ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลิโอเนล เมสซิ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Great456 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Justincheng12345-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: pam:Lionel Messi
บรรทัด 539: บรรทัด 539:
[[no:Lionel Messi]]
[[no:Lionel Messi]]
[[oc:Lionel Messi]]
[[oc:Lionel Messi]]
[[pam:Lionel Messi]]
[[pl:Lionel Messi]]
[[pl:Lionel Messi]]
[[pt:Lionel Messi]]
[[pt:Lionel Messi]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:11, 8 มกราคม 2556

เลียวเนล เมสซี
Lionel Messi
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม เลียวเนล อันเดรส เมสซี[1][2]
เกิด (1987-06-24) 24 มิถุนายน ค.ศ. 1987 (36 ปี)
เกิดที่ โรซารีโอ อาร์เจนตินา
สูง 1.69 m (5 ft 7 in)[1]
ตำแหน่ง กองหน้า / ปีก
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน บาร์เซโลนา
หมายเลข 10
ชุดเยาวชน
1995–2000 นิวเวลส์โอลด์บอยส์
2000–2004 บาร์เซโลนา
ชุดใหญ่*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2003–2004 บาร์เซโลนา ชุด C 8 (5)
2004–2005 บาร์เซโลนา ชุด B 22 (6)
2004– บาร์เซโลนา 214 (169)
ทีมชาติ
2005 อาร์เจนตินา 20 ปี 7 (6)
2008 อาร์เจนตินา 23 ปี 5 (2)
2005– อาร์เจนตินา 70 (26)
เกียรติยศ
  • จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ชุดใหญ่และจำนวนประตูนับเฉพาะลีกท้องถิ่นเท่านั้น และ เป็นข้อมูล ณ วันที่ 22:30, 13 พฤษภาคม 2012 (UTC).

† ลงเล่น (ประตู)

‡ จำนวนนัดที่ลงเล่นและจำนวนประตูในนามทีมชาติ ข้อมูล ณ วันที่ 23:30, 9 มิถุนายน 2012 (UTC)

เลียวเนล อันเดรส "เลโอ" เมสซี (สเปน: Lionel Andrés "Leo" Messi[3] ออกเสียง: [ljoˈnel anˈdɾes ˈmesi]) เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1987 เป็นนักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา ปัจจุบันเล่นอยู่ในสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาและฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา ในตำแหน่งกองหน้าหรือปีก เขายังถือสัญชาติสเปนอีกด้วย ซึ่งทำให้เขาถือว่าเป็นนักฟุตบอลยุโรป เขาเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ดีที่สุดในรุ่นของเขา[4][5][6] และมักถูกกล่าวถึงว่าเป็นผู้เล่นร่วมสมัยที่ดีที่สุดในโลก[7]

เมสซีได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรปและรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปีเมื่อเขาอายุ 21 ปี และได้รับรางวัลในปี ค.ศ. 2009 (นักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรปและรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปี ค.ศ. 2009)[7][8][9][10] และได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปี ค.ศ. 2010[11] และ 2011 สไตล์การเล่นของเขาและความสามารถ มักถูกเปรียบเทียบเสมอเดียโก มาราโดนา ซึ่งพูดถึงเมสซีว่าเป็นผู้สืบทอดจากเขา[12][13]

เมสซีเริ่มเล่นฟุตบอลตั้งแต่อายุยังน้อยและบาร์เซโลนาก็ค้นพบแนวโน้มที่ดีของเขาอย่างรวดเร็ว เขาออกจากทีมเยาวชนสโมสรกีฬานิวเวลส์โอลด์บอยส์ เมืองโรซารีโอ เมื่อปี ค.ศ. 2000 และย้ายพร้อมครอบครัวไปอยู่ยุโรป โดยบาร์เซโลนาเสนอในการรักษาภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโตให้กับเมสซี เขาเปิดตัวครั้งแรกในฤดูกาล 2004–05 โดยทำลายสถิติทีม โดยเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ทำประตูในลีก เกียรติประวัติในฤดูกาลแรกของเขาคือชนะการแข่งขันในลาลีกา และชนะครั้งที่ 2 ในลีก รวมถึงในแชมเปียนส์ลีก ในปี ค.ศ. 2006 ฤดูกาลแจ้งเกิดของเขาคือฤดูกาล 2006–07 เขาเป็นผู้เล่นในทีมชุดใหญ่เต็มตัว โดยทำแฮตทริกในเอลกลาซีโก จบฤดูกาลยิงประตู 14 ประตู ใน 26 เกมในลีก จากนั้นเมสซีก็ประสบความสำเร็จที่สุดในอาชีพของเขาในฤดูกาล 2008–09 ยิงประตู 38 ประตู เป็นส่วนสำคัญของทีมในการชนะ 3 รายการในฤดูกาลเดียว แต่แล้วสถิตินี้ก็ถูกบดบังไปในฤดูกาลถัดมา ฤดูกาล 2009–10 ที่เมสซียิงประตูไป 47 ประตูในทุกการแข่งขัน เทียบเท่าสถิติของโรนัลโดที่เคยทำให้กับบาร์เซโลนา แต่เขาก็ทำลายสถิตินี้ในฤดูกาล 2010–11 กับประตู 53 ประตูในทุกการแข่งขัน

เมสซีเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่ชนะเลิศในลาลีกา 5 ครั้ง แชมเปียนส์ลีก 3 ครั้ง ยิงประตูได้ 2 ประตูในนัดตัดสิน ในนัดแข่งกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดทั้งในปี ค.ศ. 2009 และ 2011 เขาไม่ได้ลงสนามในนัดที่บาร์เซโลนาชนะอาร์เซนอลในปี ค.ศ. 2006 แต่ก็ได้รับเหรียญทองในฐานะผู้ชนะในการแข่งขัน หลังจากยิง 12 ประตูในแชมเปียนส์ลีกฤดูกาล 2010–11 ทำให้เมสซีเป็นนักฟุตบอลที่ยิงประตูได้สูงสุดอันดับ 3 รองจากเกิร์ด มึลเลอร์และฌ็อง-ปีแยร์ ปาแป็ง อย่างไรก็ตามเมสซีเป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลผู้ทำประตูสูงสุดในแชมเปียนส์ลีก 3 ปีติดต่อกัน หลังจากที่แชมเปียนส์ลีกเปลี่ยนระบบการแข่งขันในปี ค.ศ. 1992[14]

เมสซีเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในการแข่งขันยูทแชมเปียนชิป 2005 กับ 6 ประตู รวมถึง 2 ประตูในนัดตัดสิน หลังจากนั้นไม่นานเขาก็เป็นส่วนหนึ่งในทีมชุดใหญ่ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา และในปี ค.ศ. 2006 เขาเป็นนักฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินาที่อายุน้อยที่สุดที่เล่นในฟุตบอลโลก และได้ตำแหน่งรองชนะเลิศไปในโคปาอเมริกาในปี ถัดมา และในปี ค.ศ. 2008 ที่ปักกิ่งเขาได้รับเหรียญทองในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ในนามของฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา

ชีวิตช่วงแรก

เมสซีเกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1987 ที่โรงพยาบาลอีตาเลียโนการีบัลดี ในโรซารีโอ ซานตาเฟ เป็นบุตรของคอร์เค โอราเซียว เมสซี (เกิดปี ค.ศ. 1958) เป็นคนงานโรงงาน และเซเลีย มารีอา กุกซิตตีนี คนทำความสะอาดนอกเวลา[15][16][17][18] ครอบครัวทางฝั่งพ่อมาจากเมืองในประเทศอิตาลี คือเมืองอันโกนา โดยบรรพบุรุษของเขา อันเจโล เมสซี อพยพมาอยู่อาร์เจนตินา ในปี ค.ศ. 1883[19][20] เขามีพี่ชาย 2 คนชื่อรอดรีโกและมาเตียส และมีพี่สาวชื่อ มารีอา ซอล[21] เมื่อเขาอายุ 5 ปี ได้เริ่มเล่นฟุตบอลให้กับกรันโดลี สโมสรท้องถิ่น ที่พ่อเขาคอร์เค เป็นโค้ช[22] ในปี ค.ศ. 1998 เมสซีย้ายไปอยู่สโมสรกีฬานิวเวลส์โอลด์บอยส์ ซึ่งอยู่ในเมืองบ้านเกิดเขาโรซารีโอ[22] พออายุ 11 ปี เขาอยู่ในภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต[23] สโมสรอัตเลตีโกรีเบอร์ปลาเต สโมสรในปรีเมราดีวีซีออนอาร์เจนตินา ได้แสดงความสนใจในเมสซี แต่ก็ไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้เขา เป็นเงิน 900 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ต่อเดือน[18] การ์เลส ราซัก ผู้บริหารด้านกีฬาของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา ได้รับรู้ความสามารถของเมสซี ผ่านญาติของของเมสซีในเมืองเลย์ดา แคว้นคาเทโลเนีย และเมสซีพร้อมพ่อของเขาก็สามารถที่จะเตรียมการทดสอบได้[18] บาร์เซโลนาเซ็นสัญญาเขาหลังจากเห็นเขาเล่น[24] โดยเสนอจ่ายค่าพยาบาลให้ถ้าเขายินยอมที่จะย้ายมาอยู่สเปน[22] ครอบครัวของเขาย้ายมายังยุโรปและเขาเริ่มเล่นสโมสรเยาวชนของทีม[24] เขามีลูกพี่ลูกน้องในวงการฟุตบอล คือ มักซี เบียนกุชชี และเอมานวยล์ เบียนกุชชี[25][26]

ระดับอาชีพ

บาร์เซโลนา

เมสซี ลงแข่งอย่างเป็นทางการครั้งแรกกับทีมชุดใหญ่เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 ขณะที่อายุได้ 16 ปี 145 วัน ในนัดกระชับมิตรกับสโมสรฟุตบอลปอร์ตู[27][28] ต่อมาไม่ถึงปี ฟรังก์ ไรการ์ด (Frank Rijkaard) ให้เขาลงแข่งในลีกครั้งแรกในนัดแข่งกับเอร์ราเซเดเอสปาญอล เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 2004 (ขณะอายุ 17 ปี 114 วัน) ทำให้เขาเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดอันดับ 3 ที่เล่นให้กับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา และเป็นผู้เล่นสโมสรที่อายุน้อยที่สุดที่เล่นในลาลีกา แต่ต่อมาสถิตินี้ถูกทำลายโดยเพื่อนร่วมทีมบาร์เซโลนา โบยาน เกอร์กิช และเมื่อเขาทำประตูแรกในทีมชุดใหญ่ให้กับสโมสรที่แข่งกับอัลบาเซเตบาลอมเปีย เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 ขณะที่เมสซีอายุ 17 ปี 10 เดือน 7 วัน ทำให้เขาเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ทำประตูในลาลีกา ให้กับทีมบาร์เซโลนา[29] แต่สถิติก็ถูกทำลายอีกครั้งโดยโบยาน เกอร์กิชในปี ค.ศ. 2007 ที่ยิงประตูจากการจ่ายของเมสซี[30] เมสซีพูดเกี่ยวกับอดีตโค้ชของเขาฟรังก์ ไรการ์ดว่า "ผมจะไม่มีวันลืมความจริงที่ผมได้เปิดตัวอาชีพของผมนี้ ว่าเขาได้สร้างความเชื่อมั่นในตัวผมขณะที่ผมอายุเพียง 16 หรือ 17 ปี"[31]

ฤดูกาล 2005–06

เมื่อวันที่ 16 กันยายน เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 เดือนที่บาร์เซโลนาประกาศปรับสัญญาใหม่ของเมสซี ครั้งนี้ปรับการจ่ายให้เขาในฐานะผู้เล่นทีมชุดใหญ่และขยายไปจนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014[22] เมสซีได้รับสัญชาติสเปนเมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2005[32] และเปิดตัวในฤดูกาลในลาลีกา และในนัดนอกบ้านนัดแรกในแชมเปียนส์ลีก เมื่อวันที่ 27 กันยายน โดยเจอกับสโมสรฟุตบอลอิตาลี สโมสรอูดีเนเซกัลโช[27] แฟนฟุตบอลที่สนามกัมนอว ของทีมบาร์เซโลนา ได้ยืนปรบมือเป็นเกียรติเมื่อเขาเปลี่ยนตัว กับความนิ่งและการส่งผ่านบอลให้กับรอนัลดีนโยทำให้แฟนบาร์เซโลนาประทับใจ[33][34]

เมสซียิงประตู 6 ประตู ในการลงแข่ง 17 นัดในลีก และยิง 1 ใน 6 ประตูในแชมเปียนส์ลีก แต่ฤดูกาลของเขาจบก่อนกำหนดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2006 เขาได้รับบาดเจ็บจากกล้ามเนื้อฉีกที่ต้นขา ในนัดที่ 2 ที่แข่งกับสโมสรฟุตบอลเชลซีในแชมเปียนส์ลีก[35] บาร์เซโลนาโดยการนำทีมของ ฟรังก์ ไรการ์ด จบฤดูกาลด้วยการเป็นทีมชนะเลิศในลาลีกาและแชมเปียนส์ลีก[36][37]

ฤดูกาล 2006–07

เมสซีลงแข่งกับ เรนเจอร์ส ใน ค.ศ. 2007

ในฤดูกาล 2006–07 เมสซีลงเล่นในฐานะทีมชุดใหญ่ ทำประตู 14 ประตูใน 26 นัด[38] ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ในเกมที่เจอกับเรอัลซาราโกซา เมสซีบาดเจ็บจากกระดูกฝ่าเท้าแตก ทำให้เขาไม่ได้ลงแข่งเป็นเวลา 3 เดือน[39][40] เขาพักฟื้นจากอาการบาดเจ็บที่อาร์เจนตินา และกลับมาลงแข่งอีกครั้งกับราซิงซานตันเดร์ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์[41] โดยลงในครึ่งหลัง ในฐานะตัวสำรอง เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ในนัดการแข่งขันเอลกลาซีโก เมสซีกลับสู่ฝีมือเต็มตัวอีกครั้ง โดยยิงแฮตทริก กับผู้เล่นของบาร์เซโลนา 10 คน เสมอ 3–3[42] การทำแฮตทริกในครั้งนี้ ทำให้เขาเป็นผู้เล่นคนแรกนับตั้งแต่ อีบัน ซาโมราโน (เรอัลมาดริด ในฤดูกาล 1994–95) ที่ทำแฮตทริกในเอลกลาซีโก[43] ไล่ไปจนจบฤดูกาลเขาทำประตูได้มากขึ้นเรื่อย ๆ 11 ประตูในจาก 14 นัด มาจาก 13 นัดสุดท้ายของฤดูกาล[44]

เมสซีทำประตูในนัดแข่งกับเคตาเฟ

เมสซียังพิสูจน์ถึงความเป็น "มาราโดนาคนใหม่" ที่ไม่ใช่คำพูดเกินจริง โดยเกือบจะโด่งดังเท่ามาราโดนา ในการทำประตูในฤดูกาลเดียวกัน[45] เมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2007 เขายิง 2 ประตูในโกปาเดลเรย์ ในรอบรองชนะเลิศที่แข่งกับสโมสรฟุตบอลเคตาเฟ ที่มีความคล้ายคลึงกับประตูที่มีชื่อเสียงของมาราโดนา ในครั้งแข่งกับทีมชาติอังกฤษ ในฟุตบอลโลก 1986 ที่เม็กซิโก ที่เรียกว่า "ประตูแห่งศตวรรษ"[46] สื่อต่าง ๆ ของโลกต่างเปรียบเทียบเขากับมาราโดนา และสื่อสเปนเรียกเมสซีว่า "เมสซีโดนา"[47] เขายิงในระยะเดียวกับมาราโดนา ที่ 62 เมตร (203 ฟุต) หลบคู่ต่อสู้ในจำนวนเดียวกัน (6 คน รวมถึงผู้รักษาประตู) และทำประตูได้ในตำแหน่งที่คล้ายกันมาก และวิ่งไปยังธงมุมสนาม เหมือนอย่างที่มาราโดนาทำไว้ในเม็กซิโกเมื่อ 21 ปีก่อน[45] ในงานแถลงข่าวหลังการแข่งขัน เพื่อนร่วมทีม เดโก พูดว่า "เป็นการทำประตูที่ดีที่สุด ที่ผมเคยเห็นในชีวิตของผม"[48] ในการแข่งกับเอร์ราเซเดเอสปาญอล เมสซีทำประตูที่คล้ายกับ "หัตถ์พระเจ้า" ของมาราโดนา ในฟุตบอลโลกนัดแข่งกับทีมชาติอังกฤษรอบก่อนชิงชนะเลิศ เมสซีดีดตัวไปที่ลูกบอลและใช้มือของเขายิงประตูผ่านผู้รักษาประตูคาร์ลอส คาเมนี (Carlos Kameni)[49] และถึงแม้ว่าผู้เล่นของเอสปาญอลจะประท้วงและภาพช้าจากโทรทัศน์แสดงให้เห็นว่าเป็นแฮนด์บอล แต่ผู้ตัดสินก็ยังถือว่าเป็นประตู[49]

ฤดูกาล 2007–08

ไฟล์:Messi 22 Sep 07 v Sevilla.JPG
เมสซีทำประตูให้กับบาร์เซโลนา 2–0 ในนัดเจอกับเซบียา ที่สนามกัมนอว เมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 2007

ในฤดูกาล 2007–08 เมสซี ยิง 5 ประตูในสัปดาห์เดียว ทำให้บาร์เซโลนาติดใน 4 อันดับแรกในลาลีกา เมื่อวันที่ 19 กันยายน เขายิง 1 ประตูในนัดชนะลียง 3–0 ที่บ้านตัวเองในการแข่งขันแชมเปียนส์ลีก[50] เขายิง 2 ประตูในการแข่งกับสโมสรฟุตบอลเซบียา เมื่อวันที่ 22 กันยายน[51] จากนั้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน เมสซียิงอีก 2 ประตูในชัยชนะเหนือเรอัลซาราโกซา 4–1[52] ประตูถัดไป ในนัดเยือนเลบันเตอูเด 4-1 เมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2007 และประตูที่ 2 ในแชมเปียนส์ลีกในฤดูกาลนั้น เขายิงในนัดพบกับสโมสรฟุตบอลชตุทการ์ท เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ เมสซีลงเล่นอย่างเป็นทางการกับบาร์เซโลนาเป็นนัดที่ 100 โดยแข่งกับสโมสรฟุตบอลบาเลนเซีย[53]

เมสซีได้รับการเสนอชื่อรางวัลฟิฟโปรครั้งที่ 10 ในสาขากองหน้า[54] แบบสำรวจออนไลน์ของหนังสือพิมพ์สเปนที่ชื่อ มาร์กา ได้ให้เขาเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดในโลก ด้วยคะแนนร้อยละ 77[55] นักเขียนจากหนังสือพิมพ์ในบาร์เซโลนา อย่าง เอลมุนโดเดปอร์ตีโบ และ สปอร์ต ได้เขียนว่ารางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรปสมควรเป็นของเมสซี และได้รับการสนับสนุนจากฟรันซ์ เบคเคนเบาเออร์[56] ผู้มีชื่อเสียงด้านฟุตบอลอย่าง ฟรันเชสโก ตอตตี กล่าวว่า เมสซีเป็นหนึ่งในนักฟุตบอลที่ดีที่สุดในโลก ในปัจจุบัน[57]

เมสซีไม่ได้ลงแข่งเป็นเวลา 6 อาทิตย์หลังจากบาดเจ็บเมื่อวันที่ 4 มีนาคม เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาซ้ายฉีก ในระหว่างการแข่งขันแชมเปียนส์ลีก ที่พบกับสโมสรฟุตบอลเซลติก เป็นครั้งที่ 4 ใน 3 ฤดูกาลที่เมสซีบาดเจ็บ[58] หลังจากการมาจากอาการบาดเจ็บ เมสซียิงประตูสุดท้ายในฤดูกาล 2007–08 แข่งกับบาเลนเซีย เมื่อ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 โดยชนะ 6–0 เมื่อจบฤดูกาลเมสซียิงประตู 16 ประตู และช่วยส่งยิงประตู 13 ครั้งในทุกการแข่งขัน

ฤดูกาล 2008–09

เมสซีในนัดแข่งกับ เดปอร์ตีโบเดลาโกรูญา

หลังจากที่รอนัลดีนโยออกจากสโมสรไป เมสซีก็สวมเสื้อเบอร์ 10 แทน[59] เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2008 ในนัดการแข่งขันแชมเปียนส์ลีก แข่งกับสโมสรฟุตบอลชาคห์ตาร์โดเนตสค์ เมสซียิงได้ 2 ประตูใน 7 นาทีสุดท้าย โดยเปลี่ยนตัวแทนเธียร์รี อองรี พลิกสถานการณ์จากแพ้ 1–0 ไปเป็นชนะ 2–1 ให้กับบาร์เซโลนา[60] และเกมในลีกนัดถัดมา แข่งกับสโมสรฟุตบอลอัตเลตีโกมาดริด ที่ถือเป็นการปะทะกับมิตรสหายที่ดีของเมสซี คือ เซร์คีโอ อาเกวโร[61] เมสซียิงประตูจากการเตะฟรีคิก และยังช่วยส่งบอลยิงประตูให้กับบาร์เซโลนา ชนะ 6–1[62] เมสซียิงตุงตาข่ายอีกครั้งในนัดแข่งกับเซบียา โดยยิงลูกวอลเลย์ในระยะ 23 เมตร (25 หลา) และจากนั้นก็เลี้ยงลูกผ่านผู้รักษาประตูและยิงประตูจากมุมแคบได้[63] เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2008 ในการแข่งเอลกลาซีโกนัดแรกของฤดูกาล เมสซียิงประตูที่ 2 ในนัดที่บาร์เซโลนาชนะเรอัลมาดริด 2–0[64] เขายังได้ที่ 2 ในรายชื่อผู้ได้รางวัลผู้เล่นแห่งปีของฟีฟ่า ปี 2008 ด้วยคะแนน 678 คะแนน[9]

เมสซียิงแฮตทริกแรกในปี ค.ศ. 2009 ในโกปาเดลเรย์ ในนัดแข่งกับอัตเลตีโกมาดริด โดยบาร์เซโลนาชนะไป 3-1[65] เมสซียิงอีกประตูสำคัญ 2 ประตู เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 โดยลงมาในฐานะตัวสำรองในครึ่งหลัง ช่วยให้บาร์เซโลนาชนะราซิงซานตันเดร์ 1–2 หลังจากที่ตามอยู่ 1–0 และประตูการยิงที่ 2 ของเขาถือเป็นประตูที่ 5000 ในลีกของสโมสรบาร์เซโลนา[66] ในการแข่งครั้งที่ 29 ในลาลีกา เมสซียิงประตูที่ 30 ของฤดูกาล นับในทุกการแข่งขัน ทำให้ทีมชนะ 6–0 ต่อสโมสรฟุตบอลมาลากา[67] เมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2009 เขายิง 2 ประตูในนัดแข่งกับสโมสรฟุตบอลบาเยิร์น มิวนิค ในแชมเปียส์ลีก เขายิงเป็นประตูที่ 8 ในการแข่งถ้วยนี้[68] เมื่อวันที่ 18 เมษายน เมสซียิงประตูที่ 20 ของฤดูกาลในนัดชนะเคตาเฟ 1–0 ทำให้บาร์เซโลนายังคงมีคะแนนอันดับสูงสุดในลีกและนำเรอัลมาดริด 6 คะแนน[69]

เมื่อใกล้จบฤดูกาล เมสซียิง 2 ประตู (ประตูที่ 35 และ 36 ในทุกการแข่งขัน) นำ 6–2 ชนะเหนือเรอัลมาดริด ที่สนามซานเตียโก เบร์นาเบว[70] ที่ถือเป็นการแพ้มากที่สุดของเรอัลมาดริดตั้งแต่ ค.ศ. 1930[71] หลังยิงประตู เขาวิ่งไปหาเหล่าคนดูและกล้อง และแสดงเสื้อบาร์เซโลนาและแสดงเสื้อทีเชิร์ตอีกตัวที่เขียนว่า Síndrome X Fràgil เป็นภาษาคาตาลันหมายถึง กลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะบาง (Fragile X syndrome) เพื่อแสดงการสนับสนุนต่อเด็กที่ป่วยจากอาการดังกล่าว[72] เมสซีมีส่วนต่อการเสริมกำลังในระหว่างที่อันเดรส อีเนียสตา บาดเจ็บ ในการแข่งขันกับสโมสรฟุตบอลเชลซี ในแชมเปียนส์ลีกในรอบรองชนะเลิศ ได้ส่งให้บาร์เซโลนาผ่านไปเจอกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในรอบตัดสิน เขายังได้รับถ้วยรางวัลโกปาเดลเรย์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ยิง 1 ประตูและช่วยส่งลูกยิงประตูอีก 2 ลูก ในชัยชนะ 4–1 เหนือแอทเลติกบิลบาโอ[73] เขาช่วยทีมเป็นผู้ชนะในครั้งที่ 2 ในลาลีกา เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม บาร์เซโลนาชนะในแชมเปียนส์ลีกโดยเขาทำประตูที่ 2 ในนาทีที่ 70 ทำให้บาร์เซโลนามีประตูนำ 2 ประตู เขายังเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในแชมเปียนส์ลีก และเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่ทำประตูได้ 9 ประตู[74] เมสซียังได้รับรางวัลกองหน้าระดับสโมสรยอดเยี่ยมแห่งปีและรางวัลนักฟุตบอลระดับสโมสรยอดเยี่ยมแห่งปี จบฤดูกาลได้อย่างสวยงามในยุโรป[75] ชัยชนะนี้หมายถึงบาร์เซโลนาชนะถ้วยโกปาเดลเรย์ ในลาลีกา และแชมเปียนส์ลีกในฤดูกาลเดียว[76] และเป็นครั้งแรกที่สโมสรฟุตบอลสเปนจะชนะได้ 3 รางวัลรวด

ฤดูกาล 2009–10

"เมื่อเห็นเขาวิ่ง ก็ไม่มีอะไรมาหยุดเมสซีได้ เขาเป็นนักฟุตบอลคนเดียวที่สามารถเปลี่ยนทิศทางได้ด้วยฝีเท้า" "เขาเป็นนักฟุตบอลที่ดีที่สุดในโลกที่มีมา เขา (เหมือนกับ) เป็นเพลย์สเตชัน เขาสามารถหาประโยชน์ได้จากทุกความผิดพลาดที่พวกเราทำ"

อาร์แซน แวงแกร์ กล่าวหลังการแข่งขันที่อาร์เซนอลแพ้ต่อบาร์เซโลนา 4-1[77][78]

เมสซีในนัดแข่งชิงถ้วยโชอันกัมเปร์ โดยบาร์เซโลนาแข่งกับแมนเชสเตอร์ซิตี ที่สนามกัมนอว

หลังจากทีมชนะในการแข่งขันยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2009 ผู้จัดการทีม ชูเซบ กวาร์ดีโอลา แสดงความมั่นใจว่าเมสซีอาจเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดที่เขาเคยเห็น[79] เมื่อวันที่ 18 กันยายน เมสซีเซ็นสัญญาใหม่กับบาร์เซโลนา ที่จะสิ้นสุดในปี ค.ศ. 2016 ด้วยสัญญา 250 ล้านยูโร ทำให้เมสซี รวมถึงซลาตัน อิบราฮิโมวิช เป็นผู้เล่นที่มีค่าตัวแพงที่สุดในลาลีกา โดยเมสซีได้เงินราว 9.5 ล้านยูโรต่อปี[80][81] หลังจากนั้น 4 วัน ในวันที่ 22 กันยายน เมสซียิง 2 ประตูและช่วยส่งลูกยิงประตูอีก 1 ลูกในชัยชนะที่บาร์ซาชนะราซิงซานตันเดร์ 4–1 ในลาลีกา[82] เขายิงประตูแรกในถ้วยยุโรปของฤดูกาลนี้ เมื่อวันที่ 29 กันยายน นำบาร์เซโลนาชนะดีนาโมเคียฟ 2–0[83] จากนั้นยิง 1 ประตูในลาลีกาที่ชนะ 6–1 ต่อเรอัลซาราโกซาที่สนามกัมนอว[84]

เมสซีได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรป เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2009 ด้วยคะแนน 473 คะแนน นำรองผู้ชนะ คริสเตียโน โรนัลโด ซึ่งได้คะแนน 233[85][86][87] หลังจากนั้นนิตยสาร ฟรานซ์ฟุตบอล นำคำพูดที่เมสซีลงไว้ว่า "ผมอุทิศให้กับครอบครัวของผม พวกเขาเป็นของขวัญของผมเสมอเมื่อผมต้องการมันและในบางครั้งรู้สึกอารมณ์แกร่งขึ้นมากกว่าผม"[88]

เมสซีในการแข่งขันฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ 2009

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม เมสซียิงประตูในนัดชิงชนะเลิศของ ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ 2009 ในนัดแข่งกับเอสตูเดียนเตสที่อาบูดาบี ทำให้สโมสรชนะการแข่งครั้งถ้วยที่ 6 ในปี[89] หลังจากนั้น 2 วันเขาได้รับรางวัลนักฟุตบอลแห่งปีของฟีฟ่า เบียดคริสเตียโน โรนัลโด, ชาบี, กาก้า และอันเดรส อีเนียสตา ไปได้ เป็นครั้งแรกที่เขาได้รับรางวัลนี้ และเป็นชาวอาร์เจนตินาคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้[90] เมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2010 เมสซียิงแฮตทริกแรกในปี ค.ศ. 2010 และเป็นแฮตทริกแรกของฤดูกาล ในนัดแข่งกับเซเดเตเนรีเฟ ด้วยประตูชนะ 0–5[91] และเมื่อวันที่ 17 มกราคม เขายิงประตูที่ 100 ให้กับสโมสรในเกมที่ชนะเซบียา 4–0[92]

เมสซีสร้างความประทับใจโดยยิงประตู 11 ประตูใน 5 เกม เกมแรกยิงประตูในนาทีที่ 84 ในนัดแข่งกับสโมสรฟุตบอลมาลากา ด้วยประตูชนะ 2–1[93] จากนั้นเขายิง 2 ประตูในนัดแข่งกับอูเดอัลเมรีอา เสมอ 2–2[94] เขายังยิงอย่างต่อเนื่องในสัปดาห์แห่งความประทับใจ ที่เขายิงไป 8 ประตู โดยเริ่มยิงแฮตทริกในนัดชนะบาเลนเซียในบ้าน 3–0[95] จากนั้นยิง 2 ประตูในนัดแข่งกับสโมสรฟุตบอลชตุทการ์ท ในชัยชนะ 4–0 ทำให้บาร์เซโลนาผ่านสู่รอบก่อนรอบสุดท้ายในแชมเปียนส์ลีก[96] และท้ายสุดกับการยิงแฮตทริกอีกครั้งในนัดไปเยือนซาราโกซาชนะ 4–2[97] ทำให้เป็นผู้เล่นบาร์เซโลนาคนแรกที่ทำแฮตทริกได้ติดต่อกันในลาลีกา[98] เขาลงแข่งอย่างเป็นทางการเป็นนัดที่ 200 กับบาร์เซโลนาในนัดแข่งกับโอซาซูนา เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 2010[99]

เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 2010 เป็นครั้งแรกในอาชีพของเขาที่ยิง 4 ประตูในนัดเดียว ในนัดเป็นทีมเหย้าแข่งกับอาร์เซนอล ในชัยชนะ 4–1 ในแชมเปียนส์ลีกรอบก่อนรอบสุดท้าย นัดที่ 2[100][101][102] ทำให้เขาเป็นผู้เล่นบาร์เซโลนาที่ยิงประตูได้มากที่สุดตลอดกาลในแชมเปียนส์ลีก แซงหน้ารีวัลดูไป[103] เมื่อวันที่ 10 เมษายน เมสซียิงประตูที่ 40 ของฤดูกาลในประตูแรกในชัยชนะเยือนเรอัลมาดริด 2–0[104] เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม เมสซียิงประตูที่ 50 ของฤดูกาลและยิง 2 ประตูในการเยือนบียาร์เรอัล ด้วยชัยชนะ 4–1[105] 3 วันต่อมา เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม เมสซียิง 2 ประตูในนัดเป็นทีมเหย้าแข่งกับเตเรรีเฟ ด้วยชัยชนะ 4–1[106] เมสซียิงประตูที่ 32 ในฤดูกาลนี้ของลาลีกาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ในการเยือนเซบียา[107] และนัดสุดท้ายของฤดูกาลแข่งกับบายาโดลิด เขายิง 2 ประตูในครึ่งหลัง ทำให้สถิติยิงจำนวนประตูของสโมสรใน 1 ฤดูกาลของลาลีกาเทียบเท่ากับโรนัลโด ที่ 32 ประตู ที่เกิดขึ้นเมื่อฤดูกาล 1996–97[108][109] แต่ตามหลังสถิติตลอดกาล 4 ประตู ของเตลโม ซาร์รา ที่ทำไว้ 38 ประตูในฤดูกาลเดียวของลาลีกา[110] เมสซีได้รับรางวัลผู้เล่นลาลีกาแห่งปี เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2010[111]

ฤดูกาล 2010–11

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 2010 เมสซียิงแฮตทริก ในนัดเปิดฤดูกาลของเขาในชัยชนะ 4–0 เหนือเซบียา ในการชิงถ้วยซูเปร์โกปาเดเอสปาญา ทำให้บาร์เซโลนาได้ถ้วยแรกของฤดูกาล หลังจากแพ้ 1–3 ในการแข่งนัดแรก[112] เขาเริ่มต้นฤดูกาลในลาลีกา ด้วยการยิงประตูในนาทีที่ 3 ในนัดแข่งกับราซิงซานตันเดร์ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2010 เขายังคงแสดงฝีมือยอดเยี่ยมในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในนัดแบ่งกลุ่ม แข่งกับพานาทีไนกอส (Panathinaikos) โดยเขายิงได้ 2 ประตู และยังช่วยส่งลูกยิงประตูอีก 2 ลูก และยังยิงเข้ากรอบประตูใน 2 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2010 เมสซีได้รับอาการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้าเนื่องจากการเข้าแย่งลูกจากกองหลังสโมสรฟุตบอลอัตเลตีโกมาดริด โตมัส อุยฟาลูซี (Tomáš Ujfaluši) ในนาทีที่ 92 ในนัดที่ 3 ที่สนามกีฬาบีเซนเตกัลเดรอน โดยเริ่มแรกนั้นเกรงว่าเมสซีจะบาดเจ็บจากข้อเท้าแตกและทำให้เขาไม่สามารถลงแข่งได้อย่างน้อย 6 เดือน แต่จากผลเอ็มอาร์ไอแสดงให้เห็นในวันถัดไปในบาร์เซโลนาว่า เกิดการเคล็ดที่เอ็นภายในและภายนอกที่ข้อเท้าขวา[113] เพื่อนร่วมทีม ดาบิด บียา ออกมากล่าวว่า "การเข้าแย่งลูกปะทะเมสซีเป็นสิ่งที่หยาบคาย" หลังจากดูวิดีโอที่เล่นแล้ว เขายังเชื่อว่า "ไม่ได้กระแทกให้เจ็บ"[114] จากเหตุนี้ทำให้สื่อวิพากษ์วิจารณ์กันไปทั่วและนำไปสู่การถกเถียงเรื่องความเท่าเทียมกันในการปกป้องผู้เล่นในเกม

เมื่อเมสซีหายดีแล้ว เขายิงประตูในนัดเสมอกับเอร์เรเซเดมายอร์กา 1–1 จากนั้นยิงอีก 1 ประตูในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดเจอกับสโมสรฟุตบอลโคเปนเฮเกน ช่วยให้ทีมชนะในบ้าน 2–0[115] เขายังคงยิงประตูอย่างต่อเนื่อง ในนัดเจอกับซาราโกซาและเซบียา เมื่อเริ่มเดือนพฤศจิกายนเขายิงประตูโดยไปเยือนโคเปนเฮเกน เสมอ 1–1 และไปเยือนสโมสรฟุตบอลเคตาเฟชนะ 3–1 ที่เขาช่วยจ่ายบอลให้ดาบิด บียาและเปโดร โรดรีเกซ ยิง[116] ในนัดต่อไปเจอกับบียาร์เรอัล เขายิงประตูที่น่าแปลกใจจากการร่วมมือกับเปโดร ทำให้นำ 2–1 จากนั้นก็ยิงอีกประตู ทำให้บาร์เซโลนาชนะ 3–1 และเป็นนัดที่ 7 ติดต่อกันที่เมสซียิงประตู ทำลายสถิติตัวเขาเองที่เคยยิงได้ 6 นัดติดต่อกัน ในนัดพบกับอูเดอัลเมรีอา เขาทำแฮตทริกครั้งที่ 2 ของฤดูกาลในนัดเยือนที่ชนะไป 8–0 ประตูที่ 2 ในนัดนี้เป็นประตูที่ 100 ในลาลีกาของเขา[117] เขายิงประตูได้ 9 นัดติดต่อกัน (รวมถึง 10 นัดติดต่อกันในนัดกระชับมิตรแข่งกับทีมชาติบราซิล) โดยไปเยือนพานาทีไนกอส ชนะ 3–0[118]

เมสซีในนัดแข่งขันกับเรอัลมาดริด ในแชมเปียนส์ลีก

ในนัดเอลกลาซีโกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน เมสซียิงประตูช่วยให้บาร์เซโลนาชนะ 5–0 และเมสซียังช่วยส่งลูกยิงประตูให้กับบียา 2 ครั้ง[119] ในนัดถัดมาเขาทั้งยิงและช่วยจ่ายลูกยิงให้นัดเจอกับโอซาซูนา[120] เขาตอกย้ำรอยเดิมโดยการยิงประตูในนัดแข่งกับเรอัลโซเซียดัด[121]ในนัดดาร์บีที่แข่งกับเอร์ราเซเดเอสปาญอล บาร์เซโลนาชนะ 1-5 เขาช่วยส่งจ่ายลูกยิงให้กับเปโดรและบียา คนละหนึ่งประตู[122] ประตูแรกในปี ค.ศ. 2011 ของเขา แข่งกับเดปอร์ตีโบเดลาโกรูญา ยิงจากลูกฟรีคิก ในนัดที่ชนะ 4–0 โดยการไปเยือน ซึ่งเขาก็ยังช่วยยิงลูกจ่ายประตูให้กับทั้งเปโดรและบียาอีกครั้ง[123]

เมสซีได้รับรางวัลฟีฟ่าบัลลงดอร์ 2010 ชนะเพื่อนร่วมทีมของเขาอย่าง ชาบีและอีเนียสตา[124] โดยเขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนี้เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน[125] 2 วันถัดหลังได้รับรางวัล เขายิงแฮตทริกแรกของปี และเป็นแฮตทริกที่ 3 ในฤดูกาล ในนัดแข่งกับเรอัลเบติส[126] กลับมาสู่ในลีก เขายิงประตูในครึ่งหลัง โดยยิงประตูที่ 2 ของทีม จากจุดโทษในนัดแข่งกับราซิงเดซานตันเดร์[127] หลังจากยิงประตูเขาแสดงข้อความบนเสื้อในเขียนว่า "สุขสันต์วันเกิด คุณแม่"[128] เขายิงประตูด้วยความมั่นใจในนัดแข่งกับอัลเมรีอา ในโกปาเดลเรย์รอบรองชนะเลิศ[129] จากนั้นไม่ถึงอาทิตย์ก็ยิงอีกครั้งในนัดแข่งกับเอร์กูเลส[130] ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ บาร์เซโลนาสร้างสถิติใหม่ โดยการชนะติดต่อกันมากที่สุดในลีก โดยชนะติดต่อกัน 16 ครั้ง หลังจากที่ทีมชนะอัตเลตีโกมาดริด 3–0 ที่สนามกัมนอว[131] เมสซียิงแฮตทริกเพื่อแสดงความมั่นใจว่าชัยชนะจะอยู่ที่ทีมเขา หลังจบการแข่งขันเขาพูดว่า "เป็นเกียรติที่สามารถทำลายสถิติที่ยิ่งใหญ่ที่ทำขึ้นเหมือนอย่างอัลเฟรโด ดี สเตฟาโน" และ "ถ้าสถิตินี้ยังคงมีไปอีกนานเพราะว่ามันซับซ้อนที่จะชนะและเราก็สามารถทำถึงมันโดยชนะในทีมที่ยาก กับสถานการณ์อันเลวร้าย ซึ่งก็ทำให้มันยิ่งยากขึ้น"[132]

หลังจากไม่ได้ทำประตูใน 2 นัด เขายิงประตูในชัยชนะเหนือแอทเลติกบิลบาโอที่บาร์เซโลนาชนะ 2–1[133] ในสัปดาห์ต่อมาเขายิงประตู เป็นผู้นำในลีกฤดูกาลนี้ ในนัดแข่งกับมายอร์กา 3–0 ในการไปเยือน.[134] สร้างสถิติเทียบเท่าทีมจากแคว้นบาสก์ เรอัลโซเซียดัด ในฤดูกาล 1979–80 ที่ชนะ 19 ครั้งติดต่อกันในฐานะทีมเยือน แต่สถิตินี้ก็ถูกทำลายไปในอีก 3 วันต่อมาเมื่อเมสซียิงประตูเดียวในชัยชนะการไปเยือนบาเลนเซีย[135] เมื่อวันที่ 8 มีนาคม เมสซียิง 2 ประตูในนัดเจอกับอาร์เซนอล ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกที่สนามกัมนอว ได้ช่วยให้บาร์เซโลนาชนะด้วยประตูรวม 3–1 และเข้าสู่รอบก่อนชิงชนะเลิศ[136] หลังจากไม่สามารถยิงประตูได้ร่วมเดือน เขายิงประตูในนัดแข่งกับอัลเมรีอา ประตูที่ 2 เป็นประตูที่ 47 ในฤดูกาลนี้ของเขา เทียบเท่าสถิติการทำประตูในฤดูกาลก่อนของเขา[137] เขาทำลายสถิติเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 2011 โดยยิงประตูในชัยชนะเหนือชาคห์ตาร์โดเนตสค์ ในการแข่งยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ทำให้เขาถือสถิติผู้ทำประตูสูงสุดในฤดูกาลเดียวของบาร์เซโลนา[138] เขายิงประตูที่ 8 ในเอลกลาซีโก เสมอ 1–1 ที่สนามซานเตียโก เบร์นาเบว เมื่อวันที่ 23 เมษายน เมสซียิงประตูที่ 50 ของฤดูกาลในนัดแข่งกับโอซาซูนา 2–0 ในบ้าน เมื่อเขาออกมาเปลี่ยนตัวในนาทีที่ 60[139]

ในนัดแรกของแชมเปียนส์ลีกรอบรองชนะเลิศ เขาสร้างความประทับใจ โดยยิง 2 ประตูในนัดที่พบกับเรอัลมาดริด ชนะด้วยจำนวนประตู 2–0 ประตูที่ 2 เป็นการเลี้ยงลูกหลบผู้เล่นหลายคน และยังได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดในการแข่งขันนี้[140][141] ในการแข่งขันยูฟาแชมเปียนส์ลีกที่เว็มบลี เมสซีทำประตูตอกย้ำให้บาร์เซโลนาคว้าแชมป์เป็นสมัยที่สามในรอบหกปี และเป็นสมัยที่สี่ในประวัติศาสตร์สโมสร[142]

ฤดูกาล 2011–12

เมสซีในฤดูกาล 2011-12

ในการแข่งขันชิงถ้วยซูเปร์โกปาเดเอสปาญา 2011 เมสซียิงประตู 3 ประตู และช่วยจ่ายลูกยิงประตูอีก 2 ประตู ทำให้มีผลประตูรวม 5–4 ชนะทีมเรอัลมาดริดไปได้[143] ในนัดถัดมาอย่างเป็นทางการเขายิงประตูอีกครั้งหลังจากการส่งหลังผิดพลาดของเฟรดี กัวริน และได้ช่วงส่งประตูให้เซสก์ ฟาเบรกัสยิงประตู ทำให้ชนะโปร์ตู 2-0 ในการแข่งขันยูฟ่าซูเปอร์คัพ[144] เมื่อเริ่มฤดูกาลในลาลีกา เมสซียิง 2 ประตูในนัดแข่งกับบียาร์เรอัล[145] และเขายังสามารถยิงแฮตทริกได้ต่อเนื่องในฐานะทีมเหย้ากับโอซาซูนา[146]และอัตเลตีโกมาดริด[147]

ในวันที่ 28 กันยายน เมสซียิง 2 ประตูในแชมเปียนส์ลีกใน 2 นัดแรกของฤดูกาล แข่งกับสโมสรฟุตบอลบาเตโบรีซอฟ[148] ทำให้เขาเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์ของบาร์เซโลนา เทียบเท่ากับลัสโซล คูบาลา กับ 194 ประตู ในทุกการแข่งขันที่เป็นการแข่งขันอย่างเป็นทางการ[149] แต่ต่อมาเขาก็ทำลายสถิตินี้โดยยิงอีก 2 ประตูเมื่อแข่งกับราซิงเดซานตันเดร์[150] และเหลืออีกประตูเดียวก็ถึง 200 ประตู เมื่อเขายิงแฮตทริกในนัดแข่งที่บ้าน แข่งกับมายอร์กา และยิงได้แซงหน้าคูบาลา ที่จำนวน 132 ประตู[151] เขายิงประตูที่ 200 ให้กับบาร์เซโลนา และอีก 2 ลูก เป็นแฮตทริกในนัดแข่งกับวิกตอเรียเปิลเซน (Viktoria Plzeň) ในแชมเปียนส์ลีก[152] เมสซียิงประตูแรกของเขาได้ในซานมาเมส ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ ทำให้เสมอกับแอทเลติกบิลบาโอ 2–2[153] นัดต่อมาเขายิงประตูในนัดแข่งกับเรอัลซาราโกซา[154] เขายิงจุดโทษให้ทีมชนะในการเยือน 3–2 แข่งกับเอซี มิลาน ในรอบแบ่งกลุ่มแชมเปียนส์ลีก[155] เขายิงประตูได้ครั้งแรกกับราโยบาเยกาโน ในนัดชนะที่บ้าน 4–0[156] จากนั้นยิง 1 ประตู นัดแข่งกับเลบันเตอูเด ทำให้ทีมชนะในบ้าน 5-0[157]

เมสซีได้รับรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมยุโรปของฟีฟ่าปี ค.ศ. 2011 โดยชนะเพื่อนร่วมทีม ชาบี และผู้เล่นจากเรอัลมาดริด คริสเตียโน โรนัลโด เมสซียังได้รับรางวัลฟีฟ่าบัลลงดอร์ 2011 อีกครั้ง โดยชนะชาบีและคริสเตียโน โรนัลโดเช่นกัน การได้รับรางวัลบัลลงดอร์ครั้งนี้ ทำให้เมสซีเป็นผู้เล่นคนที่ 4 ที่ได้รับรางวัลบัลลงดอร์ 3 ครั้ง ก่อนหน้านี้คือ โยฮัน ครัฟฟ์, มีแชล ปลาตีนี และมาร์โก ฟาน บัสเทิน ต่อมาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 เมสซีลงเล่นในลาลีกาเป็นนัดที่ 200 โดยเขายิงได้ 4 ประตู ในนัดแข่งกับบาเลนเซีย โดยผลคือทีมชนะ 5–1[158] ในวันที่ 7 มีนาคม เมสซีเป็นผู้เล่นคนแรกที่ยิงประตู 5 ประตูในแชมเปียนส์ลีก โดยได้ช่วยทีมป้องกันแชมป์ในนัดที่บาร์เซโลนาชนะบาเยอร์ 04 เลเฟอร์คูเซิน 7–1[159]

ต่อมาในวันที่ 20 มีนาคม เมสซียิงได้ 3 ประตูในนัดแข่งกับสโมสรฟุตบอลกรานาดา ทำให้เขาเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดของบาร์เซโลนา แซงหน้านักฟุตบอลตำนาน เซซาร์ โรดรีเกซ อัลบาเรซ ที่เคยถือสถิติ ยิง 232 ประตู[160] ในวันที่ 2 พฤษภาคม เมสซียิงแฮตทริกในนัดแข่งกับสโมสรฟุตบอลมาลากา ทำให้เขาทำลายสถิติของเกิร์ด มึลเลอร์ (ที่ยิง 67 ประตูในฤดูกาล 1972-73) โดยเมสซียิงได้ 68 ประตู และเขาเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลของยุโรปใน 1 ฤดูกาล[161]

การแข่งขันระดับทีมชาติ

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2004 เขาลงแข่งในฐานะทีมชาติอาร์เจนตินา โดยเล่นในชุดอายุไม่เกิน 20 ปีในนัดกระชับมิตรเจอกับทีมชาติปารากวัย[162] ในปี ค.ศ. 2005 เขาเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่ชนะในฟีฟ่าเวิลด์ยูทแชมเปียนชิป ที่จัดขึ้นที่เนเธอร์แลนด์ โดยเขาได้รับรางวัลลูกบอลทองคำและรองเท้าทองคำ[163] เขายิงประตูใน 4 นัดสุดท้ายของอาร์เจนตินา รวมยิงได้ 6 ประตูในการแข่งขัน

เขาลงแข่งในฐานะทีมชาติเต็มตัวเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2005 ในนัดเจอกับฮังการี เมื่อเขาอายุ 18 ปี เขาถูกส่งเปลี่ยนตัวลงสนามในนาทีที่ 63 แต่ก็ถูกผู้ตัดสินมาร์คุส แมร์ค ไล่ออกจากสนามในนาทีที่ 65 เนื่องจากเมสซีโขกหัวกับกองหลัง วิลมอช วอนซัก (Vilmos Vanczák) ที่พยายามดึงเสื้อเมสซี การตัดสินครั้งนี้ทำให้เป็นข้อถกเถียงกันและมาราโดนา ก็กล่าวถึงการตัดสินว่าผู้ตัดสินมีเจตนาล่วงหน้า[164][165] เมสซีกลับมาเล่นอีกครั้งในวันที่ 3 กันยายน ในรอบคัดเลือกที่อาร์เจนตินาไปเยือนปารากวัยและได้ชัยชนะมา 1–0 หลังจากนัดนี้เขาออกมาว่า นี่ถือเป็นนัดเปิดตัวอีกครั้ง ครั้งแรกถือว่าค่อนข้างสั้นไป[166] จากนั้นก็ลงแข่งกับเปรู หลังจากนัดนี้โคเซ เปเกร์มัน พูดถึงเมสซีว่า "คือ อัญมณี"[167]

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 2009 ในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกที่เจอกับเวเนซุเอลา เมสซีสวมเสื้อเบอร์ 10 เป็นครั้งแรกให้กับอาร์เจนตินา ในนัดนี้เป็นนัดแรกอย่างเป็นทางการของผู้จัดการทีม เดียโก มาราโดนา อาร์เจนตินาชนะ 4–0 โดยเมสซีเป็นผู้ทำประตูแรก[168]

วันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 เมสซียิงประตูในนาทีสุดท้ายที่แข่งกับคู่ปรับสำคัญ บราซิล ทำให้ทีมชนะ 1–0 ในนัดกระชับมิตรครั้งนี้ที่แข่งกับที่เมืองโดฮา ถือเป็นครั้งแรกที่เขายิงประตูบราซิลในฐานะทีมชาติรุ่นใหญ่[169] เมสซียิงอีกประตูในนาทีสุดท้ายเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 ในนัดแข่งกับโปรตุเกส โดยยิงจุดโทษ ทำให้อาร์เจนตินาชนะ 2–1 ในนัดกระชับมิตรที่จัดขึ้นที่เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์

ฟุตบอลโลก 2006

อาการบาดเจ็บของเมสซีทำให้เขาไม่ได้ลงใน 2 เดือนท้ายสุดของฤดูกาล 2005–06 ซึ่งทำให้เขาไม่ได้ลงเล่นในฟุตบอลโลก 2006 นัก แต่อย่างไรก็ตามเมสซีก็ยังได้รับเลือกให้ลงเล่นในชุดทีมชาติอาร์เจนตินาเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 เขายังลงเล่นในนัดชิงชนะเลิศให้กับอาร์เจนตินาชุดอายุไม่เกิน 20 ปี อยู่ 15 นาทีและนัดกระชับมิตรที่เจอกับแองโกลา ตั้งแต่นาทีที่ 64[170][171] เขานั่งอยู่บนม้านั่งสำรองในนัดที่อาร์เจนตินาชนะต่อโกตดิวัวร์[172] ในนัดถัดมาที่เจอกับเซอร์เบียและมอนเตเนโกร เมสซีถือเป็นนักฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินาที่อายุน้อยที่สุดที่ลงแข่งในฟุตบอลโลกเมื่อเขาออกมาแทนมักซี โรดรีเกซในนาทีที่ 74 เขาช่วงส่งประตูยิงให้กับเอร์นัน เกรสโปในไม่กี่นาทีหลังจากที่เขาลงสนามและยังช่วยยิงประตูในชัยชนะ 6–0 ทำให้เขาเป็นนักฟุตบอลที่อายุน้อยที่สุดในฟุตบอลโลก 2006 ที่ยิงประตูได้และเป็นนักฟุตบอลอายุน้อยที่สุดอันดับ 6 ที่ยิงประตูได้ในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลก[173]

ในนัดถัดมาเมสซีลงในการแข่งขันที่เสมอกับเนเธอร์แลนด์ 0–0[174] ต่อมาเจอกับเม็กซิโก โดยเมสซีลงเปลี่ยนตัวแทนในนาทีที่ 84 ในนัดนี้เสมอ 1–1 เขาสามารถยิงประตูได้แต่ก็ล้ำหน้า แต่อาร์เจนตินายิงประตูได้ในการต่อเวลาพิเศษ[175][176] ผู้ฝึกสอน โคเซ เปเกร์มันให้เมสซีนั่งอยู่ที่ม้านั่งสำรองในการแข่งขันรอบก่อนชิงชนะเลิศที่เจอกับเยอรมนี ที่พวกเขาแพ้ 4–2 ในการดวลจุดโทษ[177]

โคปาอเมริกา 2007

เมสซีในการแข่งขันโคปาอเมริกา 2007

เมสซีลงเล่นเกมแรกของโคปาอเมริกา 2007 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 2007 เมื่ออาร์เจนตินาชนะสหรัฐอเมริกา 4–1 ในเกมแรก โดยเขาได้แสดงความสามารถในฐานะเพลย์เมกเกอร์ เขาตั้งลูกทำประตูให้กับเพื่อนร่วมทีม เอร์นัน เกรสโปรและยิงเข้ากรอบหลายลูก เตเบซลงมาแทนเมสซีในนาทีที่ 79 และยิงประตูในอีกไม่กี่นาทีต่อมา[178]

นัดที่ 2 ของเขาแข่งกับโคลอมเบีย ที่เขาได้รับจุดโทษ ทำให้เกรสโปยิงตีเสมอ 1–1 เขายังเป็นส่วนหนึ่งของประตูที่ 2 ของอาร์เจนตินา โดยเขาได้ถูกทำฟาวล์นอกเขตโทษ ทำให้ควน โรมัน รีเกลเม ทำประตูได้จากลูกฟรีคิก และทำให้อาร์เจนตินานำเป็น 3–1 และจบประตูสุดท้ายของเกมที่ 4–2 ทำให้มั่นใจได้ว่าอาร์เจนตินาเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศแน่นอน[179]

ในนัดที่ 3 แข่งกับปารากวัย โค้ชให้เมสซีพักเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับรอบก่อนรองชนะเลิศ โดยเขาได้ออกจากม้านั่งสำรองแทนเอสเตบัน กัมเบียสโซ ในนาทีที่ 64 กับประตูในขณะนั้นที่ 0–0 ต่อมาในนาทีที่ 79 เขาช่วยส่งลูกยิงประตูให้กับคาเบียร์ มาเชราโน[180] ในรอบรองชนะเลิศ แข่งกับเปรู เมสซียิงประตูที่ 2 ของเกมจากการส่งของรีเกลเม โดยจบที่ชัยชนะ 4–0[181] ในรอบรองชนะเลิศที่แข่งกับเม็กซิโก เมสซียิงลูกโด่งข้ามโอสวัลโด ซานเชซ ทำให้อาร์เจนตินาชนะ 3–0 เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ[182] แต่อาร์เจนตินาก็แพ้ 3–0 ในนัดชิงชนะเลิศกับบราซิล[183]

โอลิมปิกฤดูร้อน 2008

เมสซีในรอบก่อนชิงชนะเลิศ แข่งกับบราซิลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008

เมสซีถูกห้ามเล่นให้กับทีมชาติอาร์เจนตินาระหว่างเกมในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008[184] แต่ท้ายสุดบาร์เซโลนาตกลงว่าปล่อยเขาให้เล่นหลังจากได้จัดการพูดคุยกับ โค้ชคนใหม่ ชูเซบ กวาร์ดีโอลา[185] เขาลงเล่นกับทีมชาติอาร์เจนตินาและทำประตูแรกในประตู 2–1 ที่ชนะโกตดิวัวร์[185] จากนั้นยิงประตูเปิดเกมและช่วยส่งลูกยิงให้กับอังเคล ดิ มาเรียในประตูที่ 2 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ ทำให้ทีมชนะเนเธอร์แลนด์ 2–1[186] เขายิงลงแข่งในนัดพบกับคู่ปรับ บราซิล ที่อาร์เจนตินาชนะ 3–0 เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ในนัดชิงเหรียญทอง เมสซีช่วยส่งลูกอีกครั้งให้กับดิ มาเรีย ในประตูเดียวของเกม 1–0 ทำให้ทีมชนะไนจีเรีย[187]

ฟุตบอลโลก 2010

เมสซีในชุดทีมชาติอาร์เจนตินา ลงเล่นเจอกับ ทีมชาติเยอรมนี

เมสซีลงแข่งตลอดเกมในนัดแรกที่อาร์เจนตินาพบกับไนจีเรีย ชนะไป 1–0 เขามีโอกาสในการทำประตูหลายครั้ง แต่วินเซนต์ เอนเยมา ก็รักษาประตูไว้ได้[188] เมสซีลงแข่งในนัดเจอกับเกาหลีใต้ ชนะด้วยประตู 4–1 โดยเขามีส่วนร่วมในการทำประตูทุกประตูของทีม และช่วยกอนซาโล อีกวาอินยิงแฮตทริก[189] ในนัดที่ 3 และนัดสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่ม เมสซีนำทีมอาร์เจนตินาชนะกรีซ และเขาได้รับเลือกให้เป็นผู้เล่นแห่งนัด[190]

ในรอบ 16 ทีม เขาช่วยส่งลูกยิงประตูให้กับการ์โลส เตเบซ ในประตูแรกที่อาร์เจนตินาชนะเม็กซิโก 3–1 ผู้ตัดสินให้ประตูถึงแม้ว่าจะไม่กระจ่างว่าล้ำหน้าหรือไม่[191] อาร์เจนตินาจบการแข่งขันในฟุตบอลครั้งนี้ด้วยการแพ้ให้กับเยอรมนี 4–0[192]

โคปาอเมริกา 2011

เขาเป็นส่วนหนึ่งในทีมชาติอาร์เจนตินาในการแข่งขันโคปาอเมริกา 2011 เขาไม่สามารถยิงประตูได้แต่ช่วยส่งยิงประตู 3 ประตู เขาได้รับเลือกเป็นผู้เล่นแห่งนัดในนัดแข่งกันโบลิเวีย (1–1) และคอสตาริกา (3–0) อาร์เจนตินาเสมอกับโคลอมเบียและตกรอบเมื่อเจอกับอุรุกวัยจากการดวลลูกโทษ โดยเมสซีดวลจุดโทษเป็นคนแรก

ด้านอื่น

ชีวิตส่วนตัว

เมสซีคบหากับมาซาเรนา เลโมส ที่มาจากบ้านเกิดเดียวกันที่โรซารีโอ กล่าวกันว่าทั้งคู่รู้จักกันจากการแนะนำของพ่อของฝ่ายหญิง เมื่อครั้งที่เขากลับมารักษาตัวจากการบาดเจ็บในโรซารีโอ ไม่กี่วันก่อนที่จะเริ่มการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006[193][194] เขาเคยมีความสัมพันธ์กับนางแบบชาวอาร์เจนตินา ลูเซียนา ซาลาซาร์[195][196] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 เขาบอกทางรายการ "แฮตทริกบาร์ซา" ช่องกานัล 33 ว่า "ผมมีแฟนสาวและเธออยู่ที่อาร์เจนตินา ผมรู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข"[196] นอกจากนั้นยังพบเมสซีกับหญิงสาวอีกคนชื่อ อันโตเนลลา รอกกุซโซ[197] ที่งานในเมืองซิดเจส หลังจากนัดการแข่งขันดาร์บี บาร์เซโลนา-เอสปันยอล รอกกุซโซเป็นชาวโรซารีโอเช่นกัน[198]

เมสซีมีลูกพี่ลูกน้อง 2 คนในวงการฟุตบอล คนหนึ่งคือ มักซี ปีกของสโมสรกลุบโอลิมเปียในปารากวัย และเอมานวยล์ เบียนกุชชี เล่นเป็นกองกลางให้กับสโมสรฟุตบอลคีโรนาของสเปน[199][200]

งานการกุศล

ในปี ค.ศ. 2007 เมสซีได้ก่อตั้งมูลนิธิเลโอเมสซี ที่ช่วยเหลือการกุศลได้ด้านการศึกษาและสุขภาพให้กับเด็กผู้ด้อยโอกาส[201][202] ในบทสัมภาษณ์เว็บแฟนไซต์ เมสซีกล่าวว่า "การมีชื่อเสียงเล็กน้อย ทำให้ผมได้มีโอกาสที่จะช่วยเหลือคนที่ต้องการจริง ๆ โดยเฉพาะเด็ก ๆ"[203] และเพื่อตอบสนองต่ออุปสรรคด้านการแพทย์ในวัยเด็กของเขา มูลนิธิเลโอเมสซี ได้สนับสนุนการช่วยเหลือกับเด็กอาร์เจนตินาที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่มีความยุ่งยากด้านการรักษา โดยเสนอการรักษาในสเปนและออกค่าใช้จ่ายการเดินทาง การพยาบาล และการฟื้นฟู[204] มูลนิธิของเมสซีได้รับเงินจากกิจกรรมการหารายได้ของเขาเอง และความช่วยเหลือจากเฮอร์บอไลฟ์

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2010 เมสซีได้รับเป็นทูตสันถวไมตรีจากยูนิเซฟ[205] โดยจุดประสงค์การทำงานของเขาเพื่อสนับสนุนสิทธิของเด็ก เมสซีได้รับการสนับสนุนจากสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาซึ่งทำงานร่วมกับยูนิเซฟ[206]

สื่อ

เขาปรากฏบนปกของวิดีโอเกมอย่าง โปรเอโวลูชันซอกเกอร์ 2009 และ โปรเอโวลูชันซอกเกอร์ 2011 และยังเกี่ยวข้องในการประชาสัมพันธ์เกมนี้ด้วย[207] เมสซีและเฟร์นันโด ตอร์เรส[208] อยู่บนปกของ โปรเอโวลูชันซอกเกอร์ 2010 และยังปรากฏในเทรลเลอร์ภาพเคลื่อนไหวของเกม[209][210][211] เมสซีได้รับการสนับสนุนจากบริษัทชุดกีฬาเยอรมัน อาดิดาส ซึ่งเขาก็ปรากฏอยู่บนภาพยนตร์โฆษณา[212] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 เมสซีเซ็นสัญญา 3 ปีกับเฮอร์บอไลฟ์[213] ซึ่งสนับสนุนการช่วยเหลือมูลนิธิเลโอเมสซี

สถิติ

ข้อมูลวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2012[214][215]

สโมสร

สโมสร ฤดูกาล ลีก โกปาเดลเรย์ ซูเปร์โกปาเดเอสปาญา แชมเปียนส์ลีก ยูฟ่าซูเปอร์คัป คลับเวิลด์คัป รวม
ลงแข่ง ประตู ช่วยทำประตู ลงแข่ง ประตู ช่วยทำประตู ลงแข่ง ประตู ช่วยทำประตู ลงแข่ง ประตู ช่วยทำประตู ลงแข่ง ประตู ช่วยทำประตู ลงแข่ง ประตู ช่วยทำประตู ลงแข่ง ประตู ช่วยทำประตู
บาร์เซโลนา 2004–05 7 1 0 1 0 0 1 0 0 9 1 0
2005–06 17 6 3 2 1 0 0 0 0 6 1 1 25 8 4
2006–07 26 14 2 2 2 1 2 0 0 5 1 0 1 0 0 0 0 0 36 17 3
2007–08 28 10 12 3 0 0 9 6 1 40 16 13
2008–09 31 23 11 8 6 2 12 9 5 51 38 18
2009–10 35 34 10 3 1 0 1 2 0 11 8 0 1 0 1 2 2 0 53 47 11
2010–11 33 31 18 7 7 3 2 3 0 13 12 3 55 53 24
2011–12 37 50 15 6 2 4 11 14 5 2 3 2 1 1 1 2 2 1 59 72 28
รวม 214 169 71 32 19 10 68 51 15 7 8 2 3 1 2 4 4 1 329 253 101

ทีมชาติ

ทีมชาติ ปี ลงแข่ง ประตู ช่วยทำประตู
อาร์เจนตินา 2005 5 0 0
2006 7 2 1
2007 13 6 3
2008 8 2 1
2009 10 3 2
2010 10 2 2
2011 9 2 10
2012 1 3
รวม 68 22

ประตูทีมชาติ

ยู–20

คะแนนและผลประตูของอาร์เจนตินา[216][217]

ยู–23

รุ่นใหญ่

รางวัล

สโมสร

บาร์เซโลนา
2004–05, 2005–06, 2008–09, 2009–10, 2010–11
2008–09
2005, 2006, 2009, 2010
2005–06, 2008–09, 2010–11
2009, 2011
2009, 2011

