ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โยงหน้าให้ถูกต้อง
N.M. (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 373: บรรทัด 373:


อนึ่งการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เกิดการคัดค้านและตั้งคำถามต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัยอย่างมากมายและต่อเนื่อง<ref>มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2551). '''บทสัมภาษณ์ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เกี่ยวกับนโยบายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับเส้นทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ.''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://legal.tu.ac.th/tu_51/tu_control/pdf/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5.pdf]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).</ref> เช่น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจะเป็นมหาวิทยาลัยที่สนใจเพียงเรื่องค่าหน่วยกิต ค่าธรรมเนียมการศึกษาซึ่งมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็จะไม่ใส่ใจกับสังคม มหาวิทยาลัยจะเป็นธุรกิจมากขึ้น หรือบุคลากรของมหาวิทยาลัย เมื่อเปลี่ยนสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแล้ว ผู้บริหารจะมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการเห็นสมควรที่จะต่อ หรือไม่ต่อสัญญาจ้างบุคลากร จะมีการประเมินซึ่งมีผู้บริหารเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องการประเมิน หรือเข้าใจว่ามีระบบเผด็จการโดยผู้บริหารมหาวิทยาลัยหรือไม่<ref>มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2551). '''อธิการบดีตอบคำถามเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยในกำกับเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2551 ในการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.... ณ ห้องจิ๊ด เศรษฐบุตร LT.1 คณะนิติศาสตร์ มธ.ท่าพระจันทร์.''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก[http://legal.tu.ac.th/tu_51/tu_control/pdf/%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%202%E0%B9%80%E0%B8%A1.%E0%B8%A2..pdf]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).</ref>
อนึ่งการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เกิดการคัดค้านและตั้งคำถามต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัยอย่างมากมายและต่อเนื่อง<ref>มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2551). '''บทสัมภาษณ์ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เกี่ยวกับนโยบายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับเส้นทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ.''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://legal.tu.ac.th/tu_51/tu_control/pdf/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5.pdf]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).</ref> เช่น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจะเป็นมหาวิทยาลัยที่สนใจเพียงเรื่องค่าหน่วยกิต ค่าธรรมเนียมการศึกษาซึ่งมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็จะไม่ใส่ใจกับสังคม มหาวิทยาลัยจะเป็นธุรกิจมากขึ้น หรือบุคลากรของมหาวิทยาลัย เมื่อเปลี่ยนสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแล้ว ผู้บริหารจะมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการเห็นสมควรที่จะต่อ หรือไม่ต่อสัญญาจ้างบุคลากร จะมีการประเมินซึ่งมีผู้บริหารเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องการประเมิน หรือเข้าใจว่ามีระบบเผด็จการโดยผู้บริหารมหาวิทยาลัยหรือไม่<ref>มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2551). '''อธิการบดีตอบคำถามเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยในกำกับเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2551 ในการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.... ณ ห้องจิ๊ด เศรษฐบุตร LT.1 คณะนิติศาสตร์ มธ.ท่าพระจันทร์.''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก[http://legal.tu.ac.th/tu_51/tu_control/pdf/%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%202%E0%B9%80%E0%B8%A1.%E0%B8%A2..pdf]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).</ref>

วันที่ [[5 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2555]] คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ... โดยอยู่ในระหว่างการส่งให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป <ref>[http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=669458 ครม.เห็นชอบร่างพรบ.ม.ธรรมศาสตร์ ออกนอกระบบ]</ref>


== เตรียมธรรมศาสตร์ ==
== เตรียมธรรมศาสตร์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:54, 5 กุมภาพันธ์ 2556

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อย่อมธ. (TU)
คติพจน์เป็นเลิศ เป็นธรรม ร่วมนำสังคม
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา27 มิถุนายน พ.ศ. 2477
อธิการบดีศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
อธิการบดีศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
นายกสภาฯศ.(พิเศษ) นรนิติ เศรษฐบุตร
ที่ตั้ง
ท่าพระจันทร์
2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

ศูนย์รังสิต
99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
ศูนย์ลำปาง
248 หมู่ 2 ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 52190

ศูนย์พัทยา
39/4 หมู่ 5 ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
เครือข่ายLAOTSE, GMSARN
มาสคอต
อาคารโดม (ตึกโดม หรือแม่โดม)
เว็บไซต์www.tu.ac.th

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อังกฤษ: Thammasat University; ชื่อย่อ: มธ. - TU) เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นตลาดวิชา เพื่อการศึกษาด้านกฎหมายและการเมือง สำหรับประชาชนทั่วไป เมื่อเริ่มก่อตั้งใช้ชื่อว่า มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (อังกฤษ: University of Moral and Political Sciences; ชื่อย่อ: มธก. - UMPS) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และมีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมืองและความเป็นไปของชาติ ตลอดจนเรื่องของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย[1] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519[2]

มหาวิทยาลัยเป็นสมาชิกของเครือข่าย LAOTSE[3] ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในเอเชียและยุโรป ตามกรอบความร่วมมืออาเซม รวมทั้งเป็นสมาชิกของเครือข่ายสถาบันการศึกษาและวิจัยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMSARN) [4] อีกด้วย

อธิการบดีมหาวิทยาลัยคนปัจจุบันคือ ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ และมีศาสตราจารย์พิเศษนรนิติ เศรษฐบุตรเป็นนายกสภามหาวิทยาลัย[5]

ประวัติ

พระรูปพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ผู้ทรงสถาปนาโรงเรียนกฎหมาย ประดิษฐาน ณ อาคารสำนักงานศาลยุติธรรม

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถือกำเนิดขึ้นจากการจัดตั้งโรงเรียนกฎหมาย[6] เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2440 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม แต่ครั้งมีพระยศที่พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ฯ เพื่อให้การศึกษาอบรมด้านนิติศาสตร์โดยเฉพาะซึ่งไม่เคยมีมาก่อนหน้านี้[ต้องการอ้างอิง] อย่างไรก็ดี แม้ครั้งนั้นมีสถานะเป็นแต่โรงเรียนอันมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ก็ได้มีแจ้งความของโรงเรียนเกี่ยวกับกำหนดการสอบไล่ของนักเรียนกฎหมายลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาอันเป็นหนังสือพิมพ์ข่าวราชการด้วย[ต้องการอ้างอิง] สำหรับที่ตั้งของโรงเรียนกฎหมายนั้นได้แก่ห้องเสวยของเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมซึ่งอยู่ถัดจากห้องทรงงาน[ต้องการอ้างอิง] โดยเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมทรงให้การศึกษาด้วยพระองค์เองเมื่อทรงเสร็จสิ้นการเสวยพระกระยาหารกลางวันแล้ว ครั้นมีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีการย้ายไปทำการเรียนการสอนยังตึกสัสดีหลังกลาง กระทรวงยุติธรรม

พ.ศ. 2453 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ฯ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงพ้นจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม หลังจากนั้นโรงเรียนกฎหมายก็ทรุดโทรมตามลำดับ และต้องไปเปิดทำการเรียนการสอนเป็นการชั่วคราวที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร และที่เรือนไม้หลังเล็ก ๆ ระหว่างตึกศาลแพ่งกับตึกเก๋งจีนซึ่งบัดนี้ทำลายลงแล้ว

พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับโรงเรียนกฎหมายไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยให้สังกัดกระทรวงยุติธรรม และให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบโรงเรียนนี้ โดยสถานที่เรียนนั้นย้ายมายังตึกกรมประชาสัมพันธ์เดิมบริเวณเชิงสะพานผ่านพิภพลีลา

ในปี พ.ศ. 2475 ได้เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน โดยในคำประกาศของคณะราษฎรในวันยึดอำนาจกล่าวว่า การที่ราษฎรยังถูกดูหมิ่นว่ายังโง่อยู่ ไม่พร้อมกับระบอบประชาธิปไตยนั้น “เป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่”[7] นโยบายหรือหลักประการที่ 6 ใน หลัก 6 ประการของคณะราษฎร จึงระบุไว้ว่า “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร”[7] สถาบันศึกษาแบบใหม่ที่เปิดกว้างให้ประชาชนชาวสยามได้รับการศึกษาชั้นสูง โดยเฉพาะที่จะรองรับการปกครองบ้านเมืองที่เปลี่ยนไป จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมาคู่กันกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง [1][8]

พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้จัดตั้งคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแห่งแรกในประเทศไทย แล้วให้โอนโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม ไปสมทบกับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ดังกล่าวเมื่อวันที่ 25 เมษายน ปีนั้นเอง[9] ครั้งนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดให้การเรียนการสอนของโรงเรียนกฎหมาย เป็นแผนกวิชาหนึ่งในคณะดังกล่าว ทั้งนี้ การโอนไปสมทบดังกล่าวเป็นแต่ทางนิตินัย ทว่าโดยพฤตินัยแล้ว ยังคงจัดการเรียนการสอนยังคงอยู่ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลาเช่นเดิม[10] ซึ่งการให้โอนโรงเรียนกฎหมายไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนี้เป็นอีกแรงผลักดันหนึ่งที่ทำให้เกิดการก่อตั้ง มธก. ขึ้น โดยกลุ่มอดีตนักเรียนโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม กล่าวคือได้สร้างความไม่พอใจให้แก่นักเรียนโรงเรียนกฎหมาย ที่ต้องการให้ยกฐานะโรงเรียนของตนเป็นมหาวิทยาลัยดังเช่นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่กลับถูกทำให้เสมือนถูกยุบหายไป จึงมีผลผลักดันให้นักเรียนกฎหมายดังกล่าวเคลื่อนไหวหนุนให้มีการก่อตั้ง มธก. ขึ้น[1] โดยเมื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองนั้น ได้โอนทรัพย์สินตลอดจนคณาจารย์ของโรงเรียนกฎหมายเดิม เข้ามาสังกัดในมหาวิทยาลัยใหม่นี้ด้วย[11]

ด้วยเหตุทั้งหมดนี้ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พุทธศักราช 2476 ขึ้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ปีนั้น และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ปีเดียวกัน[12] โดยความสำคัญว่า

มาตรา 4 ให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นมหาวิทยาลัยหนึ่ง เรียกว่า 'มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง' มีหน้าที่จัดการศึกษาวิชากฎหมาย วิชาการเมือง วิชาเศรษฐการ และบรรดาวิชาอื่น ๆ อันเกี่ยวกับธรรมศาสตร์และการเมือง มาตรา 5 ให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนทรัพย์สินและงบประมาณของคณะเหล่านั้นมาขึ้นต่อมหาวิทยาลัยนี้ก่อนวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2477

อนุสาวรีย์ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" ที่หน้าตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

และเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จทำพิธีเปิดมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ณ ที่ตั้งเก่าของโรงเรียนกฎหมาย บนถนนราชดำเนิน เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา[1][13][14] โดยนายปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวไว้ในโอกาสจัดตั้งมหาวิทยาลัยว่า

"การตั้งสถานศึกษาตามลักษณะมหาวิทยาลัยย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ และเป็นปัจจัยในการแสดงความก้าวหน้าของประเทศ ประชาชนชาวสยามจะเจริญในอารยธรรมได้ก็โดยอาศัยการศึกษาอันดีตั้งแต่ชั้นต่ำ ตลอดจนการศึกษาชั้นสูง เพราะฉะนั้นการที่จะอำนวยความประสงค์และประโยชน์ของราษฎรในสมัยนี้ จึงจำต้องมีสถานการศึกษาให้ครบบริบูรณ์ทุกชั้น”[1]

และ

“มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำบำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้อันเป็นสิทธิและโอกาสที่เขาควรมีควรได้ตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษา รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรเห็นความจำเป็นในข้อนี้ จึงได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น"[1]

ในช่วงเวลา 2 ปีแรก (พ.ศ. 2477-2479) การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยยังคงดำเนินอยู่ที่ตึกโรงเรียนกฎหมายเดิมที่เชิงสะพานผ่านฟ้าภิภพลีลา[1] ต่อมาเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2478 มหาวิทยาลัยขอซื้อที่ดินบริเวณท่าพระจันทร์ ซึ่งเดิมป็นที่ของทหาร และปรับปรุงอาคารเดิมพร้อมทั้งสร้างตึกโดม โดยเงินที่ซื้อที่ดินรวมทั้งการก่อสร้างได้มาจากเงินที่มหาวิทยาลัย เก็บจากค่าสมัครและค่าเล่าเรียน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังจัดตั้งสถาบันการเงินขึ้น สำหรับให้นักศึกษาวิชาการบัญชีใช้เป็นสถานที่ฝึกงานคือ ธนาคารแห่งเอเชียเพื่ออุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารเอเชีย และปัจจุบันคือธนาคารยูโอบี)

พ.ศ. 2481 มหาวิทยาลัยตั้งโรงเรียนเตรียมปริญญามีหลักสูตร 2 ปี เพื่อรับผู้ประสงค์จะเข้าเรียนต่อ ที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองโดยตรง โรงเรียนเตรียมปริญญามีหลักสูตรการสอนหนักไปทางด้านภาษา ทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และวิชาด้านสังคม เช่น ปรัชญา วิชาเทคโนโลยี ดนตรี พิมพ์ดีด และชวเลข เป็นต้น และถูกยกเลิกไปในปีพ.ศ. 2490

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบโดยตรง[15] ผู้ประศาสน์การ ปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ ชื่อมหาวิทยาลัยถูกตัดคำว่า “การเมือง” ออกจากชื่อมหาวิทยาลัย เหลือเพียง “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”[16] ตำแหน่งผู้ประศาสน์การถูกยกเลิก เปลี่ยนเป็นตำแหน่งอธิการบดี[1] หลักสูตรการศึกษาธรรมศาสตร์บัณฑิต ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น นิติศาสตร์, พาณิชยศาสตร์และการบัญชี, รัฐศาสตร์ และ เศรษฐศาสตร์ ความเป็นตลาดวิชาหมดไปตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2495[ต้องการอ้างอิง]

พ.ศ. 2518 ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีในขณะนั้น เห็นว่าควรที่จะขยายการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ในชั้นปริญญาตรีเพิ่มขึ้น พื้นที่เดิมบริเวณท่าพระจันทร์ ไม่เพียงพอต่อการขยายตัวทางวิชาการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยจึงเจรจาขอใช้ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการขยายตัวของมหาวิทยาลัย เรียกว่ามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งเจริญก้าวหน้าและพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังขยายไปที่ ศูนย์ลำปาง และศูนย์พัทยาด้วย โดยอยู่บนพื้นฐานการปลูกฝังจิตวิญญาณความเป็นธรรมศาสตร์ ดั่งเช่น จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังคงเปิดดำเนินการและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยหลักสูตรปริญญาตรีภาคปกติทั้งหมด และหลักสูตรบัณฑิตศึกษากลุ่มวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินการเรียนการสอน ณ ศูนย์รังสิต และหลักสูตรบัณฑิตศึกษากลุ่มสังคมศาสตร์ โครงการนานาชาติ และโครงการพิเศษดำเนินการเรียนการสอน ณ ท่าพระจันทร์[17]

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ธรรมจักร สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ไฟล์:ต้นหางนกยูงฝรั่ง.jpg
ดอกของต้นหางนกยูงฝรั่ง
  • ธรรมจักร เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย[18] โดยตราธรรมจักรนี้มี 12 แฉก อันหมายถึง อริยสัจ 4 ซึ่งวนอยู่ในญาณ 3 คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ และมีพานรัฐธรรมนูญอยู่ตรงกลาง อันหมายถึงการยึดมั่นและรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย [19]
  • เพลงประจำมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ทำนองมอญดูดาว) เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยเพลงแรก ประพันธ์โดยขุนวิจิตรมาตรา เมื่อปี พ.ศ. 2478[20]
  • สีเหลืองแดง    เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย ดังปรากฏในเนื้อเพลง “เพลงประจำมหาวิทยาลัย” (มอญดูดาว) ที่ว่า “เหลืองของเราคือธรรมประจำจิต แดงของเราคือโลหิตอุทิศให้” ซึ่งนับเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ปีแรกของการก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2477 โดยหมายถึง ความสำนึกในความเป็นธรรมและความเสียสละเพื่อสังคม[20]
  • เพลงพระราชนิพนธ์ธรรมศาสตร์ เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน[21] โดยในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2504ได้มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ขณะเสด็จมาทรงดนตรี ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร ภายในพระราชวังดุสิต พระองค์รับสั่งว่าจะทรงพระราชนิพนธ์เพลงประจำมหาวิทยาลัยพระราชทานให้แก่นักศึกษาธรรมศาสตร์

จนวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ มาทรงดนตรี ณ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และทรงบรรเลงทำนองเพลงที่จะพระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยด้วย[22] โดยเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ ลำดับที่ 36 มีนายจำนงราชกิจ (จรัล บุณยรัตพันธุ์) เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้อง และยกร่างโดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

  • หางนกยูงฝรั่ง เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงปลูกไว้บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่จำนวน 5 ต้น เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 เวลา 14.30 น. พร้อมกับพระราชทานให้เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [23] ซึ่งสีของดอกมีสีเหลือง-แดง สัมพันธ์กับสีประจำมหาวิทยาลัย

อนึ่ง ประชาคมธรรมศาสตร์ มักเรียกเพลงพระราชนิพนธ์ธรรมศาสตร์ และต้นหางนกยูงฝรั่งว่า ยูงทอง[24][25] ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อันเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชื่อมโยงกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชกรณียกิจโดยตรง รวมทั้งพิธีพระราชทานปริญญาบัตรด้วย[26]

  • "ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน" เป็นวลีอมตะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วาทะสำคัญนี้มีต้นเค้ามาจาก มองนักศึกษา มธก. ผ่านแว่นขาว บทความของกุหลาบ สายประดิษฐ์ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย[27] ซึ่งสะท้อนชัดหลักการของประชาคมธรรมศาสตร์ นับแต่มหาวิทยาลัยนี้กำเนิดขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2477 ภายใต้อุดมการณ์ประชาธิปไตย เสรีภาพ และความเสมอภาคทางการศึกษา [20] โดยปัจจุบันเปรียบเสมือนคำขวัญอย่างไม่เป็นทางการของมหาวิทยาลัย และประชาคมธรรมศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าวาทะดังกล่าวนี้อธิบายความหมายของจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ได้อย่างดีที่สุด[ต้องการอ้างอิง] ทั้งนี้ปัจจุบันมีเสียงสะท้อนเกี่ยวกับความเป็นไปของวาทะดังกล่าว[28] เช่น เป็นเครื่องหมายการค้าของมหาวิทยาลัยเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจ[29] หรือปัจจุบันนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใช้วาทะนี้เพียงเพื่อโอ้อวดตน เป็นต้น

สัญลักษณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็คือ ตึกโดม โดยคำว่า “ลูกแม่โดม” หมายถึงนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[30]

ทำเนียบผู้ประศาสน์การและอธิการบดี

นับแต่สถาปนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เคยมี ผู้ประศาสน์การ อธิการบดี ผู้รักษาการแทนผู้ประศาสน์การ ผู้รักษาการแทนอธิการบดี และผู้รักษาราชการแทนอธิการบดี ดังรายพระนาม และรายนามต่อไปนี้[31]

ที่ ชื่อ การอยู่ในตำแหน่ง
เริ่ม สิ้นสุด
ผู้ประศาสน์การ
1 ศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ 11 เมษายน พ.ศ. 2477 18 มีนาคม พ.ศ. 2489
2 ศาสตราจารย์ เดือน บุนนาค 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 12 สิงหาคม พ.ศ. 2493
3 พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ กันยายน พ.ศ. 2493 5 เมษายน พ.ศ. 2494
4 พลโท สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ 8 เมษายน พ.ศ. 2494 18 มีนาคม พ.ศ. 2495
อธิการบดี
5 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม 19 มีนาคม พ.ศ. 2495 26 กันยายน พ.ศ. 2500
6 ศาสตราจารย์ ทวี แรงขำ 27 กันยายน พ.ศ. 2500 21 ตุลาคม พ.ศ. 2500
7 ศาสตราจารย์ หลวงจำรูญเนติศาสตร์ (จำรูญ โปษยานนท์) 22 ตุลาคม พ.ศ. 2500 23 ธันวาคม พ.ศ. 2500
24 ธันวาคม พ.ศ. 2500 22 ธันวาคม พ.ศ. 2502
23 ธันวาคม พ.ศ. 2502 7 มกราคม พ.ศ. 2503
8 พลเอก ถนอม กิตติขจร 8 มกราคม พ.ศ. 2503 18 ธันวาคม พ.ศ. 2506
9 ศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2506 31 มีนาคม พ.ศ. 2514
10 ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2513 31 มีนาคม พ.ศ. 2514
1 เมษายน พ.ศ. 2514 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516
11 ศาสตราจารย์ อดุล วิเชียรเจริญ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2516 28 กันยายน พ.ศ. 2517
12 ศาสตราจารย์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ 30 มกราคม พ.ศ. 2518 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
13 ศาสตราจารย์ คุณหญิง นงเยาว์ ชัยเสรี 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 20 ตุลาคม พ.ศ. 2519
10 มกราคม พ.ศ. 2525 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2531
14 ศาสตราจารย์พิเศษ ปรีดี เกษมทรัพย์ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520
15 ศาสตราจารย์ วิจิตร ศรีสอ้าน 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 12 ธันวาคม พ.ศ. 2520
16 ศาสตราจารย์ ประภาศน์ อวยชัย 13 ธันวาคม พ.ศ. 2520 16 มกราคม พ.ศ. 2521
17 มกราคม พ.ศ. 2521 9 มกราคม พ.ศ. 2525
17 ศาสตราจารย์ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม 1 มิถุนายน พ.ศ. 2531 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2534
18 ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร 1 มิถุนายน พ.ศ. 2534 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2537
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 19 สิงหาคม พ.ศ. 2541
19 ศาสตราจารย์พิเศษ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 9 มีนาคม พ.ศ. 2538
20 ศาสตราจารย์ พนัส สิมะเสถียร 10 มีนาคม พ.ศ. 2538 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
21 รองศาสตราจารย์ นริศ ชัยสูตร 20 สิงหาคม พ.ศ. 2541 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547
22 ศาสตราจารย์ สุรพล นิติไกรพจน์ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2547 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553
23 ศาสตราจารย์ สมคิด เลิศไพฑูรย์ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557[32] 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560[33] 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
24 รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ
1 มกราคม พ.ศ. 2561 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561[34] 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[35] 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564[36]
หมายเหตุ:     = รักษาการแทนผู้ประศาสน์การหรืออธิการบดี

วิชาการ

ตึกโดมท่าพระจันทร์

แต่เดิมเมื่อเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองนั้น ในระดับปริญญาตรีมีเปิดสอนเพียงหลักสูตรเดียวคือ "ธรรมศาสตร์บัณฑิต" (ธ.บ.) ซึ่งเน้นวิชากฎหมาย รวมถึงกฎหมายที่เป็นเรื่องใหม่ในขณะนั้นคือกฎหมายรัฐธรรมนูญ[1] และมีวิชารัฐศาสตร์และวิชาเศรษฐศาสตร์แทรกอยู่ด้วย[15][37] ส่วนในระดับปริญญาโทนั้นมีแยกสามแขนงคือ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และต่อมาได้มีหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการบัญชีซึ่งเทียบเท่าปริญญาโท และในระดับระดับปริญญาเอกมีสี่แขนงคือ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการทูต แต่ใน พ.ศ. 2492 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง หลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิตก็ได้ถูกยกเลิกไป และเปลี่ยนเป็นหลักสูตรปริญญาตรีเฉพาะทางในสาขาต่าง ๆ แทน ตาม “ข้อบังคับเพิ่มเติมว่าด้วยการแบ่งแยกการศึกษาเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี คณะรัฐศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ และกำหนดสมัยการศึกษาและการสอบไล่ พ.ศ. 2492”[15]

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดการศึกษาครอบคลุมทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทุกระดับจำนวนทั้งสิ้น 256 หลักสูตร เป็นระดับปริญญาตรี 111 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 8 หลักสูตร ปริญญาตรีควบปริญญาโท 4 หลักสูตร ปริญญาโท 99 หลักสูตร และปริญญาเอก 34 หลักสูตร จัดการศึกษาทั้งภาคกลางวันและภาคค่ำ (ข้อมูลปี พ.ศ. 2550[38])

กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ


นอกจากนี้ ยังมีหลายหน่วยงานที่จัดหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา อาทิ สถาบันภาษา, กองกิจการนักศึกษา เป็นต้น อีกทั้งทางมหาวิทยาลัยยังมีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนเฉพาะระดับสูงกว่าปริญญาตรีอีกด้วย อันได้แก่ วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา และสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร

หลักสูตรนานาชาติ

นอกจาก วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นวิทยาลัยนานาชาติของมหาวิทยาลัยแล้ว[39][40] คณะต่าง ๆ ได้จัดหลักสูตรการเรียนการสอนนานาชาติสำหรับนักศึกษาทั้งชาวไทยและต่างประเทศหลายหลักสูตรด้วยกัน โดยคณะที่เปิดหลักสูตรในลักษณะดังกล่าว ได้แก่ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, คณะรัฐศาสตร์, คณะเศรษฐศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, คณะวิศวกรรมศาสตร์, และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร

พื้นที่การศึกษา

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีศูนย์กลางบริหารอยู่ที่ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร และมีศูนย์ในภูมิภาคอีก 5 ศูนย์

ท่าพระจันทร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุมมองจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2551

ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าพระจันทร์ ในเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร ในเริ่มแรกแห่งการสถาปนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดการเรียนการสอนที่ตึกโรงเรียนกฎหมายเดิม (เพราะบุคลากรตลอดจนทรัพย์สินของโรงเรียนกฎหมายไม่ได้เปลี่ยนแปลง หลังจากรอการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัย จึงโอนมาเป็นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้งหมด) เป็นเวลา 2 ปี แล้วจึงซื้อที่ดินจากกรมทหารซึ่งเป็นคลังแสงเดิม แล้วจึงย้ายมาอยู่บริเวณท่าพระจันทร์ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาและสนามหลวง มีเนื้อที่ 49 ไร่ เป็นศูนย์แรกของมหาวิทยาลัยตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เดิมบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของวังหน้า (พระราชวังบวรสถานมงคล)

ท่าพระจันทร์แห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2519 เป็นสถานที่ที่นักศึกษาและประชาชนได้มาชุมนุมประท้วงกัน กรณีจอมพลประภาส จารุเสถียร และจอมพลถนอม กิตติขจร เดินทางกลับมาประเทศไทย (หลังลี้ภัยออกนอกประเทศไปเมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516) และนำไปสู่เหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษาและประชาชน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ยังผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 300 คน[ต้องการอ้างอิง]

สถาปัตยกรรมและสถานที่สำคัญ

  • ตึกโดม ได้รับการออกแบบโดย นายจิตรเสน (หมิว) อภัยวงศ์ ด้วยการเชื่อมต่ออาคารทั้ง 4 หลัง ที่เป็นของกองพันทหารราบที่ 4 เดิม เข้าเป็นตึกเดียวกัน โดยจุดเชื่อมตรงกลางระหว่างอาคารที่ 2 และ 3 ได้ออกแบบให้มีลักษณะโดนเด่น ซึ่ง ศ.ดร. ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การ ได้ให้แนวคิดเพื่อให้เป็นสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะที่โดดเด่น ไม่ได้เลียนแบบชาติอื่น โดยในปัจจุบัน ตึกโดมคงเหลือเพียงอาคาร 2 และ 3 เดิม เท่านั้น เนื่องได้มีการทุบตึกฝั่งเหนือและใต้ออกเพื่อสร้างตึกคณะเศรษฐศาสตร์ สำนักหอสมุด และอาคารเอนกประสงค์ โดยปัจจุบันกรมศิลปากรขึ้นทะเบียนตึกโดมเป็นโบราณสถาน

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้พิจารณาคัดเลือกตึกโดมให้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทสถาบันและอาคารสาธารณะ ในงานสถาปนิก 48 และ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีในขณะนั้น ได้เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2550 ณ ศาลาดุสิตาลัย ตำหนักสวนจิตรลดา[41]

การแสดงละครในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2519
  • ลานโพธิ์ ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นสถานที่ซึ่งขบวนการนิสิตนักศึกษาประชาชนร่วมกันต่อสู้เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย[42]

เช้าตรู่วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ลานโพธิ์เป็นสถานที่เริ่มต้นของการชุมนุมเคลื่อนไหวของนักศึกษา เพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวกลุ่มผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ 13 คน ซึ่งถูกรัฐบาลจับกุม ต่อมามีผู้เข้าร่วมสนับสนุนการชุมนุมเพิ่มมากขึ้น จนต้องย้ายไปชุมนุมที่สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ จำนวนผู้ชุมนุมเพิ่มขึ้นจนมีจำนวนหลายแสนคน ก่อนเคลื่อนขบวนออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเวลาเที่ยงตรงของวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516[ต้องการอ้างอิง] และกลายเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลา

ลานโพธิ์ ยังมีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์ 6 ตุลา เมื่อปี พ.ศ. 2519[43] คือ เป็นสถานที่แสดงละครล้อการเมืองของนักศึกษาในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ที่หนังสือพิมพ์ดาวสยามประโคมข่าวว่านักศึกษาแสดงละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จนกระทั่งมีการชุมนุมของลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มพลังต่างๆ จนนำไปสู่การใช้ความรุนแรง ล้อมปราบสังหารนักศึกษา และประชาชน[ต้องการอ้างอิง]

  • ลานปรีดี

ลานปรีดี และอนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์ เป็นอนุสรณ์แห่งแรกที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงนายปรีดี พนมยงค์[ต้องการอ้างอิง] รัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำขนวนการเสรีไทย และผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง

  • กำแพงวังหน้า

ตำแหน่งพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หากจะกล่าวเฉพาะในสมัยรัตนโกสินทร์แล้ว วังหน้าเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช[ต้องการอ้างอิง] เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อมีการสร้างพระราชวังหลวงในปี พ.ศ. 2325 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้ทรงสร้างวังหน้าขึ้นพร้อมกันทางด้านทิศเหนือของพระราชวังหลวง และอยู่ชิดกับฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ทำการสร้างอาคารอเนกประสงค์ 2 ขึ้น จึงมีการขุดพื้นดินต่างๆ และจัดแสดงรูปร่างของกำแพงวังหน้าให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ชื่นชมว่ากาลครั้งหนึ่งพื้นที่บริเวณนี้เป็นสถานที่ตั้งของวังหน้า

อนึ่งนักศึกษาและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จำนวนหนึ่งมีความเชื่อว่าการที่สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัย คือ วังหน้า มีความหมายว่า สถานที่แห่งนี้มีจิตวิญญาณของการช่วยเหลือสถาบันทางอำนาจและในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ถ่วงดุลและตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้นำสูงสุดตลอดมา[ต้องการอ้างอิง]

  • สนามฟุตบอล เป็นสถานที่ที่เป็นเวทีและเป็นศูนย์กลางการจัดชุมนุมใหญ่ของนักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชน ในระหว่างวันที่ 10–14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จากระบอบเผด็จการทหาร ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย และเป็นจุดเริ่มต้นของการตระหนักในสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยการเคลื่อนไหวในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 มีผลทำให้มีผู้เสียชีวิต 77 คน และบาดเจ็บ 857 คน[44]
  • กำแพงเก่า ปืนใหญ่ และประตูสนามหลวง

กำแพงเก่า คือ กำแพงด้านถนนพระจันทร์ ซึ่งเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูนที่ชาวธรรมศาสตร์เรียกกันว่า "กำแพงชรา" คือ กำแพงของพระราชวังบวรสถานมงคลที่เหลืออยู่ แต่เดิมกำแพงชราจะมีทั้งด้านถนนพระจันทร์และด้านถนนพระธาตุ - สนามหลวง โดยมีประตูป้อมตรงหัวมุมถนนพระจันทร์ - หน้าพระธาตุ เชื่อมกำแพงทั้งสองด้านและเป็นประตูสำหรับการเข้าออก ต่อมาในสมัยที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นอธิการบดี กำแพงและประตูป้อมด้านถนนพระธาตุ - สนามหลวงได้ถูกรื้อลงเพื่อก่อสร้างหอประชุมใหญ่

ในปี พ.ศ. 2527 ได้มีการจัดสร้างประตูป้อมขึ้นมาใหม่อีกครั้งเพื่อเฉลิมฉลองการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีอายุครบรอบ 50 ปี ในการก่อสร้างประตูป้อมในครั้งนั้น ได้มีการขุดค้นพบปืนใหญ่ของวังหน้าจำนวน 9 กระบอก ที่ฝังอยู่ใต้ดิน โดยเป็นปืนใหญ่รุ่นโบราณผลิตจากประเทศอังกฤษ ที่ต้องใส่ดินปืน และลูกปืนจากทางด้านหน้าทาง โดยปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้นำขึ้นมาบูรณะแล้วจัดตั้งแสดงไว้ที่ริมรั้วหน้าหอประชุมใหญ่ด้านสนามหลวง

หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประติมากรรม 6 ตุลา 2519 ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • หอประชุมใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2497 ในวาระครบรอบ 20 ปี ของการสถาปนามหาวิทยาลัย โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัย มีการวางศิลาฤกษ์ในวันสถาปนามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2497 และสร้างแล้วเสร็จในสมัยที่พลเอกถนอม กิตติขจร เป็นอธิการบดี ในราวปี พ.ศ. 2506 โดยหอประชุมนี้ก่อสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นหอประชุมที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยนั้น[ต้องการอ้างอิง] ทั้งในเรื่องของระบบเสียง ความเย็น และที่นั่ง ซึ่งมีทั้งสิ้น 2,500 ที่นั่ง โดยแยกออกเป็น ที่นั่งชั้นล่าง 1,800 ที่นั่ง และชั้นบน 700 ที่นั่ง ส่วนทางด้านทิศใต้ของหอประชุมนี้จัดทำเป็น หอประชุมเล็ก อีกส่วนหนึ่ง โดยบรรจุคนได้ราว 500 คน ปัจจุบันหอประชุมเล็กเรียกชื่อว่า หอประชุมศรีบูรพา

ซึ่งเป็นนามปากกาของกุหลาบ สายประดิษฐ์ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย

หอประชุมใหญ่ถูกนำมาใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ของทางมหาวิทยาลัยและนักศึกษาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับพิธีไหว้ครู พิธีพระราชทานปริญญาบัตร และที่สำคัญได้แก่การจัดกิจกรรมทางการเมืองโดยเฉพาะในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 หอประชุมใหญ่กลายเป็นสถานที่ที่มีการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ สภาพการเมืองและสังคม ผ่านการอภิปรายและการจัดนิทรรศการต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นเสมือนด่านหน้าในการป้องกันการโจมตี จากกลุ่มอันธพาลการเมือง และการล้อมปราบนิสิตนักศึกษา และประชาชน ในเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519[ต้องการอ้างอิง]

  • สวนประติมากรรมประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย อยู่ลานกว้างด้านหน้าหอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วยชิ้นงานประติมากรรมถูกรังสรรค์ขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์ทางการเมืองและประชาธิปไตยที่ผ่านมา[45] โดยสวนประติมากรรมแห่งนี้เป็นสวนประติมากรรมกลางแจ้ง มีประติมากรรม 8 ชิ้น ใน 11 เหตุการณ์สำคัญ เพื่อความเข้าใจที่กระชับลงตัว โดยให้ผลงานประติมากรรมชิ้นหนึ่งรวม 3 เหตุการณ์ไว้ด้วยกัน มีประติมากรรม ได้แก่ การอภิวัฒน์ 2475, การก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง, ธรรมศาสตร์กับขบวนการเสรีไทย, ขบวนการนักศึกษา พ.ศ. 2494-พ.ศ. 2500, ยุคสายลมแสงแดดและยุคแสวงหา, ธรรมศาสตร์กับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516, ธรรมศาสตร์กับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519, ธรรมศาสตร์กับเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ทั้งนี้ประติมากรรมถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยฝีมือของสุรพล ปัญญาวชิระ

การขยายไปศูนย์รังสิต

แต่เดิมท่าพระจันทร์นี้ เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนสำหรับกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในระดับปริญญาตรีด้วย แต่ในปัจจุบันหลักสูตรทั้งหมดดังกล่าวได้ขยายไปอยู่ที่ศูนย์รังสิตแล้วตามนโยบายมหาวิทยาลัย เหลือเพียงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรควบปริญญาตรี-โท และปริญญาตรีโครงการพิเศษ

ในช่วงของการพิจารณาขยายการเรียนการสอนไปยังศูนย์รังสิตดังกล่าวนั้น ได้มีการต่อต้านอย่างหนักจากประชาคมธรรมศาสตร์จำนวนหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษา ศิษย์เก่า อาจารย์ และชุมชนท่าพระจันทร์[46][47] (ดู จิตวิญญาณธรรมศาสตร์)

ศูนย์รังสิต

ไฟล์:Dome TU Rangsit.jpg
ตึกโดมบริหาร มธ. ศูนย์รังสิต

ศูนย์รังสิตเป็นศูนย์ที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ 2,744 ไร่ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางเหนือประมาณ 42 กิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า “กลุ่มวิสาหกิจเทคโนโลยีกรุงเทพตอนบน”[48] โดยมีสถาบันที่อยู่ใกล้เคียงได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียและอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีสวนอุตสาหกรรมจำนวนมากในพื้นที่ใกล้เคียง

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2512 ศาสตราจารย์พระเจ้าวรวงศ์เธอฯ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อธิการบดีในขณะนั้นได้รับโอนกรรมสิทธิ์การครอบครองที่ดินทุ่งรังสิตจากกระทรวงอุตสาหกรรม และศ.ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีใน พ.ศ. 2518 ที่เห็นว่าในการพัฒนาประเทศนั้น จะขาดบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ได้ มหาวิทยาลัยจึงวางแผนการขยายวิทยาเขตไปที่ชานเมือง

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์อาคารโดมบริหาร และวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และปลูกต้นยูงทอง ณ บริเวณอาคารโดมบริหาร พร้อมทั้งทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติในคราวเดียวกันด้วย และต่อมาเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จแทนพระองค์เปิดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

จากมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2528 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2528 จึงเป็นคณะแรกที่เปิดสอนที่ศูนย์รังสิต ในปีการศึกษา 2529

17 มิถุนายน พ.ศ. 2528 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอาคารศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณค่าก่อสร้างจากรัฐบาลญี่ปุ่น และในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2529 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงประกอบพิธีเปิดอาคารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร[49]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 มหาวิทยาลัยเห็นควรสร้างอาคารหอพระและเอนกประสงค์ศาลาในบริเวณเดียวกับองค์พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อพระ จำนวน 4 องค์ เพื่อประดิษฐาน ณ ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต ศูนย์พัทยา และสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั้งพระราชทานนามพระพุทธรูปดังกล่าวว่า “พระพุทธธรรมทิฐิศาสดา” เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2527 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงพระพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารหอพระเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542[50] และต่อมาได้อัญเชิญพระพุทธธรรมทิฐิศาสดามาประดิษฐาน ณ หอพระดังกล่าว

ภายในศูนย์ประกอบด้วยกลุ่มอาคารเรียนต่าง ๆ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ อาคารอำนวยการ อาคารบริการวิชาการ เช่น ศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา โรงพิมพ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเช่น ร้านอาหาร ร้านค้าและธนาคาร กลุ่มหอพักนักศึกษาและบุคลากร โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฯ และอาคารระบบสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้าย่อย และโรงบำบัดน้ำเสีย ศูนย์นี้ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[51] ซึ่งเป็นศูนย์กีฬากลางแจ้งและในร่มขนาดใหญ่ ที่เคยเป็นสนามกีฬารองรับการแข่งขันระดับนานาชาติ เช่น เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2541 และ กีฬามหาวิทยาลัยโลก พ.ศ. 2550

ปัจจุบัน ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 6/2548 วันที่ 20 มิถุนายน 2548 ศูนย์นี้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน สำหรับหลักสูตรภาคปกติทุกกลุ่มวิชา โดยเริ่มต้นสำหรับนักศึกษาที่รับเข้าในปีการศึกษา 2549 และหลักสูตรบัณฑิตศึกษากลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ รวมไปถึง สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร

ศูนย์ลำปาง

อาคารสิรินธรารัตน์ (ตึกโดมแก้ว) มธ.ศูนย์ลำปาง

ตั้งอยู่ที่ 248 หมู่ 2 ถนนลำปาง-เชียงใหม่ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 52190 อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปาง ประมาณ 15 กิโลเมตร ไปตามถนนซุปเปอร์ไฮเวย์สายลำปาง-เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่จากการบริจาคของนายบุญชู ตรีทอง มีพื้นที่ 364 ไร่ 3 งาน 79 ตารางวา เป็นที่ตั้งของ ศูนย์ลำปาง มีอาคารเรียนรวมหลังแรกชื่อ "อาคารสิรินธรารัตน์"

ศูนย์พัทยา

[52]

พิพิธภัณฑ์ในมหาวิทยาลัย

ภายในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น นอกจากเป็นที่ตั้งของคณะต่างๆ แล้ว ยังมีพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงวิชาการและการอนุรักษ์ ดังนี้

พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
เป็นพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ที่อาศัยในแผ่นดินไทยปัจจุบัน ตั้งอยู่ ณ ศูนย์รังสิต ในความดูแลของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา[53] สืบเนื่องจากการที่คณะฯ ได้รับโบราณวัตถุจากการขุดค้นภาคสนามในโครงการขุดค้นวัฒนธรรมบ้านเชียง ที่บ้านอ้อมแก้วและบ้านธาตุ จ.อุดรธานี และมีโบราณวัตถุเพิ่มเติมขึ้นจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีอื่นๆ ในช่วงระยะเวลาต่อมา
อนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์
อยู่ในพื้นที่จัดแสดงทั้งหมดราว 400 ตารางเมตร บนชั้น 2 ของตึกโดม ณ ท่าพระจันทร์ บอกเล่าถึงชีวิตนายปรีดี พนมยงค์ และสะท้อนวิวัฒนาการทางการเมืองของไทย ทั้งยังแฝงบางแง่มุมของอุดมการณ์ที่ควรค่าแก่การเอาเยี่ยงอย่าง[54]
หอประวัติศาสตร์เกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อยู่ในพื้นที่จัดแสดง บนชั้น 3 ของตึกโดม ณ ท่าพระจันทร์ บอกเล่าเรื่องราวและความเป็นมาของมหาวิทยาลัย แสดงถึงตัวตนและจิตวิญญาณมหาวิทยาลัยซึ่งมีส่วนสร้างสรรค์จิตสำนึก และความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่มีบทบาทเคียงข้างสังคมไทยสมัยใหม่ และยังเป็นแหล่งสืบค้น และศูนย์รวมข้อมูลของประชาคมธรรมศาสตร์[55]

ชีวิตนักศึกษา

การเรียนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทั่วไปจะใช้เวลา 4 ปีการศึกษา แต่สำหรับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และโครงการบูรณาการของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ใช้เวลา 5 ปีการศึกษา ในขณะที่ คณะแพทยศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ จะใช้เวลา 6 ปีการศึกษา

