ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หยาดเพชร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pim132 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pim132 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
* [[เกียรติกมล ล่าทา]] ประกอบละครเวที ''[[เงิน เงิน เงิน]]'' อัลบั้ม [[เพลงประกอบละครเวทีเอเอฟเดอะมิวสิเคิล ตอน เงิน เงิน เงิน]]
* [[เกียรติกมล ล่าทา]] ประกอบละครเวที ''[[เงิน เงิน เงิน]]'' อัลบั้ม [[เพลงประกอบละครเวทีเอเอฟเดอะมิวสิเคิล ตอน เงิน เงิน เงิน]]
* [[ศุกลวัฒน์ คณารศ]] ประกอบภาพยนตร์โฆษณา[[มิสทิน]]
* [[ศุกลวัฒน์ คณารศ]] ประกอบภาพยนตร์โฆษณา[[มิสทิน]]

*[[นภัทร อินใจเอื้อ]]และบิดา [[เดอะสตาร์ค้นฟ้าคว้าดาว ปี6]]สัปดาห์ที่ 7 - คอนเสิร์ตความยาว 30 นาที (กัน วาไรตี้คอนเสิร์ต)
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:53, 23 มกราคม 2556

"หยาดเพชร"
เพลงโดยชรินทร์ นันทนาคร
วางจำหน่ายพ.ศ. 2508
ผู้ประพันธ์เพลงชาลี อินทรวิจิตร (คำร้อง)
สมาน กาญจนะผลิน (ทำนอง)

หยาดเพชร เป็นเพลงแนวลูกกรุง ขับร้องโดย ชรินทร์ นันทนาคร แต่งคำร้องโดย ชาลี อินทรวิจิตร และทำนองโดย สมาน กาญจนะผลิน เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง เงิน เงิน เงิน (พ.ศ. 2508) ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา คู่กับเพชรา เชาวราษฎร์ มีดาราสมทบคือชรินทร์ นันทนาคร และสุมาลี ทองหล่อ เพลงนี้ในภาพยนตร์แสดงความอาลัยที่ต้องจากคู่นางรอง (สุมาลี)

ที่มาของเพลงนี้ ชาลี อินทรวิจิตร ผู้แต่งเล่าให้ฟังว่า

ชรินทร์ มันแอบชอบเพชรา เชาวราษฎร์ มาอ้อนวอนให้แต่งเพลงให้ดอกดิน (ชรินทร์ เป็นผู้จัดการด้านโฆษณาของดอกดิน) มีเพลง "ฝนแรก" เขารักเพชราก็พยายามเอาใจดอกดิน ผมต้องไปแต่งเพลงให้ทั้งที่มีหลายบริษัทใหญ่ เพลง "หยาดเพชร" ก็เหมือนกัน ชรินทร์ขอให้ผมแต่งประกอบหนัง เงิน เงิน เงิน พอถึงตอนชรินทร์ เข้าห้องอัด ผมเดินไปกระซิบข้างหูมันกำชับว่า ร้องให้ดีนะ ร้องแล้วคงรู้ว่าผมหมายถึงใคร[1]

เพลง "หยาดเพชร" นั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ประทานนามให้ชาลี อินทรวิจิตรและสมาน กาญจนผลินเป็นผู้แต่ง[2]

เพลงนี้มีการนำกลับมาขับร้องใหม่หลายครั้ง โดยในครั้งล่าสุดใช้ในเพลงประกอบ ภาพยนตร์โฆษณา ลิปสติก ไดมอนด์ นัมเบอร์ วัน ของมิสทีน ที่เป็นการปรากฏตัวของเพชรา เชาวราษฎร์ ในโฆษณาทางโทรทัศน์ครั้งแรกในรอบ 30 ปี ขับร้องโดยศุกลวัฒน์ คณารศ[3]

นักร้องที่เคยขับร้องเพลงนี้

อ้างอิง

  1. ตำนานเพลง "หยาดเพชร"
  2. พิสุทธินี, "ชรินทร์ นันทนาคร", นิตยสารลิปส์ ฉบับปักษ์หลังมกราคม 2553 หน้า 178-185
  3. เต็มตาปลื้มใจ เพชรา เชาวราษฎร์...กลับมาแล้ว