ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บริติชราช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: tl:Britanikong Raj
SantoshBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: pa:ਬਰਤਾਨਵੀ ਰਾਜ
บรรทัด 122: บรรทัด 122:
[[nn:Britisk India]]
[[nn:Britisk India]]
[[no:Britisk India]]
[[no:Britisk India]]
[[pa:ਬਰਤਾਨਵੀ ਰਾਜ]]
[[pl:Indie Brytyjskie]]
[[pl:Indie Brytyjskie]]
[[pnb:انونڈئیا ہندستان]]
[[pnb:انونڈئیا ہندستان]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:05, 27 มกราคม 2556

จักรวรรดิอินเดีย

บริติชราช
พ.ศ. 24012490
คำขวัญ"Heaven's light our guide."
แผนที่จักรวรรดิอินเดียของบริเตน พ.ศ. 2452
แผนที่จักรวรรดิอินเดียของบริเตน พ.ศ. 2452
สถานะอาณานิคมอังกฤษ
เมืองหลวงกัลกัตตา (2401-2455)
นิวเดลี (2455-2490)
ภาษาทั่วไปฮินดี อังกฤษ และภาษาอื่นๆ
การปกครองราชาธิปไตย
สมเด็จพระจักรพรรดิ
แห่งอินเดีย
 
• 24202444
พระราชินีนาถวิกตอเรีย¹
• 24442453
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7
• 24602479
พระเจ้าจอร์จที่ 5
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8
• 2479-2490
พระเจ้าจอร์จที่ 6
อุปราช² 
• 2401-2405
ไวส์เคานท์แคนนิง
• 2490
ไวส์เคานท์เมานท์แบ็ตเต็นแห่งพม่า
ยุคประวัติศาสตร์ยุคจักรวรรดินิยมใหม่
• ก่อตั้ง
พ.ศ. 2401
• สิ้นสุด
2490
สกุลเงินรูปีอินเดียของบริเตน
ก่อนหน้า
ถัดไป
บริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตน
จักรวรรดิมราฐา
จักรวรรดิโมกุล
ราชวงศ์อลองพญา
อินเดีย
ปากีสถาน
พม่าของบริเตน
¹ ปกครองในฐานะพระจักรพรรดินีนาถแห่งอินเดีย ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2419 ก่อนนั้นคือสมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักร
² ข้าหลวงใหญ่และอุปราชแห่งอินเดีย

บริติชราช (อังกฤษ: British Raj; ฮินดี: ब्रिटिश राज; คำว่า "ราช" (rāj) แปลว่า "ปกครอง" โดยรวมหมายถึง การปกครองโดยบริเตน) หรือ อินเดียของบริเตน (British India) ในทางการหมายถึง จักรวรรดิอินเดียของบริเตน (British Indian Empire) และระดับนานาชาติและสมัยเดียวกันหมายถึง อินเดีย ซึ่งเป็นคำที่ใช้เหมือนกันสำหรับภูมิภาค การปกครอง และช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2401 ถึง พ.ศ. 2490 ของจักรวรรดิอังกฤษในอนุทวีปอินเดีย

ในภูมิภาคนี้ยังรวมถึงพื้นที่ที่บริหารโดยตรงจากสหราชอาณาจักร[1] (สมัยเดียวกันเรียกว่า "อินเดียของบริเตน") และรัฐเจ้าครองนครต่างๆ ที่มีประมุขปกครองภายใต้อำนาจปกครองสูงสุดของรัฐบาลอังกฤษ รัฐเจ้าครองนคร ซึ่งทำสนธิสัญญากับรัฐบาลอังกฤษได้รับอนุญาตให้มีระดับการปกครองตนเอง โดยแลกเปลี่ยนกับการอารักขาและการเป็นตัวแทนด้านการต่างประเทศโดยอังกฤษ

จักรวรรดิอินเดียของบริเตนประกอบไปด้วยดินแดนที่เป็นประเทศอินเดียและบังกลาเทศในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีเอเดน (พ.ศ. 2382 - 2480) พม่าตอนบน (พ.ศ. 2401 - พ.ศ. 2480) และพม่าตอนล่าง (พ.ศ. 2429 - 2480) (พม่าแยกจากอินเดียของบริเตนในปี พ.ศ. 2480) โซมาลิแลนด์ของบริเตน (ช่วงสั้นๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2427 ถึง พ.ศ. 2441) และสิงคโปร์ (ในช่วงสั้นๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2401 ถึง พ.ศ. 2410) อินเดียของบริเตนเกี่ยวโยงกับดินแดนในปกครองอังกฤษในตะวันออกกลาง เงินตรารูปีอินเดียใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายพื้นที่ของภูมิภาค ประเทศอิรักในปัจจุบันเคยปกครองโดยกระทรวงอินเดียของรัฐบาลอังกฤษ ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1

จักรวรรดิอินเดียซึ่งออกหนังสือเดินทางของตนเองได้ใช้ชื่อแทนว่า อินเดีย ทั้งในภูมิภาคและระดับนานาชาติ ในฐานะที่เป็นประเทศอินเดีย จึงเป็นสมาชิกก่อตั้งสภาสันนิบาติชาติ และ ชาติสมาชิกในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนในปี 2443 2463 2471 2475 และ 2479

บรรดาประเทศของดินแดนนี้ ลังกาของบริเตน (ปัจจุบันคือ ศรีลังกา) ซึ่งตกเป็นของสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2335 ภายใต้สนธิสัญญาอาเมียงส์ มีฐานะเป็นมกุฎราชอาณานิคม (Crown Colony) หรือ อาณานิคมที่ปกครองโดยตรงจากรัฐบาลอังกฤษ แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในอินเดียของบริเตน ราชอาณาจักรเนปาลและภูฏาน แม้จะมีความขัดแย้งกับอังกฤษ แต่ก็ได้ลงนามทำสนธิสัญญากัน และได้รับการยอมรับในฐานะรัฐอิสระและไม่ใช่ส่วนหนึ่งในบริติชราช[2][3] ราชอาณาจักรสิกขิมได้รับการตั้งให้เป็นรัฐเจ้าครองนครหลังการลงนามในสนธิสัญญาอังกฤษ-สิกขิมในปี พ.ศ. 2405 อย่างไรก็ตาม ประเด็นของความเป็นอธิปไตยยังคงไม่ได้กำหนดอะไรทั้งสิ้น.[4] หมู่เกาะมัลดีฟส์เป็นรัฐในอารักขาของบริเตนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2410 ถึงปี พ.ศ. 2508 แต่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งในอินเดียของบริเตน

ระบบการจัดการสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2401 เมื่อการปกครองโดยบริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตนได้โอนย้ายไปสู่รัฐบาลอังกฤษ ในพระปรมาภิไธยของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (ซึ่งทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งอินเดีย ในปี พ.ศ. 2420) จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2490 เมื่อจักรวรรดิอินเดียของบริเตนแบ่งออกเป็นรัฐอธิปไตยสองรัฐคือ สหภาพอินเดีย (Dominion of India) (ซึ่งในภายหลังคือ สาธารณรัฐอินเดีย) และดินแดนปกครองแห่งปากีสถาน (ต่อมาคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน และ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ) ส่วนพม่าแยกตัวออกจากการปกครองของจักรวรรดิอินเดียของบริเตนในปี พ.ศ. 2480 และถูกปกครองโดยตรงหลังจากนั้นมา ต่อมาได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2491 เป็นประเทศสหภาพพม่า (Union of Burma)

อ้างอิง

แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA