ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นางบำเรอ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แทนที่คำ
HRoestBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.5) (โรบอต เพิ่ม: it:Comfort women
บรรทัด 45: บรรทัด 45:
[[id:Jugun ianfu]]
[[id:Jugun ianfu]]
[[io:Mulieri di komforto]]
[[io:Mulieri di komforto]]
[[it:Comfort women]]
[[ja:慰安婦]]
[[ja:慰安婦]]
[[ko:위안부]]
[[ko:위안부]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:45, 17 กุมภาพันธ์ 2556

เด็กหญิงชาวจีนคนหนึ่งซึ่งเคยเป็นนางบำเรออยู่ใน "กองพันนางบำเรอ" แห่งกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์แก่นายทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2488

นางบำเรอ (อังกฤษ: confort woman; ญี่ปุ่น: 慰安婦โรมาจิianfu หรือ 従軍慰安婦; จีนตัวย่อ: 慰安妇; จีนตัวเต็ม: 慰安婦; พินอิน: Wèiān Fù; เวด-ไจลส์: Wei-An Fu; เกาหลี위안부; ฮันจา慰安婦; อาร์อาร์wianbu; เอ็มอาร์wianbu) เป็นคำเรียกสตรีซึ่งถูกทหารในสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นเอาตัวลงเป็นทาสกามารมณ์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง[1][2]

นางบำเรอเหล่านั้นเป็นสตรีวัยรุ่นชาวประเทศซึ่งจักรวรรดิญี่ปุ่นยึดครองได้ ส่วนใหญ่นำมาจากประเทศเกาหลี ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศฟิลิปปินส์[3] ขณะที่สตรีชาวไทย เวียดนาม มาเลย์ ไต้หวัน และดินแดนอื่น ๆ ในความยึดครองของจักรวรรดิญี่ปุ่น ถูกใช้แรงงานอยู่ ณ สำนักนางบำเรอซึ่งตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน ประเทศไทย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย กลุ่มประเทศมลายูอังกฤษ ประเทศพม่า เกาะนิวกินี เกาะฮ่องกง เกาะมาเก๊า และอาณานิคมอินโดจีนฝรั่งเศส[4] สำนักนางบำเรอดังกล่าว ทหารในสมเด็จพระจักรพรรดิเป็นผู้ดำเนินกิจการ มีทั้งที่ทำการเองโดยตรง และที่ตั้งเอกชนให้ทำการแทนแล้วคอยกำกับดูแล[1][2]

สตรีข้างต้น ส่วนใหญ่ได้มาโดยวิธีลักพา แต่ที่ใช้อาวุธจี้พามาก็มี กับที่ลวงว่าจะพามาทำงานในโรงงานหรือร้านอาหารก็มี แต่จำพวกหลังนี้ เมื่อยินยอมมาด้วยแล้ว ก็จะถูกกักขังไว้ที่สำนักนางบำเรอทันที อนึ่ง สตรีบางคนถูกชำเราแล้วจึงส่งเข้าสำนักนางบำเรอก็มี[2][5] สำหรับนางบำเรอนั้น ประมาณจำนวนไว้ต่างกัน นักวิชาการชาวญี่ปุ่นบางคนคำนวณไว้ที่สองหมื่นคนเป็นอย่างน้อย[6] และนักวิชาการชาวจีนว่า สี่แสนหนึ่งหมื่นคนเป็นอย่างสูง[7] แต่ตัวเลขที่ถูกต้องนั้นยังเป็นที่ค้นคว้าและอภิปรายกันอยู่

นักวิชาการชาวญี่ปุ่นบางคน เช่น อิกุฮิโกะ ฮะตะ (Ikuhiko Hata) นักประวัติศาสตร์ โต้แย้งว่า รัฐบาลหรือทหารในสมเด็จพระจักรพรรดิไม่ได้จัดหานางบำเรอโดยกระทำอย่างเป็นองค์กร[8] ขณะที่นักวิชาการชาวญี่ปุ่นบางคนอาศัยคำให้การของอดีตนางบำเรอและทหารในสมเด็จพระจักรพรรดิมาชี้ว่า ทั้งกองทัพบกแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นและกองทัพเรือแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นมีส่วนโดยตรงและโดยอ้อมในการข่มขืนใจ ฉ้อฉล ล่อลวง และลักพาสตรีวัยรุ่นในทุก ๆ ดินแดนที่ตนยึดครองได้[9]

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ นางบำเรอ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Tessa Morris-Suzuki (March 8, 2007), Japan's 'Comfort Women': It's time for the truth (in the ordinary, everyday sense of the word), The Asia-Pacific Journal: Japan Focus, สืบค้นเมื่อ 2011-08-04
  2. 2.0 2.1 2.2 WCCW 2004.
  3. Women and World War II - Comfort Women
  4. Reuters & 2007-03-05.
  5. Yoshimi 2000, pp. 100–101, 105–106, 110–111;
    Fackler & 2007-03-06;
    BBC & 2007-03-02;
    BBC & 2007-03-08.
  6. Asian Women'sFund, p. 10.
  7. Rose 2005, p. 88.
  8. Hata Ikuhiko, NO ORGANIZED OR FORCED RECRUITMENT: MISCONCEPTIONS ABOUT COMFORT WOMEN AND THE JAPANESE MILITARY (PDF), hassin.sejp.net, สืบค้นเมื่อ 2008-12-15 (First published in Shokun May, 2007 issue in Japanese. Translated by Society for the Dissemination of Historical Fact).
  9. Onishi & 2007-03-08.

แม่แบบ:Link FA