ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การอธิษฐานในศาสนาพุทธ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Jotterbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: si:අධිත්ථාන
บรรทัด 25: บรรทัด 25:


[[en:Adhiṭṭhāna]]
[[en:Adhiṭṭhāna]]
[[si:අධිත්ථාන]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:32, 20 มกราคม 2556

อธิษฐาน (อ่าน อะ-ทิด-ถาน, อะ-ทิด-สะ-ถาน) มีสองความหมาย ความหมายแรกคือ การตั้งมั่นหรือการตัดสินใจ และความหมายที่สองคือ การตั้งใจหรือการผูกใจ

อธิษฐานในความหมายของการตั้งมั่น

อธิษฐาน แปลว่า การตั้งมั่น การตัดสินใจ การตั้งความปรารถนา ทั่วไปหมายถึงการตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, การตั้งจิตร้องขอสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์, การนึกปรารถนาสิ่งที่ต้องการจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากพระ นึกอธิษฐานในใจขอให้เดินทางแคล้วคลาด เป็นต้น

คำว่า อธิษฐาน ในคำวัดหมายถึงความตั้งใจมั่นคงตัดสินใจรักษาสัจจะ ตั้งใจประกอบความเพียร ตั้งใจเสียสละ ตั้งใจทำบุญ ตั้งใจหาความสงบ เป็นต้น

อธิษฐานในความหมายของการตั้งใจ

อธิษฐาน แปลว่า การตั้งใจไว้ การผูกใจไว้ ใช้คู่กับคำว่า ปัจจุธรณ์ ที่แปลว่า ถอนคืน, การถอนคืน เป็นภาษาพระวินัย คือมีธรรมเนียมว่าเมื่อพระสงฆ์ได้ผ้ามาใหม่ ตั้งใจจะใช้เป็นผ้าชนิดใด เช่นเป็นสบงสำหรับนุ่ง เป็นจีวรสำหรับห่ม ก็อธิษฐานคือตั้งใจกำหนดผูกใจไว้ว่าจะใช้สอยเป็นผ้าชนิดนั้น เมื่ออธิษฐานเสร็จแล้วเป็นอันถูกต้องและใช้สอยได้ตามพระวินัย เรียกผ้านั้นว่า ผ้าอธิษฐาน ผ้าครอง หรือ สบงอธิษฐาน จีวรอธิษฐาน

แม้บาตรก็ต้องอธิษฐานก่อนใช้เช่นกัน เมื่ออธิษฐานแล้วเรียกว่า บาตรอธิษฐาน

มีคำสำหรับอธิษฐานตามพระวินัยโดยเฉพาะเมื่อต้องการจะเลิกใช้หรือเปลี่ยนใหม่ก็ทำได้โดยการปัจจุธรณ์เสียก่อน

อ้างอิง