ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผักกาดหอม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: ลิงก์บทความคัดสรร en:Lettuce
Nallimbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต: แก้ไขจาก zh:生菜 ไปเป็น zh:莴苣
บรรทัด 105: บรรทัด 105:
[[ug:ظوسذث]]
[[ug:ظوسذث]]
[[uk:Салат (рослина)]]
[[uk:Салат (рослина)]]
[[zh:生菜]]
[[zh:莴苣]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:30, 22 กุมภาพันธ์ 2556

ผักกาดหอม
Iceberg lettuce field in Northern Santa Barbara County
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Asterales
วงศ์: Asteraceae
สกุล: Lactuca
สปีชีส์: L.  sativa
ชื่อทวินาม
Lactuca sativa
L.

ผักกาดหอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lactuca sativa) เป็นพืชในวงศ์ Asteraceae ลำต้นเตี้ย แต่ส่วนที่เจริญมากที่สุดคือใบ แต่ละสายพันธุ์ก็มีช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมไม่เหมือนกัน มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและยุโรป ประเทศจีนปลูกผักกาดหอมมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ผักกาดหอมมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกเช่น ผักสลัด ผักกาดยี พังฉ้าย เป็นต้น

มนุษย์นำใบของผักกาดหอมมาบริโภค มักใช้เป็นส่วนประกอบของสลัด แซนด์วิช แฮมเบอร์เกอร์ ทาโก้ หรือรับประทานเป็นผักสด แกล้มกับอาหารรสจัดจำพวกยำหรือลาบ สาคูไส้หมู หรือข้าวเกรียบปากหม้อ หรือแม้แต่ใช้เป็นผักตกแต่งเพื่อความสวยงาม ผักกาดหอมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง[ต้องการอ้างอิง] ความต้องการใช้ผักกาดหอมของผู้บริโภคมีอยู่ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงที่มีเทศกาลงานต่าง ๆ เช่น งานปีใหม่ จะขายดีเป็นพิเศษ

สายพันธุ์

สายพันธุ์ของผักกาดหอมแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

  1. ผักกาดหอมที่ห่อหัวคล้ายกะหล่ำปลี (head lettuce)
  2. ผักกาดหอมชนิดธรรมดาไม่ห่อ (leaf lettuce)
  3. ผักกาดหอมที่มีลำต้นยาว (stem lettuce)

ในประเทศไทยนิยมปลูก 2 ประเภท ได้แก่

  1. คริสป์เฮด (Crisp Head) หรือไอซ์เบิร์ก (Iceberg) คือผักกาดหอมห่อหรือผักกาดแก้ว มีลักษณะใบบางกรอบและขอบใบหยัก ปลูกได้ในระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม แต่ปลูกได้ดีที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายนพอปลูกได้บ้างในบริเวณที่สูงทางภาคเหนือบางเขต ต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตระหว่าง 15.5–21 องศาเซลเซียส พันธุ์คริสป์เฮดเช่น
    • เกรต เลก 659 (Great Lake 695 TARII) เป็นพันธุ์หนักปานกลาง ใบสีเขียวเข้มหยัก พันธุ์นี้ไม่ค่อยมีปัญหาใบไหม้ (Sun burn)
    • เกรต เลก 366 (Great Lake 366 TAII) เป็นพันธุ์ค่อนข้างเบา หัวห่อกลม มีใบสีเขียว รอบนอกใบหยัก มีความต้านทานโรคใบแห้วทิปเบิร์น (Tip Burn)
    • ซัมเมอร์ เลก (Summer Lake) เป็นพันธุ์เบา หัวห่อกลมสีเขียวอ่อน ใบหนัก
  2. ลีฟ (Leaf) หรือลูสลีฟ (Loose Leaf) คือผักกาดหอมใบหยิก ใบมีลักษณะหยิกเป็นคลื่นสีของใบ มีตั้งแต่สีเขียวอ่อนจนถึงสีแดง แต่เรามักจะพบเห็นใบสีเขียวอ่อนมากกว่า พันธุ์นี้สามารถปลูกได้ตลอดปี และจะปลูกได้ดีที่สุดในช่วงเดือนตุลาคม–เมษายน อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 21-26.6 องศาองศาเซลเซียส พันธุ์ลีฟเช่น
    • แกรนด์ แรปปิด (Grand Rapid) มีใบสีเขียวอ่อน ใบม้วนและหยักอัดกันแน่น ต้นใหญ่เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด
    • แบล็ก ซีดเดด ซิมป์สัน (Black Seeded Simpson) เมล็ดสีดำ มีต้นใหญ่ ใบหยักฝอยยู่ยี่อัดกันแน่นมาก

การเพาะปลูก

ผักกาดหอมเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน แต่ก็สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด ดินที่ใช้ปลูกต้องระบายน้ำได้ดี มีค่า pH ในดิน 6.5-7 ขุดดินเป็นร่องตื้นแล้วหว่านเมล็ดลงไป รดน้ำวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น อย่างสม่ำเสมอ เมื่อผักกาดหอมงอกแล้วอาจต้องมีการย้ายกล้าออกเพื่อไม่ให้อยู่ติดกันแน่นเกินไป ผักกาดหอมเป็นผักที่ไม่ค่อยมีแมลงรบกวน จึงไม่จำเป็นต้องฉีดยาฆ่าแมลง แมลงศัตรูพืชที่พบบ้างก็มีเพลี้ย กับหนอนกระทู้หอม ซึ่งพบมากในฤดูหนาวแถวภาคกลางและภาคเหนือ อายุการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมประมาณ 40-50 วัน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ วิกิตำรา)

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA