ่าย วิวทิวทัศน์ (landscapr) และภาพถ่ายสถาปัตยกรรม (architecture) และตัวเลนส์ได้ถูกเรียกว่า “Orthoscoop”เลนส์ Orthoscoop มีช่องรับแสงที่เล็กกว่าเลนส์ Porirait แต่มี ความคมชัดที่ Image-field มากกว่า

เพทช์วอล ได้ต้องการความช่วยเหลือจากผู้ช่วยหลายคนเพื่อที่จะได้แสดงผลงานการคำนวณครั้งยิ่งใหญ่ของตน ดังนั้นเมื่อเจ้าชายลุดวิก ทราบข่าว จึงได้ตัดสินใจที่จะช่วยเหลือเพทช์วอล และได้ส่งเหล่าทหารหลายรายที่มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไกมาช่วยเพทช์วอล ซึ่งทหารเหล่านั้นได้รับการฝึกฝนเกี่ยวกับการคณิตศาสตร์มาเป็นอย่างดี และในปี พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) เลนส์สามารถผลิตขึ้นได้โดยบริษัท Voightland

ตัวเลนส์มีความยาวรัศมีที่มีส่วนโค้งและได้ถูกผลิตด้วยกระจกแบบพอเศษ และได้ถูกปิดเป็นความรับที่มีเพียง เพทช์วอล และช่างผลิตเลนส์ของบริษัท “Voigtlander” เท่านั้นที่รู้

ด้วยเลนส์ของ เพทช์วอล ได้ใช้ได้จริงกับภาพถ่ายบุคคล (Portrait) และเริ่มเป็นจริงในที่สุดและด้วยสาร iodine-bromine และ iodine-chlorine เพลท เวลาการรับแสงในการถ่ายภาพสามารถลดลงเหลือที่ 15–30 วินาที

ในปี พ.ศ. 2399 (ค.ศ. 1856) บริษัท Dietzler ได้สร้างเลนส์ที่มีรัศมี 6 ฟุต และน้ำหนักเกือบ 15 กก.ด้วยเลนส์ตัวนี้ ภาพถ่ายสามารถมีขนาดใหญ่ถึง 13x16 ฟุต (32x42 ซ.ม.)

ในปี พ.ศ. 2408 (ค.ศ. 1865) ในนิทรรศการภาพถ่ายนานาชาติในกรุงเบอร์ลิน กล้องและเลนส์ที่มีขนาดรัศมีที่ 8 ฟุต จึงเป็นที่ ได้รู้จัก ตัวกล้องและเลนส์รวมทั้งขาตั้งกล้องมีน้ำหนักรวมกันมากกว่า 100 กก.

ในปารีส Disdêri ได้ทดลองด้วยกล้องที่ติดเลนส์ที่มีรัศมี 11 ฟุต (27 ซม.) เขาได้ใช้วิธีการCollodion เพลท Petzval ได้ปรับปรุงเลนส์ lansvape (the orthoscope) และได้วางตลาดในปี พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1875) ภายใต้ชื่อ “Photographischer dialyt” ตัวเลนส์ถูกผลิตขึ้นโดยบริษัท Dietzler แต่ในไม่นานบริษัท “Voigtlader” ก็ได้ผลิตเลนส์นี้ขึ้นเหมือนกันภายใต้ชื่อ “Voightland Orthoscope” นี่คือจุดเริ่มต้นของข้อพิพาทโต้แย้ง อันสาหัสและยาวนานระหว่าง Petzval และ Voightkander ที่เกี่ยวกับสิทธิในการออกแบบเลนส์ ในท้ายที่สุด Petzval ก็ไม่ได้รับผลตอบแทนจากการประดิษฐ์ “orthoscope” กลับมา

หลังจากเหตุการณ์นี้เพทช์วอล จึงได้ตัดสินใจทำงานแต่กับบริษัท Dietzler เท่านั้น แต่ทางบริษัทก็ได้ล้มละลายลงในไม่นาน จากนั้นเพทช์วอล ก็ได้ทำงานโดยตัวของเขาเอง แต่ใน พ.ศ. 2402 (ค.ศ. 1859) เนื่องจากได้เกิดการโจรกรรมขึ้นกับเค้าต้นฉบับทฤษฎีที่เกี่ยวกับเลนส์จึงได้ถูกทำลายลงจากเหตุการณ์นั้น ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้ตัดสินใจที่จะเลิกสนใจและศึกษาค้นคว้าเรื่องเลนส์ แต่ได้หันมาสนใจเกี่ยวกับดนตรีอคูสติก เป็นพิเศษแทน

ในปี พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) เพทช์วอล ได้เลิกสอนบรรยายที่มหาวิทยาลัย

ในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) ขณะที่เขาอายุได้ 62 เขาได้สมรสกับแม่บ้านของเขา แต่น่าเศร้าที่อีก 4 ปีต่อมาหล่อนก็ได้เสียชีวิตลง

เมื่อเขาอายุได้ 70 ปี เพทช์วอลก็ได้ลาออกจากการเป็นผู้บรรยาย เขาได้ถอนตัวเองออกจากคนรอบข้างและเริ่มที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวและหลีกเลี่ยงที่จากสังคมมนุษย์ เขาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) , เป็นที่น่าขมขื่นที่เขาได้ทะเลาะกับ บริษัท Voightland และด้วยความล้มเหลวของโครงการของเขากับบริษัท Dietzler และด้วยการขาดแคลนรางวัลสำหรับชีวิตการทำงานในการเป็นผู้ประยุกต์เลนส์