ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สตีเฟน ฮอว์กิง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: ลิงก์บทความคัดสรร mk:Стивен Хокинг
SantoshBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: pa:ਸਟੀਫਨ ਹਾਕਿੰਗ
บรรทัด 191: บรรทัด 191:
[[nn:Stephen Hawking]]
[[nn:Stephen Hawking]]
[[no:Stephen Hawking]]
[[no:Stephen Hawking]]
[[pa:ਸਟੀਫਨ ਹਾਕਿੰਗ]]
[[pl:Stephen Hawking]]
[[pl:Stephen Hawking]]
[[pnb:سٹیفن ہاکنگ]]
[[pnb:سٹیفن ہاکنگ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:52, 9 มกราคม 2556

สตีเฟน ฮอว์คิง
สตีเฟน ฮอว์คิงที่นาซา คริสต์ทศวรรษ 1980
เกิดสตีเฟน วิลเลียม ฮอว์คิง
(1942-01-08) 8 มกราคม ค.ศ. 1942 (82 ปี)
อ็อกซ์ฟอร์ด อังกฤษ สหราชอาณาจักร
สัญชาติอังกฤษ
ศิษย์เก่า
มีชื่อเสียงจาก
คู่สมรส
  • Jane Hawking
  • (m. 1965–1991, หย่า)
  • Elaine Mason
    (m. 1995–2006, หย่า)
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขา
สถาบันที่ทำงาน
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกDennis Sciama
อาจารย์ที่ปรึกษาอื่น ๆRobert Berman
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก
มีอิทธิพลต่อ

สตีเฟน วิลเลียม ฮอว์คิง (เกิดวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2485) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หนังสือวิทยาศาสตร์ของเขาและการปรากฏตัวต่อสาธารณะได้ทำให้เขาเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านวิชาการ ผลงานวิทยาศาสตร์สำคัญของเขาจนถึงปัจจุบันมีการบัญญัติทฤษฎีบทเกี่ยวกับภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ร่วมกับโรเจอร์ เพนโรส และการทำนายเชิงทฤษฎีที่ว่าหลุมดำควรปล่อยรังสี ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า รังสีฮอว์คิง (บางครั้งเรียก รังสีเบเคนสไตน์-ฮอว์คิง)

ฮอว์คิงเป็นโรคเซลล์ประสาทสั่งการที่เกี่ยวข้องกับอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (แอลเอเอส) เป็นสภาพที่ลุกลามขึ้นในช่วงหลายปี ปัจจุบัน เขาแทบเป็นอัมพาตทั้งร่างและสื่อสารผ่านอุปกรณ์สังเคราะห์เสียงพูด เขาแต่งงานสองครั้งและมีลูกสามคน ฮอว์คิงประสบความสำเร็จกับผลงานวิทยาศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป (popular science) ซึ่งเขาอภิปรายทฤษฎีของเขาและจักรวาลวิทยาโดยรวม ซึ่งมีประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time) และจักรวาลในเปลือกนัท (The Universe in a Nutshell) ซึ่งอยู่ในรายการขายดีที่สุดของบริติชซันเดย์ไทมส์ทำลายสถิตินานถึง 237 สัปดาห์

ประวัติ

สตีเฟน ฮอว์คิงเกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2485 ที่เมืองอ๊อกซฟอร์ดไชร์ ประเทศอังกฤษ ในวัยเด็กเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนเซนต์แอลแบน จากนั้นเข้าศึกษาต่อสาขาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด และรับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2505 ต่อมาได้เข้าศึกษาที่ทรินิตีคอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขาจักรวาลวิทยา และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตเมื่อปี พ.ศ. 2509 หลังจากนั้นก็ได้รับการคัดเลือกเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

ในต้นทศวรรษที่ 1960 (ประมาณ พ.ศ. 2503-2508) สตีเฟน ฮอว์คิงก็มีอาการที่เรียกว่า amyotrophic lateral sclerosis (ALS) อันเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยมีผลกับประสาทสั่งการ (motor neurons) นั่นคือ เส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของ กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อส่วนนั้นจะอ่อนแอลงจนเกือบเป็นอัมพาต แต่เขายังคงทำงานวิชาการต่อไป

การทำงาน

ฮอว์คิงเริ่มทำงานในสาขาสัมพัทธภาพทั่วไป และเน้นที่ฟิสิกส์ของหลุมดำ เมื่อปี พ.ศ. 2508 ขณะที่กำลังทำงานวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ฮอว์คิงได้อ่านรายงานของนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ ชื่อ โรเจอร์ เพนโรส (Roger Penrose) ซึ่งเพนโรสเสนอทฤษฎีที่ว่าดวงดาวที่ระเบิดอยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของตัวเอง จะมีปริมาตรเป็นศูนย์ และมีความหนาแน่นเป็นอนันต์ อันเป็นสภาพที่นักฟิสิกส์เรียกว่า ซิงกูลาริตี้(singularity) ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือหลุมดำ ซึ่งไม่ว่าแสงหรือวัตถุใดๆ ก็หนีออกมาไม่ได้

จากนั้น ในปี พ.ศ. 2513 ฮอว์คิงและเพนโรสก็ได้ร่วมกันเขียนรายงานสรุปว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ นั้นกำหนดให้เอกภพต้องเริ่มต้นในซิงกูลาริตี้ ซึ่งปัจจุบันนี้รู้จักกันว่า บิ๊กแบง และจะสิ้นสุดลงที่ หลุมดำ

ฮอว์คิงเสนอว่า หลุมดำไม่ควรจะเป็นหลุมดำเสียทีเดียว แต่ควรจะแผ่รังสีอะไรออกมาบ้าง โดยเริ่มที่วัตถุจำนวนมหาศาลนับพันล้านตัน แต่มีความหนาแน่นสูง คือกินเนื้อที่ขนาดเท่าโปรตอน เขาเรียกวัตถุเหล่านี้ว่าหลุมดำจิ๋ว (mini black hole) ซึ่งมีแรงโน้มถ่วงและมวลมหาศาล แต่สุดท้ายหลุมดำนี้ก็จะระเหิดหายไป การค้นพบนี้ถือเป็นงานชิ้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งของฮอว์คิง

เมื่อ ปี พ.ศ. 2517 เขาได้เป็นสมาชิกที่มีอายุน้อยที่สุดของราชบัณฑิตยสถานของอังกฤษ และได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์แรงโน้มถ่วง ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี พ.ศ. 2520 และเมื่อในปี พ.ศ. 2522 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น “เมธีคณิตศาสตร์ลูเคเชียน” (Lucasian Chair of Mathematics - เป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2206 (ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) บุคคลที่ 2 ที่ได้รับตำแหน่งนี้ก็คือ เซอร์ไอแซก นิวตัน คนทั่วไปจึงเปรียบเทียบสตีเฟน ฮอว์คิง กับนิวตันและไอนสไตน์)

สตีเฟน ฮอว์คิงเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่นักฟิสิกส์จะพัฒนาทฤษฎีที่จะรวมเอาแรงทั้ง 4 ของธรรมชาติเข้าด้วยกัน นั่นคือ แรงโน้มถ่วง, แรงแม่เหล็กไฟฟ้า, แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และแรงนิวเคลียร์แบบเข้ม อันจะนำไปสู่ ทฤษฎีสรรพสิ่ง (Theory of Everything) ที่เคยกล่าวกันมา ส่วนเรื่องการขยายตัวของเอกภพนั้น ฮอว์คิงเชื่อว่า เอกภพขยายตัวออกไปโดยมีความเร่ง

ชีวิตส่วนตัว

สตีเฟน ฮอว์คิงแต่งงานครั้งแรกกับเจน ฮอว์คิง ภายหลังได้หย่าร้าง และแต่งงานใหม่กับพยาบาล ชื่อ เอเลน เมสัน ปัจจุบัน สตีเฟน ฮอว์คิงต้องนั่งรถไฟฟ้าที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเขาพูดและขยับตัวไม่ได้ ทำได้เพียงขยับนิ้วและกะพริบตา แต่ก็ยังสามารถสื่อสารกับโลกภายนอกได้ด้วยอุปกรณ์พิเศษที่สังเคราะห์เสียงพูดได้จากตัวอักษร

ผลงาน

  • A Large Scale Structure of Space-Time ร่วมกันเขียนกับ G.F.R. Ellis (1973)
  • Superspace and Supergravity (1981)
  • The Very Early Universe (1983)
  • A Brief History of Time : from the Big Bang to Black Holes (1988)
  • Black Holes and Baby Universe and Other Essays (1994)
  • The Universe In A Nutshell (2001)
  • The Grand Design ร่วมกันเขียนกับ Leonard Mlodinow (2010)

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • Boslough, John (1985). Stephen Hawking's Universe. New York: Avon Books. ISBN 0-380-70763-2. A layman's guide to Stephen Hawking
  • Ferguson, Kitty (1991). Stephen Hawking: Quest For A Theory of Everything. Franklin Watts. ISBN 0-553-29895-X
  • Hawking, S. W. & Ellis, G. F. R. (1973). The Large Scale Structure of Space-Time. Cambridge University Press. ISBN 0-521-09906-4.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) Highly influential in the field.
  • Hawking, S. W. & Israel, W. (1979). General relativity: an Einstein centenary survey. New York: Cambridge University Press. ISBN 0-521-22285-0.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) A much cited centennial survey.
  • Misner, Charles; Thorne, Kip S. & Wheeler, John Archibald (1995). Stephen Hawking A Biography. San Francisco: Greenwood Press. ISBN 978-0313323928.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Morris, Errol (1991). A Brief History of Time (Documentary). Triton Pictures.
  • Pickover, Clifford, Archimedes to Hawking: Laws of Science and the Great Minds Behind Them, Oxford University Press, 2008, ISBN 978-0-19-533611-5

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA