ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งานฟุตบอลประเพณี ราชภัฏฯ–ราชมงคลอีสาน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Poang6 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 53: บรรทัด 53:
== ผลการแข่งขัน ==
== ผลการแข่งขัน ==
{{โครงส่วน}}
{{โครงส่วน}}

{| width="100%" style="text-align:center;margin-left:1em;"
|-
|
{|class="wikitable"
!ครั้งที่||วันที่||ผลการแข่งขัน||จำนวนประตู
|-
|1 || || ||
|-
|2 || || ||
|-
|3 || || ||
|-
|4 || || ||
|-
|5 || || ||
|-
|6 || || ||
|-
|7|| || ||
|-
|8|| || ||
|-
|9|| || ||
|-
|10|| || ||
|-
|11|| || ||
|-
|12|| || ||
|-
|13|| || ||
|-
|14|| || ||
|-
|15|| || ||
|-
|16|| || ||
|-
|17|| || ||
|-
|18|| || ||
|-
|19|| || ||
|-
|20|| || ||
|-
|21|| || ||
|-
|22|| || ||
|-
|23|| || ||
|-
|24|| || ||
|-
|25|| || ||
|-
|26|| || ||
|-
|27|| || ||
|-
|28|| || ||
|-
|29|| || ||
|-
|30|| || ||
|-
|31|| || ||
|-
|32|| || ||
|-
|33|| || ||
|-
|34|| || ||
|-
|35|| || ||
|-
|36|| || ||
|-
|37|| || ||
|-
|38|| || ||
|-
|39|| || ||
|-
|40|| || ||
|}

|valign="top"|<!--แยกตารางซ้ายขวา-->

{|class="wikitable"
|-
!ครั้งที่||วันที่||ผลการแข่งขัน||จำนวนประตู
|-
|41||28 มกราคม [[พ.ศ. 2550|2550]]|| ||
|-
|42||[[14 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2552|2552]]||เสมอ||0-0
|-
|43||13 กุมภาพันธ์ [[พ.ศ. 2553|2553]]|| ||
|-
|44||6 กุมภาพันธ์ [[พ.ศ. 2554|2554]]||เสมอ||0-0
|-
|45||11 กุมภาพันธ์ [[พ.ศ. 2555|2555]]||เสมอ||1-1
|-
|46||26 มกราคม [[พ.ศ. 2556|2556]]||เทคโนฯ ชนะ||2-0
|}
|}


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:38, 2 กุมภาพันธ์ 2556

งานฟุตบอลประเพณี ราชภัฏนครราชสีมา - เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน หรือ ศึกสองราช[1] เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา สร้างความสัมพันธ์ระหว่าง 2 สถาบัน การแข่งขันฟุตบอลระหว่าง 2 สถาบันจัดมามากกว่า 50 ปีแล้ว นอกจากการแข่งขันฟุตบอล ยังมีขบวนพาเหรด การตกแต่งสแตนเชียร์ และเชียร์ลีดเดอร์ และเพลงพี่น้องสองราช เป็นประจำการแข่งขัน [2][3]

