ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2539"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
มังกรคาบแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
ลบหมวดหมู่:การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้ว; เพิ่ม[[หมวดหมู่:การเลือกตั้งผู้ว...
บรรทัด 52: บรรทัด 52:


{{การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร}}
{{การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร}}
[[หมวดหมู่:การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]]
[[หมวดหมู่:การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแบ่งตามปี]]
[[หมวดหมู่:การเลือกตั้งใน พ.ศ. 2539]]
[[หมวดหมู่:การเลือกตั้งใน พ.ศ. 2539]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:16, 17 มกราคม 2556

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2539

← พ.ศ. 2535 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2543 →
  ไฟล์:พิจิตต รัตตกุล1.gif
ผู้ได้รับเสนอชื่อ พิจิตต รัตตกุล พล.ต.จำลอง ศรีเมือง
พรรค อิสระ พลังธรรม
คะแนนเสียง 768,994 514,401
% 43.53% 33.09 %

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก่อนการเลือกตั้ง

ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา
อิสระ

ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

พิจิตต รัตตกุล
อิสระ

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2539 นับเป็น การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นครั้งที่ 5 สืบเนื่องจากในเดือนเมษายน พ.ศ. 2539 การดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ครบวาระ 4 ปี

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้มีผู้สมัครทั้งสังกัดพรรคการเมืองและอิสระ ได้แก่ ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้สมัครอิสระ ที่เคยลงเลือกตั้งมาแล้วในปี พ.ศ. 2535 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์, ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา อดีตผู้ว่าฯ และนายอากร ฮุนตระกูล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรุงเทพมหานคร พรรคพลังธรรม ซึ่งลงอิสระ ขณะที่ พลตรี จำลอง ศรีเมือง อดีตผู้ว่าฯ 2 สมัย ก็ได้ตัดสินใจลงรับสมัครอีกครั้ง เป็นสมัยที่ 3 ในสังกัดพรรคพลังธรรม

โดยการเลือกตั้งมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน ปีเดียวกัน ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า ดร.พิจิตต ที่หาเสียงโดยชูนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และต้านมลพิษทางอากาศ ได้รับเลือกด้วยคะแนน 768,994 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 43.53[1] ขณะที่ พล.ต.จำลอง ที่เคยชนะมาแล้วอย่างถล่มทลายเมื่อปี พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2533 ได้คะแนน 514,401 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 33.09

อนึ่ง การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ออกมาใช้สิทธิคิดเป็นร้อยละ 51 มากกว่าครั้งที่ผ่าน ๆ มา โดยมีปรากฏการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้น ได้แก่ แม้ว่าฝนจะตกหนัก และบางครอบครัวที่ได้เดินทางออกไปเที่ยวยังต่างจังหวัด ก็รีบกลับมาให้ทันการลงคะแนน อีกทั้งยังมีการสำรวจคะแนนความนิยมจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ บ่งชี้ว่า ดร.พิจิตต จะได้รับเลือกไปด้วยคะแนนเสียงขาดลอย ซึ่งผลก็ออกมาจริงตามนั้น ถึงขนาดที่คอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์บางรายได้เขียนแสดงความยินดีต่อ ดร.พิจิตต ล่วงหน้า[2]

อ้างอิง

  1. สถิติการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จากผู้จัดการออนไลน์
  2. "พิจิตต" โค่น "จำลอง" เข้าป้ายผู้ว่าฯ กทม., หน้า 251. ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์ มติชน (สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2550) ISBN 974-323-889-1