ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แพทริเซียน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่ลิงก์ข้ามภาษาด้วยบอต
DragonBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: ml:പട്രീഷ്യൻ
บรรทัด 45: บรรทัด 45:
[[lt:Patricijai]]
[[lt:Patricijai]]
[[lv:Patriciāts]]
[[lv:Patriciāts]]
[[ml:പട്രീഷ്യൻ]]
[[nl:Patriciër]]
[[nl:Patriciër]]
[[no:Patrisier]]
[[no:Patrisier]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:24, 3 กุมภาพันธ์ 2556

คำว่า แพทริเซียน (ละติน: patricius, [πατρίκιος, patrikios] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ), อังกฤษ: patrician) เดิมหมายถึงกลุ่มครอบครัวอภิชนในโรมโบราณ รวมทั้งสมาชิกทั้งตามธรรมชาติและที่รับมาเป็นบุตรบุญธรรม ในจักรวรรดิโรมันตอนปลาย ชนชั้นแพทริเซียนยังขยายรวมไปถึงข้าราชการสภาสูง และหลังการล่มสลายของจักรวรรดิตะวันตก ยังคงเป็นบรรดาศักดิ์อันทรงเกียรติในจักรวรรดิไบแซนไทน์ ชนชั้นแพทริเซียนในยุคกลางนิยามอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่งว่าเป็นกลุ่มครอบครัวชาวเมืองอภิชนในสาธารณรัฐอิตาลียุคกลางทั้งหลาย เช่น เวนิสและเจนัว และภายหลัง "แพทริเซียน" เป็นคำที่กำกวมใช้กับผู้ดีและชนชั้นกระฎุมพีอภิชนในหลายประเทศ

ศัพทมูลวิทยา

คำว่า "แพทริเซียน" มีรากศัพท์จากคำภาษาละติน patricius (พหูพจน์ patricii) ซึ่งมาจากคำว่า patrēs พหูพจน์ของคำภาษาละติน pater (บิดา)[1] Pater เป็นหนึ่งในคำที่ใช้กับสมาชิกดั้งเดิมของวุฒิสภาโรมัน คำดังกล่าวสืบลงมาเป็นคำว่า "แพทริเซียน" ในภาษาอังกฤษ จากภาษาอังกฤษยุคกลาง patricion ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศสโบราณ patrician ในภาษาอังกฤษสมัยใหม่ คำว่า แพทริเซียน โดยทั่วไปใช้แสดงถึงสมาชิกชนชั้นสูง มักมีความหมายโดยนัยถึงความมั่งคั่งสืบสายโลหิต อภิชนนิยม และสำนึกความเชื่อว่าผู้มั่งคั่งควรช่วยเหลือผู้ด้อยกว่า

กำเนิด

ตามข้อมูลของลิวี ชาย 100 คนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิกโดยโรมูลัสถูกเอ่ยถึงว่า "บิดา" (patres) และผู้สืบสายโลหิตของชายเหล่านี้กลายมาเป็นชนชั้นแพทริเซียน[2] แพทริเซียนแตกต่างจากเพลเบียนเพราะมีอิทธิพลทางการเมืองกว้างขวางกว่า อย่างน้อยก็ในยุคสาธารณรัฐ ตอนกลางและตอนปลายของสาธารณรัฐ อิทธิพลของแพทริเซียนค่อย ๆ ถูกริบ และชนชั้นอื่นที่มิใช่แพทริเซียน (คือ เพลเบียน) ได้รับสิทธิเท่าเทียมกันในหลายสาขา และโควตาข้าราชการ รวมถึงกงสุลหนึ่งในสอง ถูกสงวนไว้เฉพาะแก่เพลเบียน

อ้างอิง

  1. Kenny Zeng, 2007, A History Of Ancient and Early Rome
  2. Livy, Ab urbe condita, 1:8