ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสยามเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนั้น เป็น[[การเลือกตั้งทางอ้อม]] โดยได้มี[[พระราชกฤษฎีกา]]กำหนดให้กรมการอำเภอ ดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนตำบลขึ้นทั่วประเทศในวันที่ [[1 ตุลาคม]] ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 จากนั้นผู้แทนตำบลก็จะไปเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกขั้นหนึ่ง
ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนั้น เป็น[[การเลือกตั้งทางอ้อม]] โดยได้มี[[พระราชกฤษฎีกา]]กำหนดให้กรมการอำเภอ ดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนตำบลขึ้นทั่วประเทศในวันที่ [[1 ตุลาคม]] ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 จากนั้นผู้แทนตำบลก็จะไปเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกขั้นหนึ่ง


ในขณะนั้นมีผู้มีสิทธิออกเสียงอยู่ทั้งหมด 4,278,231 คน มีผู้ออกไปใช้สิทธิทั้งหมด 1,773,532 คน คิดเป็น[[ร้อยละ]] 41.5 โดยจังหวัดที่มีผู้ไปใช้สิทธิมากที่สุด คือ [[จังหวัดเพชรบุรี]] คิดเป็นร้อยละ 78.82 และจังหวัดที่มีผู้ออกไปใช้สิทธิน้อยที่สุด คือ [[จังหวัดแม่ฮ่องสอน]] คิดเป็นร้อยละ 17.71
ในขณะนั้นมีผู้มีสิทธิออกเสียงอยู่ทั้งหมด 4,278,231 คน มีผู้ออกไปใช้สิทธิทั้งหมด 1,773,532 คน คิดเป็น[[ร้อยละ]] 41.5 โดยจังหวัดที่มีผู้ไปใช้สิทธิมากที่สุด คือ [[จังหวัดเพชรบุรี]] คิดเป็นร้อยละ 78.82 และจังหวัดที่มีผู้ออกไปใช้สิทธิน้อยที่สุด คือ [[จังหวัดแม่ฮ่องสอน]] คิดเป็นร้อยละ 17.71


ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกนี้นั้น ที่ได้กลายมาเป็น[[นักการเมือง]]ที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทในเวลาต่อมา ได้แก่ นาย[[ทองอินทร์ ภูริพัฒน์]], นาย[[เลียง ไชยกาล]], นาย[[โชติ คุ้มพันธ์]] เป็นต้น
ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกนี้นั้น ที่ได้กลายมาเป็น[[นักการเมือง]]ที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทในเวลาต่อมา ได้แก่ นาย[[ทองอินทร์ ภูริพัฒน์]], นาย[[เลียง ไชยกาล]], นาย[[โชติ คุ้มพันธ์]] เป็นต้น
บรรทัด 19: บรรทัด 19:


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:57, 30 มกราคม 2556

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2476 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในประเทศไทย และเป็น "การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย" ตราบจนปัจจุบัน โดยเกิดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476[1]

ที่มาของการเลือกตั้งครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังที่เหตุการณ์กบฏบวรเดชยุติลงในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เมื่อ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภาว่ารัฐบาลได้ปราบกบฏเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อบ้านเมืองสงบแล้ว จำต้องมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น

ในขณะนั้นประเทศไทย (ยังคงใช้ชื่อว่า สยาม) แบ่งการปกครองเป็นจังหวัด มีจังหวัดทั้งสิ้น 70 จังหวัด ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 แล้ว สามารถเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทที่หนึ่ง ได้ทั้งหมด 78 คน โดยส่วนใหญ่จะสามารถเลือกผู้แทนฯได้จังหวัดละคน มีบางจังหวัดที่มีผู้แทนฯได้มากกว่าหนึ่งคน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดร้อยเอ็ด, จังหวัดมหาสารคาม, จังหวัดนครราชสีมา มีผู้แทนฯได้ 2 คน ขณะที่จังหวัดพระนครและจังหวัดอุบลราชธานี มีผู้แทนฯได้ 3 คน ซึ่งขณะนั้นรัฐธรรมนูญกำหนดอัตราประชากร 200,000 คนต่อการมีผู้แทนฯได้หนึ่งคน

และบวกรวมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขึ้นอีก 78 คน รวมทั้งสิ้นเป็น 156 คน

ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนั้น เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้กรมการอำเภอ ดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนตำบลขึ้นทั่วประเทศในวันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 จากนั้นผู้แทนตำบลก็จะไปเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกขั้นหนึ่ง

ในขณะนั้นมีผู้มีสิทธิออกเสียงอยู่ทั้งหมด 4,278,231 คน มีผู้ออกไปใช้สิทธิทั้งหมด 1,773,532 คน คิดเป็นร้อยละ 41.5 โดยจังหวัดที่มีผู้ไปใช้สิทธิมากที่สุด คือ จังหวัดเพชรบุรี คิดเป็นร้อยละ 78.82 และจังหวัดที่มีผู้ออกไปใช้สิทธิน้อยที่สุด คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน คิดเป็นร้อยละ 17.71

ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกนี้นั้น ที่ได้กลายมาเป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทในเวลาต่อมา ได้แก่ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์, นายเลียง ไชยกาล, นายโชติ คุ้มพันธ์ เป็นต้น

หลังการเลือกตั้ง ได้มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลขึ้นมาใหม่ โดยเสียงส่วนใหญ่เลือกเอา พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง (เป็นสมัยที่ 2) และถือเป็นคณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 ของไทย[2] ซึ่งคณะรัฐมนตรีคณะนี้ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2477 ด้วยเหตุที่รัฐบาลได้เสนอญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบด้วยความตกลงระหว่างประเทศ เรื่องควบคุมการจำกัดยางแต่สภาฯไม่เห็นชอบด้วยกับความตกลงที่รัฐบาลได้ลงนามไปก่อนหน้านั้น นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทั้งคณะจึงกราบถวายบังคมทูลลาออกจากตำแหน่ง[3]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • โคทม อารียา, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐) หมวดองค์กรทางการเมือง เรื่อง ๕. ระบบการเลือกตั้ง, กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2544, หน้า 11. ISBN 974-00-8586-5
  • สิริรัตน์ เรืองวงษ์วาร, ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2539, หน้า 111. ISBN 974-599-876-1