ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เคลวิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: mwl:Kelvin
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต: แก้ไขจาก be-x-old:Кэльвін ไปเป็น be-x-old:Кельвін
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
[[bat-smg:Kelvėns]]
[[bat-smg:Kelvėns]]
[[be:Кельвін, адзінка вымярэння]]
[[be:Кельвін, адзінка вымярэння]]
[[be-x-old:Кэльвін]]
[[be-x-old:Кельвін]]
[[bg:Келвин]]
[[bg:Келвин]]
[[bn:কেলভিন]]
[[bn:কেলভিন]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:45, 5 กุมภาพันธ์ 2556

สูตรการแปลงอุณหภูมิเคลวิน
แปลงจาก ไปเป็น สูตร
เคลวิน องศาเซลเซียส °C = K - 273.15
องศาเซลเซียส เคลวิน K = °C + 273.15
เคลวิน องศาฟาเรนไฮต์ °F = K × 1.8 − 459.67
องศาฟาเรนไฮต์ เคลวิน K = (°F + 459.67) / 1.8

เคลวิน (อังกฤษ: kelvin, สัญลักษณ์: K) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง และเป็นหน่วยพื้นฐานหนึ่งในเจ็ดของระบบเอสไอ นิยามให้เท่ากับ 1/273.16 เท่าของอุณหภูมิเทอร์โมไดนามิกของจุดสามสถานะของน้ำ เคลวินตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแต่นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวอังกฤษ วิลเลียม ทอมสัน บารอนที่หนึ่งแห่ง เคลวิน (William Thomson, 1st Baron Kelvin) ซึ่งชื่อบรรดาศักดิ์นี้ตั้งตามชื่อ แม่น้ำเคลวิน อีกทีหนึ่ง แม่น้ำสายนี้ตัดผ่านมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ สกอตแลนด์

เคลวิน เป็นหน่วยของหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง ที่ลอร์เควิน ได้พัฒนาคิดสเกลขึ้นใหม่ โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความเร็วของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบนิวเคลียส โดยสังเกตว่าถ้าให้ความร้อนกับสสารมากขึ้น อิเล็กตรอนจะมีพลังงานมากขึ้น ทำให้เคลื่อนที่มีความเร็วมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าลดความร้อนให้กับสสาร อิเล็กตรอนก็จะมีพลังงานน้อยลง ทำให้การเคลื่อนที่ลดลง และถ้าสามารถลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดที่อิเล็กตรอนหยุดการเคลื่อนที่ ณ จุดนั้น จะไม่มีอุณหภูมิหรือพลังงานในสสารเลย และจะไม่มีการแผ่รังสีความร้อนจากวัตถุ จึงเรียกอุณหภูมิ ณ จุดนี้ว่า ศูนย์สัมบูรณ์ (0 K)