ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสือโคคำฉันท์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
[[หมวดหมู่:คำฉันท์]]
[[หมวดหมู่:คำฉันท์]]
{{โครงวรรณกรรม}}
{{โครงวรรณกรรม}}



ประวัติ เรื่อง เสือโคคำฉันท์
 เป็นเรื่องที่มีต้นเรื่องปรากฏอยู่ในปัญญาสชาดกที่เชื่อกันว่า ภิกษุเชียงใหม่รวบรวมและเรียบเรียงขึ้น หลักฐานความเก่าแก่ของเรื่องนี้ สันนิฐานกันว่าแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง แต่งก่อนสมุทรโฆษคำฉันท์ เป็นเรื่องที่เล่าต่อๆมาช้านาน ระหว่างลูกเสือและลูกโค
ประวัติของวรรณคดี เรื่อง เสือโคคำฉันท์'''
เป็นยุคทองของวรรณคดี” มีกวีและวรรณคดีเกิดขึ้นมากมาย ลักษณะคำประพันธ์นิยม ใช้โคลงมากที่สุด ฉันท์และกาพย์มีบ้าง ไม่ปรากฏคำประพันธ์ประเภทกลอน



ผู้แต่ง พระมหาราชครู
พระมหาราชครู สันนิษฐานว่ามีเชื้อสายพราหมณ์เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรแด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช อาจดำรงตำแหน่งพระมหาราชครูฝ่ายลูกขุน ณ ศาลหลวง หรือ พระมหาราชครูพราหมณ์ปุโรหิตอย่างใดอย่างหนึ่ง มีบางท่านสันนิษฐานว่าเป็นคนเดียวกับพระโหราธิบดีชาวเมืองพิจิตร ผู้แต่งจินดามณี เนื่องจากได้เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงเรียกกันว่า “พระมหาราชครู”
แต่ตามความจริงตำแหน่งพระมหาราชครูกับโหราธิบดีเป็นคนละตำแหน่งดังปรากฏในกฎมณเฑียรบาล พระมหาราชครูที่แต่งสมุทรโฆษคำฉันท์ตอนต้นและแต่งเสือโคคำฉันท์กับพระโหราธิบดีที่แต่งจินดามณี จึงน่าจะต่างคนกัน
สันนิษฐานว่าแต่งเสือโคคำฉันท์ก่อนสมุทรโฆษคำฉันท์ โดยนำเค้าเรื่องมาจากปัญญาสชาดก เรื่อง พหลคาวีชาดก ปัญญาสชาดกเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระประวัติของพระโพธิสัตว์ ภิกษุชาวเชียงใหม่แต่งไว้เป็นภาษาบาลี มี ๕๐ เรื่อง ประมาณ พ.ศ. ๒๒๐๐




จุดมุ่งหมายในการแต่ง
 เสือโคคำฉันท์มีจุดมุ่งหมายเพื่อสอนคติธรรม





องค์ประกอบของวรรณคดี เรื่อง เสือโคคำฉันท์
แนวคิดของเรื่องเสือโคคำฉันท์
 สอนคติธรรม
 สอนคติเรื่องความกตัญญู
 สอนคติเรื่องความซื่อสัตย์
 การมีความเมตตาต่อผู้ที่กำลังลำบาก
 การไม่พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ย่อมทำให้ตนมีความทุกข์
 ความโลภย่อมนำไปสู่ความวิบัติ






โครงเรื่อง เสือโคคำฉันท์
เริ่มด้วยบทไหว้ครู ไหว้เทวดา และบทเทิดเกียรติกษัตริย์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับลูกเสือกับลูกโคที่พระฤๅษีได้ชุบให้เป็นมนุษย์ โดยให้ชื่อลูกเสือว่า "พหลวิไชย" ส่วนลูกโคได้ให้ชื่อว่า "คาวี” และผจญภัยต่างคนต่างได้ชายาและได้ปกครองเมืองคนละเมืองอบ่างมีความสุข







เนื้อเรื่องโดยย่อ
เริ่มต้นกล่าวสรรเสริญคุณเทวดา กษัตริย์ และพระรัตนตรัยแล้วดำเนินเรื่องว่าเสือแม่ลูกอ่อนและโคนมแม่ลูกอ่อนอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง วันหนึ่งแม่เสือออกไปหาอาหาร ลูกโคสงสารจึงบอกแม่ให้นมแก่ลูกเสือ ลูกเสือและลูกโคจึงเริ่มรักกันอย่างพี่น้อง แม่เสือสาบานว่าจะไม่ทำลูกโค แต่แม่เสือไม่รักษาคำสัตย์กินแม่โคเสีย ลูกเสือและลูกโคจึงช่วยกันฆ่าแม่เสือ





บัดนั้นลูกพยัคฆ์ ใส่กลทำรัก แม่เข้าไปหา
เคล้าคลึงเคลียชม ตระบัดโกรธา แหงนกัดกรรฐา คอขาดบัดใจ





แล้วชวนกันไปหากินจนพบพระฤๅษีพระฤๅษีเมตตาชุบให้เป็นคน ลูกเสือเป็นพี่ได้ชื่อว่าพหลวิไชย ลูกโคเป็นน้องชื่อว่าคาวี





ธก็ถาปนปราณ และประทานชีวิตร
ยุพรีกลสถิต ดลขรรธไร
ธก็สมมุตินาม พหลวิไชย
นุชนาถประไพ พระคาวีนทรบดินทร์






พระฤๅษีอวยพรและมอบพระขรรค์วิเศษให้ ทั้งสองจึงลาฤๅษีไปเจอเมืองมคธพระคาวีได้ฆ่ายักษ์ที่คอยทำร้ายชาวเมืองนั้นตาย ได้นางสุรสุดา ราชธิดาท้าวมคธ แต่พระคาวีถวายแด่พระพี่ชายแล้วออกเดินทางต่อ เมื่อไปถึงเมืองร้างเมืองหนึ่งพบกลองใหญ่ไม่ดังผ่าดูพบนางจันทร ธิดาท้าวมัทธราชแห่งรมนคร ได้ทราบความจากนางว่านกอินทรีย์ใหญ่คู่หนึ่งบินมากินชาวเมืองตลอดจนพ่อแม่ นางรอดชีวิตได้ก็เพราะกลองใบนั้น พระคาวีปราบนกอินทรีด้วยพระขรรค์วิเศษและได้นางจันทรเป็นชายา วันหนึ่งนางจันทรลงสรงน้ำในแม่น้ำ ผมร่วงเลยนำใส่ในผอบและลอยน้ำไป





เกษีสินีนาง นุชนารถนงคราญ
หลุ้ยหล่นก็บันดาล ศิโรทกโสรจสรง
เอาใส่ยังวรโกษฐ์ มณีโชติแสงใส
แล้วลอยชลาไลย สุตกระบัตรเสด็จคืน






ท้าวยศภูมิเจ้าเมืองพันธวิไสยเก็บได้ หลงใหลผมหอมนั้น นางทาสีอาสานำนางมาถวาย โดยออกอุบายล้วงความลับเกี่ยวกับพระขรรค์จากนางจันทร ครั้นทราบว่าพระคาวีถอดพระชนม์ไว้ในพระขรรค์ จึงนำพระขรรค์ไปเผาไฟ พระคาวีสลบไป แล้วนางทาสีพานางจันทรไปถวายท้าวยศภูมิ แต่ไม่อาจเข้าใกล้ได้เพราะร้อนเป็นไฟ






ด้วยเดชะบุญนาง รัศมีเปล่งคือฟอนไฟ
ร้อนองค์ภูธร คือดั่งเพลิงมาเผาผลาญ
แต่นั้นจะเข้าใกล้ อรองค์เยาวมาลย์
บได้เดือดดาล ฤทัยโศกเสน่หาฯ







ด้วยความภักดีที่มีต่อพระคาวี เมื่อพระพหลวิไชยเห็นบัวอธิษฐานเหี่ยวลงเป็นลางร้ายจึงตามหาร่างพระคาวี และพบพระขรรค์ในกองไฟ มาชำระล้างวางบนองค์พระคาวี พระคาวีพื้นขึ้นแล้ว ก็ออกตามหานางจันทรถึงเมืองท้าวยศภูมิ พระพหลวิไชยแปลงเป็นพระฤๅษีอาสาชุบท้าวยศภูมิให้เป็นหนุ่มแล้วฆ่าเสียเอาพระคาวีออกมาแทนอ้างว่าชุบตัวเป็นหนุ่มได้สำเร็จ พระคาวีได้อภิเษกกับนางจันทรและได้ครองเมืองพันธวิไสยสืบมา





ตัวละคร
 คาวี เป็นหนุ่มผู้สง่างามด้วยความที่เกิดมาจากวัว จึงมีนิสัยอ่อนโยน ใจดี ไม่กล้าทำร้ายใคร คาวีพยายามฝึกการต่อสู้ และความกล้าหาญ เพื่อสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้
 หลวิชัย เป็นคนเฉลียวฉลาดมีพระขรรค์เป็นอาวุธ มีสัญชาติญาณเสือแฝงอยู่ หลวิชัยต้องพยายามควบคุมสัญชาติญาณ และห้ามฆ่าผู้อื่น เพราะจะทำให้มนต์ฤๅษีเสื่อมกลับกลายเป็นเสืออีก
 ท้าวยศภูมิปกครองเมืองพัทธวิไสยมีนิสัยเจ้าชู้มีเมียเยอะและอยากได้นางผมหอมเป็นชายา
 นางจันทร มีรูปร่างงดงามผมมีกลิ่นหอมหน้าตาสวยงามเป็นลูกของท้าวพรหมจักรแห่งเมืองจันท์นครมีความซื่อสัตย์ต่อสามีผู้เป็นที่รัก
 ยายเฒ่าทาสีเป็นยายเฒ่าเจ้าเล่ห์ที่นำพระขรรค์ของคาวีไปเผาแล้วนำนางจันทรไปให้ ท้าวยศภูมิ
 นางสุรสุดามีรูปโฉมงดงามเป็นลูกสาวของท้าวมคธและนางจันทรวดีที่ปกครอง
เมืองจันทรบุรี







กลวิธีการนำเสนอ
เรื่องเสือโคคำฉันท์แต่งโดยการใช้คำฉันท์ กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ ฉันท์ที่ใช้แต่งไม่มีมากและโคลงไม่เคร่งครัดตามแผนบังคับถ้อยคำสำนวนเข้าใจง่าย






ฉากและบรรยากาศ
จะเริ่มเรื่องจากที่อยู่อาศัยของแม่เสือและลูกเสือคือถ้ำและอาศัยอยู่เมื่อแม่โคตายลูกเสือและลูกโคก็ได้ฆ่าแม่เสือตายและได้เดินทางเจออาศรมของฤๅษี ฤๅษีจึงชุบตัวให้ลูกเสือและลูกโคเป็นหลวิชัยและคาวี หลังจากนั้นก็เดินทางผ่านเมืองมคธและได้ฆ่ายักษ์ตายหลวิชัยได้นางสุรสุดาเป็นชายา หลังจากนั้นคาวีก็เดินทางต่อจนถึงเมืองรมยนครและเจอกลองที่มีนางจันทรและได้ฆ่านกที่มากินชาวเมืองตายและได้นางจันทรเป็นชายา นางจันทรไปเล่นน้ำที่สระน้ำผมหลุดล่วงจึงใส่ผอบลอยน้ำท้าวยศภูมิเก็บได้หลงเสน่ห์นางจันทรจึงให้นางทาสีไปพาตัวนางจันทรมาให้โดยเอาพระขรรค์ไปเผาและพานางจันทรไปเมืองพัทธวิไสยหลวิชัยตามมาช่วยคาวีและแปลงกายเป็นฤาษีไปชุบตัวให้ท้าวยศภูมิและฆ่าตาย คาวีจึงได้อยู่กับนางจันทรอย่างมีความสุข
ด้านสุนทรียะสารัตถะของเรื่องเสือโคคำฉันท์






สุนทรียะเรื่องเสือโคคำฉันท์


สุนทรียะในคำ
 การสัมผัสสระโดยการเล่นสระ ใช้สระเดียวกัน เช่น จำ นำ บำ




ขออยู่เป็นช่วงชาญใน อาศรมอาศัย
จำนำบำเรอมิคลา
 การสัมผัสอักษรโดยการเล่นคำ โดยใช้คำว่า เรือง
เรืองสิทธิเรืองศักดิ์เรืองศรี เรืองเกียรติราชี
แลเรืองพระยศฦาขจร




สุนทรียะในความ



 อุปมา คือ เปรียบเทียบ
วรองคจงแต่ง ดุจเราวัจนา
คือมหิทธิมหา กิจราชพิธีฯ



 อุปลักษณ์ คือ คำที่ใช้คำเชื่อมคำว่า คือ
พักตร์แพรพรรณพราย คือว่าม่านอันอลง
กฎกั้นแลบบรรจง สัตย์ชั้นก็อย่าคลา



 สัทพจน์ คือเสียงเลียนแบบธรรมชาติ
คลื่นคลุ้มคลุ้มทั้งมุจลินท์ ฉ่าฉ่าเสียงสินธุ์
ระลอกกระฉอกชลธี


 บุคคลวัต คือ สิ่งที่แสดงกริยาอาการที่แสดงให้เห็น
คล้าเคล้าแลคลิ้งโครง กระโตรงตรุมกระลุมภู
กระไตรตระในตรู ตระบัดสัตว์หื่นหรรษ์




 รสในวรรณคดี



 เสาวรจนีย์ คือ ชมโฉมนางจันทร
แท่นทองเรืองรองรจนา แก้วเก้าอาภา
พิจิตรจันทรพิมาน
ม่านแพรแพร้วพิดาน ดัดดาษดวงมาลย์
อันพรายด้วยรัตนมณี




