ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อันดับลิ่น"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
| range_map_caption = [[แผนที่]]แสดงการกระจายพันธุ์
| range_map_caption = [[แผนที่]]แสดงการกระจายพันธุ์
}}
}}
'''ลิ่น''' หรือ '''นิ่ม''' ({{lang-en|Pangolin, Pholidotes, Scaly anteater}}) หรือที่นิยมเรียกกันว่า '''ตัวลิ่น''' หรือ '''ตัวนิ่ม''' จัดอยู่ใน[[ไฟลัม]][[สัตว์มีแกนสันหลัง]] ชั้น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]] ที่อยู่ในอันดับ '''[[Pholidota]]''' จัดเป็นสัตว์ที่มีเพียง[[วงศ์ (ชีววิทยา)|วงศ์]]เดียว คือ '''[[Manidae]]''' และ[[genus|สกุล]]เดียว คือ ''[[Manis]]''
'''ลิ่น''' หรือ '''นิ่ม''' ({{lang-en|Pangolin, Pholidotes, Scaly anteater}}) หรือที่นิยมเรียกกันว่า '''ตัวลิ่น''' หรือ '''ตัวนิ่ม''' จัดอยู่ใน[[ไฟลัม]][[สัตว์มีแกนสันหลัง]] ชั้น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]] ที่อยู่ในอันดับ Pholidota จัดเป็นสัตว์ที่มีเพียง[[วงศ์ (ชีววิทยา)|วงศ์]]เดียว คือ Manidae และ[[genus|สกุล]]เดียว คือ ''Manis''


ลิ่นเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ[[อาร์มาดิลโล]] หรือ สัตว์ที่อยู่ในอันดับ Cingulata ที่พบได้ใน[[ทวีปอเมริกาเหนือ]]และ[[อเมริกาใต้]] ขณะที่ลิ่นจะพบได้ที่[[ทวีปเอเชีย]]และ[[แอฟริกา]]
ลิ่นเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ[[อาร์มาดิลโล]] หรือ สัตว์ที่อยู่ในอันดับ Cingulata ที่พบได้ใน[[ทวีปอเมริกาเหนือ]]และ[[อเมริกาใต้]] ขณะที่ลิ่นจะพบได้ที่[[ทวีปเอเชีย]]และ[[แอฟริกา]]
บรรทัด 40: บรรทัด 40:
ลิ่นมีทั้งหมด 8 ชนิด (ดูในตาราง) กระจายพันธุ์ไปในทวีปแอฟริกาและเอเชีย สำหรับใน[[ประเทศไทย]]พบ 2 ชนิด คือ [[ลิ่นซุนดา]] หรือ ลิ่นชวา (''M. javanica'') ที่พบได้ทั่วไปทุกภาค กับ[[ลิ่นจีน]] (''M. pentadactyla'') ที่มีรายงานการพบเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น บริเวณ[[อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2483]] ซึ่งมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่า หางสั้นกว่า และมีสีที่คล้ำกว่า<ref>[[กองทุนสัตว์ป่าโลก]], ''สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน'' ([[กรุงเทพมหานคร]], [[พ.ศ. 2543]]) ISBN 974-87081-5-2</ref>
ลิ่นมีทั้งหมด 8 ชนิด (ดูในตาราง) กระจายพันธุ์ไปในทวีปแอฟริกาและเอเชีย สำหรับใน[[ประเทศไทย]]พบ 2 ชนิด คือ [[ลิ่นซุนดา]] หรือ ลิ่นชวา (''M. javanica'') ที่พบได้ทั่วไปทุกภาค กับ[[ลิ่นจีน]] (''M. pentadactyla'') ที่มีรายงานการพบเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น บริเวณ[[อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2483]] ซึ่งมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่า หางสั้นกว่า และมีสีที่คล้ำกว่า<ref>[[กองทุนสัตว์ป่าโลก]], ''สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน'' ([[กรุงเทพมหานคร]], [[พ.ศ. 2543]]) ISBN 974-87081-5-2</ref>