ตลอดระยะเวลาการเรียนนอกจากการเรียนวิชาพื้นฐานมหาวิทยาลัยและวิชาบังคับเลือกของสาขาวิชาแล้ว ยังสามารถลงทะเบียนวิชาเลือกเสรีหรือวิชาโทข้ามคณะและสาขาวิชาได้อย่างเสรี ยกเว้นหลักสูตรที่ด้วยสภาพการณ์แล้วไม่สามารถทำได้ เช่น แพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต เป็นต้น นอกจากการพบปะกันในคณะหรือสาขาวิชาแล้ว ยังมีการร่วมกิจกรรมในมหาวิทยาลัยหลายอย่าง ไม่ว่าการเข้าชุมนุมชมรมของมหาวิทยาลัย การเข้ากลุ่มของคณะ การเล่นกีฬา และสำหรับคณะหรือสถาบันที่มีระบบโต๊ะกลุ่มหรือระบบบ้าน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ยังมีโอกาสที่จะได้พบปะหรือร่วมกิจกรรมกับเพื่อนหรือรุ่นพี่ที่โต๊ะกลุ่มหรือบ้านได้อีกด้วย

ชุมนุม ชมรม กลุ่มกิจกรรม กลุ่มอิสระในมหาวิทยาลัย

เสลี่ยงเชิญตราธรรมจักรในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 66 โดยองค์การนักศึกษา ร่วมกับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านกิจกรรมนักศึกษา กิจกรรมภายในของนักศึกษานั้น จะอยู่ภายใต้การดูแลขององค์กรของนักศึกษา ที่แบ่งออกเป็นสี่ส่วน คือ ส่วนบริหารจัดการ ได้แก่ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ส่วนการพิจารณาโครงการ งบประมาณ การจัดตั้ง-ยุบชุมนุมชมรม รวมไปถึงการพิจารณากฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ได้แก่ สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทำงานประสานกับ งานกิจกรรมนักศึกษา กองกิจการนักศึกษา ส่วนบริหารจัดการ และกำกับดูแลหอพักนักศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กพน.) และส่วนพิจารณาโครงการ งบประมาณ การจัดตั้ง-ยุบชุมนุม ชมรม ในหอพัก ได้แก่ สภานักศึกษาหอพักมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทำงานประสานกับกลุ่มงานผู้ช่วยอาจารย์หอพัก สำนักงานจัดการทรัพย์สิน[56] ส่วนคณะกรรมการนักศึกษาของแต่ละคณะ อยู่ในความดูแลของรองคณบดีหรือผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการนักศึกษาของคณะนั้นๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการบริหารกิจกรรมในส่วนกลาง และยังมีกลุ่มอิสระที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานใดอีกด้วย โดยปัจจุบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประกอบด้วยชุมนุมชมรม 4 ฝ่าย[57] ดังต่อไปนี้

  • ฝ่ายศาสนาและจริยธรรม ได้แก่ ชุมนุมศึกษาพุทธศาสตร์และประเพณี ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กลุ่มพุทธธรรมกรรมฐาน ชมรมมุสลิม ชมรมคาทอลิก และชมรมคริสเตียน
  • ฝ่ายบำเพ็ญประโยชน์ ได้แก่ ชุมนุมค่ายอาสาพัฒนาชนบท ชุมนุมพัฒนาชายหญิงเพื่อสังคม (Youth Club) สโมสรโรตาแรคท์ ชุมนุมสังคมพัฒนา ชุมนุมอนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ชุมนุมค่ายอาสาพัฒนาชาวไทยภูเขา ชุมนุมเพื่อนโดมสัมพันธ์ ชมรมอนุรักษ์นกและศึกษาธรรมชาติ ชมรมสิทธิมนุษยชน ชมรมนักศึกษาโครงการเรียนดีจากชนบท ชมรมวิทยุและกระจายเสียง และชุมนุม Youth for Next Step
  • ฝ่ายกีฬา ได้แก่ ชุมนุมกรีฑา ชุมนุมกีฬาในร่ม ชุมนุมคาเต้-โด ชมรมเทควันโด ชุมนุมยูโด ชุมนุมแบดมินตัน ชุมนุมเทเบิลเทนนิส ชุมนุมลอนเทนนิส ชุมนุมฟุตบอล ชุมนุมรักบี้ฟุตบอล ชุมนุมบาสเกตบอล ชุมนุมวอลเลย์บอล ชุมนุมซอฟท์บอลและเบสบอล ชุมนุมตะกร้อ ชุมนุมเปตอง ชุมนุมกีฬาทางน้ำ ชุมนุมฟันดาบสากล ชุมนุมยิงปืน ชุมนุมยิงธนู ชุมนุมกีฬาลีลาศ ชุมนุมเพาะกาย ชมรมมวย ชุมนุมกอล์ฟ ชมรมมวยไทย ชมรมฟุตบอล ชมรมรักบี้ฟุตบอล ชมรมยิงปืน ชมรมตระกร้อ ชมรมยิงธนู ชมรมว่ายน้ำ ชมรมฟันดาบ ชมรมโปโลน้ำ ชมรมบาสเก็ตบอล ชมรมวอลเล่ย์บอล ชมรมเทควันโด และชมรมคาราเต้
  • กลุ่มอิสระ ได้แก่ กลุ่มอิสระล้อการเมือง กลุ่มอิสระลานสรรค์ กลุ่มอิสระไม้ขีดไฟ กลุ่มอิสระเพาะรัก กลุ่มอิสระสังคมนิยมประชาธิปไตย และกลุ่มลีดตลก ประจำงานฟุตบอลประเพณีฯ
  • พรรคการเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีพรรคการเมืองของนักศึกษาในปัจจุบัน คือ พรรคธรรมเพื่อโดม พรรคเคียงโดม พรรคธรรมจักร พรรคยูงทอง พรรคกล้าโดม และพรรคภูมิใจโดม
  • ชมรมชุมนุมในหอพัก ได้แก่ สโมสรนักศึกษาสภากาแฟ กลุ่มกิจกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ITTAG) กลุ่มพัฒนาศักยภาพ (R&DTC) และกลุ่มส่งเสริมคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ยังมี "กลุ่มอิสระในหอพัก" ได้แก่ กลุ่มอิสระบ้านจัดฝัน กลุ่มอิสระ Flim Addict และกลุ่มอิสระชมรมเรื่องลึกลับ

องค์การนักศึกษา สภานักศึกษา ชมรมชุมนุม และกลุ่มอิสระต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่มีที่ทำการอยู่ ณ อาคารกิจกรรมนักศึกษา ยกเว้นชุมนุมสายกีฬาที่มีที่ทำการอยู่ ณ ศูนย์บริการการกีฬา อาคารยิมเนเซียม 7 และคณะกรรมการหอพักนักศึกษา สภานักศึกษาหอพัก ชมรมชุมนุมในส่วนของหอพัก จะอยู่ภายใน NOC ต่าง ๆ หมู่บ้านเอเชี่ยนเกมส์

กีฬาและนันทนาการ

การแปรอักษรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 63
งานธรรมศาสตร์รวมใจจุดเทียนชัยถวายพระพร ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ศิลปวัฒนธรรม

  • คอนเสิร์ตประสานเสียงสามสถาบัน จุฬาฯ เกษตรศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (CKT) การแสดงคอนเสิร์ตร่วมของ 3 สถาบันที่ได้รับพระราชทานเพลงจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • งิ้วธรรมศาสตร์ การแสดงล้อเลียนเสียดสีสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน ที่นำเอาอุปรากรจีนหรืองิ้วมาดัดแปลง เริ่มมีตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ที่ชุมนุมนาฏศิลป์ ส่วนใหญ่มักใช้เรื่องสามก๊กผสานกับสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น ๆ เป็นสำคัญ การแสดงงิ้วธรรมศาสตร์หยุดไปช่วงหนึ่งหลังเหตุการณ์ 6 ตุลามหาวิปโยค และกลับมาอีกครั้งเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 จากนั้นก็หยุดไป และมาเริ่มอีกครั้งในการขับไล่ทักษิณ ชินวัตร ปัจจุบันงิ้วธรรมศาสตร์ที่เล่นอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จริงๆกับงิ้วที่เล่นในการชุมนุมเรียกร้อง ขับไล่นายกทักษิณนั้นเป็นคนละงิ้วกัน แต่มีที่มาเดียวกัน กล่าวคือเป็นงิ้วที่เริ่มจากคณะนิติศาสตร์ และต่อมาคณะนิติศาสตร์ไม่มีคนสืบงานต่อ งิ้วล้อการเมืองธรรมศาสตร์ปัจจุบันจึงตกสืบเนื่องมาเป็นงิ้วของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นชมรมปิด รับเฉพาะนักศึกษาสังคมสงเคราะห์เท่านั้น เรียกได้ว่า งิ้วล้อการเมืองคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เล่นโดยนักศึกษาจริงๆ ซึ่งการเล่นนั้นจะเล่นบทให้เข้ากับสถานณ์บ้านเมืองและใช้เหตุและผล ความคิดของนักศึกษาอย่างแท้จริง ส่วนงิ้วที่เล่น ณ เวทีพันธมิตร เป็นแค่ศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ที่สนับสนุนฝ่ายพันธมิตรและเคยเล่นงิ้วมาก่อน และใช้ชื่อว่า งิ้วธรรมศาสตร์ ทั้งๆ ที่งิ้วธรรมศาสตร์ที่แท้จริงและเล่นโดยนักศึกษาธรรมศาสตร์นั้นคือ งิ้วล้อการเมือง คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ โดยงานประจำที่งิ้วล้อการเมืองเล่นทุกปี คือ งานรับเพื่อนใหม่ และงานเปิดโลกกิจกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [58][59]
  • ธรรมศาสตร์รวมใจจุดเทียนชัยถวายพระพร กิจกรรมการรวมพลังของประชาคมธรรมศาสตร์เพื่อแสดงความจงรักภักดีที่ชาวธรรมศาสตร์ทุกๆคนมีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งจัดโดย ชมรมพัฒนาศักยภาพ R&DTC และจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นก็ได้มีการรวมพลังของชาวธรรมศาสตร์ตลอดต่อเนื่องมาทุกปี ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2552 ได้มีผู้แทนพระองค์ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้มาเป็นประธานในพิธีจุดเทียนชัยถวายพร ณ ลานอินเตอร์โซน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และในปี พ.ศ. 2549 ได้เกิดวิกฤติทางการเมือง ทางคณะกรรมการจัดงานโดยชมรมพัฒนาศักยภาพ จึงได้เชิญประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองและประธานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นเสาหลักของแผ่นดิน มาเป็นประธานในพิธีจุดเทียนชัยถวายพระพร ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • โขนธรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อ พ.ศ. 2509 ปัจจุบันอยู่ในการดูแลของสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในความอุปถัมถ์ของ มูลนิธิคึกฤทธิ์80[60]

งานบำเพ็ญประโยชน์และอาสาสมัคร

  • ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ Thammasat University Ambassador เป็นผู้แทนนักศึกษาในการนำขบวนอัญเชิญธรรมจักรหรือถ้วยพระราชทาน และเป็นดรัมเมเยอร์ในงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ - จุฬาฯ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการดำเนินการจัดกิจกรรมและร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม อาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยในโอกาสต่างๆ เป็นพรีเซ็นเตอร์ วิทยากร พิธีกร เดินแบบ ให้แก่สถาบันและหน่วยงานสาธารณกุศล ทั้งยังเป็นผู้แทนนักศึกษาในการ ต้อนรับบุคคลสำคัญในงานของมหาวิทยาลัย ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยและกิจกรรมของนักศึกษาให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ตลอดจนการเชิญชวนให้นักศึกษามาร่วมกันทำกิจกรรมกันมากขึ้น
  • Thammasat Sharing Festival หรือ TU Sharing เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยได้ร่วมกันกันความดีในรูปแบบต่างๆ และสร้างกระแสให้นักศึกษาทุกคนรู้สึกว่าการทำความดีไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ Share Idea with Idol , T-Shirt sharing , กิจกรรมปล่อยนก ,บริจาคเงินเพื่อเด็กกำพร้า,คนพิการ,คนชรา , อ่านหนังสือให้ผู้พิการทางสายตา , Best sharing award , ธรรมศาสตร์ตักบาตรเพื่อพ่อ และกิจกรรมนั่งสมาธิ โดยเริ่มจัดครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2552 โดยชมรมพัฒนาศักยภาพ R&DTC มีผู้ร่วมทำกิจกรรมทั้งหมดกว่า 3,000 คน
  • บัณฑิตอาสาสมัคร เป็นโครงการระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ให้บัณฑิตออกไปสู่ชุมชนและชนบท เพื่อเรียนรู้ เข้าใจ และทำงานประสานร่วมกับชาวบ้านและหน่วยงานพัฒนาต่างๆ [61] โครงการนี้ดูแลโดย สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร
  • ศูนย์อาสาสมัคร เป็นหน่วยงานของกองกิจการนักศึกษา[62] มีจุดประสงค์เพื่อรณรงค์ส่งเสริมงานอาสาสมัคร และเป็นตัวกลางของงานอาสาสมัคร โดยจะเป็นตัวกลางระหว่างหน่วยงานที่ต้องการอาสาสมัครและนักศึกษาที่ต้องการทำงานอาสาสมัคร[63] และยังมีการสนับสนุนให้การจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไปของชั้นปีที่ 1 มีการปรับปรุงหลักสูตรจากการเรียนการสอนแบบฟังบรรยาย มาเป็นกระบวนการกลุ่มรวมทั้งการการเป็นอาสาสมัครก่อนจบการศึกษา[64]
  • ธรรมศาสตร์ทำนา เป็นโครงการในความรับผิดชอบของฝ่ายการนักศึกษา[65] โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สัมผัสกับปัญหาและความทุกข์ยากของผู้อื่น ตลอดจนกระตุ้นให้นักศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนา และที่มาของข้าว ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงบนแปลงนาพื้นที่ประมาณ 9 ไร่ ภายในศูนย์รังสิต โครงการนี้มีต้นแบบมาจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่กิจกรรมการทำนานี้จะเปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมใน 3 ขั้นตอน คือ การถอนกล้า ดำนา และเกี่ยวข้าว[66] โดยข้าวที่เก็บเกี่ยวได้นั้นจะนำไปหุงเป็นอาหารมื้อแรกให้นักศึกษาใหม่ได้รับประทานในกิจกรรมการแสดงแสง สี เสียง ประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์ ณ ดินแดนแห่งนี้มีตำนาน ขอเธอสืบสานจิตวิญญาณธรรม[67] ซึ่งเป็นวันปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ด้วย และข้าวสารส่วนหนึ่งจะนำมาแบ่งบรรจุเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายในศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[68]

การพักอาศัยของนักศึกษา

การพักอาศัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งท่าพระจันทร์ และศูนย์รังสิตมีลักษณะคล้ายกับนิสิตนักศึกษาอื่นในกรุงเทพฯ โดยคนที่มีภูมิลำเนาหรือมีญาติพี่น้องอยู่ในกรุงเทพหรือเขตปริมณฑล ก็จะพักอาศัยกับครอบครัวหรือบ้านคนรู้จัก สำหรับนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดจะพักอาศัยในหอพักมหาวิทยาลัย หรือหอพักเอกชนบริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัย

ท่าพระจันทร์

มหาวิทยาลัยมีบริการหอพักสำหรับนักศึกษา คือ หอพักรัชดาภิเษก เขตตลิ่งชัน เดิมตั้งอยู่ ณ บริเวณพระที่นั่งวิมานเมฆ ซึ่งเป็นบริเวณเขตพระราชฐาน เพื่อให้เป็นสวัสดิการแก่นักศึกษาที่ยากจนและขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมถึงไม่มีที่พักในกรุงเทพฯ ให้อยู่อาศัยในราคาย่อมเยาเพื่อเป็นการช่วยเหลือนักศึกษา[69] ต่อมาจึงได้ย้ายมายังที่ตั้งปัจจุบัน ทั้งนี้ พ.ศ. 2552 สำนักงานจัดการทรัพย์สิน ซึ่งดูแลหอพักได้ทำการปรับปรุงหอพักขึ้นใหม่ และจัดเก็บอัตราค่าใช้บริการค่อนข้างสูง ในปัจจุบันจึงมักจะเป็นที่พักอาศัยของบุคลากร และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่นที่ต้องการที่พักในการเดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[70]

ศูนย์รังสิต

สำหรับศูนย์รังสิต สำนักงานจัดการทรัพย์สิน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจดูแลระบบการจัดสรรที่พักอาศัยของทั้งบุคลากรและนักศึกษา ได้ออกระเบียบให้นักศึกษาต้องแจ้งย้ายเข้าทะเบียนราษฎร์ของตนเองเข้ามาในทะเบียนบ้านกลางของมหาวิทยาลัย[71] โดยนักศึกษาแต่ละคณะจะมีบ้านเลขที่ประจำคณะตนเองภายใต้ท้องถิ่นตำบลคลองหนึ่ง เทศบาลเมืองท่าโขลง จังหวัดปทุมธานี เช่น เลขที่ 99/3 หมู่ 18 สำหรับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ และ 99/8 หมู่ 18 สำหรับคณะเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น โดยมหาวิทยาลัยได้มีสวัสดิการที่พักสำหรับนักศึกษา หลายกลุ่ม และราคา ดังนี้

กลุ่มอาคารหอพักเอเชี่ยนเกม โซนบี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • กลุ่มอาคารหอพักเอเชี่ยนเกมส์ ประกอบไปด้วย อาคารหอพักแบบห้องเดี่ยว คือ พัก 2 คน ได้แก่ โซนซี 11 อาคาร โซนอี 2 อาคาร และอาคารหอพักแบบชุด คือ พัก 4 คน ได้แก่ โซนบี 8 อาคาร โดยทั้งสอบแบบมีอุปกรณ์ครุภัณฑ์ภายในห้องพัก ได้แก่ เตียงนอน โต๊ะหัวเตียง ตู้เสื้อผ้า โต๊ะเขียนหนังสือ เก้าอี้ โทรศัพท์สายตรง ADSL โทรทัศน์สัญญาณจานดาวเทียม เครื่องปรับอากาศ ราวพาดผ้า เครื่องตรวจจับควันไฟ ลานซักล้าง ห้องน้ำในตัวพร้อมเครื่องทำน้ำอุ่น ระบบโทรทัศน์วงจรปิด ลิฟท์โดยสาร ตู้เย็น ไมโครเวฟ เครื่องทำน้ำร้อน เครื่องกรองน้ำ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ตู้กดบริการเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ และบริการซักรีด สำหรับอาคารหอพักแบบชุด คือ โซนบี มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเพิ่มเติมคือ แยกห้องน้ำห้องส้วม โต๊ะรับประทานอาหาร และชุดรับแขก

อนึง อาคารหอพักเอเชี่ยนเกมส์ มักมีปัญหาเรื่องการร้องเรียนค่าไฟฟ้าสูงเกินจริง หรือการบริหารงานแบบธุรกิจเอกชนโดยไม่ให้นักศึกษามีส่วนร่วม[72] แต่กระนั้นนักศึกษาก็แจ้งความประสงค์เข้าพักอาศัยเป็นจำนวนมาก

  • กลุ่มอาคารหอพักมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หรือ หอพักใน แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ อาคารหอพักคู่โดม สำหรับนักศึกษาหญิง และอาคารหอพักเคียงโดม สำหรับนักศึกษาชาย ประกอบไปด้วยเตียงนอน โต๊ะหัวเตียง ตู้เสื้อผ้า โต๊ะเขียนหนังสือ เก้าอี้ เครื่องตรวจจับควันไฟ ห้องน้ำรวม ระบบโทรทัศน์วงจรปิด เครื่องทำน้ำร้อน เครื่องกรองน้ำ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ตู้กดบริการเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ ห้องอ่านหนังสือรวม และบริการซักรีด
  • อาคารหอพักโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เป็นหอพักสำหรับนักศึกษาในคณะกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตั้งแต่ฐานะชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป แบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งเอ สำหรับนักศึกษาหญิง และฝั่งบี สำหรับนักศึกษาชาย ประกอบไปด้วย ตู้เย็น ไมโครเวฟ โทรทัศน์สัญญาณจานดาวเทียม เครื่องทำน้ำร้อน-น้ำเย็น เครื่องกรองน้ำ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ตู้กดบริการเครื่องดื่ม โทรศัพท์สายตรงภายในหอ ฟรีอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ห้องฟิตเนส อุปกรณ์กีฬา และห้องน้ำในตัว
  • กลุ่มอาคารทียูโดม เป็นกลุ่มอาคารหอพักกลุ่มใหม่ของมหาวิทยาลัย โดยตัวกลุ่มอาคารอยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย ฝั่งตรงข้ามประตูเชียงราก เครื่องใช้มาตรฐานในห้องพักเหมือนกับกลุ่มอาคารหอพักเอเชี่ยนเกมส์ แต่เพิ่มเติม โต๊ะเอนกประสงค์ โคมไฟ และมีสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ บริการหนังสือพิมพ์

โครงการก่อสร้างกลุ่มอาคารทียูโดมยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ แม้จะเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 แต่ก็ได้เปิดให้นักศึกษาเข้าพักอาศัยแล้ว และเป็นอาคารหอพักที่ประสบปัญหาและข้อร้องเรียนเป็นอย่างมาก[73][74] ล่าสุดบริษัทผู้รับสัมปทานมีโครงการเร่งการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554[75]

อนึ่งกลุ่มหอพักทั้งสี่กลุ่ม เป็นอาคารหอพักแบบแยกอาคารที่พักหญิง และอาคารที่พักชาย นักศึกษาไม่สามารถเข้าออกในอาคารที่พักของนักศึกษาต่างเพศได้ มีบริการรับทำความสะอาดภายในห้องพัก บริการให้เช่าเครื่องใช้ไฟฟ้า ทีวี และตู้เย็น ทั้งนี้กลุ่มอาคารหอพักเอเชี่ยนเกมส์ และกลุ่มอาคารหอพักใน มีเวลาเปิดปิดอาคารไม่ให้เข้าออกอาคาร คือ 5.00 - 24.00 น. แต่สำหรับหอพักโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ และกลุ่มอาคารหอพักทียูโดมเปิดให้เข้าออกได้ตลอดเวลา

การจัดสรรที่พักสำหรับนักศึกษา ณ ศูนย์รังสิต โดยปกติใช้วิธีการจับสลาก ไม่ได้ใช้การพิจารณาจากลำดับก่อนหลัง หรือความใกล้ไกลของภูมิลำเนา[76]

ศูนย์ลำปาง

การพักอาศัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มีลักษณะคล้ายกับท่าพระจันทร์ และศูนย์รังสิต โดยคนที่มีภูมิลำเนาหรือมีญาติพี่น้องอยู่ในอำเภอเมืองห้างฉัตร หรือใกล้เคียง ก็จะพักอาศัยกับครอบครัวหรือบ้านคนรู้จัก สำหรับนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดจะพักอาศัยในหอพักมหาวิทยาลัย หรือหอพักเอกชนในตัวเมืองจังหวัดลำปาง ทั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีหอพักสวัสดิการสำหรับนักศึกษา ณ ศูนย์ลำปาง[77] โดยมีรูปแบบคล้ายคลึงกับกลุ่มอาคารหอพักใน ณ ศูนย์รังสิต

การเดินทาง

นักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไปสามารถเดินทางมายังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดังนี้

ท่าพระจันทร์

  • รถเมล์ สาย 59, 503, 60, 512 (2), 25, 1, 82, 80, 91, 32, 65, 70 และ 3 หรืออาจนั่งรถที่เส้นทางผ่านมายังพระบรมมหาราชวัง หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร[78]
  • รถตู้สาธารณะ ทุกสายที่ผ่านสนามหลวง เช่น สาย ต.99 ต.102 ต.35 และ ต.86 เป็นต้น โดยลงรถบริเวณสนามหลวง หรือสำนักงานศาลยุติธรรม
  • ทางน้ำ โดยสารเรือสองแถวมาขึ้น ณ ท่าสะพานผ่านฟ้าลีลาศ หรือโดยเรือด่วนเจ้าพระยาธงทุกสีมาขึ้น ณ ท่าพรานนก (วังหลัง) แล้วลงเรือข้ามฟากมาขึ้น ณ ท่าพระจันทร์
  • รถส่วนตัว นอกจากบุคลากรแล้ว ในเวลาปกติมหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้รถยนต์ส่วนตัวของนักศึกษา หรือบุคคลภายนอกเข้าจอดภายในมหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์นำรถยนต์ส่วนตัวมาอาจนำมาจอด ณ วัดมหาธาตุฯ แล้วเดินเข้าทางประตูท่าพระจันทร์ ทั้งนี้หากมหาวิทยาลัยอนุญาตให้นำรถเข้าจอดได้ นักศึกษาและบุคคลทั่วไปสามารถนำรถเข้าจอดได้ ณ บริเวณรอบๆ สนามฟุตบอล หรืออาคารจอดรถใต้ดินฝั่งประตูท่าพระจันทร์

ศูนย์รังสิต

สามารถเดินทางมาศูนย์รังสิต ได้หลายเส้นทางทั้งทางรถยนต์โดยผ่านถนนพหลโยธิน รถเมล์ สาย 29 39 และ 510 รถตู้โดยสารร่วม ขสมก. สาย ต.85 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) รถตู้โดยสารปรับอากาศรถไฟฟ้า (สถานีหมอชิต) และรถตู้โดยสารปรับอากาศท่าพระจันทร์ - ศูนย์รังสิต

สำหรับการเดินทางในมหาวิทยาลัย มีรถโดยสารเชื้อเพลิงก๊าซเอ็นจีวี[79] บริการรับ-ส่งนักศึกษาและบุคลากรฟรี และรถโดยสารขนาดเล็ก (สองแถว) ให้บริการในราคาประหยัด โดยมีบริการ 3 สายทั้งสองประเภท ครอบคลุมส่วนต่างๆ ของมหาวิทยาลัยทั้งหมด ได้แก่

สายที่ 1 กลุ่มอาคารหอพักเอเชี่ยนเกม - โรงพิมพ์
เวลาบริการ 07.30 – 18.30 น. ทุกวันเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เส้นทางผ่านกลุ่มอาคารหอพักเอเชี่ยนเกมส์ โซนเอ โซนบี โซนซี อาคาร 14 ชั้น หอพระพุทธทิฐิธรรมศาสดา โรงอาหารกลาง สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา อาคารบรรยายรวม 1 (บร.1) หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ สำนักทะเบียนและประมวลผล อาคารเรียนรวมกลุ่มสังคมศาสตร์ (SC) สถาบันภาษา ศูนย์กีฬาทางน้ำ คณะนิติศาสตร์ โรงภาพยนตร์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร อาคารปฏิบัติการคณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง และโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กลับเส้นทางเดิม)
สายที่ 2 กลุ่มอาคารหอพักเอเชี่ยนเกม - โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
เวลาบริการ 07.15 – 20.00 น. ทุกวันเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เส้นทางผ่านหมู่บ้านนักกีฬากลุ่มอาคารหอพักเอเชี่ยนเกมส์ โซนเอ โซนบี โรงอาหารทิวสนโดม สำนักงานจัดการทรัพย์สิน โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถมศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย อาคารกิจกรรมนักศึกษา อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถานีตำรวจมหาวิทยาลัย โรงอาหารกลาง อาคารบรรยายรวม 1-4 อาคารยิมเนเซียม 2 สนามเอเชียนเกมส์ปาร์ค อาคารปิยชาติ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ (กลับเส้นทางเดิม)
สายที่ 3 กลุ่มอาคารหอพักเอเชี่ยนเกม - กลุ่มอาคารหอพักทียูโดม
เวลาบริการ 07.00 – 21.00 น. ทุกวันไม่มีวันหยุดเส้นทางผ่านหมู่บ้านนักกีฬากลุ่มอาคารหอพักเอเชี่ยนเกมส์ โซนเอ โซนบี โรงอาหารทิวสนโดม สำนักงานจัดการทรัพย์สิน โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถมศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย อาคารกิจกรรมนักศึกษา อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถานีตำรวจมหาวิทยาลัย โรงอาหารกลาง หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ สำนักทะเบียนและประมวลผล อาคารเรียนรวมกลุ่มสังคมศาสตร์ (SC) สถาบันภาษา ศูนย์กีฬาทางน้ำ คณะนิติศาสตร์ โรงภาพยนตร์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ประตูฝั่งถนนเชียงราก กลุ่มอาคารหอพักทียูโดม (กลับเส้นทางเดิม)

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังได้จัดให้มีบริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ขึ้นทะเบียนกับทางมหาวิทยาลัยไว้บริการในราคาประหยัดอีกด้วย

บุคคลเด่นในประชาคมธรรมศาสตร์

ดูเพิ่มที่ รายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2541 ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเงื่อนไขการกู้เงินจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย[80] ที่มีกรอบนโยบายสำคัญเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย และต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรีให้มหาวิทยาลัยของรัฐ ดำเนินการเพื่อปรับเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยให้แต่ละมหาวิทยาลัยไปดำเนินการจัดทำร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ที่มีหลักการสำคัญกำหนดให้เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ แต่อยู่ในกำกับของรัฐ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการที่เป็นอิสระและมีความคล่องตัว สามารถจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว[81] โดยได้มีคำสั่งมหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในกำกับของรัฐเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย คณะกรรมการจัดทำร่างฯ ได้ดำเนินการพิจารณาเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ ตลอดจนประเด็นข้อพิจารณาเกี่ยวข้องและได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ..... ขึ้นมาฉบับหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2543 และนำร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นเผยแพร่ให้ประชาคมธรรมศาสตร์ ได้แสดงความคิดเห็น

หลังจากนั้นคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2546 กำหนดหลักการกลาง 10 ประการ ที่ให้บัญญัติไว้ในร่างพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐทุกฉบับ[82] สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงได้ส่งร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ส่งคืนมาให้มหาวิทยาลัยพิจารณา ปรับแก้ไขให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว แต่มหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติ มีหลักการสำคัญสอดคล้องกับหลักการกลางที่คณะรัฐมนตรีกำหนดแล้ว จึงไม่จำเป็นที่จะต้องปรับแก้ไขใดๆ อีก และได้ส่งร่างพระราชบัญญัติคืนกลับไปให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการการปรับเปลี่ยนสถานะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและเป็นนิติบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาตามหลักการกลางและแนวทางดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี และในแนวทางเดียวกับร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐอื่น ๆ ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการแล้ว

ขณะนี้ล่าสุดแม้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. .... ยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา หากแต่ในทางปฏิบัติคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้พิจารณาปรับแก้ไขร่างพระราชบัญญัติไว้ในเบื้องต้นเสร็จแล้ว แต่มีข้อพิจารณาบางประเด็นที่คณะกรรมการกฤษฏีกาขอให้มหาวิทยาลัยพิจารณาว่าจะยืนยัน แก้ไข หรือเพิ่มเติม ไว้ในร่างพระราชบัญญัติหรือไม่ แต่สืบเนื่องจากในขณะนั้น สถานการณ์การเมืองของประเทศอยู่ในระยะที่ไม่เป็นปกติ จึงยังมิได้มีการพิจารณาและส่งความเห็นกลับไปให้คณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องจึงยังอยู่ในการพิจารณาของมหาวิทยาลัย

อนึ่งการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เกิดการคัดค้านและตั้งคำถามต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัยอย่างมากมายและต่อเนื่อง[83] เช่น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจะเป็นมหาวิทยาลัยที่สนใจเพียงเรื่องค่าหน่วยกิต ค่าธรรมเนียมการศึกษาซึ่งมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็จะไม่ใส่ใจกับสังคม มหาวิทยาลัยจะเป็นธุรกิจมากขึ้น หรือบุคลากรของมหาวิทยาลัย เมื่อเปลี่ยนสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแล้ว ผู้บริหารจะมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการเห็นสมควรที่จะต่อ หรือไม่ต่อสัญญาจ้างบุคลากร จะมีการประเมินซึ่งมีผู้บริหารเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องการประเมิน หรือเข้าใจว่ามีระบบเผด็จการโดยผู้บริหารมหาวิทยาลัยหรือไม่[84]

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ... โดยอยู่ในระหว่างการส่งให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป [85]

เตรียมธรรมศาสตร์

โรงเรียนเตรียมปริญญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง หรือเตรียมธรรมศาสตร์ (ต.มธก) ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2481 มีหลักสูตร 2 ปี เพื่อรับผู้ประสงค์จะเข้าเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองโดยตรง โรงเรียนเตรียมปริญญามีหลักสูตรการสอนหนักไปทางด้านภาษา ทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และวิชาด้านสังคม เช่น ปรัชญา วิชาเทคโนโลยี ดนตรี พิมพ์ดีด และชวเลข เป็นต้น โรงเรียนเตรียมปริญญามีทั้งหมดรวม 8 รุ่น จนถึงปี พ.ศ. 2490 จึงถูกยกเลิกไป

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ปรีดีกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง, สถาบันปรีดี พนมยงค์
  2. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์, “จิตวิญญาณธรรมศาสตร์” จงไปสู่สุขคติ
  3. World wide News from Education, Science and Research. (มปป.). Links to Asia by Organizing Traineeship and Student Exchange (LAOTSE) . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  4. International Network for Sustainability Science (INSS). (มปป.). Greater Mekong Subregion Academic and Research Network . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  5. สมคิด เลิศไพฑูรย์ ลอยลำ อธิการบดีคนใหม่ ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลือกด้วยคะแนน 25 เสียง จากมติชน เข้าถึง 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553
  6. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ธรรมศาสตร์ 60 ปี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2537.
  7. 7.0 7.1 คณะราษฎร, ประกาศคณะราษฏร ฉบับที่ ๑, วิกิซอร์ซ
  8. นิธิ เอียวศรีวงศ์, ด้วยจิตวิญญาณธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, พ.ศ. 2544. ปรับปรุงจากบทความ ฟื้นอุดมศึกษาไทย ด้วยจิตวิญญาณธรรมศาสตร์, ปาฐกถางาน “เดินประชาธิปไตย” เนื่องในวาระ 69 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475, 24 มิถุนายน 2544 ณ หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  9. ประกาศโอนโรงเรียนกฎหมายไปขึ้นแก่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ราชกิจจานุเบกษา
  10. ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. ธรรมศาสตร์การเมืองไทย จากปฏิวัติ 2475 ถึง 16 ตุลา 2516 - 6 ตุลา 2519.กรุงเทพฯ : มติชน,2547.
  11. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2476, ราชกิจจานุเบกษา
  12. "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พุทธศักราช 2476". (2476, 20 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 50). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/A/1007.PDF. (เข้าถึงเมื่อ: 17 สิงหาคม 2551).
  13. ประวัติคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  14. ประวัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เว็บไซต์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  15. 15.0 15.1 15.2 ประวัติคณะรัฐศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  16. ราชกิจจานุเบกษา. (18 มีนาคม 2495). พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2495. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [3]. (เข้าถึงเมื่อ: 3 กันยายน 2553).
  17. สำนักทะเบียนและประมวลผล. (2553). หลักสูตรที่เปิดสอน . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [4]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  18. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 50) (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี), ราชกิจจานุเบกษา
  19. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วันธรรมศาสตร์ 10 ธันวาคม 2546. กรุงเทพฯ  : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2546).
  20. 20.0 20.1 20.2 สถานที่สำคัญหรือจุดประวัติศาสตร์, เว็บไซต์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  21. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (มปป.). สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย | THAMMASAT UNIVERSITY. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [5]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  22. The Asian Pacific News. (2549 ). พระอัฉริยภาพของในหลวง: “สำหรับข้าพเจ้าดนตรีคือสิ่งประณีตงดงาม” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [6]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  23. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (มปป.). สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย | THAMMASAT UNIVERSITY-ต้นหางนกยูง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [7]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  24. Media Thai Communications. (2553). เพลงพระราชนิพนธ์"ยูงทอง"ในงานฟุตบอลประเพณีครั้งนี้ [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [8]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  25. ข่าวออนไลน์ RYT9. (2543). ม.ธรรมศาสตร์ ขอเชิญชมการบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ ยูงทอง โดยวงบางกอกซิมโฟนีออร์เคสตร้า [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [9]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  26. สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2551). ภาพบรรยากาศงานวันพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2551 [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [10]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  27. หอประวัติศาสตร์เกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (มปป.). ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [11]. (เข้าถึงเมื่อ: 2 กันยายน 2553).
  28. กระดานข่าวสิงห์แดง. (2551). ธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน??? [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [12]. (เข้าถึงเมื่อ: 2 กันยายน 2553).
  29. Okanation.net. (2553). ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรัก "มาลีนนท์" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [13]. (เข้าถึงเมื่อ: 2 กันยายน 2553).
  30. MCOT.net. (2553). ดาราลูกแม่โดมรับพระราชทานปริญญาบัตร [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [14]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  31. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หนังสือคู่มือนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, (2550).
  32. ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(นายสมคิด เลิศไพฑูรย์)
  33. ‘สมคิด’ หมดวาระอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ เริ่มนั่งรักษาการวันแรก 24 พ.ย.
  34. ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(นางเกศินี วิฑูรชาติ)
  35. คำสั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ 181/2564 เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการแทนอธิการบดี
  36. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(นางเกศินี วิฑูรชาติ),เล่มที่ ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑๑๕ ง หน้า ๙,๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
  37. ประวัติคณะเศรษฐศาสตร์ มธ., โครงการปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  38. สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, คู่มือการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (โครงการปกติและโครงการพิเศษ) ปีการศึกษา 2550, น.3
  39. มติชน, 'สุรพล'ชนะคะแนนโหวต สภามธ. 25-6 ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมธ.สมัยที่ 2, มติชน, 24 กันยายน พ.ศ. 2550
  40. งานประชาสัมพันธ์, ข่าวประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 25 กันยายน พ.ศ. 2550
  41. ข่าวจุลสารธรรมศาสตร์ . (2550). อาคารโดมธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ อาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [15]. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).
  42. Sarakadee สารคดี. (มปป.). หยดน้ำในกระแสธาร : คนเล็กๆ ในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ (1). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [16]. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).
  43. 2519.net. (มปป.). ลำดับเหตุการณ์กรณี 6 ตุลาคม 2519. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [17]. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).
  44. 2519.net. (มปป.). ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ เช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [18]. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).
  45. ARTgazine Articles. (2550.). เปิดสวนประติมากรรม ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้ . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [19]. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).
  46. 2519.net. (มปป.). 6 ตุลา กับการย้ายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [20]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  47. นิตยสารสารคดี. (2548). ย้าย หรือ ไม่ย้าย : กรณีธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์-ศูนย์รังสิต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [21]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  48. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล, NECTEC Technology Roadmap in Software Technology
  49. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2553). ประวัติความเป็นมาของ มธ. ศูนย์รังสิต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [22]. (เข้าถึงเมื่อ: 30 สิงหาคม 2553).
  50. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2544.). จุลสารธรรมศาสตร์ ฉบับแนะนำหอพักและอเนกประสงค์ศาลา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [23]. (เข้าถึงเมื่อ: 30 สิงหาคม 2553).
  51. สโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจ. (2552.). สนาม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [24]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  52. http://socadmin.tu.ac.th/about/about.htm
  53. พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. (มปป.). พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : [25] (เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม 2553).
  54. Wannapong Journal. (มปป.). Review อนุสรณ์สถาน ปรีดี พนมยงค์ แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : [26] (เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม 2553).
  55. สถาบันประมวลข้อมูลเพื่อการศึกษาและการพัฒนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (มปป.). วัตถุประสงค์หอประวัติศาสตร์เกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : [27] (เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม 2553).
  56. สำนักงานจัดการทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2553.). ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง การเลือกตั้งคณะกรรมการหอพักนักศึกษาและสมาชิกสภานักศึกษาหอพัก ประจำปีการศึกษา 2553 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก [28] เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553.
  57. สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (มปป.). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2552 และ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2552 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก [29] เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553.
  58. อนันต์ ลือประดิษฐ์, จับกระแส : อาวุธเพื่อการขับไล่ทรราช, กรุงเทพธุรกิจ, 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
  59. กองบรรณาธิการ, งิ้วกู้ชาติ, ไทยโพสต์, 4 มีนาคม พ.ศ. 2549
  60. พิชามญชุ์, “โขนธรรมศาสตร์เฉลมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา” สู่เวลาผลัดใบของโขนธรรมศาสตร์รุ่นใหม่, สกุลไทย, ฉบับที่ 2381 ปีที่ 46 ประจำวันอังคารที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2543
  61. สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, [30],หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต บัณฑิตอาสาสมัคร, 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  62. ศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, [31],เกี่ยวกับเรา, 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  63. มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). (มปป.).โครงการจัดตั้งศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก : [32]. เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  64. กลุ่มแรงคิด ต้นกล้าประชาธิปไตย. (มปป.).รายละเอียดค่ายอาสา (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก : [33]. เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  65. มูลนิธิโลกสีเขียว. (2552).“ทำนา”…วิชาใหม่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก : [34]. เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  66. news.sanook.com. (2549).ธรรมศาสตร์ให้นศ.ทำนา สอนติดดิน (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก : [35]. เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  67. ข่าวงานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2553).งานปฐมนิเทศนักศึกษาและต้อนรับเพื่อนใหม่ ประจำปี 2553 (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก : [36]. เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  68. งานวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2551).โครงการธรรมศาสตร์ทำนา....เศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 3 (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก : [37]. เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  69. Pantip-Cafe. (2552.). หอพักรัชดาภิเษก แบบนี้ดีแล้วหรือ? . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [38]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  70. สำนักงานจัดการทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2553.). เปิดบริการห้องพักอบรมสัมมนา คืนละ 500 บาท. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [39]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  71. สำนักงานจัดการทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (มปป.). ทำไมถึงต้องย้ายทะเบียนบ้านด้วยค่ะ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [40]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  72. ไทยเอฟอาร์. (2553.). อีกแล้ว... กับเรื่องหอของธรรมศาสตร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [41]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  73. กรุงเทพธุรกิจ. (2010). 'มาริษ'ทิ้งไอเอ็นจี วิบากกรรมทียูโดม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [42]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  74. กระดานข่าวคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2551). รวมพลังนักศึกษา เรียกร้องสิทธิ กรณีทียูโดม และอื่น ๆ อันเกิดจากการกระทำของสำนักทรัพย์ฯ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [43]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  75. โพสต์ทูเดย์ดอตคอม. (2553.). INGเร่งสร้างทียูโดมจบพ.ค.54. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [44]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  76. เคมี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2552.). เพิ่มเติมเรื่องการจองหอนะครับ ในวันที่ 29 พ.ค. 52. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [45]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  77. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2553). ประกาศ รายชื่อผู้มีสิทธิเข้าพักในหอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ภาคการศึกษา 1/2553 เพิ่มเติม (ครั้งที่ 4) และการจัดห้องพัก . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [46]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  78. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ. (มปป.). สายรถเมล์ - ขสมก. (BMTA) :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [47]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  79. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2548). การเดินทางภายในมหาวิทยาลัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [48]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  80. นัทธี ฤทธิ์ดี. (2551). ทางเดินของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (นับแต่พ.ศ. 2541 ถึงปัจจุบัน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [49]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  81. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551). ความเป็นของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ : อดีตถึงปัจจุบัน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [50]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  82. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2551). อธิการบดีตอบคำถามเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยในกำกับเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2551 ในการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.... ณ ห้องกิจกรรม หอสมุดป๋วย อึ๊งภาภรณ์ มธ.ศูนย์รังสิต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [51]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  83. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2551). บทสัมภาษณ์ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เกี่ยวกับนโยบายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับเส้นทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [52]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  84. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2551). อธิการบดีตอบคำถามเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยในกำกับเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2551 ในการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.... ณ ห้องจิ๊ด เศรษฐบุตร LT.1 คณะนิติศาสตร์ มธ.ท่าพระจันทร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก[53]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
  85. ครม.เห็นชอบร่างพรบ.ม.ธรรมศาสตร์ ออกนอกระบบ

แหล่งข้อมูลอื่น