ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศคอสตาริกา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ay:Kustarika
DragonBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต: แก้ไขจาก pa:ਕੋਸਟਾ ਰੀਕਾ ไปเป็น pa:ਕੋਸਤਾ ਰੀਕਾ
บรรทัด 318: บรรทัด 318:
[[or:କୋଷ୍ଟାରିକା]]
[[or:କୋଷ୍ଟାରିକା]]
[[os:Коста-Рикæ]]
[[os:Коста-Рикæ]]
[[pa:ਕੋਸਟਾ ਰੀਕਾ]]
[[pa:ਕੋਸਤਾ ਰੀਕਾ]]
[[pam:Costa Rica]]
[[pam:Costa Rica]]
[[pap:Costa Rica]]
[[pap:Costa Rica]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:33, 14 มกราคม 2556

สาธารณรัฐคอสตาริกา

República de Costa Rica (สเปน)
คำขวัญ¡Vivan siempre el trabajo y la paz! ("การงานและสันติภาพจงเจริญชั่วกาลนาน !")
ที่ตั้งของคอสตาริกา
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ซันโฮเซ
ภาษาราชการภาษาสเปน
การปกครองสาธารณรัฐประชาธิปไตย
เลารา ชินชียา
[[]]
เอกราช
• จาก สเปน
15 กันยายน พ.ศ. 2364
พื้นที่
• รวม
51,100 ตารางกิโลเมตร (19,700 ตารางไมล์) (129)
0.7%
ประชากร
• 2552 ประมาณ
4,579,000 (118)
81.40 ต่อตารางกิโลเมตร (210.8 ต่อตารางไมล์) (107)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
• รวม
40.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (79)
10,000 ดอลลาร์สหรัฐ (63)
เอชดีไอ (2543)0.838
สูงมาก · 47
สกุลเงินโกลอน (CRC)
เขตเวลาUTC-6
รหัสโทรศัพท์506
โดเมนบนสุด.cr

คอสตาริกา (สเปน: Costa Rica) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐคอสตาริกา (สเปน: República de Costa Rica) เป็นประเทศในภูมิภาคอเมริกากลาง มีอาณาเขตจรดประเทศนิการากัว ทางทิศเหนือ จรดประเทศปานามาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จรดมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และจรดทะเลแคริบเบียนทางทิศตะวันออก ประเทศนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของภูมิภาคในเรื่องการมีเสถียรภาพทางการเมือง และบางครั้งได้ชื่อว่าเป็น "สวิตเซอร์แลนด์ของอเมริกากลาง"

ภูมิศาสตร์

มีพื้นที่ประมาณหนึ่งในสามของประเทศไทย เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ทำให้มีพืชพันธุ์ไม้อุดมสมบูรณ์ที่ไม่สามารถพบได้ในประเทศอื่น มีพื้นที่เป็นเขตป่าสงวนมากถึง 25% ของประเทศห้ามทำลายอย่างมาก

ประวัติศาสตร์

ยุคก่อนอาณานิคม

ยุคอาณานิคมสเปน

ยุครัฐชาติสมัยใหม่

การเมืองการปกครอง

รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

ประธานาธิบดี ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งจะอยู่ในตำแหน่งได้เป็นระยะเวลา 4 ปีเพียงครั้งเดียว นาย Oscar ARIAS Sanchez (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2549) นาง Laura Chinchilla จากพรรค (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2553)

ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบรัฐสภาเดียว มีสมาชิกสภานิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง 57 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ฝ่ายตุลาการ ศาลสูงสุดของประเทศ (Supreme Court) มาจากการเลือกตั้งโดย สมาชิกสภานิติบัญญัติ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี การเลือกตั้งครั้งต่อไป กุมภาพันธ์ 2548 พรรคการเมืองสำคัญ Social Christian Unity Party (PUSC) (พรรครัฐบาล) Democrat Party National Liberation Party (Partido Liberacion Nacional)

การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่จังหวัดของประเทศคอสตาริกา

คอสตาริกาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 จังหวัด ได้แก่

  1. อาลาคูเอลา (ภาคกลาง; ทางเหนือของเมืองหลวงซันโฮเซ)
  2. การ์ตาโก
  3. กวานากัสเต (ตะวันตกเฉียงเหนือ)
  4. เอเรเดีย
  5. ลีมอน (มีพื้นที่เลียบชายฝั่งทะเลแคริบเบียน)
  6. ปุนตาเรนัส (เลียบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกส่วนใหญ่ จากนั้นจึงมีพื้นที่โป่งกว้างทางตะวันตกเฉียงใต้และทางเหนือ สิ้นสุดทั้งสองส่วนที่อ่าวนีโกยา ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของจังหวัดที่มีชื่อเดียวกัน)
  7. ซันโฮเซ (พื้นที่รอบเมืองหลวง)


การต่างประเทศ

คอสตาริกาให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในการดำเนินความร่วมมือภายใต้กรอบ Organization of the American States (OAS) และความใกล้ชิดกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะในเรื่องการป้องกันประเทศซึ่งคอสตาริกาได้ยกเลิกกองกำลังทหาร ตั้งแต่ปี 2492นอกจากนี้ คอสตาริกายังให้ความสำคัญกับการต่อต้านการค้ายาเสพติด โดยเป็นประเทศแรกในอเมริกากลางที่ลงนามใน Maritime Counter-Narcotics Agreement กับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นความร่วมมือเพื่อต่อต้านการลักลอบขนส่งยาเสพติดในน่านน้ำคอสตาริกา

กองทัพ

คอสตาริกาเป็นประเทศเดียวในโลกไม่มีกองทัพ

เศรษฐกิจ

ข้อมูลดัชนีเศรษฐกิจ

ดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจของคอสตาริกาประจำเดือนธันวาคม 2553 ชี้ว่าเศรษฐกิจของประเทศยังเติบโตต่ำ และเป็นไปในแนวทางเดียวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศที่ขยายตัวลดลงเรื่อยๆ ตลอดปีที่ผ่านมา เมื่อเดือนธันวาคม 2553 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศลดลงอีกร้อยละ 2.3จากเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ไปอยู่ในจุดที่ต่ำที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี มีบางภาคเศรษฐกิจที่ยังคงขยายตัวได้ ได้แก่ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการ ซึ่งขยายตัวร้อยละ 9.10 รวมทั้งอุตสาหกรรมการขนส่ง การสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งขยายตัวร้อยละ 6.42 ส่วนภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ไม่มีความเปลี่ยนแปลงมากนัก ในขณะที่ภาคธุรกิจก่อสร้าง การผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งภาคการเหมืองแร่ และเหมืองหินมีอัตราการเจริญเติบโตที่ติดลบ

เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

ในปี 2553 คอสตาริกามีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศประมาณ 4.584 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

โครงสร้างการผลิตภายในประเทศ

  1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (2549) 22.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  2. อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (2550/strong> ร้อยละ 7
  3. รายได้ประชาชาติต่อหัว (2550) 13,500 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี
  4. หนี้ต่างประเทศ (2550) ร้อยละ 7.163 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  5. เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (พ.ค.2550) 3.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  1. สินค้าเกษตรสำคัญ กล้วย (คอสตาริกาเป็นผู้ส่งออกกล้วยมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากเอกวาดอร์) กาแฟ เมล็ดโกโก้ ข้าว และถั่ว
  2. สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ เคมีภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์ยาง
  3. สินค้าบริการสำคัญ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (ทำรายได้เข้าประเทศกว่าร้อยละ 60)
  1. การนำเข้า มูลค่า 11.84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2550) ในปี 2553 มูลค่า 13.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  2. สินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ
    1. น้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เวชภัณฑ์ และสิ่งก่อสร้าง
    2. ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องประมวลผล วงจร รวมโมโนลิทิก กระดาษคราฟต์
  3. ประเทศคู่ค้าตลาดนำเข้าหลัก
    1. สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 44.72
    2. เม็กซิโก ร้อยละ 7.65
    3. ญี่ปุ่น ร้อยละ 4.36
    4. บราซิล ร้อยละ
    5. เวเนซุเอลา ร้อยละ 5.56
    6. จีน ร้อยละ 5.15
  1. การส่งออก มูลค่า 9.232 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2550) ในปี 2553 มูลค่า 10.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ()
  2. สินค้าส่งออกสำคัญ อาทิ
    1. ผลิตผลการเกษตร อาทิ กล้วย สัปปะรด กาแฟ เมลอน พืชตกแต่ง เนื้อวัว น้ำตาล
    2. อุตสาหกรรม อาทิ สิ่งทอ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเภสัช
  3. ประเทศคู่ค้าการส่งออกที่สำคัญได้แก่
    1. สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 35.61
    2. เนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 12.82
    3. จีน ร้อยละ 11.81
    4. เยอรมัน ร้อยละ
    5. กัวเตมาลา ร้อยละ
    6. นิการากัว ร้อยละ
    7. เม็กซิโก ร้อยละ 4.2

ความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศ

ความตกลงเขตการค้าเสรีพหุภาคีที่คอสตาริกาเป็นภาคีร่วมมี

1. CAFTA-DR (ความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างกลุ่มประเทศอเมริกากลาง และสาธารณรัฐคอมินิกัน กับสหรัฐอเมริกา) ลงนามเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2547 มีผลบังคับในคอสตาริกาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552 ทั้งนี้ กลุ่มประเทศอเมริกากลางเป็นตลาดส่งออกอันดับสามในกลุ่มละตินอเมริกาสำหรับสหรัฐฯ หลังจากเม็กซิโกและบราซิล การส่งออกจากสหรัฐฯ ไปยังกลุ่มประเทศ CAFTA-DR มีมูลค่า 26.3 พันล้านเหรียญฯ ในปี 2551

2. ความตกลงเขตการค้าเสรีพหุภาคีกับกลุ่มประเทศคาริบเบียน (CARICOM) ลงนามเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2547 มีผลบังคับในคอสตาริกาเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 โดยมีเงื่อนไขความตกลง 4 ระดับซึ่งเจรจากันระหว่างแต่ละประเทศอีกต่างหาก ได้แก่ การเปิดเสรีอัตโนมัติ การลดภาษีใน 4 ปี ข้อยกเว้นเป็นรายสินค้า และข้อยกเว้นสำหรับสินค้าเกษตรตามฤดูกาลสำหรับความตกลงเขตการค้าเสรีในระดับทวิภาคี คอสตาริกาได้ลงนามความตกลงไว้ 5 ประเทศ คือ กับเม็กซิโก (มีผลบังคับตั้งแต่ปี 2538) แคนาดา (2544) ชิลี (2545) สาธารณรัฐโดมินิกัน (2538) และปานามา (2551) และได้เริ่มกระบวนการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีกับ ประเทศจีน เมื่อปี 2550 และกับสหภาพยุโรป (AACUE) เมื่อปี 2549

ความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ICC/CBI (Caribbean Basin Initiative-1983), GSP-Europe และ ALCA/FTAA (Free Trade Areas of the Americas-1994 )

คมนาคม

มีเส้นทางการเดินทางแบบถนน 35,330 กิโลเมตร ทางรถไฟ 278 กิโลเมตร ทางน้ำ 730 กิโลเมตรที่ใช้เดินเรือได้เฉพาะเรือขนาดเล็ก สนามบิน 151 แห่ง มีท่อส่งก๊าซและน้ำมัน 796 กิโลเมตร ท่าเรือสำคัญ 2 แห่ง

ประชากร

ชาวคอสตาริกาเป็นชนชาติผสมระหว่างสเปนกับชาวพื้นเมืองเดิม เรียกตัวเองว่า ตีโกส (Ticos) [1]

การศึกษา

วัฒนธรรม

อาหาร

กีฬา

อ้างอิง

  1. นิตยสารสารคดี ฉบับ 270 หน้า 136

แหล่งอื่น

รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
การท่องเที่ยว

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA