ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Escarbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: jv:Borussia Dortmund
SassoBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: bar:Borussia Dortmund, ms:Borussia Dortmund
บรรทัด 219: บรรทัด 219:
[[ar:بوروسيا دورتموند]]
[[ar:بوروسيا دورتموند]]
[[az:Borussiya (futbol klubu, Dortmund)]]
[[az:Borussiya (futbol klubu, Dortmund)]]
[[bar:Borussia Dortmund]]
[[be-x-old:Барусія Дортмунд]]
[[be-x-old:Барусія Дортмунд]]
[[bg:БШ Борусия 09 (Дортмунд)]]
[[bg:БШ Борусия 09 (Дортмунд)]]
บรรทัด 254: บรรทัด 255:
[[mk:ФК Борусија Дортмунд]]
[[mk:ФК Борусија Дортмунд]]
[[mr:बोरूस्सिया डोर्टमुंड]]
[[mr:बोरूस्सिया डोर्टमुंड]]
[[ms:Borussia Dortmund]]
[[nds:Borussia Düörpm]]
[[nds:Borussia Düörpm]]
[[nl:Borussia Dortmund]]
[[nl:Borussia Dortmund]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:51, 6 มกราคม 2556

โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์
สัญลักษณ์ของสโมสร
ชื่อเต็มBallspiel-Verein Borussia 1909 e. V. Dortmund
ฉายาBVB หรือ เสือเหลือง
ก่อตั้ง19 ธันวาคม ค.ศ. 1909
สนามเวสท์ฟาเลนสเตชัน
Ground ความจุ80,720 คน[1][2]
ประธานเยอรมนี เรอินฮาร์ด ราอูบอลล์
ผู้จัดการเยอรมนี เยือร์เกิน คลอพพ์
ลีกบุนเดสลีกา
2011-12อันดับ 1
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรฟุตบอลโบรุสเซียดอร์ทมุนด์ (เยอรมัน: BV Borussia Dortmund) เป็นสโมสรฟุตบอลของประเทศเยอรมนี ประจำเมืองดอร์ทมุนด์ในรัฐนอร์ดไรน์-เวสต์ฟาเลน ปัจจุบันเล่นอยู่ในบุนเดสลีกา ลีกสูงสุดของ ประเทศเยอรมนี

ประวัติ

โบรุสเซียดอร์ทมุนด์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1909 โดยกลุ่มคนหนุ่มที่ไม่พอใจในสโมสรฟุตบอล Trinity Youth ของโบสถ์ประจำเมือง ชื่อ "โบรุสเซีย" (Borussia) นั้นมาจากภาษาละตินที่หมายถึงปรัสเซีย ช่วงแรกทีมใช้ชุดสีฟ้าขาว ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้สีเหลืองดำใน ค.ศ. 1913

ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สโมสรเข้าเล่นใน Oberliga West ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของเยอรมนีตะวันตกในช่วงนั้น และประสบความสำเร็จเป็นแชมป์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1956 สโมสรกลายเป็นคู่แข่งที่สำคัญของสโมสรฟุตบอลชาลเก้ 04 ซึ่งอยู่ในเมืองใกล้เคียงกัน

เมื่อเดเอฟเบหรือสมาพันธ์ฟุตบอลเยอรมนี ก่อตั้งบุนเดสลีกาเป็นลีกสูงสุด สโมสรได้รับการเสนอชื่อให้ร่วมแข่งขัน และนักเตะของสโมสรคือ Timo Konietzka ได้เป็นนักฟุตบอลที่ยิงประตูในบุนเดสลีกาเป็นคนแรก ในเกมที่แพ้ 2:3 ต่อแวร์เดอร์ เบรเมน

ดอร์ทมุนด์ชนะเยอรมันคัพเป็นครั้งแรกในปี 1965 และชนะ ยูฟ่า คัพ วินเนอร์ส คัพ ในปีถัดมา พอ ค.ศ. 1972 สโมสรตกชั้นไปเล่นในลีกาสอง ก่อนจะกลับขึ้นมาใหม่ใน ค.ศ. 1976 ช่วงนี้สโมสรได้สร้างสนามใหม่คือเวสท์ฟาเลนสเตชัน ซึ่งแล้วเสร็จในปีค.ศ. 1974

สโมสรกลับมาเริ่มประสบความสำเร็จอีกครั้งในยุค 90 เริ่มจากเข้าชิงยูฟ่า คัพในปี ค.ศ. 1993 (แต่แพ้ให้สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส 7-1) ได้แชมป์บุนเดสลีกา 2 ปีติดกันใน ค.ศ. 1995-1996 และได้แชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ประจำปี ค.ศ.​1997 โดยเอาชนะยูเวนตุส 3-1 หลังจากนั้นได้เว้นช่วงอีกระยะและได้แชมป์บุนเดสลีกาในปี 2002

โบรุสเซียดอร์ทมุนด์เป็นสโมสรฟุตบอลแห่งแรกและแห่งเดียวของเยอรมนีที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่หลังจากแพ้ในรอบชิงชนะเลิศยูฟ่า คัพ ปี 2002 สโมสรก็ประสบปัญหาทางการเงิน จนต้องขายสนามเวสท์ฟาเลนสเตเดียม โดยทีมใช้วิธีเช่าสนามจากเจ้าของใหม่ ซึ่งเปลี่ยนชื่อสนามเป็น ซิกนัล อิดูนา พาร์ค สโมสรเริ่มตกต่ำในบุนเดสลีกาฤดูกาล 2005-06 ก่อนจบด้วยอันดับ 7 ในฤดูกาลถัดมาคือ 2006-2007 สโมสรต้องเผชิญสถานกาณ์หนีตกชั้นครั้งแรกในรอบหลายปี ได้เปลี่ยนผู้จัดการทีมถึงสามครั้งก่อนจบฤดูกาลด้วยอันดับ 10

ในปี 2011 โบรุสเซียดอร์ทมุนด์ก็สามารถกลับมาคว้าแชมป์บุนเดสลีกาภายใต้การนำของ เยือร์เกิน คลอพพ์ ซึ่งทำให้สาวกแฟนเสือเหลือง โบรุสเซียดอร์ทมุนด์ จำนวนกว่า 400,000 คน ออกมาร่วมเฉลิมฉลองตำแหน่งแชมป์บุนเดสลีกา หรือแชมป์ลีกฟุตบอลเยอรมัน ฤดูกาล 2010 - 2011 กับบรรดานักเตะและ เยือร์เกิน คลอพพ์ เฮ้ดโค้ชที่นำความสำเร็จมาสู่ทีมหลังต้องรอคอยมาอย่างยาวนานกว่า 9 ปี ในปี 2011-2012 โบรุสเซียดอร์ทมุนด์ก็สามารถป้องกันแชมป์บุนเดสลีกาได้สำเร็จพร้อมทั่งทุบสถิติเป็นทีมที่เก็บแต้มสูงสุดในฤดูกาลเดียวของลีกเมืองเบียร์ 81 คะแนน ทำลายสถิติเดิม 79 แต้มที่ บาเยิร์น มิวนิค ทำไว้ในฤดูกาล 1971-1972 (คิดเทียบแบบผู้ชนะได้ 3 แต้มเช่นเดียวกับปัจจุบัน) และเท่านั่นยังไม่พอโบรุสเซียดอร์ทมุนด์ก็สามารถคว้าแชมป์เดเอฟเบโพคาล หลังจากที่สามาถเอาชนะบาเยิร์น มิวนิค ไปด้วยสกอร์ 5-2 คว้าดับเบิ้ลแชมป์ไปในที่สุด

ชุดและสปอนเซอร์ที่ใช้

ชุดแข่ง

สปอนเซอร์บนเสื้อ

  • 1974–1976: เมืองดอร์ทมุนด์
  • 1976–1978: Samson (ยาสูบ)
  • 1978–1980: Prestolith (สีและกำจัดสารเคลือบเงา)
  • 1980–1983: UHU (กาว)
  • 1983–1986: Artic (ไอศกรีม)
  • 1986–1997: Die Continentale (การประกันสุขภาพ)
  • 1997–1999: s.Oliver (เครื่องแต่งกาย)
  • 1999–2005: E.ON (พลังงาน)
  • 2006–ปัจจุบัน: Evonik (สารเคมีพลังงานและอสังหาริมทรัพย์)

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK เยอรมนี โรมัน เวเดนเฟลเลอร์ (รองกัปตันทีม)
3 DF เยอรมนี มาร์ซ ฮอร์นสฮัช
4 DF เซอร์เบีย เนเวน ซูโบติช
5 MF เยอรมนี เซบาสเตียน เคห์ล (กัปตันทีม)
6 MF เยอรมนี สเวน เบนเดอร์
7 MF เยอรมนี โมลิทซ์ ไลท์เนอร์
8 MF เยอรมนี อิลคาย กุนโดแกน
9 FW โปแลนด์ โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี
10 MF เยอรมนี มารีโอ เกิทเซอ
11 FW เยอรมนี มาร์โก รอยซ์
14 MF โครเอเชีย อีวาน เปริซิส
15 DF เยอรมนี แมทซ์ ฮุมเมลส์
16 MF โปแลนด์ ยากุบ บวัชชือกอฟสกี
19 MF เยอรมนี เควิน กรอซครอยซ์
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
20 GK ออสเตรเลีย มิตเชล แลนเกอร์รัค
21 MF เยอรมนี โอลิเวอร์ คริช
22 DF เยอรมนี แพทตริก โอโวโมเยลา
23 FW เยอรมนี จูเลียน ซ๊เบอร์
24 DF เยอรมนี คริช เลิฟ
26 DF โปแลนด์ ลูคัสซ์ พิสซ์เซ็ค
27 DF บราซิล เฟลิเป้ ซานตานา
28 MF ออสเตรเลีย มัสตาฟา อามินิ
29 DF เยอรมนี มาร์เซล ชเมลเซอร์
30 DF เยอรมนี โคเรย์ กันเทอร์
31 MF เยอรมนี มาร์วิน บาคาร์ลอซส์
32 MF เยอรมนี ลีโอนาลโด บิตเทนคอร์ท
33 GK เยอรมนี ซลาตัน อัลโอเมอร์โมวิช
34 FW เยอรมนี มาร์วิน ดักซ์สเคด

สตาฟโค้ชปัจจุบัน

เยือร์เกิน คลอพพ์ ผู้จัดการทีมคนปัจจุบัน
ตำแหน่ง ชื่อ
ผู้จัดการทีม เยอรมนี เยือร์เกิน คลอพพ์
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เชลเจโก บูวาซ
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน เยอรมนี เปเตอร์ คราวิเอทซ์
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู เยอรมนี โวล์ฟกังค์ เด เบียร์
ผู้ฝึกสอนด้านฟิตเนส อังกฤษ โอลิเวอร์ บาร์ตเลตต์
ผู้ฝึกสอนด้านฟิตเนส เยอรมนี ฟรอริอัน วังค์เลอร์
นักกายภาพบำบัด เยอรมนี เปเตอร์ คันหต์
นักกายภาพบำบัด เยอรมนี ทอร์เบิน โวเอสเต
นักกายภาพบำบัด เยอรมนี ไมเคิล เวนเซิล
นักกายภาพบำบัด เยอรมนี โทมัส เซตซ์แมนน์
แพทย์ประจำสโมสร เยอรมนี ด็อกเตอร์ มาร์คัส บราอัน
หัวหน้าผู้สรรหานักเตะ เยอรมนี สเวน มิสลินแทต
หัวหน้านักกีฬา เยอรมนี ไมเคิล ซอร์ก
หัวหน้าของการพัฒนาเด็กและเยาวชน เยอรมนี ลาร์ส ริกเคน
ผู้เข้าร่วมประชุมแฟน เยอรมนี ซิกฟริเอด เฮลด์

เกียรติประวัติ

ระดับประเทศ

ชนะเลิศ (8): 1955–56, 1956–57, 1962–63, 1994–95, 1995–96, 2001–02, 2010–11, 2011–12
รองชนะเลิศ (4): 1948–49, 1960–61, 1965–66, 1991–92
ชนะเลิศ (3): 1964–65, 1988–89, 2011–12
รองชนะเลิศ (2): 1962–63, 2007–08
ชนะเลิศ (4): 1989, 1995, 1996, 2008
รองชนะเลิศ (2): 2011, 2012
รองชนะเลิศ (1): 2003
ชนะเลิศ (6): 1947–48, 1948–49, 1949–50, 1952–53, 1955–56, 1956–57

ระดับทวีป

ชนะเลิศ (1): 1996–97
ชนะเลิศ (1): 1965–66
รองชนะเลิศ (2): 1992–93, 2001–02
รองชนะเลิศ (1): 1997

ระดับโลก

ชนะเลิศ (1): 1997

อ้างอิง

  1. "Fakten & Kurioses". Signal Iduna Park official website (ภาษาGerman). สืบค้นเมื่อ 11 January 2011.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  2. "Umbau des Signal Iduna Parks" (ภาษาGerman). สืบค้นเมื่อ 1 December 2010.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  3. "PUMA announces partnership with Borussia Dortmund (BVB)". Puma AG. 26 October 2011. สืบค้นเมื่อ 28 November 2011.

แม่แบบ:Link GA