ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Delicious (คุย | ส่วนร่วม)
Delicious (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มตำแหน่งนายสถานีโทรทัศน์ให้กับ วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
บรรทัด 19: บรรทัด 19:
| network = [[สถานีโทรทัศน์]]ระบบ[[ยูเอชเอฟ]]
| network = [[สถานีโทรทัศน์]]ระบบ[[ยูเอชเอฟ]]
| owner = [[องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย|องค์การกระจายเสียงและ<br/>แพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย]]
| owner = [[องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย|องค์การกระจายเสียงและ<br/>แพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย]]
| key people = [[สมชัย สุวรรณบรรณ]] ผู้อำนวยการ<br/>[[วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์]] รองผู้อำนวยการ<br/>[[ดร.วุฒิ ลีลากุศลวงศ์|วุฒิ ลีลากุศลวงศ์]] รองผู้อำนวยการ<br/>[[มงคล ลีลาธรรม]] รองผู้อำนวยการ
| key people = [[สมชัย สุวรรณบรรณ]] ผู้อำนวยการ<br/>[[วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์]] รองผู้อำนวยการและปฏิบัติหน้าที่นายสถานีโทรทัศน์<br/>[[ดร.วุฒิ ลีลากุศลวงศ์|วุฒิ ลีลากุศลวงศ์]] รองผู้อำนวยการ<br/>[[มงคล ลีลาธรรม]] รองผู้อำนวยการ
| slogan = ไทยพีบีเอส ทีวี...ที่คุณวางใจ
| slogan = ไทยพีบีเอส ทีวี...ที่คุณวางใจ
| country = {{ธง|ไทย}} [[ประเทศไทย|ไทย]]
| country = {{ธง|ไทย}} [[ประเทศไทย|ไทย]]
บรรทัด 176: บรรทัด 176:
* นางสาวเรณู ภาคานาม อดีตกรรมการและเลขานุการ
* นางสาวเรณู ภาคานาม อดีตกรรมการและเลขานุการ
* นายกอบสิน ธนผลิน อดีตผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรม
* นายกอบสิน ธนผลิน อดีตผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรม
* นาย [[กฤตโชติ อุดมสุขรัตน์]] (กรรมการ)
* นาย[[กฤตโชติ อุดมสุขรัตน์]]
* นาย[[เชิดชาย มากบำรุง]] (กรรมการ)
* นาย[[เชิดชาย มากบำรุง]]
* นางสาว[[ศุลีพร ปฐมนุพงศ์]] (กรรมการ)
* นางสาว[[ศุลีพร ปฐมนุพงศ์]]
* นาย[[ณรงค์ศักดิ์ อำไพวรรณ]] (กรรมการ)
* นาย[[ณรงค์ศักดิ์ อำไพวรรณ]]
* นาย[[ประยุทธ์ วงศ์วิไล]] (กรรมการ)
* นาย[[ประยุทธ์ วงศ์วิไล]]


=== นายสถานีโทรทัศน์ ===
=== นายสถานีโทรทัศน์ ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:37, 14 มกราคม 2556

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
อัตลักษณ์สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
ประเทศไทย ไทย
พื้นที่แพร่ภาพไทย ประเทศไทย
เครือข่ายสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ
คำขวัญไทยพีบีเอส ทีวี...ที่คุณวางใจ
สำนักงานใหญ่145 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
แบบรายการ
ระบบภาพ576i (PAL, SDTV)
1080i (HDTV)
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าขององค์การกระจายเสียงและ
แพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
บุคลากรหลักสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการ
วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ รองผู้อำนวยการและปฏิบัติหน้าที่นายสถานีโทรทัศน์
วุฒิ ลีลากุศลวงศ์ รองผู้อำนวยการ
มงคล ลีลาธรรม รองผู้อำนวยการ
ช่องรองสถานีวิทยุไทยพีบีเอสออนไลน์
ประวัติ
เริ่มออกอากาศ15 มกราคม พ.ศ. 2551 (16 ปี)
ชื่อเดิมสถานีโทรทัศน์ไอทีวี
สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี
สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย
ลิงก์
เว็บไซต์www.ThaiPBS.or.th
ออกอากาศ
ภาคพื้นดิน
แอนะล็อกช่อง 29 (ยูเอชเอฟ)
เคเบิลทีวี
ทรูวิชั่นส์ช่อง 6
ทีวีดาวเทียม
ไทยคม 53985V 4.815 3/4
4017V 1.800 3/4
4012V 6.400 3/4 (HD)
ทรูวิชั่นส์ช่อง 6
ดีทีวีช่อง 6
พีเอสไอช่อง 16
สื่อสตรีมมิง
ThaiPBSชมรายการสด
STATชมรายการสด

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (อังกฤษ: Thai PBS) เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย และแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1] ดำเนินการโดยองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ออกอากาศแทนสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี โดยออกอากาศส่งสัญญาณโทรทัศน์สี ในระบบยูเอชเอฟ ทางช่อง 29 เป็นครั้งแรก ในวันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ก่อนแพร่ภาพอย่างเป็นทางการในอีก 1 เดือนต่อมา

ประวัติ

ไฟล์:TPBS first display.jpg
ภาพแรกของสถานีโทรทัศน์ TPBS หลังจากการตัดสัญญาณจากสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี

พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ทำให้กรมประชาสัมพันธ์มีคำสั่งให้สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวียุติการออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 (เป็นระยะเวลาชั่วคราว)เมื่อเวลา 24.00 น. ของวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551 และเมื่อเวลา 00.08 น. ได้เปลี่ยนมาออกอากาศนโยบายของสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะ จากนั้นเป็นสารคดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อย่างต่อเนื่อง ในนาม สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส ของวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 โดยทั้งหมดส่งสัญญาณออกอากาศจากอาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นเวลา 16 วัน

TPBS: 15 มกราคม พ.ศ. 2551 - 31 มกราคม พ.ศ. 2551

ไฟล์:TPBS first.jpg
รายการนับหนึ่งโทรทัศน์สาธารณะไทย TPBS ดำเนินรายการโดย ณาตยา แวววีรคุปต์

กระทั่งเวลา 15.30 นาฬิกาของวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2551 องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยจึงเริ่มดำเนินการ สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส อย่างเต็มตัว โดยได้ทดลองออกอากาศรายการพิเศษ "นับหนึ่งโทรทัศน์สาธารณะไทย TPBS" จากห้องส่งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก และนับเป็นรายการสดที่ออกอากาศจริงทางสถานีโทรทัศน์ดังกล่าวเป็นครั้งแรก โดยเนื้อหาของรายการเป็นการอธิบายและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไปของสถานีโทรทัศน์[2] มีณาตยา แวววีรคุปต์ อดีตผู้สื่อข่าวไอทีวีชุดกบฏไอทีวี เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีผู้ร่วมรายการประกอบด้วย ขวัญสรวง อติโพธิ ณรงค์ ใจหาญ อภิชาติ ทองอยู่ กรรมการนโยบายชั่วคราวขององค์การฯ และ อนุสรณ์ ศรีแก้ว คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต หลังจากนั้น สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอสกลับมาออกอากาศรายการสารคดีอย่างต่อเนื่อง

ไทย PBS: 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 30 เมษายน พ.ศ. 2551

ก่อนการออกอากาศอย่างเป็นทางการ

กระทั่งวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ได้เปิด สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ขึ้นอย่างเป็นทางการ แทนที่สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส แต่ยังคงใช้ตราสัญลักษณ์แบบเดิม เพียงเปลี่ยนชื่อด้านล่างตรา พร้อมทั้งประกาศผังรายการใหม่ในช่วงเวลา 18.00 - 24.00 น. เพื่อทดลองออกอากาศในระยะแรก ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ในระยะนี้ ผังรายการช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ระหว่าง 18.00-24.00 น. มีรายการที่สำคัญ คือ ร่วมคิด ร่วมสร้าง ไทยพีบีเอส ในเวลา 20.00 น. ซึ่งเป็นรายการสด จัดโดยฝ่ายข่าวและฝ่ายรายการของไทยพีบีเอส มีเนื้อหาเป็นการรับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม ถึงทัศนคติว่าด้วยทีวีสาธารณะและความเหมาะสมในการออกอากาศรายการประเภทต่างๆ ในแต่ละช่วงเวลา[3] แม้ยังไม่มีการออกอากาศของรายการข่าว แต่ได้ทดลองนำเสนอข่าวโดยส่งผู้สื่อข่าวไปสัมภาษณ์ ณ ทำเนียบรัฐบาล

การออกอากาศอย่างเป็นทางการ

ไฟล์:Thaipbs first program.jpg
รายการข่าวเช้า ไทย PBS รายการข่าวรายการแรกของสถานี

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เริ่มเปิดสถานีในเวลา 05.00 น. และอีก 1 ชั่วโมงต่อมาคือเวลา 06.00 น. เป็นการเสนอของรายการข่าวรายการแรกคือ ข่าวเช้า ไทยพีบีเอส โดยมีผู้ประกาศข่าว คือภัทร จึงกานต์กุล และปิยณี เทียมอัมพร เป็นผู้ประกาศข่าวคู่แรกของสถานีฯ

ช่วงเวลา 05.00 - 18.00 น. เป็นการฉายสารคดีซึ่งเดิมทีได้ฉายเป็นปกติอยู่แล้วในช่วงก่อนเปิดสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส[4]

ส่วนรายการข่าวนั้น องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เห็นชอบให้อดีตพนักงานฝ่ายข่าวของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเดิม จำนวน 274 คน จากทั้งหมด 399 คน[5] เป็นผู้ดำเนินการไปพลางก่อนในระยะเริ่มแรก เช่น เกื้อกูล นุชตเวช ธีรัตถ์ รัตนเสวี รุ่งทิพย์ โชตินภาลัย ภัทร จึงกานต์กุล ปิยณี เทียมอัมพร , อารยา ต่อตระกูล , กมลวรรณ ตรีพงศ์ , อนุวัต เฟื่องทองแดง , ศจี ชลายนเดชะ, กฤต เจนพาณิชการ, เอกราช อุดมอำนวย, รุ่งทิพย์ โชตินภาลัย, ธนวรรณ มิลินทสูต และทีมข่าวกีฬาชุดเดิมของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี และยังมีผู้สมัครจากภายนอกและออกอากาศไปพลางก่อนในระยะเริ่มแรกด้วย เช่น ประวีณมัย บ่ายคล้อย, ชัยรัตน์ ถมยา, อรชุน รินทรวิฑูรย์, ณาตยา แวววีรคุปต์, กรุณา บัวคำศรี ระหว่างนั้น สถานีฯ มีการปรับผังรายการเป็นระยะ ๆ ช่วงต้นเดือน

ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ: 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 - 14 มกราคม พ.ศ. 2552

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 องค์การฯ จึงจัดงานเปิดตัวอัตลักษณ์ใหม่ของสถานีฯ ตามที่ได้จัดประกวดไปก่อนหน้านี้[6] พร้อมเปลี่ยนชื่อสถานีอีกครั้งเป็น ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ส่วนชื่อไทยพีบีเอส ใช้เป็นชื่อขององค์การเพียงอย่างเดียวเท่านั้น (ถึงแม้ยังจะมีชื่อ Thai PBS อยู่ในอัตลักษณ์ก็ตาม)[7]

ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ได้มีการปรับผังรายการ ให้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน รวมถึงความบันเทิงเชิงสาระมากขึ้น[8] โดยตราสัญลักษณ์รูปแบบใหม่ จะมีข้อความ ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ต่อท้าย ขณะที่ปรากฏขึ้นในกราฟิกขึ้นต้นรายการ และกราฟิกของทุกช่วงข่าวด้านล่าง

ทีวีไทย: 15 มกราคม พ.ศ. 2552 - 8 เมษายน 2554

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552 ในโอกาสครบรอบ 1 ปีของทีวีไทย จึงมีการปรับผังรายการ รวมถึงเปลี่ยนฉาก และรูปแบบของอัตลักษณ์อีกครั้ง เป็นลายเส้นภาพนกเช่นเดิม แต่เปลี่ยนเป็นสีส้มอมแดง ลอยตัวอยู่เหนือตัวอักษร ทีวีไทย พร้อมทั้งปรับปรุงเว็บไซต์ ให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยระบุชื่อสถานีฯ ว่า สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย

Thai PBS

ระยะเริ่มต้น : 9 เมษายน 2554 - 20 พฤษภาคม 2554

ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยได้เปลี่ยนชื่อ ทีวีไทย กลับไปเป็นไทยพีบีเอส อย่างเป็นทางการเหมือนในช่วงที่เริ่มออกอากาศ 3 เดือนแรก แต่เปลี่ยนจากคำว่า ไทย เป็น Thai ซึ่งการใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Thai PBS ทั้งนี้ได้มีการย้ายส่วนปฏิบัติการสถานีไปยังตึกสำนักงานถาวรอย่างเป็นทางการด้วย โดยก่อนหน้านั้น ส.ส.ท. ได้เปลี่ยนการเรียกชื่อสถานีในรายการข่าวทุกภาคให้เรียกชื่อสถานีเป็น "ไทยพีบีเอส" ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยเริ่มเรียกชื่อใหม่นี้ในช่วงทันข่าว 10.00 น. เป็นครั้งแรกโดยมี อัครพล ทองธราดล ผู้ประกาศข่าวของสถานีเป็นผู้ประกาศในช่วงดังกล่าว นอกจากนี้ยังได้มีการเปลี่ยนชื่อสถานีก่อนล่วงหน้าในไตเติ้ลของรายการโทรทัศน์ เช่น ละครโทรทัศน์ญี่ปุ่น เรียวมะ จอมคนพลิกแผ่นดิน เป็นต้น รวมถึงในเว็บไซต์ของสถานีฯ ด้วย [9]

ระยะความละเอียดสูง : 21 พฤษภาคม 2554 - ปัจจุบัน

ไฟล์:Thaipbs openHD.jpg
นายเทพชัย หย่อง กดปุ่มเดินเครื่องการออกอากาศโทรทัศน์ความละเอียดสูง (ThaiPBS HD) วันที่ 21 พฤษภาคม 2554 เวลา 24.00 น.

ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยได้ย้ายที่ทำการจากที่ทำการชั่วคราวอาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ถนนวิภาวดีรังสิต ไปยังที่ทำการถาวรแห่งใหม่ ข้างสโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งทำให้ไทยพีบีเอสเริ่มระบบการออกอากาศใหม่ด้วยระบบ HD สัดส่วน 16:9 เป็นแห่งแรกของฟรีทีวีของประเทศไทย[10]

ในช่วงเกิดอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 การทำข่าวประจำวันของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเป็นไปอย่างยากลำบาก ทางสถานีฯ ได้พิจารณาตั้งศูนย์ข่าวเฉพาะกิจ ไทยพีบีเอส-จุฬา นิวส์ เซ็นเตอร์ ที่ศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านสื่อดิจิตอล อาคารมงกุฎสมมติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้การเกาะติดสถานการณ์ข่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยเตรียมพร้อมระบบ เพื่อรองรับการออกอากาศตั้งแต่วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 และมีทีมงานฝ่ายข่าวบางส่วนมาทำงานยังศูนย์ข่าวเฉพาะกิจ เพื่อผลิตรายการข่าวหลัก ๆ[11] หลังการออกอากาศประมาณ 20 วัน สถานการณ์โดยรวมของภาวะน้ำท่วมบนถนนวิภาวดีรังสิตดีขึ้น โดยเฉพาะบริเวณหน้าสำนักงานใหญ่ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสจึงยุติการออกอากาศจากศูนย์ข่าวเฉพาะกิจ ไทยพีบีเอส- จุฬา เพื่อกลับมาออกอากาศ ณ ที่ทำการ ส.ส.ท.สำนักงานใหญ่ เขตหลักสี่ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554[12]

ไฟล์:Thaipbs prathep.jpg
สมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคารที่ทำการ ส.ส.ท. อย่างเป็นทางการ

ในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมายังองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ทรงกดปุ่มเปิดแพรคลุมป้ายชื่ออาคารสำนักงานใหญ่อย่างเป็นทางการ ในโอกาสนี้ทรงทอดพระเนตรห้องออกอากาศส่วนปฏิบัติงานต่างๆ รวมทั้งทอดพระเนตรห้องออกอากาศ 1 ที่ใช้สำหรับการออกกาศข่าว จากนั้นทรงทดลองอ่านข่าว ซึ่งทางกองบรรณาธิการได้ถวายบทข่าวและถวายคำแนะนำในการอ่านข่าวโทรทัศน์และวิธีการใช้อุปกรณ์สำหรับผู้ประ­กาศข่าว จากนั้นทอดพระเนตรห้องออกอากาศที่ใช้เป็นห้องออกอากาศรายการต่างๆ อาทิ รายการตอบโจทย์ รายการสถานีประชาชน และรายการศิลป์สโมสร เนื่องจากเป็นห้องออกอากาศที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุด สามารถเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมชมการบันทึกรายการได้ และยังได้ทอดพระเนตรห้องควบคุมระบบการออกอากาศ 24 ชั่วโมง [13]

การออกอากาศ

การแพร่ภาพด้วยสถานีส่งสัญญาณภาคพื้นดิน

ไฟล์:Thaipbs nicam.jpg
ไทยพีบีเอส ออกอากาศเสียงด้วยระบบ Digital NICAM Stereo

เป็นการจัดตั้งสถานีเครื่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ในจังหวัดหรืออำเภอต่างๆ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง โดยใช้คลื่นความถี่ยูเอชเอฟ (UHF) ทางช่อง 29 และใช้มาตรฐานของ Video ระบบ PAL G ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน CCIR โดยช่องสัญญาณย่านความถี่ UHF สำหรับกิจการโทรทัศน์ในประเทศไทยได้จัดสรรไว้ที่ย่านความถี่ที่ 4 ถึง 5 ตั้งแต่ช่องที่ 26 ถึง 60 หรือมีความถี่อยู่ระหว่าง 510 ถึง 790 MHz.

ระบบเสียงที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสส่งออกอากาศประกอบด้วย ระบบเสียง Mono และ Digital NICAM Stereo

ไทยพีบีเอสมีสถานีส่งสัญญาณภาคพื้นดินเป็นจำนวน 52 สถานี แบ่งเป็นในกรุงเทพมหานคร 2 สถานี ภาคเหนือ 14 สถานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 สถานี ภาคกลางและตะวันออก 11 สถานี และภาคใต้ 12 สถานี โดยคลื่นความถี่ระบบยูเอชเอฟและเครื่องส่งโทรทัศน์ [14]

การแพร่ภาพผ่านดาวเทียม

ไทยพีบีเอสส่งสัญญาณแพร่ภาพผ่านดาวเทียมไทยคม 5 ย่านความถี่ C-Band ในระบบ DVB-S หรือ Digital Video Broadcast - Satellite ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสำหรับการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในแบบดิจิตอล สัญญาณดาวเทียมนี้ครอบคลุมประเทศไทยทั้งประเทศ เอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้

อดีตไทยพีบีเอสเริ่มแพร่ภาพออกอากาศมาตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ทางดาวเทียมไทยคม 2 คลื่นความถี่ 4145 Symbol Rate แนว H แต่เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ไทยพีบีเอสได้ย้ายส่งสัญญาณจากดาวเทียมไทยคม 2 มาเป็นไทยคม 5 ย่านความถี่ C-Band มาพร้อมกับความถี่ใหม่ ที่ 3985 Symbol Rate 4815 แนว V และปัจจุบัน ได้ย้ายความถี่ C-Band เป็นความถี่ 4017 Symbol Rate 1800 แนว V โดยความถี่เดิมจะยกเลิกในเดือนพฤศจิกายน 2555

ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2554 ไทยพีบีเอสส่งสัญญาณโทรทัศน์ความละเอียดสูง (High Definition Television) ในระบบ DVB-S2 MPEG4 AVC ทางดาวเทียมไทยคม 5 ย่านความถี่ C-Band ที่ความถี่ 4012 Symbol Rate 6400 แนว V ซึ่งสถานีออกอากาศระบบความคมชัดปกติควบคู่กันไปในความถี่เดิม[15]

ไฟล์:TVthai test.jpg
การทดสอบสัญญาณของไทยพีบีเอส แบบ พีเอ็ม 5544
การทดสอบสัญญาณของไทยพีบีเอสในปัจจุบัน

การทดสอบสัญญาณ

ไทยพีบีเอสพักการออกอากาศในช่วงเวลาปกติ ระหว่างเวลา 02.00-05.00 น.โดยจะออกอากาศเป็นภาพทดสอบ ยกเว้นหากเกิดเหตุการณ์สำคัญ เช่น รายงานข่าวด่วน ทางสถานีฯ จึงออกอากาศอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะจบการรายงาน

สถานีฯ ใช้ภาพทดสอบดังนี้

การเปิดสถานี

  • ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 - เมื่อถึงเวลาประมาณ 04:50 น. สิ้นสุดภาพทดสอบและเริ่มแพร่ภาพโลโก้ของสถานี ระยะเวลา 7 นาที จากนั้นเวลาประมาณ 04:57 น. จะมีการเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี และเริ่มรายการแรก[ต้องการอ้างอิง]
  • 1 มิถุนายน 2553 - 8 เมษายน พ.ศ. 2554 - เวลา 05:00 น. เริ่มที่ภาพสุดท้ายของไอเดนท์สถานีฯ มีข้อความ อรุณสวัสดิ์ท่านผู้ชม ขณะนี้เวลา 5 นาฬิกา ตามด้วย ขอให้ทุกท่านมีความสุขในการรับชมรายการต่าง ๆ ของสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย อยู่เหนือ 'ทีวีไทย' และสัญลักษณ์ของสถานีฯ ต่อด้วยเพลงสรรเสริญพระบารมี และเริ่มรายการแรก[16]
  • 1 มกราคม 2556 - ปัจจุบัน - เมื่อถึงเวลา 05:00 น. สถานีเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี และเริ่มรายการแรก

การปิดสถานี

  • ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 - เมื่อรายการสุดท้ายจบเวลาประมาณ 00.30 น. สถานีฯ เริ่มออกอากาศ ident ของสถานี ต่อด้วยเพลงสรรเสริญพระบารมี ต่อด้วยแพร่ภาพโลโก้ของสถานี และเริ่มออกอากาศภาพทดสอบ[ต้องการอ้างอิง]
  • 1 มิถุนายน 2553 - 8 เมษายน พ.ศ. 2554 - เวลาประมาณ 01.50 น. เริ่มที่ภาพสุดท้ายของไอเดนท์สถานีฯ มีข้อความ "ขณะนี้สถานีโทรทัศน์ทีวีไทยขอยุติการออกอากาศ ขอบคุณทุกท่านสำหรับการติดตามชม" ตามด้วย "ขอให้ทุกท่านนอนหลับฝันดี ราตรีสวัสดิ์" อยู่เหนือ 'ทีวีไทย' และสัญลักษณ์ของสถานีฯ ต่อด้วยเพลง สรรเสริญพระบารมี ต่อด้วยแพร่ภาพโลโก้ของสถานี และเริ่มออกอากาศภาพทดสอบ[ต้องการอ้างอิง]
  • 1 มกราคม 2556 - ปัจจุบัน - เริ่มจาก ident ปิดสถานี มีโลโก้ของสถานีลอยขึ้นมา ใต้ล่างมีข้อความ "ยุติการแพร่ภาพออกอากาศ เพื่อรณรงค์ประหยัดพลังงาน และเริ่มแพร่ภาพอีกครั้งเวลา 05.00น." และเพลงสรรเสริญพระบารมี และภาพทดสอบ

เวลาเปิด - ปิดสถานี

  • 15 - 31 มกราคม พ.ศ. 2551 ทดลองออกอากาศโดยเชื่อมสัญญาณมาจากสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่[17][18]
  • 1 กุมภาพันธ์ - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เปิดสถานีเวลา 05.00 น. ปิดสถานีเวลา 00.00 น.
  • สิงหาคม พ.ศ. 2551 เปิดสถานีเวลา 05.00 น. ปิดสถานีเวลา 00.30 น. (จันทร์ - ศุกร์) ระหว่างเวลา 01.00 น. และ 02.00 น. (เสาร์ - อาทิตย์) การปิดสถานีวันเสาร์ขึ้นอยู่กับความยาวภาพยนตร์ที่ออกอากาศในรายการโกลเด้นฟิล์มสัปดาห์นั้น ๆ
  • สิงหาคม - กันยายน พ.ศ. 2551 และ ตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2551 เปิดสถานี 24 ชั่วโมง เพื่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
  • กันยายน - ตุลาคม พ.ศ. 2551 เปิดสถานีเวลา 05.00 น. ปิดสถานีเวลา 00.45 (จันทร์ - ศุกร์) เวลา 00.15 น. (เสาร์ - อาทิตย์)
  • 1 - 14 มกราคม พ.ศ. 2552 เปิดสถานีเวลา 05.00 น. ปิดสถานีเวลา 00.45 น. (จันทร์ - ศุกร์) เวลา 00.15 น. (เสาร์ - อาทิตย์)
  • 15 มกราคม - 30 กันยายน พ.ศ. 2552 และ 1 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เปิดสถานีเวลา 05.00 น. ปิดสถานีเวลา 00.30 น.
  • มีนาคม - เมษายน 2552 เปิดสถานี 24 ชั่วโมง เพื่อรายงานข่าวการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 31 มกราคม พ.ศ. 2553 เปิดสถานีเวลา 05.00 น. ปิดสถานีเวลา 00.30 น. (จันทร์ - เสาร์) เวลา 00.10 น. (อาทิตย์)
  • 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เปิดสถานี 24 ชั่วโมง โดยช่วงเวลา 00.30 น. - 05.00 น. ได้นำรายการที่ยุติการออกอากาศไปแล้ว หรือ รายการที่ออกอากาศอยู่ปัจจุบัน มาฉายซ้ำ
  • 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 - 8 เมษายน พ.ศ. 2554 เปิดสถานีเวลา 05.00 น. ปิดสถานีเวลา 02.00 น. โดยช่วงเวลา 00.30 น. - 02.00 น. ได้นำรายการที่ยุติการออกอากาศไปแล้ว สารคดี หรือรายการที่ออกอากาศอยู่ปัจจุบันมาฉายซ้ำ
  • 9 เมษายน พ.ศ. 2554 - 31 ธันวาคม 2555 เปิดสถานี 24 ชั่วโมง โดยช่วงเวลา 00.30 น. - 05.00 น. ได้นำรายการที่ยุติการออกอากาศไปแล้วหรือรายการที่ออกอากาศอยู่ปัจจุบันมาฉายซ้ำ
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน เปิดสถานีเวลา 05.00 น. ปิดสถานีเวลา 02.00 น.โดยช่วงเวลา 00.00 น. - 02.00 น. วันจันทร์ - ศุกร์ และ 00.30 - 02.00 น. ในวันเสาร์ - อาทิตย์ได้นำรายการที่ยุติการออกอากาศไปแล้วหรือรายการที่ออกอากาศอยู่ปัจจุบันมาฉายซ้ำ[19]
ไฟล์:ThaiPBS newOffice.jpg
สนามหญ้าหน้าที่ทำการ ส.ส.ท. ให้บรรยากาศที่สบายในการทำงาน และยังเป็นที่จัดกิจกรรมเพื่อสาธารณะ

สถานที่การออกอากาศ

  • 90-91 อาคารที่ทำการ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร (แพร่สัญญาณชั่วคราวออกอากาศ ในวันที่ 15-31 มกราคม พ.ศ. 2551)
  • 1010 อาคารสำนักงานชั่วคราว ถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (15 มกราคม พ.ศ. 2551 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554)(แต่เริ่มแพร่สัญญาณเดิมออกอากาศอีกครั้ง ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
  • 145 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 (21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน)
  • ศูนย์ข่าวเฉพาะกิจ ไทยพีบีเอส-จุฬา นิวส์ เซ็นเตอร์ ที่ศูนย์แห่งความเป็นเลิศ ด้านสื่อดิจิตอล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10300 (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554) เฉพาะ รายการชั่วโมงทำกิน รายการศิลป์สโมสร รายการจราจรรับน้ำท่วม รายการลุยกรุง รายการข่าวภาคภาษาอังกฤษ Thailand Worst Flood และ รายการที่นี่ไทยพีบีเอส

บุคลากร

คณะกรรมการบริหารสถานีฯ

คณะกรรมการบริหารสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้รับการแต่งตั้งจาก ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. มีองค์คณะประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน คือ รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ด้านบริหารและปฏิบัติการ โดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกเก้าคน ชุดปัจจุบันแต่งตั้งเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 มีดังต่อไปนี้[20] [21]

  1. นายมงคล ลีลาธรรม รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ด้านบริหารและปฏิบัติการ (ประธานกรรมการ)
  2. นายสุวิทย์ สาสนพิจิตร์ ผู้อำนวยการสำนักรายการ ส.ส.ท. (กรรมการ)
  3. นายกันตชัย ศรีสุคนธ์ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรม ส.ส.ท. (กรรมการ)
  4. นายปิยพัฒน์ สุภาวรรณ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ ส.ส.ท. (กรรมการ)
  5. นายโยธิน สิทธิบดีกุล ผช.ผอ.สำนักโทรทัศน์และวิทยุ (ด้านปฏิบัติการออกอากาศ) ปฏิบัติหน้าที่ รักษาการผู้อำนวยการสำนักโทรทัศน์และวิทยุ (กรรมการ)
  6. นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักข่าว ส.ส.ท. (กรรมการ)
  7. นายวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ด้านข่าวและรายการ ปฏิบัติหน้าที่นายสถานีโทรทัศน์ (เลขานุการคณะกรรมการ)
  8. นางนราทร สาระศาลิน เลขานุการผู้อำนวยการสำนักโทรทัศน์และวิทยุ (ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการ)
  9. นางสาวสุภาณี กิตติพนังกุล เลขานุการรองผู้อำนวยการ ส.ส.ท.ด้านข่าวและรายการ (ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการ)

อดีตคณะกรรมการบริหารสถานีฯ

นายสถานีโทรทัศน์

ผู้ประกาศข่าว และ ผู้สื่อข่าวของสถานีฯ

ตราสัญลักษณ์ของสถานี

ตราสัญลักษณ์ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้มีการเปลี่ยนแปลง 5 ครั้ง จนถึงปัจจุบัน ดังต่อไปนี้

15 มกราคม พ.ศ. 2551 - 31 มกราคม พ.ศ. 2551

ตราสัญลักษณ์ของสถานี เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ที่ โรงแรมเรดิสัน โดยมีการแถลงว่าตราสัญลักษณ์ดังกล่าวออกแบบเพื่อใช้ชั่วคราว จนกว่าจะมีการประกวดสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการในอนาคต[24]

1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 30 เมษายน พ.ศ. 2551

ต่อมา เมื่อเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ในนามสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ ยังคงใช้สัญลักษณ์ที่ออกแบบครั้งแรก แต่เปลี่ยนข้อความใต้ภาพเป็น ไทย PBS ตามชื่อสถานีฯ ระหว่างนั้นก็ได้มีการประกวดออกแบบอัตลักษณ์ใหม่ ได้แก่ สัญลักษณ์ (logo) และ interlude ของทางสถานี

1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 - 14 มกราคม พ.ศ. 2552

จากการประกวดออกแบบอัตลักษณ์สถานีฯ ผลปรากฏว่าแบบของทีม KITWIN ได้รับรางวัลชนะเลิศ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[25] ซึ่งแนวคิดในการออกแบบคือความเป็นอิสระ โดยใช้นกพิราบเป็นเครื่องหมายของความมีอิสระ ประกอบกับอักษรไทยคำว่า ไทย และมีอักษรภาษาอังกฤษคำว่า Thai PBS (ชื่อองค์การ) กำกับที่ตอนบน[26][6] ตราสัญลักษณ์นี้ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยได้แถลงเปิดตัวอย่างเป็นทางการ พร้อมกับการประกาศเปลี่ยนชื่อสถานีโทรทัศน์เป็น ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 และเริ่มใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

15 มกราคม พ.ศ. 2552 - 8 เมษายน พ.ศ. 2554

ต่อมาเพื่อเฉลิมฉลองวันครบรอบ 1 ปีของทีวีไทย ส.ส.ท. ได้ปรับปรุงตราสัญลักษณ์ใหม่ โดยทำออกมาเป็น 3 รูปแบบ คือ ตราสัญลักษณ์ขององค์การฯ ตราสัญลักษณ์ของทีวีไทย และตราสัญลักษณ์ของวิทยุไทย สำหรับในส่วนของสัญลักษณ์ใหม่ที่องค์การฯ ยังคงใช้ลายเส้นภาพนกสีส้ม กำลังกระพือปีกบินไว้เช่นเดิม แต่ปรับปรุงส่วนหัวนกเป็นสีส้ม เช่นเดียวกับส่วนปีก เพื่อแยกสัญลักษณ์รูปนก กับตัวอักษร ย ที่อยู่กับคำว่า ไทย ในตราสัญลักษณ์เดิมออกจากกัน ให้เป็นลักษณะภาพลอยตัว เพื่มคำว่าทีวี และเปลี่ยนเป็นสีส้มอมแดง โดยเป็นตราที่จะใช้ร่วมกับ ส.ส.ท. และ วิทยุไทย ซึ่งจะเปลี่ยนเพียงข้อความกำกับ ในส่วนล่างสุดเท่านั้น คือ สสท, ทีวีไทย, วิทยุไทย

9 เมษายน พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน

เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อเรียก Thai PBS จึงได้มีการปรับตราสัญลักษณ์ใหม่ โดยยังคงใช้รูปนกพิราบสีส้มอมแดง แต่เปลี่ยนตัวอักษรใต้รูปเป็น Thai PBS

ในทุกช่วงข่าวของไทยพีบีเอส จะมีการรวมเอาตราสัญลักษณ์ของสถานีมาเข้าไว้กับคำว่า ข่าว หรือ ทันข่าว ทำเป็นสัญลักษณ์ประจำรายการข่าวของไทยพีบีเอสทุกรายการที่บริเวณมุมล่างซ้ายของจอ

ไอเด้นท์ (Ident)

ไฟล์:TPBS Ident.gif
TPBS Ident 17-31 มกราคม 2551
  • 17 - 31 มกราคม 2551 - ภาพ: สัญลักษณ์ TPBS ค่อยๆ เคลื่อนไหว เสียง: เพลงคลาสสิกและคุณกำลังชม ทีพีบีเอส
  • 1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2551 - ภาพ: สัญลักษณ์ ไทย PBS เสียง: เพลงข่าว มีลักษณะช่วงท้ายเป็น 3 ตัวโน้ต
  • 1 พฤษภาคม 2551 - 14 มกราคม 2552 - ภาพ: สัญลักษณ์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ บนพื้นหลังสีขาว เสียง: เพลงข่าว มีลักษณะช่วงท้ายเป็น 3 ตัวโน้ต

ซึ่งระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 14 มกราคม 2552 ใช้เพลงประกอบ ชุด Extreme ของ Stephen Arnold

  • 15 มกราคม 2552 - 8 เมษายน 2554 - ภาพ:สัญลักษณ์ทีวีไทย เสียง:เพลงประกอบชุด Signature โดย Stephen Arnold มีการเพิ่มเสียงเอื้อนแบบไทยและเสียงฉิ่ง มีลักษณะช่วงท้ายเป็น 4 ตัวโน้ต (แต่บางรายการยังใช้เพลงประกอบชุด Extreme อยู่)
  • 17 พฤษภาคม 2553 - 26 พฤษภาคม 2553 - ตอนต้นไอเดนท์: เพิ่ม 'THAI' ท้ายไอเดนท์ : 'ขณะนี้ท่านกำลังรับชม ทีวีไทย' มี 'THAI PUBLIC BROADCASTING SERVICE' กำกับอยู่ด้านล่าง และสัญลักษณ์สถานีฯ อยู่ทางด้านขวา โดยจะเปิดในช่วงพักรายการและต้นรายการ (บางครั้ง)
  • 25 พฤษภาคม 2553 - มิถุนายน 2553 - เริ่มตอนท้ายไอเดนท์ที่เริ่มใช้ 17 พฤษภาคม เสียง: เพลงเดียวกับพยากรณ์อากาศ และ 'ขณะนี้ท่านกำลังรับชม ทีวีไทย' โดยเปิดช่วงพักรายการ (บางครั้ง) และ ก่อนเข้ารายการในช่วงถัดไปของรายการ
ไฟล์:Ident thaipbs2012.jpg
ตัวอย่าง ThaiPBS Ident ในปี พ.ศ. 2555
  • 9 เมษายน 2554 - ใช้ไอเด้นท์ภาพวิดีโอธรรมชาติของนกจากสารคดีต่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับตราสัญลักษณ์สถานี โดยในระยะแรก มี 3 รูปแบบ ได้แก่ นกบิน แม่นกป้อนอาหารให้ลูกนก และนกหลายตัวโฉบกินอาหารที่ผู้เลี้ยงยื่นให้ ต่อมามีการเพิ่มชนิดนกในไอเดนท์ ได้แก่ นกติ๊ดเขียวไผ่ นกคอทับทิม นกกะรางหัวแดง นกกระเต็นปักหลัก นกไม่ทราบชื่อ 2 ไอเดนท์ นกแซวสวรรค์ นกอีโก้ง นกแต้วแล้วนางฟ้า นกแว่นตาขาวสีทอง นกแต้วแล้วป่าโกงกาง และนกกินปลีอกเหลือง โดยในทุกไอเด้นท์มีตราสัญลักษณ์โปร่งใสหมุนแล้วเคลื่อนไปปรากฏชัดเจนทางขวาล่างของจอ พร้อมข้อความและเสียงประกาศคำขวัญ "ไทยพีบีเอส ทีวี...ที่คุณวางใจ" โดย สุผจญ กลิ่นสุวรรณ นอกจากนี้ ไทยพีบีเอสยังนำภาพวิดีโอดังกล่าวมาใช้ในหน้าจอแจ้งรายการอีกด้วย อีกทั้งตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2554 เป็นต้นไป เวลา 19.00 น. ได้มีการนำพิธีกรรายการของไทยพีบีเอสมาประกาศแจ้งรายการด้วยซึ่งจะมีบางช่วงเวลาของทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ และในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้นำประชาชนที่มีอาชีพต่าง ๆ เช่น เกษตรกร มาแจ้งท่านผู้ชมก่อนเข้ารายการต่าง ๆ ว่า "ขณะนี้ท่านกำลังรับชม ไทยพีบีเอส" และ/หรือ แนะนำรายการถัดไป

กราฟิกเปิดรายการ

กราฟิกข่าวของไทยพีบีเอสตั้งแต่เริ่มแรก เป็นรูปลูกโลกมีเปลือกทรงกลมล้อมรอบ ต่อมาเปลี่ยนเป็นเส้นพุ่ง เช่นเดียวกับสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ต่อมา เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552 สถานีฯ เปลี่ยนเป็นช่องสี่เหลี่ยมเรียงกันเป็นตาราง โดยต้องการสื่อถึงความรวดเร็วในการรายงานข่าว

ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554 ฝ่ายกราฟิก สำนักโทรทัศน์ ได้จัดทำกราฟิกหน้าจอใหม่ โดยกราฟิกเข้าข่าวมีความคล้ายคลึงกับกราฟิกในช่วงแรกเริ่มสถานีผสมกับช่วงที่ใช้ชื่อ ทีวีไทย เพียงแต่เพิ่มสีสันให้มากขึ้น และมีการบอกเวลาในไตเติลข่าว ส่วนรายการที่นี่ ไทยพีบีเอส ใช้การบอกเวลาในไตเติ้ลเข้ารายการเป็นรูปนาฬิกาแบบเข็มสั้น-ยาว เริ่มใช้เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ข่าวทุกช่วงในวันจันทร์-ศุกร์ , ข่าวเที่ยง และข่าวค่ำในวันเสาร์-อาทิตย์ จะใช้ตัวเลขบอกเวลาในไตเติ้ลข่าวเป็นตัวอักษรทางการขนาดใหญ่ สีขาว และมีชื่อรายการข่าวแต่ละช่วงอยู่ในบรรทัดล่าง โดยใช้ตัวอักษรแบบเดียวกันแต่มีขนาดเล็กกว่า และใช้พื้นหลังไตเติ้ลรายการข่าวช่วงดังกล่าวเป็นรูปลูกโลกหมุนและมีความสว่างของพื้นหลังเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาที่ข่าวออกอากาศ ส่วนช่วงข่าวสุดสัปดาห์ 17.00 น. และข่าวสุดสัปดาห์ 24.00 น. จะใช้ตัวเลขบอกเวลาในไตเติ้ลข่าวเป็นตัวอักษรทางการขนาดใหญ่ สีขาวเช่นกัน แต่ตัวเลขดังกล่าวนี้จะอยู่ในป้ายจำลองสีดำที่ค่อยๆ พลิกป้ายเปลี่ยนเวลามาจนตรงกับเวลาออกอากาศของข่าวนั้น คล้ายนาฬิกาป้ายพลิกที่พบเห็นในปัจจุบันโดยทั่วไป และจะเขียนชื่อรายการข่าว "สุดสัปดาห์" ในบรรทัดล่างด้วยลายเส้นแบบเขียนมือแทนที่จะเป็นแบบอักษรที่เป็นทางการเหมือนเช่นข่าวภาคทั่วไป ซึ่งพื้นหลังไตเติ้ลรายการข่าวสุดสัปดาห์ 17.00 น. ใช้รูปลูกโลกหมุนเช่นเดียวกับข่าวภาคอื่นๆ แต่พื้นหลังไตเติ้ลรายการข่าวสุดสัปดาห์ 24.00 น. จะเปลี่ยนรูปลูกโลกเป็นรูปดวงจันทร์หมุนแทน [ต้องการอ้างอิง]

เพลงประกอบรายการข่าว

ไฟล์:ThaiPBS NEWS2012.ogg
เพลงประกอบรายการข่าวไทยพีบีเอส เริ่มใช้วันที่ 9 เมษายน 2554
  • 9 เมษายน พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน ใช้เพลงที่ทางสถานีฯ ร่วมกับ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ ประพันธ์ขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะเพื่อใช้ใน โอกาสเปิดอาคารสำนักงานใหม่ และเพื่อใช้ในการเสริมสร้างอัตลักษณ์ องค์การต่อไปในอนาคต เพลงที่ประพันธ์ขึ้นนี้สะท้อนแนวคิด เรื่องอิสรภาพ เสรีภาพ การต่อสู้และความหวังอันสดใส โดยจะมีทำนองหลัก ที่ประกอบด้วยโน้ต 4 ตัวอยู่บนกระสวนจังหวะที่ตื่นเต้นเร้าใจ อันเป็นตัวแทน ของการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงและความดีงาม ทำนอง ดังกล่าวจะกลายสภาพ และลอยสูงขึ้น ในขณะที่ กระสวนจังหวะในแนวล่างก็ค่อย ๆ สดใสขึ้น ทำนองอันเปรียบเสมือน "นก" ที่ลอยสูงขึ้นนี้เป็น ตัวแทนของอิสรภาพอันงดงาม วงดนตรีที่เลือกใช้ในการบรรเลงบทเพลงนี้ เป็นวงดุริยางค์ซิมโฟนีขนาดใหญ่เป็นหลัก ผสมผสานกับเครื่อง ดนตรีไทยเพื่อคงเอกลักษณ์ไทย และเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มความ "นำสมัย" และ "ทันโลก" [27] (แต่ในบางรายการ เช่น ทันโลก ยังคงใช้เพลงประกอบชุด Signature ของ stephen arnold และ ช่วง นักข่าวพลเมือง ใช้เพลงประกอบชุด U - phonix ของ stephen arnold)

สีประจำสถานี

ไทยพีบีเอสใช้ ███ สีส้มอมเหลือง ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 14 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นสีประจำสถานี จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็น ███ สีส้มอมแดง ซึ่งใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงปัจจุบัน โดยสังเกตได้จากลูกบาศก์ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส บนด้ามไมโครโฟนที่ใช้สัมภาษณ์แหล่งข่าว และสีประจำสตูดิโอในรายการที่นี่ไทยพีบีเอส และวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 สถานีได้ขยายไปสู่ทุกช่วงข่าวของสถานีมาจนถึงปัจจุบัน [ต้องการอ้างอิง]

คำขวัญ

  • ไทยพีบีเอส โทรทัศน์สาธารณะของทุกคน เพื่อทุกคน (1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน พ.ศ. 2551)
  • จินตนาการ สร้างสรรค์แรงบันดาลใจ ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ (1 พฤษภาคม - 30 กันยายน พ.ศ. 2551; เป็นแท็กไลน์ในโฆษณาก่อนข่าวทุกช่วงของสถานี)
  • ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ สร้างสรรค์สังคมคุณภาพและคุณธรรม (1 ตุลาคม 2551 - 14 มกราคม พ.ศ. 2552; เป็นแท็กไลน์ในโฆษณาก่อนข่าวทุกช่วงของสถานี)
  • ทีวีไทย มุ่งมั่นสร้างสรรค์ สังคมคุณภาพและคุณธรรม (15 มกราคม พ.ศ. 2552 - 8 เมษายน พ.ศ. 2554)
  • ไทยพีบีเอส ทีวี...ที่คุณวางใจ (9 เมษายน พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน)

ผลการดำเนินงานของสถานีฯ

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสได้รับรางวัลดังนี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่[28]

รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 23

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้รับรางวัล 5 รางวัล ในครั้งนี้ ได้แก่

ไฟล์:TVGold24 tunlok.jpg
รายการทันโลก ในงานประกาศผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำครั้งที่ 24

รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 24

สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ได้รับรางวัล 8 รางวัล ในครั้งนี้ ได้แก่

  • ประเภทรายการข่าว และสถานการณ์ปัจจุบัน รางวัลผู้รายงานข่าวดีเด่น ได้แก่ ชัยรัตน์ ถมยา จาก รายการทันโลก
  • ประเภทรายการกีฬา รางวัลรายการส่งเสริมกีฬาดีเด่น ได้แก่ รายการสุดยอดกีฬา สุดยอดนันทนาการ
  • ประเภทผู้พากย์ และผู้บรรยายรางวัลผู้บรรยายดีเด่น จักรกฤษณ์ หาญวิชัย รายการ ท่องโลกกว้าง สารคดีชุด สวรรค์ธรรมชาติแห่งนิวยอร์ก (Central Park)
  • ประเภทรายการเกมโชว์ และปกิณกะ รางวัลรายการปกิณกะดีเด่น ได้แก่ รายการไทยโชว์
  • ประเภทรายการเด็กเยาวชน สตรี และครอบครัว รางวัลรายการครอบครัวดีเด่น ได้แก่ รายการครอบครัวเดียวกัน
  • ประเภทรายการส่งเสริมความรู้ และศิลปวัฒนธรรม รางวัลรายการส่งเสริมความรู้ทั่วไปดีเด่น ประเภทรายการสั้น รายการ ภาษาศิลป์
  • ประเภทรายการส่งเสริมความรู้ และศิลปวัฒนธรรม รางวัลรายการส่งเสริมความรู้ทั่วไปดีเด่น รายการพันแสงรุ้ง
  • รางวัลรายการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมดีเด่น ประเภทรายการสั้น รางวัลรายการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมดีเด่น รายการเสด็จประพาสต้น [29] [30]

รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 25

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้รับรางวัล 10 รางวัล ในครั้งนี้ ได้แก่

  • ประเภทสถานี รางวัลสถานีส่งเสริมรายการเด็ก เยาวชน สตรี และครอบครัวดีเด่น
  • ประเภทสถานี รางวัลสถานีส่งเสริมรายการความรู้ และศิลปวัฒนธรรมดีเด่น
  • ประเภทผู้พากย์ และผู้บรรยาย รางวัลผู้พากย์ภาพยนตร์การ์ตูนดีเด่น ได้แก่ สังวาลย์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา การ์ตูน เรื่อง รอบรู้กับเจ้าหนูซิด พากย์เสียง“ซิด”
  • ประเภทผู้พากย์ และผู้บรรยาย รางวัลผู้บรรยายภาพยนตร์สารคดีดีเด่น ได้แก่ จักรกฤษณ์ หาญวิชัย สารคดีเรื่อง อัศจรรย์แห่งชีวิต
  • ประเภทรายการเด็กเยาวชน สตรี และครอบครัว รางวัลรายการสตรีดีเด่น ได้แก่ รายการกิน อยู่ คือ
  • ประเภทรายการเด็กเยาวชน สตรี และครอบครัว รางวัลรายการครอบครัวดีเด่น รายการครอบครัวเดียวกัน
  • ประเภทรายการส่งเสริมความรู้ และศิลปวัฒนธรรม รางวัลรายการส่งเสริมความรู้ทั่วไปดีเด่น ได้แก่ รายการ ธิราชเจ้าจอมสยาม
  • ประเภทรายการส่งเสริมความรู้ และศิลปวัฒนธรรม รางวัลรายการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมดีเด่น ได้แก่ รายการพินิจนคร
  • ประเภทพิธีกร หรือ ผู้ดำเนินรายการ รางวัลพิธีกรประเภททีมดีเด่น ได้แก่ สุจิรา อรุณพิพัฒน์ และ ดวงพร ทรงวิศวะ รายการกิน อยู่ คือ
  • ประเภทละคร รางวัลละครสร้างสรรค์สังคมดีเด่น ได้แก่ ละครเรื่อง หมอหงวน แสงดาวแห่งศรัทธา [31]

รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 26

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้รับรางวัล 4 รางวัล ดังต่อไปนี้

  • ประเภทสถานีส่งเสริมรายการเด็กเยาวชน สตรี และครอบครัวดีเด่น
  • รางวัลการรายงานข่าวในสถานการณ์ปัจจุบันดีเด่น
  • รางวัลรายการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมดีเด่น ได้แก่ รายการพื้นที่ชีวิต
  • รางวัลผู้ดำเนินรายการหญิงดีเด่น ได้แก่ อรอุมา เกษตรพืชผล รายการ สถานีประชาชน [32]

รางวัลเมขลา ครั้งที่ 24

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้รับรางวัล 11 รางวัล ดังต่อไปนี้

  • รางวัลประเภทสถานีโทรทัศน์มหานิยม ด้านอนุรักษ์วิถีไทยและส่งเสริมการแสดงออกทางความคิดของประชาชนดีเด่น
  • รางวัลมณีเมขลาพิธีกรข่าวเศรษฐกิจดีเด่นยอดนิยม (ดร.รุ่งทิพย์ โชติณภาลัย)
  • รางวัลพิธีกรข่าวหญิงเมขลามหานิยม (ณัฎฐา โกมลวาทิน) จากรายการ ที่นี่ไทยพีบีเอส
  • รางวัลทอล์คโชว์มณีเมขลาดีเด่นยอดนิยม(รายการวิพากษ์ วีรชนคนถูกลืม จากขุนรองปลัดชู)
  • รางวัลสารคดีดีเด่นยอดนิยม (Spirit Of Asia)
  • รายการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมดีเด่นยอดนิยม (รายการพันแสงรุ้ง)
  • รางวัลมณีเมขลาประเภทบุคคลพิเศษผู้มีผลงานบันเทิงโดดเด่น (โสภณ ฉิมจินดา จากรายการล้อเล่นโลก)
  • รางวัลละครส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมดีเด่นยอดนิยม (ละครความรัก ศรัทธา ปาฏิหาริย์)
  • รางวัลละครเมขลามหานิยมแห่งปี (ละครเรื่องพระอาทิตย์คืนแรม)
  • รางวัลนักแสดงนำหญิงเมขลามหานิยมแห่งปี โฟกัส จีระกุล จากละครพระอาทิตย์คืนแรม
  • รางวัลนักแสดงนำชายเมขลามหานิยมแห่งปี ศิรชัช เจียรถาวร (ไมเคิล) จากละครพระอาทิตย์คืนแรม [33]

โครงการอนาคต

ไฟล์:Thaipbs southern.jpg
รายการดีสลาตัน ณ แดนใต้
  • สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสแต่ละภูมิภาค - คล้ายกับ สทท.ส่วนภูมิภาค โดยให้แต่ละศูนย์ เป็นผู้ผลิตรายการที่เหมาะกับแต่ละท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันได้เกิดขึ้นแล้ว 3 ภูมิภาค ได้แก่
  1. ดีสลาตัน ณ แดนใต้ - ภาคใต้
  2. ทีวีจอเหนือ - ภาคเหนือ
  3. ทีวีจออีสาน - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [34]

อ้างอิง

  1. http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1301546440&grpid=03&catid=&subcatid= Thai PBS ปรับอัตลักษณ์และหน้าจอครั้งใหญ่ พร้อมออกอากาศด้วยระบบHD
  2. ไทยพีบีเอสแพร่ภาพรายการสดครั้งแรก โดย: สำนักข่าวไทย เรียกดูข้อมูลเมื่อ 17 ม.ค. 2551
  3. ทาบคนนอกทีไอทีวีจัดทัพข่าว จาก ผู้จัดการรายวัน เรียกดูข้อมูลเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
  4. สมคิด เอนกทวีผล , จากไอทีวี สู่ “ทีวีไทย” Positioning Magazine เมษายน 2551
  5. รับ 274 ทีไอทีวี เข้าทำทีพีบีเอส จาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เรียกดูข้อมูลเมื่อ 29 มกราคม พ.ศ. 2551
  6. 6.0 6.1 อัตลักษณ์ (Logo) ใหม่ที่จะมาใช้ในอนาคตข้างหน้า
  7. ศึก"ทีวีสาธารณะ​"ระอุ​แข่งเปิดผัง​ใหม่ (กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551)
  8. ไทยพีบีเอส ปรับโฉมใหม่เป็น ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ จากเว็บไซต์ อสมท เรียกดูข้อมูลเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2551
  9. http://www.youtube.com/watch?v=eZnlf-tPqxQ&feature=share&list=PL89CC72EB70367D4B โฆษณาซีรีส์เรียวมะ จอมคนพลิกแผ่นดิน ใช้ชื่อสถานีว่า "ไทยพีบีเอส"
  10. Thai PBS ปรับอัตลักษณ์และทิศทางรายการปี 54 "Thai PBS…ทีวีที่คุณวางใจ"
  11. ที่ตั้งศูนย์ข่าวเฉพาะกิจไทยพีบีเอส - จุฬา นิวส์ เซ็นเตอร์
  12. http://www.thaipbs.or.th/s1000_obj/front_page/page/1056.html?content_id=309943 ปิดศูนย์ข่าวเฉพาะกิจไทยพีบีเอส-จุฬา
  13. http://www.thaipbs.or.th/event/newhome/index.php?q=node/319 สมเด็จพระเทพฯ ทรงทดลอง "อ่านข่าว" ในห้องออกอากาศไทยพีบีเอส
  14. http://org.thaipbs.or.th/broadcasting/article42110.ece ระบบออกอากาศของไทยพีบีเอส เรียกดูข้อมูลเมื่อ 10 มิ.ย. 55
  15. http://org.thaipbs.or.th/broadcasting/article42110.ece ระบบออกอากาศของไทยพีบีเอส เรียกดูข้อมูลเมื่อ 10 มิ.ย. 55
  16. เปิดสถานี ThaiPBS (2010-2011)
  17. 'ปราโมช'เชื่อทีวี'ไทยพีบีเอส'พร้อมเดินหน้าเต็มตัวโดยไทยรัฐ
  18. สั่งสายฟ้าแลบ ‘ทีไอทีวี’ หยุดออกอากาศหลังเที่ยงคืน!
  19. Thai PBS ปรับผังปี 56 ชูสารคดีฝีมือคนไทย เน้นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ชม
  20. http://org.thaipbs.or.th/incoming/article106935.ece?id=1 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส]
  21. คณะกรรมการบริหารสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสชุดบัจจุบัน
  22. http://org.thaipbs.or.th/announcement/nominate/article76472.ece?id=1 แต่งตั้งนายสถานีโทรทัศน์]
  23. http://org.thaipbs.or.th/incoming/article106940.ece?id=1 แต่งตั้งนายสถานีโทรทัศน์]
  24. http://www.siamdara.com/hotnews/00008322.html ครม.แต่งตั้ง5คณะกรรมการTPBS "เทพชัย หย่อง" นั่งเก้าอี้รักษาการผอ.
  25. ผลการประกวด​ "อัตลักษณ์ไทยพีบีเอส"
  26. ผลการประกวด​ "อัตลักษณ์ไทยพีบีเอส" (PDF)
  27. http://www.thaipbs.or.th/rebranding/ แนวทางปฏิบัติในการเสริมสร้างอัตลักษณ์องค์การ (ระยะที่ 1)
  28. http://www.thaipbs.or.th/PrizeThaiPBS/ รางวัลที่สถานีฯได้รับจากสถาบันและองค์กรต่างๆ
  29. http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9530000039277 ผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 24
  30. http://www.thaipbs.or.th/s1000_obj/front_page/page/1027.html?content_id=246428 ทีวีไทยคว้า 8 รางวัลโทรทัศน์ทองคำครั้งที่ 24
  31. http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNd01EVTBPVE0xT1E9PQ==&sectionid= ผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 25
  32. http://thaipbs.or.th/s1000_obj/front_page/page/1056.html?content_id=311092 ไทยพีบีเอส คว้า 4 รางวัล โทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 26
  33. http://www.thaipbs.or.th/s1000_obj/front_page/page/1056.html?content_id=311489 ไทยพีบีเอส คว้า 11 รางวัลเมขลาประจำปี 2554
  34. http://www.thaipbs.or.th/LocalTV ไทยพีบีเอส ทีวีภูมิภาค

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถัดไป
ไฟล์:TITV Logo.png
สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี
(8 มีนาคม พ.ศ. 2550 - 15 มกราคม พ.ศ. 2551)
ไฟล์:ThaiPBS 2011Logo.png
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
(15 มกราคม พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน)
ยังออกอากาศอยู่