ลิ่นซุนดา ในปัจจุบัน เป็น[[สัตว์ป่า]]ที่นิยมอย่างมากในการรับประทานในหมู่ของผู้ที่นิยมรับประทานสัตว์ป่าหรือของแปลก ๆ โดยมีราคาขายสูงถึง[[กิโลกรัม]]ละ 2,000-3,000 บาท หากตัวไหนที่มี[[น้ำหนัก]]มากอาจมีราคาสูงถึง 3,500 บาท ทำให้มีการลักลอบค้าตัวลิ่นอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่[[ภาคใต้]] เช่น [[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด]] และ[[อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า]] เป็นต้น
ลิ่นซุนดา ในปัจจุบัน เป็น[[สัตว์ป่า]]ที่นิยมอย่างมากในการรับประทานในหมู่ของผู้ที่นิยมรับประทานสัตว์ป่าหรือของแปลก ๆ โดยมีราคาขายสูงถึง[[กิโลกรัม]]ละ 2,000-3,000 บาท หากตัวไหนที่มี[[น้ำหนัก]]มากอาจมีราคาสูงถึง 3,500 บาท ทำให้มีการลักลอบค้าตัวลิ่นอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่[[ภาคใต้]] เช่น [[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด]] และ[[อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า]] เป็นต้น และในความเชื่อของชาวจีน เชื่อว่า เกล็ดของลิ่นช่วยในการรักษา[[โรคกระเพาะ]]<ref>''Untamed China with Nigel Marven'', สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต. ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 19 มกราคม 2556</ref>


โดยผู้ที่เข้าป่าหาตัวลิ่นจะใช้[[สุนัข]]ดมกลิ่นตามล่า หากลิ่นปีนขึ้นต้นไม้ ก็จะใช้การตัดต้นไม้ต้นนั้นทิ้งเสีย โดยการค้าตัวลิ่นถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะลิ่นไม่ว่าชนิดไหน ในประเทศไทย ถือว่าเป็น[[สัตว์ป่าคุ้มครอง]] ตาม[[พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535]] และมี[[ไซเตส|กฎหมายคุ้มครองระหว่างประเทศ]]อีกด้วย ผู้กระทำผิดจะได้รับโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท จำคุก 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ <ref>บุญเลิศ ชายเกตุ, ''ตัวนิ่ม สัตว์ป่าราคาแพง...วันนี้เสี่ยงสูญพันธุ์ นักเปิบยังนิยม'ขบวนการซื้อขาย'ไม่เข็ดขยาดกฎหมาย'' [[เดลินิวส์]] หน้า 12: [[วันศุกร์]]ที่ [[12 มกราคม]] [[พ.ศ. 2555]] ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 2 [[ปีเถาะ]]</ref>
โดยผู้ที่เข้าป่าหาตัวลิ่นจะใช้[[สุนัข]]ดมกลิ่นตามล่า หากลิ่นปีนขึ้นต้นไม้ ก็จะใช้การตัดต้นไม้ต้นนั้นทิ้งเสีย โดยการค้าตัวลิ่นถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะลิ่นไม่ว่าชนิดไหน ในประเทศไทย ถือว่าเป็น[[สัตว์ป่าคุ้มครอง]] ตาม[[พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535]] และมี[[ไซเตส|กฎหมายคุ้มครองระหว่างประเทศ]]อีกด้วย ผู้กระทำผิดจะได้รับโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท จำคุก 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ <ref>บุญเลิศ ชายเกตุ, ''ตัวนิ่ม สัตว์ป่าราคาแพง...วันนี้เสี่ยงสูญพันธุ์ นักเปิบยังนิยม'ขบวนการซื้อขาย'ไม่เข็ดขยาดกฎหมาย'' [[เดลินิวส์]] หน้า 12: [[วันศุกร์]]ที่ [[12 มกราคม]] [[พ.ศ. 2555]] ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 2 [[ปีเถาะ]]</ref>
บรรทัด 53: บรรทัด 53:
{{สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม}}
{{สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม}}
{{ลิ่น}}
{{ลิ่น}}
==แหล่งข้อมูลอื่น==

{{wikispecies|Pholidota}}
[[หมวดหมู่:ลิ่น]]
[[หมวดหมู่:ลิ่น]]
[[หมวดหมู่:สัตว์ป่าคุ้มครอง]]
[[หมวดหมู่:สัตว์ป่าคุ้มครอง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:13, 19 มกราคม 2556

อันดับลิ่น
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: พาลีโอซีน-ปัจจุบัน
ลิ่นจีน (Manis pentadactyla)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
ชั้นฐาน: Eutheria
อันดับใหญ่: Laurasiatheria
อันดับ: Pholidota
Weber, 1904
วงศ์: Manidae
Gray, 1821
สกุล: Manis
Linnaeus, 1758
ชนิด
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

ลิ่น หรือ นิ่ม (อังกฤษ: Pangolin, Pholidotes, Scaly anteater) หรือที่นิยมเรียกกันว่า ตัวลิ่น หรือ ตัวนิ่ม จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่อยู่ในอันดับ Pholidota จัดเป็นสัตว์ที่มีเพียงวงศ์เดียว คือ Manidae และสกุลเดียว คือ Manis

ลิ่นเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับอาร์มาดิลโล หรือ สัตว์ที่อยู่ในอันดับ Cingulata ที่พบได้ในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ขณะที่ลิ่นจะพบได้ที่ทวีปเอเชียและแอฟริกา

ลิ่นทุกชนิดจะมีส่วนหน้าที่ยาว มีปากขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นรูเล็ก ๆ ไม่มีฟัน กินอาหารโดยการใช้ลิ้นที่ยื่นยาวและน้ำลายที่เหนียวตวัดกินแมลงตามพื้นดิน จำพวก มดและปลวกหรือหนอนขนาดเล็ก และมีลำตัวที่ปกคลุมด้วยเกล็ดเป็นชิ้น ๆ เหมือนกับสัตว์เลื้อยคลาน ทำหน้าที่เหมือนชุดเกราะเพื่อใช้ในการป้องกันตัว เมื่อถูกรุกรานลิ่นจะลดลำตัวเป็นวงกลม ขณะที่ส่วนท้องจะไม่มีเกล็ด ซึ่งจะถูกโจมตีได้ง่าย

ลิ่นมีเล็บที่แหลมคมและยื่นยาว ใช้สำหรับขุดพื้นดินหาอาหารและขุดโพรงเป็นที่อยู่อาศัยและพักผ่อน และปีนต้นไม้ เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน

ลิ่นออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 1-2 ตัว ตั้งท้องนานราว 130 วัน เมื่อแรกเกิด ลูกลิ่นจะมีเกล็ดติดตัวมาตั้งแต่เกิด และจะเกาะกับแม่ตรงบริเวณโคนหาง ซึ่งลูกลิ่นวัยอ่อนจะยังไม่มีเกล็ดแข็งเหมือนกับลิ่นวัยโต แต่จะค่อย ๆ แข็งขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเจริญเติบโต[2]

ลิ่นมีทั้งหมด 8 ชนิด (ดูในตาราง) กระจายพันธุ์ไปในทวีปแอฟริกาและเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ ลิ่นซุนดา หรือ ลิ่นชวา (M. javanica) ที่พบได้ทั่วไปทุกภาค กับลิ่นจีน (M. pentadactyla) ที่มีรายงานการพบเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เมื่อปี พ.ศ. 2483 ซึ่งมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่า หางสั้นกว่า และมีสีที่คล้ำกว่า[3]

ลิ่นซุนดา ในปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าที่นิยมอย่างมากในการรับประทานในหมู่ของผู้ที่นิยมรับประทานสัตว์ป่าหรือของแปลก ๆ โดยมีราคาขายสูงถึงกิโลกรัมละ 2,000-3,000 บาท หากตัวไหนที่มีน้ำหนักมากอาจมีราคาสูงถึง 3,500 บาท ทำให้มีการลักลอบค้าตัวลิ่นอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด และอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า เป็นต้น และในความเชื่อของชาวจีน เชื่อว่า เกล็ดของลิ่นช่วยในการรักษาโรคกระเพาะ[4]

โดยผู้ที่เข้าป่าหาตัวลิ่นจะใช้สุนัขดมกลิ่นตามล่า หากลิ่นปีนขึ้นต้นไม้ ก็จะใช้การตัดต้นไม้ต้นนั้นทิ้งเสีย โดยการค้าตัวลิ่นถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะลิ่นไม่ว่าชนิดไหน ในประเทศไทย ถือว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และมีกฎหมายคุ้มครองระหว่างประเทศอีกด้วย ผู้กระทำผิดจะได้รับโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท จำคุก 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ [5]

ซึ่งคำว่า "Pangolin" ซึ่งเป็นคำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่เรียกลิ่นนั้น มาจากภาษามาเลย์คำว่า Peng-goling แปลว่า "ไอ้ตัวขด"[6]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. จาก ITIS.gov (อังกฤษ)
  2. ตัวนิ่ม
  3. กองทุนสัตว์ป่าโลก, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน (กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. 2543) ISBN 974-87081-5-2
  4. Untamed China with Nigel Marven, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต. ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 19 มกราคม 2556
  5. บุญเลิศ ชายเกตุ, ตัวนิ่ม สัตว์ป่าราคาแพง...วันนี้เสี่ยงสูญพันธุ์ นักเปิบยังนิยม'ขบวนการซื้อขาย'ไม่เข็ดขยาดกฎหมาย เดลินิวส์ หน้า 12: วันศุกร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 2 ปีเถาะ
  6. ลิ่นหรือนิ่ม จากข่าวสด

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA