ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โบอิง 787 ดรีมไลเนอร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Lemon787ana (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
SantoshBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: sa:बोयिङ्ग् ७८७
บรรทัด 118: บรรทัด 118:
[[ro:Boeing 787]]
[[ro:Boeing 787]]
[[ru:Boeing 787 Dreamliner]]
[[ru:Boeing 787 Dreamliner]]
[[sa:बोयिङ्ग् ७८७]]
[[sh:Boeing 787]]
[[sh:Boeing 787]]
[[simple:Boeing 787 Dreamliner]]
[[simple:Boeing 787 Dreamliner]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:44, 20 มกราคม 2556

โบอิง 787 ดรีมไลเนอร์

โบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ เป็นเครื่องบินโดยสารเจ็ตขนาดกลางลำตัวกว้างพิสัยไกล แบบใช้เครื่องยนต์คู่ ออกแบบโดยฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง รองรับผู้โดยสารได้ลำละ 210 ถึง 290 คน ขึ้นอยู่กับรุ่น โบอิ้งแถลงว่า เครื่องบินดังกล่าวเป็นเครื่องบินโดยสารที่ประหยัดเชื้อเพลิงที่สุดของบริษัท และเป็นเครื่องบินโดยสารสำคัญแบบแรกของโลกที่ใช้วัสดุผสมในการก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่[1] โบอิง 787 บริโภคเชื้อเพลิงน้อยกว่าโบอิง 767 ที่มีขนาดเท่ากันถึง 20%[2] ลักษณะที่แตกต่างที่สุดมีทั้งที่กันลมสี่แผง เชฟรอนลดเสียงบนส่วนแยกเครื่องยนต์ (engine nacelle) และเส้นระดับเสียง (nose contour) ที่เรียบขึ้น

ชื่อเดิมของเครื่องบินที่กำหนดคือ 7E7 ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นอย่างในปัจจุบันในเดือนมกราคม พ.ศ. 2548[3] โบอิง 787 ลำแรกเผยโฉมในพิธีเปิดตัวเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ที่โรงงานประกอบเอเวอร์เร็ตต์ของโบอิง โดยที่มันได้กลายมาเป็นเครื่องบินโดยสารลำตัวกว้างที่ขายเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมียอดสั่งถึง 677 ลำ[4] จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 มีการสั่งซื้อโบอิง 787 จำนวน 797 ลำ เข้ามาจากผู้ให้บริการสายการบิน 57 ราย[5]

การพัฒนาและการผลิตโบอิง 787 เกี่ยวข้องกับความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตวัตถุดิบหลายรายทั่วโลก การประกอบขั้นสุดท้ายประกอบขึ้นที่โรงงานเอเวอร์เร็ตต์โบอิงในเอเวอร์เร็ตต์ รัฐวอชิงตัน เครื่องบินจะยังมีการประกอบขึ้นที่โรงงานแห่งใหม่ในนอร์ทชาลสตัน รัฐเซาท์แคโรไลนา โรงงานทั้งสองจะส่งมองเครื่อง 787 ให้แก่ผู้ให้บริการเครื่องบินโดยสาร โครงการดังกล่าวต้องล่าช้าออกไปหลายครั้ง จากที่เคยวางแผนจะให้บริการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 การขึ้นบินครั้งแรกของเครื่องมีขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และสิ้นสุดการทดสอบการบินในกลาง พ.ศ. 2554 เอกสารรับรองของสำนักงานควบคุมความปลอดภัยการบินแห่งยุโรปสุดท้ายได้รับในปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 และโมเดลแรกถูกส่งมอบในปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 และเข้าให้บริการเชิงพาณิชย์ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554[6]

ข้อมูลเบื้องต้น

ในช่วงแรกนั้น โบอิง ต้องการจะพัฒนาเครื่องบินุร่นใหม่เพื่อทดแทน 767 ที่มียอดสั่งซื้อชะลอตัวลง เพื่อจะแข่งขันกับเครื่องบินแอร์บัส เอ 330-200 แต่ใช้เชื้อเพลิงในปริมาณที่เท่ากับ 767 และ เอ330 แต่ภายหลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544และวิกฤติราคาน้ำมัน ทำให้ไม่เป็นที่ตอบรับมากนัก โบอิงจึงปรับเปลี่ยนโครงการมาพัฒนาเครื่องบินโดยสารโดยนำเครื่องเทคโนโลยีที่ได้จากการพัฒนาเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงมาใช้แทน และใช้ชื่อว่า 7E7 (มีรหัสระหว่างการพัฒนาว่า Y2 ในโครงการโบอิงเยลโลสโตนโปรเจกต์)

จนในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2548 โบอิงได้เปลี่ยนชื่อรุ่นมาเป็น 787 และได้เปิดเผยแบบขั้นสุดท้ายในวันที่ 26 เมษายน ในปีเดียวกัน โดยโบอิงจะผลิตออกมา 3 รุ่น คือ

  • 787-3 พิสัยบินระยะใกล้ (4,650 - 5,650 กิโลเมตร) เพื่อทดแทนรุ่น 757-300, 767-200 และ-300 โดยมีลักษณะของปลายปีกเครื่องบินที่แตกแต่างจากรุ่นอื่น และมีออลนิปปอนแอร์เวย์เป็นสายการบินส่งมอบรายแรก[7] และเจแปนแอร์ไลน์เป็นลูกค้าอีกหนึ่งราย[8]
  • 787-8 เป็นรุ่นที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของ 787 มีพิสัยบินระยะไกล (14,800 - 15,750) เพื่อทดแทนรุ่น โบอิง 767-200ER และ โบอิง 767-300ER และจะเป็นรุ่นแรกของ 787 ที่จะเริ่มให้บริการในปีพ.ศ. 2551
  • 787-9 มีพิสัยบินระยะไกล (14,800 - 15,750 กิโลเมตร) เป็นรุ่นที่ขยายลำตัวให้ยาวขึ้นจาก 787-8 เพื่อทดแทนรุ่น โบอิง 767-400ER โดยมีแอร์นิวซีแลนด์ เป็นสายการบินส่งมอบรายแรก

ข้อมูลจำเพาะ

รุ่น 787-3 787-8 787-9
จำนวนนักบิน 2
ความจุผู้โดยสาร 290 - 330 210 - 250 250 - 290
ความยาว 56.72 เมตร (186 ฟุต 1 นิ้ว) 63 เมตร (206 ฟุต)
ความกว้างของปีก 52 เมตร (170 ฟุต) 60 เมตร (197 ฟุต) 62 เมตร (203 ฟุต)
ความสูง 16.92 เมตร (55 ฟุต 6 นิ้ว)
ความจุห้องสินค้า (124.6 ตร.ม. (4,400 ตร.ฟ.) 152.9 ตร.ม. (5,400 ตร.ฟ.)
น้ำหนักบรรทุกเปล่า 110,000 กิโลกรัม (242,000 ปอนด์)
น้ำหนักสูงสุดขณะนำเครื่องขึ้น 165,100 กิโลกรัม
(364,000 ปอนด์)
219,540 กิโลกรัม
(484,000 ปอนด์)
244,940 กิโลกรัม
(540,000 ปอนด์)
ความเร็วปกติ 0.85 มัก[9][10][11]
พิสัยบิน เมื่อบรรทุกเต็มลำ 4,650 - 5,650 กิโลเมตร
(2,500 - 3,050 ไมล์ทะเล)
14,200 - 15,200 กิโลเมตร
(7,650 - 8,200 ไมล์ทะเล)
14,800 - 15,750 กิโลเมตร
(8,000 - 8,500 ไมล์ทะเล)
ความจุเชื้อเพลิงสูงสุด 126,903 ลิตร (33,528 แกลลอน) 138,700 ลิตร (36,693 แกลลอน)
เพดานบิน 13,100 เมตร (43,000 ฟุต)
เครื่องยนต์ (2×) เจเนรัล อีเลคทริค จีอีเอ็นเอกซ์ หรือ โรลส์-รอยส์ เทรนท์ 1000
แรงผลักดันสูงสุด 236 กิโลนิวตัน (53,000 ปอนด์ฟอร์ซ) 285 กิโลนิวตัน (64,000 ปอนด์ฟอร์ซ) 311 กิโลนิวตัน (70,000 ปอนด์ฟอร์ซ)

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน

รุ่นที่ใกล้เคียงกัน

เครื่องบินที่คล้ายกัน

อ้างอิง

  1. Norris, G.; Thomas, G.; Wagner, M. and Forbes Smith, C. (2005). Boeing 787 Dreamliner – Flying Redefined. Aerospace Technical Publications International. ISBN 0-9752341-2-9.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. "Commercial Airplanes – 787 Dreamliner – Background" (Press release). Boeing. สืบค้นเมื่อ December 14, 2010.
  3. "Boeing Gives the 7E7 Dreamliner a Model Designation" (Press release). Boeing. January 28, 2005. สืบค้นเมื่อ June 14, 2011.
  4. "Boeing Celebrates the Premiere of the 787 Dreamliner" (Press release). Boeing. July 8, 2007. สืบค้นเมื่อ January 21, 2011.
  5. "787 Model Orders and Deliveries summary". Boeing. June 2011. สืบค้นเมื่อ July 25, 2011.
  6. Tim Kelly (October 26, 2011). "Dreamliner carries its first passengers and Boeing's hopes". Reuters. สืบค้นเมื่อ October 28, 2011.
  7. ออลนิปปอนแอร์เวย์สั่งซื้อเครื่องบินโบอิง 787-3 จำนวน 30 ลำ
  8. โบอิงและเจแปนแอร์ไลน์แถลงข่าวการสั่งซื้อเครื่องบินโบอิง 787
  9. ข้อมูล โบอิง 787-3 ดรีมไลน์เนอร์
  10. ข้อมูล โบอิง 787-8 ดรีมไลน์เนอร์
  11. ข้อมูล โบอิง 787-9 ดรีมไลน์เนอร์

แหล่งข้อมูลอื่น


แม่แบบ:Link FA