ประวัติ

นับตั้งแต่อดีต การแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างวิทยาลัยครูนครราชสีมาและวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2500 โดยการริเริ่มของอาจารย์เตรียม ทิพวงศา และอาจารย์ สุวัฒน์ พินิจพงศ์ ในครั้งแรกๆนั้น ได้จัดแข่งขันฟุตบอลระหว่างอาจารย์ของวิทยาลัยครูและวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ความมุ่งหมายในขณะนั้นก็เพื่อเป็นการแข่งระหว่างคณาจารย์ของทั้งสองสถาบันซึ่งในอดีตนั้นตั้งบนท้องทุ่งตะโกราย ซึ่งไม่มีรั้วรอบขอบกั้นเช่นสมัยนี้ การแข่งขันในปีนั้นประสบความสำเร็จ คณาจารย์และผู้อำนวนการของทั้งสองสถาบันในสมัยนั้นจึงมีแนวคิดที่จะเชื่อมความสัมพันธ์ของนักศึกษาทั้งสองสถาบันให้เป็นหนึ่งเดียว จึงริเริ่มให้มีการจัดเป็นประจำทุกปี แต่ให้ปรับเปลี่ยนจากการแข่งขันฟุตบอลของคณาจารย์มาเป็นการแข่งขันของนักศึกษาแทน โดยมีการจัดครั้งแรกในปี 2501 การแข่งขันปรากฏว่าวิทยาลัยครูนครราชสีมาชนะวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ ผลการการแข่งขันเป็นที่น่าพึงพอใจมาก ผู้ที่เป็นเจ้าภาพจะเลี้ยงอาหารให้กับอีกสถาบันในช่วงเย็น ทั้งสองสถาบันจึงได้ตกลงให้มีการจัดเป็นประจำทุกปี โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพ และเพื่อความเป็นสิริมงคลของทั้งสองสถาบัน พ.ศ. 2502 จึงได้ร่วมกันขอโล่พระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[4] นับเป็นสิริมงคลอย่างต่อทั้งสองสถาบัน เพราะเป็นการพระราชทานโล่รางวัลแก่ทั้งสองมหาวิทยาลัยเป็นแห่งแรกในภูมิภาค[5] มีการบันทึกไว้ว่าการได้รับเกียรติยศ ในการได้รับพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลประเพณีที่เก่าแก่นั้น มีเพียง 4 สถาบันเท่านั้น ในประเทศไทย นั่นคือ ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ และ งานฟุตบอลประเพณีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นับเป็นความภาคภูมิใจของทั้งสองสถาบันสืบมา

การแข่งขันฟุตบอลประเพณีชิงโล่พระราชทานจึงเป็นงานสำคัญของทั้งสองสถาบัน นักศึกษาทุกคนจะร่วมงานด้วยความภาคภูมิใจแม้ศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาไป แล้วก็จะกลับมารวมกลุ่มกันในวันนี้ งานฟุตบอลประเพณีชิงโล่พระราชทานจึงสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ โดยวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การแสดงถึงความร่วมมือร่วมใจกันในการจัดกิจกรรมระหว่างนักศึกษา รวมทั้ง สร้างความสามัคคีและความมีน้ำใจนักกีฬาของบุคลากรของทั้งสองมหาวิทยาลัย[6]

เกร็ดประวัติงานบอล พี่น้องสองราช

  • การแข่งขันฟุตบอลประเพณีชิงโล่พระราชทาน ราชภัฏ-ราชมงคล มีมานานกว่า 56 ปีแล้ว แต่บางปีได้เว้นว่างไปด้วยหลายปัจจัย เช่น เหตุการณ์ทางการเมือง การเปลี่ยนถ่ายทางการศึกษา ความไม่พร้อมของแต่ละสถาบัน ฯลฯ ในครั้งล่าสุดคือติด การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่จังหวัดนครราชสีมาได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ
  • การแข่งขันฟุตบอลประเพณี ที่เป็นตำนานและได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีเพียงแค่ 4 สถาบัน ในประเทศไทยเท่านั้นคือ จุฬา-ธรรมศาสตร์ และ วิทยาลัยครู - วิทยาลัยเทคนิค โคราช (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัย จึงเป็นชื่อเป็น ราชภัฏ นครราชสีมา-ราชมงคล อีสาน)
  • งานบอลของ จุฬา-ธรรมศาสตร์ นั้นใช้ชื่องานว่า "ฟุตบอลประเพณี ชิงถ้วยพระราชทาน" แต่ของ ราชภัฎ-ราชมงคลนั้น ใช้ชื่อว่า "ฟุตบอลประเพณี ชิงโล่พระราชทาน" ด้วยเหตุที่ว่าในสมัยที่สองสถาบันร่วมกันทูลขอพระราชทานรางวัลนั้น ยังเป็นสถาบันขั้น "วิทยาลัย" จึงขอพระราชทานเพียงโล่ฯ ก็เพียงพอและเป็นสิริมงคลอันสูงสุดแล้ว
  • ในการจัดการแข่งขันจะมีพิธีอัญเชิญโล่ พระราชทาน ซึ่งในอดีต ชาวนครราชสีมาจะรอคอยมาชื่นชมรางวัลพระราชทานและรอคอยโปรยดอกไม้กันไปตลอดเส้นทางอัญเชิญโล่พระราชทาน
  • การอัญเชิญโล่ จะต้องผ่านอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ทุกครั้ง

สถานที่จัดการแข่งขัน

  • พ.ศ. 2500 ใช้สนามวิทยาลัยเทคนิค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา (ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ปัจจุบัน)
  • พ.ศ. 2502 เป็นปีที่ได้รับพระราชทานโล่ ฯ จึงได้ย้ายมาแข่งขันที่ สนามกีฬาหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา
  • ประมาณ พ.ศ. 2520 ได้มีการย้ายไปจัดการแข่งที่สนามกีฬาของทั้งสองสถาบัน สลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในระยะหนึ่ง (อันเนื่องมาจากสนามฟุตบอลหน้าศาลากลางจังหวัดได้ถูกปรับปรุงให้เป็นลานคนเมือง)
  • ประมาณ พ.ศ. 2530 มีการย้ายไปจัดการแข่งขันที่ สนามกีฬากลางค่ายสุรนารี
  • พ.ศ. 2549 สนามกีฬากลางค่ายสุรนารี ทรุดโทรมลงตามระยะเวลาในการใช้งาน จึงได้ย้ายไปจัดการแข่งขันที่ สนามกีฬากลางเทศบาลนครนครราชสีมา
  • พ.ศ. 2550 งดจัดการแข่งขัน เนื่องจากมหกรรมกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24
  • พ.ศ. 2551 จัดการแข่งขันที่สนามกีฬากลางเทศบาลนครนครราชสีมา อีกครั้ง
  • พ.ศ. 2553 เนื่องจากเหตุการอุทกภัยใหญ่ ของจังหวัดนครราชสีมา ส่งผลให้สนามกีฬาเทศบาลฯ ชำรุดไม่สามารถใช้จัดกิจกรรมใดๆ ได้ และด้วยคณะกรรมการนักศึกษา ในสมัยนั้นได้เล็กเห็นถึงความไม่ยิ่งใหญ่ของสนามที่ใช้ในการแข่งขัน รวมถึงการเดินทางเข้าไปสนามนั้นอยู่ในมุมอับเกินไป จึงได้สำรวจสนามแข่งขันในจังหวัดและคัดเลือกคือ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (สนามกีฬาที่ใช้จัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์) และสนามกีฬาค่ายสุรนารี และได้ตัดสินสินใจเลือกสนามกีฬากลางค่ายสุรนารี เป็นสนามหลักในการแข่งขัน ซึ่งสนามกีฬาแห่งนี้ได้มีการปรับปรุงและเสริมความแข็งแรงของอัฒจรรย์ เพื่อใช้รองรับกองเชียร์ของสองสถาบัน หัวใจหลักของการแข่งขันนั่นเอง และได้ใช้สนามแห่งนี้มาจนถึงปัจจุบัน


ไฮไลท์ของการแข่งขัน

โล่พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ความสุขที่สุดของชาวพี่น้องสองราชคือการได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และร่วมกันอัญเชิญโล่พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

นักกีฬาฟุตบอล

ในการแข่งขันแต่ละครั้ง ทั้งสองสถาบันจะมีการคัดเลือกนักฟุตบอลของแต่ละที่เพื่อมารับหน้าที่ในการคว้าชัยชนะ โดยก่อนจะมีการแข่งขันนั้นจะมีการเปิดเผยรายชื่อของนักกีฬาให้ประชาชนชาวโคราชได้ทราบ เพื่อแสดงความยินดีที่ได้รับเกียรติและโอกาสอันสูงสุด ในอดีตมีการบันทึกไว้ว่า ก่อนจะมีการแข่งขันนัดสำคัญจะมีการแข่งขันฟุตบอลของนักศึกษาหญิงก่อน เป็นคู่เปิดสนาม แต่ภายหลังได้ยกเลิกไป

การเชียร์และเชียร์ลีดเดอร์

นอกจากนี้ในยุคกลางๆ ได้มีการเริ่มเอาการเต้นแบบเชียร์ลีดเดอร์ของ จุฬา-ธรรมศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ สร้างสีสันและความน่าสนใจให้กับการแข่งขันเป็นอย่างมาก ต่อจึงได้มีการนำเอาเชียร์ลีดเดอร์มาแสดงก่อนการแข่งขันขัน ในส่วนของกองเชียร์ เดิมทีนั้นกองเชียร์จะอยู่เฉพาะรอบข้างของสนาม แต่มีการนำนักศึกษามาขึ้นอัฒจรรย์ครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. 2520 โดยร้องเพลงประจำจังหวัดและตะโกนเสียงเชียร์นักกีฬา ในยุคต่อๆ มาจึงมีการจัดระเบียบ แข่งขันเชียร์ มีเพลงประกอบการเชียร์ เทคนิคเชียร์ ที่น่าสนใจและสวยงามยิ่งขึ้น โดยมีผู้นำเชียร์ 1 คน

ไฟล์:ฟุตบอลประเพณี2505.jpeg

ภาพการแข่งขันฟุตบอลหญิงคู่เปิดสนามเมื่อปี 2505 ที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัด

การแปรอักษร

สิ่งที่น่าสนใจของงานบอลฯ คือการแปรอักษร ในอดีตมีการใช้เสื้อสวมแบ่งเป็นสีขึ้นไปบนอัฒจรรย์เชียร์ แปรอักษรเป็นตัวย่อสถาบัน, ตราสัญลักษณ์ของสถาบัน หลักฐานที่ปรากฏชัดว่าการแปรอักษรเริ่มมีส่วนสำคัญของงานบอลประเพณีคือ การแข่งขันฟุตบอลประเพณีฯ ที่สนามกีฬาค่ายสุรนารี มีการใช้อุปกรณ์แปรอักษรเป็นภาพและเป็นคำ เป็นสีสันและจุดสนใจว่าในแต่ละปีที่ใดจะแกะโค้ดแปรอักษรได้สวยงามกว่ากัน ภายหลังมีการจัดทำเพลทไม้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการแปรอักษร เรียกว่าเพลท 1:14 (คือ 1 เพลท มี 14 1สี) ปี พ.ศ. 2553 ทั้งสองสถาบันมีการซ่อมแซมเพลทใหม่อันเนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วม โดย เทคโนราชมงคลอีสาน ได้ปรับเพลทจากแนวนอนเป็นแนวตั้ง และใช้เหล็กมาเสริมเป็นขอบ แต่ยังคงใช้ชุดสีแบบเดิมคือ 14 สี ในส่วนของราชภัฏนครราชสีมา ได้มีการจัดทำเพลทใหม่ทั้งหมด เป็นเพลทแบบมาตรฐานโดยใช้โครงเหล็ก ถักเป็นตะแกรง แขวนชุดสีที่มีความละเอียดถึง 20 สี ทำให้ภาพที่ออกมาเหมือนจริงมากที่สุด เทคนิคการแปรอักษรของทั้งสองสถาบันจะแตกต่างกัน โดยที่ ม.เทคโนราชมงคลอีสานนนั้น จะเน้นการแกะภาพที่เป็นตัวการ์ตูนแบบมิติเดียว แต่ของ ม.ราชภัฏนครราชสีมา ในช่วงหลังนี้จะเน้นแกะภาพที่ใช้ภาพจริงมาจัดทำ พร้อมกับการนำเทคนิคการเปิดเพลทมาเล่นให้ดูน่าสนใจมากขึ้น การแปรอักษรของที่นี่จะไม่มีการล้อเลียนการเมือง จะเน้นไปที่การอ้างอิงรูปแบบของงานเป็นหลัก

รถอัญเชิญโล่และขบวนอัญเชิญโล่ พระราชทาน

การแข่งขันฟุตบอลประเพณีฯ ในแต่ละปีนั้น ได้ถูกกำหนดให้มีพิธีอัญเชิญโล่พระราชทาน แห่ไปโดยรอบเมืองจนถึงสนามการแข่งขัน จึงมีการจัดตกแต่งรถอัญเชิญโล่พระราชทานฯ และขบวนแห่ที่สวยงาม ยิ่งใหญ่ และแตกต่างกันไปในแต่ละปี ตามรูปแบบของงานและข้อกำหนดตกลงของมหาวิทยาลัยทั้งสอง ซึ่งจะมีการประชุมเพื่อแบ่งงานกันในแต่ละปี การจัดทำขบวนแห่และรถอัญเชิญโล่ พระราชทานฯ จะถูกรังสรรค์ขึ้นจากความคิดและแรงงานจากนักศึกษา ซึ่งอาจแต่กต่างจากของจุฬา-ธรรมศาสตร์ คือจะไม่มีการล้อเลียนการเมือง จะเน้นไปทางศิลปวัฒนธรรมเป็นส่วนใหญ่

เพลงประจำการแข่งขัน

“ พี่น้องสองราช” เพลงพี่น้องสองราช เป็นเพลงที่ถูกแต่งขึ้นเพื่อใช้ในการแข่งขันฟุตบอลประเพณีชิงโล่พระราชทานฯ ของราชภัฏ-ราชมงคล ซึ่งแต่งโดยอาจารย์สาขาวิชาดนตรี ม.ราชภัฏนครราชสีมา ใช้เป็นเพลงที่ร้องร่วมกันทั้งเปิดการแข่งขันและปิดการแข่งขัน (ช่วงหลังๆ มีนักศึกษาบางคนกล่าวว่า เสก โลโซ เป็นผู้แต่งและขับร้องให้กับกิจกรรมในครั้งนี้ )

ตราสัญลักษณ์การแข่งขัน

ในอดีต มีการออกแบบตราสัญลักษณ์ขึ้นมาใช้เป็นประจำทุกๆ ปีแตกต่างกันไป ซึ่งการออกแบบตราสัญลักษณ์นั้นจะคัดเลือกนักศึกษาหรือคณาจารย์ของแต่ละมหาวิทยาลัยมาร่วมกันออกแบบ จนกระทั้งปี พ.ศ. 2553 เป็นการแข่งขัน ครั้งที่ 43 มีสรุปกันให้มีการออกแบบสัญลักษณ์ฟุตบอลประเพณี ที่เป็นมาตรฐานและให้ใช้เป็นสัญลักษณ์ ถาวร

ไฟล์:โลโก้ฟุตบอลประเพณี ครั้งที่ 43.jpg
ตราสัญลักษณ์ ครั้งที่ 43 ที่ออกแบบและใช้จนถึงปัจจุบันแต่จะเปลี่ยนเฉพาะตัวเลขและสีเกลียว

ผลการแข่งขัน

ครั้งที่ วันที่ ผลการแข่งขัน จำนวนประตู
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
ครั้งที่ วันที่ ผลการแข่งขัน จำนวนประตู
41 28 มกราคม 2550
42 14 กุมภาพันธ์ 2552 เสมอ 0-0
43 13 กุมภาพันธ์ 2553
44 6 กุมภาพันธ์ 2554 เสมอ 0-0
45 11 กุมภาพันธ์ 2555 เสมอ 1-1
46 26 มกราคม 2556 เทคโนฯ ชนะ 2-0

อ้างอิง

  1. ม.ราชภัฏนครราชสีมา แถลงความพร้อมการเป็นเจ้าภาพฟุตบอล “ศึกสองราช", สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์, สืบค้นวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554
  2. มทร.อีสานชูกีฬาลดภาวะโลกร้อน, คมชัดลึก, 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
  3. เกมจบแต่มิตรภาพยืนยาว ศึกสมานฉันท์"พี่น้องสองราช", ข่าวสดรายวัน, 5 มีนาคม พ.ศ. 2553, ปีที่ 19, ฉบับที่ 7036
  4. สนุก-สร้างสรรค์ -สามัคคี 44ปีฟุตบอลประเพณีราชมงคล-ราชภัฏ, ข่าวสดรายวัน, 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554, ปีที่ 20, ฉบับที่ 7384
  5. ฟุตบอลประเพณี ครั้งที่ 43 “มทร.อีสาน-มรภ.นครราชสีมา”, ASTVผู้จัดการออนไลน์, 5 กุมภาพันธ์ 2553
  6. สีสันศึกฟาดแข้งมทร.อีสาน-มรภ.โคราช "แคแสด" ซิวแชมป์4สมัย, ASTVผู้จัดการออนไลน์, 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553