ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมมาตร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่ลิงก์ข้ามภาษาด้วยบอต
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต: แก้ไขจาก ml:പ്രതിസമത ไปเป็น ml:സമമിതി
บรรทัด 59: บรรทัด 59:
[[la:Symmetria]]
[[la:Symmetria]]
[[lv:Simetrija]]
[[lv:Simetrija]]
[[ml:പ്രതിസമത]]
[[ml:സമമിതി]]
[[ms:Simetri]]
[[ms:Simetri]]
[[nl:Symmetrie]]
[[nl:Symmetrie]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:13, 11 มกราคม 2556

กลุ่มสมมาตรทรงกลม o

สมมาตร (Symmetry) ทั่วไปจะหมายถึงสองความหมาย ความหมายแรกคือการรับรู้ถึงการเข้ากันได้ หรือความงามได้สัดส่วน และความสมดุล[1][2] ดังความสวยงามหรือความสมบูรณ์แบบที่สะท้อนออกมา ในความหมายที่สองคือความเที่ยงตรงและความคิดที่ชัดเจนของความสมดุลหรือ"รูปแบบความคล้ายคลึงในตัวเอง" ที่สามารถพิสูจน์หรือตรวจสอบได้ตามกฎของระบบในเชิงรูปนัย โดยใช้เรขาคณิต, จนถึงฟิสิกส์ หรืออื่นๆ

ถึงแม้ว่าความหมายจะต่างกันในบางบริบท แต่ทั้งคู่เกี่ยวข้องกันและถูกอภิปรายโต้แย้งกันในการเปรียบเทียบ[2][3]

แนวความคิดเรื่องความเที่ยงตรงถูกต้องของสมมาตรมีหลากหลายวิธีตัดสินและนิยาม เช่น สมมาตรอาจจะใช้:ในประเด็นของเวลาที่ผ่านไป ตามความสัมพันธ์ของตำแหน่ง ตามการแปลงทางเรขาคณิต เช่น ขนาด, การสะท้อน, และการหมุน ตลอดจนการแปลงฟังก์ชันชนิดอื่นๆ และตามมุมมองของวัตถุนามธรรม, แบบจำลองตามทฤษฎี, ภาษา, ดนตรี และความรู้[4][5]

บทความนี้บรรยายถึงแนวคิดของสมมาตรจากสี่มุมมอง หนึ่งคือสมมาตรในทางเรขาคณิตซึ่งคุ้นเคยกันดี สองคือในทางคณิตศาสตร์ตามความสมบูรณ์ สามคือความสมมาตรที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในบริบทนี้ ความสมมาตรที่รองรับผลเชิงลึกที่พบในฟิสิกส์สมัยใหม่ รวมถึงในแง่มุมมิติและเวลา ท้ายสุดคือในทางมนุษยศาสตร์, ครอบคลุมและหลากหลายในประวัติศาสตร์, สถาปัตยกรรม, ศิลปะ, และศาสนา

สิ่งที่ตรงข้ามกับสมมาตรคืออสมมาตร

เชิงอรรถ

  1. Penrose, Roger (2007). Fearful Symmetry. City: Princeton. ISBN 9780691134826.
  2. 2.0 2.1 อริสโตเติลลงความเห็นรูปทรงทรงกลม มีทรงที่เยี่ยมยอด มีคุณลักษณะขนาดทางเรขาคณิตนิยามตามรูปแบบของสมมาตรเป็นไปตามลำดับโดยธรรมชาติและความสมบูรณ์แบบของจักรวาล
  3. Weyl 1982
  4. See e.g., Mainzer, Klaus (2005). Symmetry And Complexity: The Spirit and Beauty of Nonlinear Science. World Scientific. ISBN 9812561927.
  5. วัตถุสมมาตรสามารถเป็นวัสดุได้ เช่น บุคคล, ผลึก, หรือโมเลกุล, หรือสามารถเป็นโครงสร้างนามธรรม เช่น สมการคณิตศาสตร์ หรือ น้ำเสียง (ดนตรี)