ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภออุทุมพรพิสัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
Robot: Automated text replacement (-coor dms| +Coord|)
Bangern (คุย | ส่วนร่วม)
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:59, 3 มกราคม 2556

อำเภออุทุมพรพิสัย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Uthumphon Phisai
คำขวัญ: 
แดนปราสาทหิน ถิ่นสะเดา ข้าวหอมดี บารมีหลวงปู่เครื่อง ลือเลื่องทับหลัง
บ่อน้ำขลังศักดิ์สิทธิ์
พิกัด: 15°6′42″N 104°8′24″E / 15.11167°N 104.14000°E / 15.11167; 104.14000
ประเทศ ไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
พื้นที่
 • ทั้งหมด407.9 ตร.กม. (157.5 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2552)
 • ทั้งหมด107,950 คน
 • ความหนาแน่น264.64 คน/ตร.กม. (685.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 33120
รหัสภูมิศาสตร์3310
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภออุทุมพรพิสัย หมู่ที่ 7 ตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ 33120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภออุทุมพรพิสัย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ (ในอดีตเขียน "อุทุมพรพิไสย") เป็นอำเภอเก่าแก่ของจังหวัดศรีสะเกษ (แรกเริ่มการก่อตั้งจังหวัดศรีสะเกษมี 6 อำเภอ คือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรารมย์ อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุขันธ์ อำเภอราษีไศล และอำเภออุทุมพรพิสัย) เป็นอำเภอที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเคยเสด็จพระราชดำเนินทางรถไฟเยี่ยมพสกนิกรเมื่อครั้งอดีต เป็นอำเภอที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงที่สุดของจังหวัดศรีสะเกษ มีอำเภอที่แยกจากอำเภออุทุมพรพิสัยไปแล้ว 4 อำเภอ คือ อำเภอห้วยทับทัน อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเมืองจันทร์ และอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

ประวัติ

อำเภออุทุมพรพิสัยตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2454 เดิมเรียกว่า อำเภอประจิม โดยมีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บ้านสำโรงใหญ่ หมู่ที่ 1 ตำบลสำโรง มีพระประชุมชันตุนิกรเป็นนายอำเภอคนแรก

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2457 นายบุญมา ศิลปาระยะ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ได้พิจารณาเห็นว่าบริเวณโดยรอบที่ว่าการอำเภอประจิม มีต้นมะเดื่อขึ้นอยู่จำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอจึงได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอประจิมเป็น อำเภออุทุมพรพิสัย ซึ่งมีความหมายว่า "ถิ่นของต้นมะเดื่อใหญ่" ปี พ.ศ. 2480 นายสง่า สุขรัตน์ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ จึงได้พิจารณาถึงสภาพความเหมาะสมของทำเลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอและได้วางโครงการย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอจากที่เดิมมาตั้งอยู่ที่ใหม่ ณ บ้านตำแย หมู่ที่ 7 ตำบลกำแพง ใกล้กับทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน

และต่อมาในปี พ.ศ. 2491 ร.ต.ท. พะวง ศรีบุญลือ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ได้ดำเนินการหาทุนสร้างที่ว่าการอำเภออุทุมพรพิสัย พร้อมทั้งสถานีตำรวจและบ้านพักข้าราชการขึ้นจนแล้วเสร็จและให้ย้ายที่ว่าอำเภอจากที่เดิมคือ บ้านสำโรงใหญ่ หมู่ที่ 1 ตำบลสำโรง มาอยู่ ณ ที่ว่าการอำเภอแห่งใหม่ คือ บ้านตำแย หมู่ที่ 7 ตำบลกำแพง สืบจนมาถึงปัจจุบัน

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภออุทุมพรพิสัยตั้งอยู่ตอนบนของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภออุทุมพรพิสัยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 19 ตำบล 232 หมู่บ้าน ได้แก่

1. กำแพง (Kamphaeng) 9 หมู่บ้าน 11. รังแร้ง (Rang Raeng) 12 หมู่บ้าน
2. อี่หล่ำ (I Lam) 12 หมู่บ้าน 12. แต้ (Tae) 8 หมู่บ้าน
3. ก้านเหลือง (Kan Lueang) 20 หมู่บ้าน 13. แข้ (Khae) 9 หมู่บ้าน
4. ทุ่งไชย (Thung Chai) 9 หมู่บ้าน 14. โพธิ์ชัย (Pho Chai) 11 หมู่บ้าน
5. สำโรง (Samrong) 17 หมู่บ้าน 15. ปะอาว (Pa Ao) 14 หมู่บ้าน
6. แขม (Khaem) 12 หมู่บ้าน 16. หนองห้าง (Nong Hang) 17 หมู่บ้าน
7. หนองไฮ (Nong Hai) 12 หมู่บ้าน 17. สระกำแพงใหญ่ (Sa Kamphaeng Yai) 14 หมู่บ้าน
8. ขะยูง (Khayung) 13 หมู่บ้าน 18. โคกหล่าม (Khok Lam) 10 หมู่บ้าน
9. ตาเกษ (Ta Ket) 12 หมู่บ้าน 19. โคกจาน (Khok Chan) 10 หมู่บ้าน
10. หัวช้าง (Hua Chang) 11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภออุทุมพรพิสัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 20 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลกำแพง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกำแพง
  • เทศบาลตำบลสระกำแพงใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระกำแพงใหญ่ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลโคกจาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกจานทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลอุทุมพรพิสัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกำแพง (นอกเขตเทศบาลตำบลกำแพง)
  • เทศบาลตำบลแต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไฮทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลอี่หล่ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอี่หล่ำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลก้านเหลือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลก้านเหลืองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งไชย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งไชยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำโรงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแขม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแขมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลขะยูง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขะยูงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาเกษ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาเกษทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวช้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลรังแร้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรังแร้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแข้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแข้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์ชัยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปะอาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปะอาวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองห้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองห้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกหล่าม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกหล่ามทั้งตำบล

สภาพทางสังคม

การสาธารณสุข

  • โรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง 1 แห่ง
  • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 1 แห่ง
  • สถานีอนามัย 21 แห่ง
  • คลินิกแพทย์ 7 แห่ง
  • ศูนย์สุขภาพชุมชน (กำแพง) 1 แห่ง
  • ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 15 แห่ง

การศึกษา

อุดมศึกษา

อาชีวศึกษา

มัธยมศึกษา

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

  • สถานีตำรวจภูธรอุทุมพรพิสัย
  • ตู้ยามอุทุมพรพิสัย
  • สถานีตำรวจทางหลวงอุทุมพรพิสัย

สภาพเศรษฐกิจ

ธนาคาร

ธนาคาร 6 ธนาคาร 7 สาขา

ศูนย์การค้า/ซุปเปอร์มาร์เก็ต

โรงภาพยนตร์

  • ไทยรามา

รอบฉาย 12.30 น. และ 20.30 น. ราคา 20 บาท

งานประเพณีและงานเทศกาล

  • งานงิ้ว จัดในช่วงฤดูหนาว บริเวณศาลเจ้าพ่อปู่ตาอุทุมพรพิสัยและบริเวณหลังสถานีรถไฟอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมทุกปี
  • เทศกาลบุญเดือนสาม บูชาหลวงพ่อนาคปรก จัดที่วัดสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ วันขึ้น 12-14 ค่ำ เดือน 3 ทุกปี
  • งานรำลึกปราสาทสระกำแพงใหญ่ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 5 แห่งวิศวะสงกรานต์ ณ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ จัดตรงกับวันขึ้น 1 - 2 ค่ำ เดือน 5 ทุกปี