อาร์เจนตินา

2005
2008

เกียรติประวัติส่วนตัว

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Lionel Andrés Messi". fcbarcelona.com. สืบค้นเมื่อ 3 May 2008.
  2. "Lionel Andrés Messi at Soccerway". Soccerway. สืบค้นเมื่อ 14 June 2009.
  3. "Fundación Leo Messi".
  4. Broadbent, Rick (24 February 2006). "Messi could be focal point for new generation". London: Times Online. สืบค้นเมื่อ 31 March 2009.
  5. Gordon, Phil (28 July 2008). "Lionel Messi proves a class apart". London: Times Online. สืบค้นเมื่อ 31 March 2009.
  6. Williams, Richard (24 April 2008). "Messi's dazzling footwork leaves an indelible mark". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 31 March 2009.
  7. 7.0 7.1 "Messi världens bästa fotbollsspelare". Eurosport. 12 January 2009. สืบค้นเมื่อ 23 March 2010.
  8. "European Footballer of the Year ("Ballon d'Or")". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  9. 9.0 9.1 "FIFA World Player Gala 2008" (PDF). FIFA. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  10. "FIFA World Player Gala 2007" (PDF). FIFA. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  11. "Messi wins Ballon d'Or". London: UK Yahoo Eurosport. 10 January 2011. สืบค้นเมื่อ 10 January 2010.
  12. Gardner, Neil (19 April 2007). "Is Messi the new Maradona?". London: Times Online. สืบค้นเมื่อ 31 March 2009.
  13. Reuters (25 February 2006). "Maradona proclaims Messi as his successor". China Daily. สืบค้นเมื่อ 8 October 2006.
  14. "Top scorer Messi matches Van Nistelrooy mark". UEFA. สืบค้นเมื่อ 28 May 2011.
  15. "El crack que desea victorias de regalo" (ภาษาSpanish). Canchallena. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |trans_title= ถูกละเว้น แนะนำ (|trans-title=) (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  16. Carlin, John (27 March 2010). "Lionel Messi: Magic in his feet". London: The Independent. สืบค้นเมื่อ 7 April 2010.
  17. Veiga, Gustavo. "Los intereses de Messi" (ภาษาSpanish). Página/12. สืบค้นเมื่อ 31 May 2009.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  18. 18.0 18.1 18.2 Hawkey, Ian (20 April 2008). "Lionel Messi on a mission". London: Times Online. สืบค้นเมื่อ 30 May 2009.
  19. Aguilar, Alexander (24 February 2006). "El origen de los Messi está en Italia" (ภาษาSpanish). Al Día. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  20. Cubero, Cristina (7 October 2005). "Las raíces italianas de Leo Messi" (ภาษาSpanish). El Mundo Deportivo. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  21. "Lionel Messi bio". NBC. สืบค้นเมื่อ 30 May 2009.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 Williams, Richard (26 February 2006). "Messi has all the qualities to take world by storm". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 3 May 2008.
  23. White, Duncan (4 April 2009). "Franck Ribery the man to challenge Lionel Messi and Barcelona". London: Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  24. 24.0 24.1 "The new messiah". FIFA. 5 March 2006. สืบค้นเมื่อ 25 July 2006.
  25. "Maxi afirma que Messi deve vir ao Brasil para vê-lo jogar" (ภาษาPortuguese). Último Segundo. 20 August 2007. สืบค้นเมื่อ 3 November 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  26. Mayer, Claudius (20 October 2009). "Hört mir auf mit Messi!" (ภาษาGerman). TZ Online. สืบค้นเมื่อ 3 November 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  27. 27.0 27.1 "Lionel Andres Messi — FCBarcelona and Argentina". Football Database. สืบค้นเมื่อ 23 August 2006.
  28. Tutton, Mark and Duke, Greg (22 May 2009). "Profile: Lionel Messi". CNN. สืบค้นเมื่อ 30 May 2009.{{cite news}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  29. "Meteoric rise in three years". fcbarcelona.com. สืบค้นเมื่อ 3 May 2008.
  30. Nogueras, Sergi (21 October 2007). "Krkic enters the record books". fcbarcelona.cat. สืบค้นเมื่อ 16 July 2009.
  31. "Messi: "Rijkaard gave us more freedom"". soccerway.com. 10 December 2009.
  32. "Good news for Barcelona as Messi gets his Spanish passport". The Star Online. 28 May 2005. สืบค้นเมื่อ 29 May 2009.
  33. Reuters (28 September 2005). "Ronaldinho scores the goals, Messi takes the plaudits". Rediff. สืบค้นเมื่อ 23 August 2006.
  34. "Frustrated Messi suffers another injury setback". ESPN Soccernet. 26 April 2006. สืบค้นเมื่อ 22 July 2006.
  35. "Frustrated Messi suffers another injury setback". ESPN Soccernet. 26 April 2006. สืบค้นเมื่อ 22 July 2006.
  36. Wallace, Sam (18 May 2006). "Arsenal 1 Barcelona 2: Barcelona crush heroic Arsenal in space of four brutal minutes". London: The Independent. สืบค้นเมื่อ 3 June 2009.
  37. "Barca retain Spanish league title". BBC Sport. 3 May 2006. สืบค้นเมื่อ 3 June 2009.
  38. "Lionel Messi at National Football Teams". National Football Teams. สืบค้นเมื่อ 17 July 2009.
  39. "Doctors happy with Messi op" (Press release). FCBarcelona.com. 14 November 2006. สืบค้นเมื่อ 16 November 2006.
  40. "Messi to miss FIFA Club World Cup". FIFA.com/Reuters. 13 November 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2007. สืบค้นเมื่อ 18 January 2006.
  41. "Barcelona — Racing Santander". The Offside. 19 January 2008. สืบค้นเมื่อ 30 May 2009.
  42. Hayward, Ben (11 March 2007). "Magical Messi is Barcelona's hero". London: The Independent. สืบค้นเมื่อ 30 May 2009.
  43. "Inter beat AC, Messi headlines derby". FIFA. 11 March 2007. สืบค้นเมื่อ 30 May 2009.
  44. "Lionel Messi 2006/07 season statistics". ESPN Soccernet. สืบค้นเมื่อ 3 June 2009.
  45. 45.0 45.1 Lowe, Sid (20 April 2007). "The greatest goal ever?". London: Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  46. "Messi dazzles as Barça reach Copa Final". ESPN Soccernet. 18 April 2007.
  47. "Can 'Messidona' beat Maradona?". The Hindu. 14 July 2007.
  48. Lowe, Sid (20 April 2007). "The greatest goal ever?". London: Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 7 May 2007.
  49. 49.0 49.1 Mitten, Andy (10 June 2007). "Hand of Messi saves Barcelona". London: Times Online. สืบค้นเมื่อ 12 January 2008.
  50. "Barcelona 3–0 Lyon: Messi orchestrates win". ESPN Soccernet. 19 September 2007. สืบค้นเมื่อ 27 May 2009.
  51. "Barcelona vs. Sevilla". Soccerway. 22 September 2007. สืบค้นเมื่อ 29 May 2009.
  52. Isaiah (26 September 2007). "Barcelona 4–1 Zaragoza". The Offside. สืบค้นเมื่อ 27 May 2009.
  53. FIFA (27 February 2008). "Xavi late show saves Barca". FIFA. สืบค้นเมื่อ 27 May 2009.
  54. "FIFPro World XI". FIFPro. สืบค้นเมื่อ 30 May 2009.
  55. Villalobos, Fran (10 April 2007). "El fútbol a sus pies" (ภาษาSpanish). MARCA. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  56. Fest, Leandro. "Si Messi sigue trabajando así, será como Maradona y Pelé" (ภาษาSpanish). Sport.es. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  57. "Totti le daría el Balón de Oro a Messi antes que a Kaká" (ภาษาSpanish). MARCA. 29 November 2007. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  58. "Barcelona's Lionel Messi sidelined with thigh injury". CBC.ca. 5 March 2008. สืบค้นเมื่อ 14 June 2009.
  59. Sica, Gregory (4 August 2008). "Messi Inherits Ronaldinho's No. 10 Shirt". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 2 June 2009.
  60. "Late Messi brace nicks it". ESPN Soccernet. 1 October 2008. สืบค้นเมื่อ 29 May 2009.
  61. Osaghae, Efosa (4 October 2008). "Barcelona 6–1 Atletico Madrid". Bleacher Report. สืบค้นเมื่อ 31 May 2009.
  62. "Goal rush for Barcelona". ESPN Soccernet. 4 October 2008. สืบค้นเมื่อ 31 May 2009.
  63. "Messi magical, Real miserable". FIFA. 29 November 2008. สืบค้นเมื่อ 2 June 2009.
  64. "Barcelona 2–0 Real Madrid". BBC Sport. 13 December 2008. สืบค้นเมื่อ 29 May 2009.
  65. "Messi scores hat trick in Barca's 3–1 win over Atletico". Shanghai Daily. 7 January 2009. สืบค้นเมื่อ 29 May 2009.
  66. "Supersub Messi fires 5,000-goal Barcelona to comeback victory". AFP. 1 February 2009. สืบค้นเมื่อ 1 February 2009.
  67. "Barcelona hit Malaga for six". Al Jazeera English. 23 March 2009. สืบค้นเมื่อ 2 June 2009.
  68. Logothetis, Paul (9 April 2009). "Barcelona returns to earth with league match". USA Today. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  69. "Messi leads Barcelona to 1–0 win over Getafe". Shanghai Daily. 19 April 2009. สืบค้นเมื่อ 2 June 2009.
  70. Lowe, Sid (2 May 2009). "Barcelona run riot at Real Madrid and put Chelsea on notice". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 31 May 2009.
  71. Macdonald, Paul (3 May 2009). "Real Madrid Fan Poll Says Barcelona Loss Is Most Painful In Club History". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 31 May 2009.
  72. Macdonald, Ewan (2 May 2009). "What Lionel Messi's T-Shirt At The Bernabeu Meant". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 2 June 2009.
  73. "Barcelona defeat Athletic Bilbao to win Copa del Rey". London: Daily Telegraph. 14 May 2009. สืบค้นเมื่อ 28 May 2009.
  74. "Messi sweeps up goalscoring honours". uefa.com. 27 May 2009. สืบค้นเมื่อ 4 June 2009.
  75. "Messi recognised as Europe's finest". uefa.com. 27 August 2009. สืบค้นเมื่อ 30 August 2009.
  76. "Barcelona win treble in style". Gulf Daily News. 28 May 2009. สืบค้นเมื่อ 28 May 2009.
  77. "BBC Sport – Football – Arsene Wenger hails Lionel Messi as world's best player". BBC News. 7 April 2010. สืบค้นเมื่อ 12 April 2010.
  78. John Cross (6 April 2010). "Unstoppable Lionel Messi is like a PlayStation, says Aresnal boss Arsene Wenger after Barcelona Champions League masterclass". Mirrorfootball.co.uk. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.
  79. "'Messi es el mejor jugador que veré jamás'" (ภาษาSpanish). El Mundo Deportivo. 29 August 2009. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  80. "Leo Messi extends his stay at Barça". fcbarcelona.com. 18 September 2009. สืบค้นเมื่อ 18 September 2009.
  81. "Messi signs new deal at Barcelona". BBC Sport. 18 September 2009. สืบค้นเมื่อ 18 September 2009.
  82. "Messi and Ibrahimovic put Racing to the sword". ESPN Soccernet. 22 September 2009. สืบค้นเมื่อ 23 September 2009.
  83. Leong, KS (29 September 2009). "Barcelona 2–0 Dynamo Kiev: Messi & Pedro Unlock Stubborn Ukrainians". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 3 October 2009.
  84. "Xavi: All is well at Barca". ESPN Soccernet. 26 October 2009. สืบค้นเมื่อ 28 November 2009.
  85. "Barcelona forward Lionel Messi wins Ballon d'Or award". BBC Sport. 1 December 2009. สืบค้นเมื่อ 1 December 2009.
  86. "Messi wins prestigious Ballon d'Or award". ABC Sport. 1 December 2009. สืบค้นเมื่อ 10 December 2009.
  87. Barnett, Phil (1 December 2009). "Lionel Messi: A rare talent". London: The Independent. สืบค้นเมื่อ 10 December 2009.
  88. "Messi takes Ballon d'Or". ESPN Soccernet. 1 December 2009. สืบค้นเมื่อ 10 December 2009.
  89. "Messi seals number six". ESPN Soccernet. 19 December 2009. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  90. "FC Barcelona's Messi wins World Player of the Year". ESPN Soccernet. 21 December 2009. สืบค้นเมื่อ 22 December 2009.
  91. "Tenerife 0–5 Barcelona: Messi Masterclass Sees Barca Back On Top". Goal.com. 10 January 2010. สืบค้นเมื่อ 11 January 2010.
  92. Bogunyà, Roger (17 January 2010). "Messi 101: el golejador centenari més jove" (ภาษาCatalan). fcbarcelona.cat. สืบค้นเมื่อ 17 January 2010.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  93. "Barcelona back on top after 2–1 win over Malaga". DNA India. 28 February 2010. สืบค้นเมื่อ 8 November 2010.
  94. "Almeria 2–2 Barcelona: Blaugrana Drop More Points At La Liga Summit". goal.com. 6 March 210. สืบค้นเมื่อ 8 November 2010.
  95. Hedgecoe, Guy (14 March 2010). "Messi hat-trick as Barcelona beats Valencia 3–0". si.com. สืบค้นเมื่อ 8 November 2010.
  96. "Messi inspires Barca". 18 March 2010. สืบค้นเมื่อ 18 March 2010.
  97. Steinberg, Jacob (21 March 2010). "Real Zaragoza 2 – 4 Barcelona". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 22 March 2010.
  98. "Nadie marcó dos 'hat trick' seguidos" (ภาษาSpanish). 23 March 2010. สืบค้นเมื่อ 23 March 2010.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  99. "Match facts: Barcelona v Inter". UEFA.com. 25 April 2010. สืบค้นเมื่อ 8 November 2010.
  100. Logothetis, Paul (6 April 2010). "Messi scores four as Barcelona beats Arsenal 4–1". USA Today. สืบค้นเมื่อ 8 November 2010.
  101. "Wenger salutes genius Messi after Barcelona down Arsenal 4–1]". India Times. 6 April 2010. สืบค้นเมื่อ 8 November 2010.
  102. "Messi scores 4 goals to lead Barca over Arsenal". NDTV. 7 April 2010. สืบค้นเมื่อ 8 November 2010.
  103. Roach, Stuart (6 April 2010). "Barcelona 4–1 Arsenal". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 6 April 2010.
  104. Sinnott, John (10 April 2010). "BBC Sport – Football – Barcelona secure crucial win over rivals Real Madrid". BBC News. สืบค้นเมื่อ 12 April 2010.
  105. "Messi double puts Barcelona back on track". London: Guardian. 21 April 2008. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  106. Spain (4 May 2010). "Barcelona 4–1 Tenerife: Blaugrana Go Four Points Clear Of Real Madrid With Home Win". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  107. Reuters (9 May 2010). "Barcelona survive late Sevilla scare to edge closer to La Liga title". London: Guardian. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  108. Spain (4 May 2010). "Barcelona Striker Lionel Messi Could Equal Ronaldo's 34 Goal Haul In Primera Liga". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  109. "Lionel Messi Chases Ronaldo's Goal Record". Bleacher Report. 14 April 2010. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  110. "Messi Peroleh Gelar El Pichichi Dan Sepatu Emas". berita8.com. 17 May 2010. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  111. "Messi se corona como el mejor jugador de la Liga". marca.com. 3 June 2010. สืบค้นเมื่อ 3 June 2010.
  112. Barcelona 4–0 "Sevilla: Brilliant Blaugrana Outclass Rojiblancos To Lift Supercopa". Goal.com. 22 August 2010. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  113. "Messi injured". FCBarcelona.cat. 20 September 2010. สืบค้นเมื่อ 22 September 2010.
  114. "Villa on Messi's injury". FCBarcelona.cat. 20 September 2010. สืบค้นเมื่อ 22 September 2010.
  115. Barcelona 2–0 "Champions: Messi pone al Barcelona como líder de su grupo (2–0)". Goal.com. 20 October 2010. สืบค้นเมื่อ 20 October 2010. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  116. "Liga BBVA: Un gol de Messi encarriló el camino a la victoria para los azulgrana en el Coliseo". Goal.com. 7 November 2010. สืบค้นเมื่อ 7 November 2010.
  117. "Jornada 12 – UD Almería 0-8 FC Barcelona". www.entradasfcbarcelona.com. 20 November 2010. สืบค้นเมื่อ 22 November 2010.
  118. "El Barça pasa a octavos... ¡y ahora, a por el Madrid!". www.sport.es. 24 November 2010. สืบค้นเมื่อ 24 November 2010.
  119. "El Barça humilla al Madrid con otra 'manita' histórica". www.sport.es. 29 November 2010. สืบค้นเมื่อ 29 November 2010.
  120. "El Barça, sin bajar del autocar". www.sport.es. 4 December 2010. สืบค้นเมื่อ 4 December 2010.
  121. "De manita en manita se va a por la Liga". www.sport.es. 12 December 2010. สืบค้นเมื่อ 12 December 2010.
  122. "Messi, 17 goles y 9 asistencias". www.sport.es. 19 December 2010. สืบค้นเมื่อ 19 December 2010.
  123. "Otro recital de campeón". www.sport.es. 8 January 2011. สืบค้นเมื่อ 9 January 2011.
  124. "Lionel Messi wins the first FIFA Ballon d'Or". 10 January 2011. สืบค้นเมื่อ 10 January 2011.
  125. "Argentina's Lionel Messi wins Fifa Ballon d'Or award". BBC News. 10 January 2011. สืบค้นเมื่อ 10 January 2011.
  126. "'Manita' de oro". 12 January 2011. สืบค้นเมื่อ 13 January 2011.
  127. "El Barça golea al Racing y mete más presión al Madrid". 22 January 2011. สืบค้นเมื่อ 22 January 2011.
  128. "Lionel Messi Fined For Wishing Mother Happy Birthday". 26 January 2011. สืบค้นเมื่อ 26 January 2011.
  129. "'Manita' de goles y un pie en la final". 26 January 2011. สืบค้นเมื่อ 26 January 2011.
  130. "Hércules sufrió la ira de los Dioses". 29 January 2011. สืบค้นเมื่อ 29 January 2011.
  131. "Barça set 16 wins consecutive league wins" (ภาษาSpanish). MARCA.com. 5 February 2011. สืบค้นเมื่อ 5 February 2011.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  132. "Messi talks about the record" (ภาษาSpanish). MARCA.com. 5 February 2011. สืบค้นเมื่อ 5 February 2011.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  133. "Messi saca al Barça de la boca de los 'leones'". 20 February 2011. สืบค้นเมื่อ 21 February 2011.
  134. "El Barça desactiva el 'efecto Laudrup'". 27 February 2011. สืบค้นเมื่อ 27 February 2011.
  135. "El Barça prende la mecha de la Liga en Mestalla". 2 March 2011. สืบค้นเมื่อ 2 March 2011.
  136. "FC Barcelona Vs. Arsenal 2011: Lionel Messi Penalty Puts Barca Ahead - SBNation.com". สืบค้นเมื่อ 8 March 2011.
  137. "Messi desatascó al Barça antes del clásico". สืบค้นเมื่อ 9 April 2011.
  138. "Trámite resuelto y ahora... ¡a por el Madrid!". สืบค้นเมื่อ 13 April 2011.
  139. "Un punto que vale una Liga". สืบค้นเมื่อ 16 April 2011.
  140. "Messi es el "puto amo"". สืบค้นเมื่อ 27 April 2011.
  141. Lowe, Sid (5 May 2011). "The Good, the Bad and the Ugly in the aftermath of the Clásico series". sportsillustrated.cnn.com. สืบค้นเมื่อ 6 May 2011.
  142. "Barcelona 3 Manchester United 1". BBC Sport. 28 May 2011. สืบค้นเมื่อ 30 May 2011.
  143. "Messi salvó al fútbol". Sport.es. 17 August 2011. สืบค้นเมื่อ 17 August 2011.
  144. "Súper Messi da la Supercopa al Barça". Sport.es. 26 August 2011. สืบค้นเมื่อ 26 August 2011.
  145. "Liga Champions: new and improved version". fcbarcelona.cat. 29 August 2011. สืบค้นเมื่อ 29 August 2011.
  146. "Super 8 (8-0)". fcbarcelona.cat. 17 September 2011. สืบค้นเมื่อ 17 September 2011.
  147. "Esta Liga no es de dos sino de Messi". Sport.es. 25 September 2011. สืบค้นเมื่อ 25 September 2011.
  148. "El Barça se aficiona a las 'manitas'". Sport.es. 28 September 2011. สืบค้นเมื่อ 28 September 2011.
  149. "Messi iguala a Kubala y afirma que sería "hermoso" superar a César". Sport.es. 28 September 2011. สืบค้นเมื่อ 28 September 2011.
  150. "El Barça consolida su liderato con otro recital de Messi". Sport.es. 16 October 2011. สืบค้นเมื่อ 16 October 2011.
  151. "1, 2, 3... Messi responde otra vez". Sport.es. 29 October 2011. สืบค้นเมื่อ 29 October 2011.
  152. "Messi es infalible: hat trick... ¡y a octavos!". Sport.es. 1 November 2011. สืบค้นเมื่อ 1 November 2011.
  153. "El 'rey león' Messi salvó un punto". Sport.es. 6 November 2011. สืบค้นเมื่อ 6 November 2011.
  154. "El Barça se vacuna del virus FIFA con goleada". Sport.es. 20 November 2011. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
  155. "Victoria de campeón del Barça en San Siro". Sport.es. 23 November 2011. สืบค้นเมื่อ 23 November 2011.
  156. "Alexis maravilla y el Barça golea". Sport.es. 29 November 2011. สืบค้นเมื่อ 29 November 2011.
  157. "El huracán Barça engulle al Levante antes del Clásico". Sport.es. 3 December 2011. สืบค้นเมื่อ 3 December 2011.
  158. "Lionel Messi Bio, Stats, News – Football / Soccer – – ESPN Soccernet". ESPN Soccernet. สืบค้นเมื่อ 26 November 2010.
  159. "Lionel Messi Bio, Stats, News – Football / Soccer – – ESPN Soccernet". ESPN Soccernet. สืบค้นเมื่อ 26 November 2010.
  160. "Barcelona 5–3 Granada: Messi breaks club goalscoring record as gap at top of La Liga is reduced to five points". Goal.com. 20 March 2012. สืบค้นเมื่อ 20 March 2012.
  161. Marca.com>
  162. "Lionel Messi Biography". Lionelmessi.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 August 2008. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  163. "FIFA World Youth Championship Netherlands 2005". FIFA. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  164. Vickery, Tim (22 August 2005). "Messi handles 'new Maradona' tag". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  165. "Argentine striker Messi recalled for World Cup qualifier". People's Daily Online. 20 August 2005. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  166. "Messi tries again as Argentina face Paraguay". ESPN Soccernet. 2 September 2005. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  167. Homewood, Brian (10 October 2005). "Messi is a jewel says Argentina coach". Rediff. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  168. "Argentina 4–0 Venezuela: Messi the star turn". Allaboutfcbarcelona.com. 28 March 2009. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  169. "Magic Messi leads Argentina over Brazil". lionel-messi.co.uk. 17 November 2010. สืบค้นเมื่อ 19 November 2010.
  170. Vickery, Tim (5 June 2006). "Messi comes of age". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  171. "Argentina allay fears over Messi". BBC Sport. 30 May 2006. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  172. "Messi weiter auf der Bank" (ภาษาGerman). Kicker.de. 13 June 2006. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  173. "Argentina 6–0 Serbia & Montenegro". BBC Sport. 16 June 2006. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  174. "Holland 0–0 Argentina". BBC Sport. 21 June 2006. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  175. Walker, Michael (26 June 2006). "Rodríguez finds an answer but many questions still remain". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  176. "Argentina 2–1 Mexico (aet)". BBC Sport. 24 June 2006. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  177. "Germany 1–1 Argentina". BBC Sport. 30 June 2006. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  178. "Tevez Nets In Argentina Victory". BBC Sport. 29 June 2007. สืบค้นเมื่อ 11 October 2008.
  179. "Argentina into last eight of Copa". BBC Sport. 3 July 2007. สืบค้นเมื่อ 11 October 2008.
  180. "Argentina-Paraguay". Conmebol. 5 July 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2007. สืบค้นเมื่อ 28 May 2009.
  181. "Argentina and Mexico reach semis". BBC Sport. 9 July 2007. สืบค้นเมื่อ 11 October 2008.
  182. "Messi's Magic Goal". BBC Sport. 12 July 2007. สืบค้นเมื่อ 11 October 2008.
  183. "Brazil victorious in Copa America". BBC Sport. 16 July 2007. สืบค้นเมื่อ 28 May 2009.
  184. "Lionel Messi out of Olympics after Barcelona win court appeal against Fifa". London: Daily Telegraph. 6 August 2008. สืบค้นเมื่อ 27 May 2009.
  185. 185.0 185.1 "Barcelona give Messi Olympics thumbs-up". AFP. 7 August 2008. สืบค้นเมื่อ 27 May 2009.
  186. "Messi sets up Brazil semi". FIFA. 16 August 2008. สืบค้นเมื่อ 27 May 2009.
  187. Millward, Robert (23 August 2008). "Argentina beats Nigeria 1–0 for Olympic gold". USA Today. สืบค้นเมื่อ 27 May 2009.
  188. Chadband, Ian (12 June 2010). "Argentina 1 Nigeria 0: match report". London: Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 12 June 2010.
  189. Chadband, Ian (17 June 2010). "Argentina 4 South Korea 1: match report". London: Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 17 June 2010.
  190. Smith, Rory (22 June 2010). "Greece 0 Argentina 2: match report". London: Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 22 June 2010.
  191. Chadband, Ian (27 June 2010). "Argentina 3 Mexico 1: match report". London: Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 27 June 2010.
  192. White, Duncan (3 July 2010). "Argentina 0 Germany 4: match report". London: Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 3 July 2010.
  193. "Lionel me prometió venir a mi cumple de quince después del Mundial" (ภาษาSpanish). Gente Online. สืบค้นเมื่อ 18 June 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  194. "Aún le mueve el tapete a Messi" (ภาษาSpanish). El Universal. 19 June 2008. สืบค้นเมื่อ 18 June 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) [ลิงก์เสีย]
  195. "Luciana Salazar y Messi serían pareja" (ภาษาSpanish). Crónica Viva. 19 June 2008. สืบค้นเมื่อ 18 June 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) [ลิงก์เสีย]
  196. 196.0 196.1 "Messi y Antonella pasean por el Carnaval de Sitges su noviazgo". El Periódico de Catalunya (ภาษาSpanish). 25 February 2009. สืบค้นเมื่อ 18 June 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) [ลิงก์เสีย]
  197. "Messi, a dicembre... sogni d'oro" (ภาษาItalian). Calcio Mercato News. 21 April 2009. สืบค้นเมื่อ 13 July 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  198. "La verdad sobre la nueva novia de Messi" (ภาษาSpanish). Taringa. 24 February 2009. สืบค้นเมื่อ 18 June 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  199. "Maxi afirma que Messi deve vir ao Brasil para vê-lo jogar" (ภาษาPortuguese). Último Segundo. 20 August 2007. สืบค้นเมื่อ 3 November 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  200. Mayer, Claudius (20 October 2009). "Hört mir auf mit Messi!" (ภาษาGerman). TZ Online. สืบค้นเมื่อ 3 November 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  201. "Fundación Leo Messi – Nuestra Fundación". Fundacíon Leo Messi. สืบค้นเมื่อ 7 June 2010.
  202. "Fundación Leo Messi – Home". Fundacíon Leo Messi. สืบค้นเมื่อ 7 June 2010.
  203. "Entrevistas – Lionel Messi" (ภาษาSpanish). Leo-messi.net. สืบค้นเมื่อ 7 June 2010. El hecho de ser en estos momentos un poco famoso me da la oportunidad de ayudar a la gente que en realidad lo necesita, en especial los niños{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  204. "Foundation Lionel Messi". En.leo-messi.net. สืบค้นเมื่อ 7 June 2010.
  205. "UNICEF to announce Lionel Messi as Goodwill Ambassador". Press centre. UNICEF. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
  206. "Press centre – UNICEF to announce Lionel Messi as Goodwill Ambassador". UNICEF. สืบค้นเมื่อ 7 June 2010.
  207. "Messi". PES Unites. สืบค้นเมื่อ 9 June 2009.
  208. Orry, James (23 June 2009). "Torres signs for PES 2010". Videogamer.com. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  209. "Motions and Emotions in Barcelona". Konami. 8 June 2009. สืบค้นเมื่อ 9 June 2009.
  210. "E3 2009: PES 2010: Messi fronts exclusive E3 trailer". Konami. 2 June 2009. สืบค้นเมื่อ 9 June 2009.
  211. "MOTD magazine crew meet Messi in Barcelona". PESFan (Match of the Day Magazine). สืบค้นเมื่อ 18 June 2009.
  212. "Watch Zinedine Zidane and Lionel Messi in Adidas ad". London: The Guardian. 27 May 2009. สืบค้นเมื่อ 16 August 2009.
  213. "Herbalife Becomes New Sponsor". 2 June 2010. สืบค้นเมื่อ 7 June 2010.
  214. 101 "'Pichichi' y centenario" (ภาษาSpanish). elmundodeportivo. สืบค้นเมื่อ 17 January 2010. {{cite news}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  215. "Player – Lionel Messi". National Football Teams. สืบค้นเมื่อ 29 June 2010.
  216. "Lionel Andrés Messi – Goals in International Matches". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 2 February 2011.
  217. "Lionel Messi". FIFA.com. สืบค้นเมื่อ 2 February 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link FA