 นารีปราโมทย์ คือ ท้าวยศภูมิเกี้ยวพาราสีนางจันทร
แม้มิได้เชยชมสมหมายจะสู้ ชีวาอาสัญ
เหมือนขวัญเนตรน้องต้องจิตใจ




 พิโรธวาทัง คือตอนที่หลวิชัยโกรธและคิดจะฆ่าแม่เสือ
เราเร่งรุมฆ่า ให้มันก้มหน้า ตายตามบัดดล
อย่าไว้ชีวิตร มันนี้นิศผล น้องช่วยกูชน ขวิดท้องให้ตาย



 สัลลาปังคพิสัย คือตอนที่หลวิชัยคิดว่าคาวีตายแล้ว
เจ้ามาสูญหาย วายชีพเดียวดาย บรู้อาการ
ตายอยู่คนเดียว ดุจคนสามัญ ให้พี่เลวลาญ อกเปล่าอาดูร
อกพี่จะคราก โอ้อ้าลำบาก ด้วยเจ้ามาสูญ
ใจแก่พี่ได้ ให้พี่เร่งภูล ทุกขามามูล เพียงสิ้นสุดปราณ





สารัตถะ เรื่อง เสือโคคำฉันท์
 ด้านความเชื่อ



 เกี่ยวกับการเสี่ยงทายดอกบัว
บัวดอกหึ่งไซ้ พี่จักเอาไว้ โดยดังใจหวัง
ถ้าเจ้ามีทุกข์ ขุ่นข้องเคืองขัง เหี่ยวแห้งหายรัง รศเร้าอับอาบ
ถ้าเจ้าเสวยสวัสดิ์ จงดอกบัวปัทม์ สดอยู่อย่าคลาย กลิ่นเกลี้ยงเสาวคนธ์ นฤมลเปรมปราย ดอกหนึ่งเจ้าหมาย รู้ข่าวพี่ยา



 ด้านพิธีกรรม


 เกี่ยวกับพิธีสรงน้ำมุรธา
ระบับระบิน ระบอกภูมินทร์ ย่อมราชครู
ทำสงครามมา ภิเศกดนู ดไนยโดยบู ราณราชวิธี
การใหญ่ยกไว้ ขอทำตามได้ สังเขปโดยมี
แต่อย่าให้เสีย ราชประเพณี ขึ้นเกยไชยศรี มุรธาสรงสนาน




 พิธีสยมพร
ป่างนั้นท่านไท้ทรงนาม ธิเบศร์ชาญสนาม
มคธราชภูธร
ก่อการพิธีสยมพร ธิดาดวงสมร
พหลราชกุมาร




สรุปเรื่อง เสือโคคำฉันท์
เสือโคคำฉันท์เป็นเรื่องเกี่ยวกับลูกเสือและลูกโค ซึ่งพระมหาราชครูเป็นผู้แต่ง นำฉันท์ กาพย์ฉบังและกาพย์สุรางคนางค์มาแต่งเป็นประเภทฉันท์ เป็นเรื่องแรกในประวัติวรรคดีไทยมีเนื้อหา กล่าวถึงลูกเสือและลูกโคสาบานเป็นพี่น้องกันอยู่กับแม่เสือและแม่โคเมื่อแม่โคตายลูกเสือและลูกโคก็ได้ฆ่าแม่เสือให้ตายตาม หลังจากนั้นก็ออกเดินทาง แล้วไปเจอฤาษีก็ได้ชุบตัวเป็นมนุษย์คือหลวิชัยและคาวีซึ่งภายหลังหลวิชัยได้กับนางสุรสุดาส่วนคาวีก็ได้กับนางจันทรและได้ฆ่าท้าวยศภูมิเพราะไปหลงรักนางจันทรโดยลวงว่าจะชุบตัวและฆ่าให้เป็น คาวีจึงปกครองเมืองอย่ามีความสุข เสือโคคำฉันท์เป็นหนังสือประเภทฉันท์เรื่องแรกที่จบสมบูรณ์ ชนิดของฉันท์ที่ใช้แต่งไม่มีมากและโคลงไม่เคร่งครัดตามแผนบังคับ นอกจากนี้มีกาพย์ชนิดต่าง ๆ แต่งอยู่ด้วย ถ้อยคำสำนวนเข้าใจง่าย เรื่องนี้ได้ต้นเค้ามาจากปัญญาสชาดก

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:22, 11 กุมภาพันธ์ 2556

เสือโคคำฉันท์ เริ่มด้วยบทไหว้ครู ไหว้เทวดา และบทเทิดเกียรติกษัตริย์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับลูกเสือกับลูกโคที่พระฤๅษีได้ชุบให้เป็นมนุษย์ โดยให้ชื่อลูกเสือว่า "พหลวิไชย" ส่วนลูกโคได้ให้ชื่อว่า "คาวี"