ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วงศ์ปลาหัวตะกั่ว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: af:Aplocheilidae
Justincheng12345-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: sv:Aplocheilidae
บรรทัด 61: บรรทัด 61:
[[pl:Szczupieńczykowate]]
[[pl:Szczupieńczykowate]]
[[pt:Aplocheilidae]]
[[pt:Aplocheilidae]]
[[sv:Aplocheilidae]]
[[zh:單唇鱂科]]
[[zh:單唇鱂科]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:38, 5 มกราคม 2556

วงศ์ปลาหัวตะกั่ว
ปลาหัวตะกั่วทองคำ (Aplocheilus lineatus) ตัวผู้ หรือชื่อเฉพาะในวงการปลาสวยงามเรียกว่าว่า "ปลามังกรน้อย" เป็นหนึ่งของสมาชิกวงศ์นี้ ที่พบมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอย่างกว้างขวาง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้นใหญ่: Osteichthyes
ชั้น: Actinopterygii
ชั้นย่อย: Neopterygii
ชั้นฐาน: Teleostei
อันดับใหญ่: Acanthopterygii
อันดับ: Cyprinodontiformes
อันดับย่อย: Aplocheiloidei
วงศ์: Aplocheilidae
Bleeker, 1860
วงศ์ย่อย

วงศ์ปลาหัวตะกั่ว (อังกฤษ: Killifish, Rivuline, Egg-laying toothcarp, ชื่อวิทยาศาสตร์: Aplocheilidae) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยขนาดเล็ก อยู่ในอันดับ Cyprinodontiformes อันเป็นอันดับเดียวกับวงศ์ปลาสอดหรือปลาหางนกยูง (Poeciliidae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Aplocheilidae (/แอ็พ-โล-ไคล-อิ-ดี้/)

มีรูปร่างโดยรวมป้อมสั้น ปากแหลม ปากบนยืดหดได้ดี นัยน์ตาโตและอยู่ส่วนบนของหัว ครีบท้องอยู่ใกล้กับครีบก้น เส้นข้างลำตัวไม่สมบูรณ์และปรากฏให้เห็นเฉพาะบริเวณเหนือครีบอก ครีบหลังอยู่ใกล้กับครีบหาง ครีบก้นใหญ่ ครีบหางปลายกลมมน

เป็นปลาขนาดเล็ก มีขนาดความยาวเต็มที่ไม่เกิน 10 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ โดยหากินแมลงน้ำ เช่น ลูกน้ำ, ไรแดง เป็นอาหาร

มีพฤติกรรมการวางไข่ โดยวางไข่ติดกับไม้น้ำ และไข่ผูกติดกันเป็นแพ บางชนิดอมไข่ไว้ในปาก

เป็นปลาที่มีสมาชิกในวงศ์มากมาย หลายสกุล หลายร้อยชนิด จึงแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง)[1]

พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง โดยพบตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือจนถึงอเมริกาใต้, แอฟริกา, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilus panchax) พบได้ในทุกแหล่งน้ำทั่วประเทศ

นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมีชื่อเฉพาะในวงการปลาสวยงามว่า "คิลลี่ฟิช"[2]

อ้างอิง

  1. จาก ITIS.gov (อังกฤษ)
  2. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์, สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒ (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8738-8 หน้า 105

แหล่งข้อมูลอื่น