จากคำจารึกที่กรอบประตูโคปุระ โบราณสถานอันล้ำค่า จุดกำเนิดจังหวัดศรีสะเกษ ย้อนรำลึกอดีตตำนานการก่อสร้างปราสาทสระกำแพงใหญ่ อายุนับ 1,000 ปี มรดกทางศิลปกรรมเส้นทางปราสาทขอม ชมขบวนแห่น้ำศักดิ์สิทธิ์จากปราสาทสระกำแพงน้อย ขบวนแห่เครื่องบวงสรวงอันสวยงามตระการตา การแสดง แสง-สี เสียง "ศิวะราตรีแห่งศรีพฤทเธศวร" การประกวดสาวงาม "ธิดาศรีพฤทเธศวร" การแสดงศิลปวัฒนธรรม และเลือกซื้อสินค้าโอทอปของดีศรีสะเกษ

สถานที่ท่องเที่ยว

ปราสาทสระกำแพงใหญ่

ปราสาทหินวัดสระกำแพงใหญ่ ตั้งอยู่ที่วัดสระกำแพงใหญ่ ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย ห่างจากตัวอำเภอมาทางทิศตะวันตก 2 กิโลเมตร

ความเป็นมาของปราสาทสระกำแพงใหญ่ยังไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัดว่าสร้างขึ้นมาในสมัยใดหรือศักราชใด ถึงแม้จะพบจารึกที่โบราณสถานแห่งนี้ ข้อความในจารึกกล่าวถึงการซื้อที่ดินถวายแก่เจ้านายผู้ล่วงลับคือ "กมรเตงชคตศรีพฤทเธศวร" ไม่ได้กล่าวถึงการสร้างปี พ.ศ. 1585 ที่ปรากฏในจารึกไม่ใช่ปีที่สร้างปราสาท ระยะดังกล่าวในกัมพูชาเป็นสม้ยที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ครองราชย์ แต่มิได้หมายถึงพระองค์เป็นผู้สร้าง จากการศึกษาลวดลายต่าง ๆ ทางด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ปราสาทสระกำแพงใหญ่ น่าจะมีอายุอยู่ในศิลปะเขมรแบบคลังต่อบาปวน หรือประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16 ตอนปลาย

ปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่

ปราสาทสระกำแพงใหญ่เป็นศาสนสถานแบบเขมร ทั้งในด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม รวมทั้งความเชื่อในการนับถือศาสนา จากหลักฐานที่ปรากฏสันนิษฐานว่าเดิมเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู โดยดูจากทับหลังที่สลักภาพบุคคลเล่าเรื่องราวต่างๆเกี่ยวข้องกับ ความเชื่อในศาสนาฮินดู ภายหลังเมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้จึงเปลี่ยนเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธ โดยได้ขุดพบพระพุทธรูปนาคปรกปางสมาธิ สูง 1.33 เมตร

ปราสาทสระกำแพงใหญ่สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธแบบมหายานเพื่อเป็นที่ประดิษฐานเทวรูป จากการขุดแต่งบูรณะปราสาทแห่งนี้ของกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้ค้นพบปฏิมากรรมสำริดขนาดใหญ่เฉพาะองค์สูง 140 เซนติเมตร และรวมความสูงทั้งฐาน 180 เซนติเมตร ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศสกุล ให้ความเห็นว่าเป็นรูปของนันทิเกศวรหรือนันทีศวร ลักษณะพิเศษ คือเป็นสำริดกะไหล่ทอง เดิมอาจจะตั้งอยู่หน้าปราสาทหลังกลางภายในมุขหน้าปราสาท เพราะโดยปกติจะประจำอยู่กับเทวาลัยของพระอิศวร ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นศิลปะขอมแบบบาปวนตอนปลาย สำคัญมากนับเป็นประติมากรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งที่พบในประเทศไทย ปัจจุบันจัดแสดงพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พิมาย

สภาพทั่วไปของปราสาทสระกำแพงใหญ่ประกอบด้วยระเบียงคดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 49 เมตร ยาว 67 เมตร ล้อมรอบกลุ่มปราสาทอิฐและบรรณาลัย รวมทั้งหมด 6 หลัง จากภาพถ่ายทางอากาศ ชี้ให้เห็นว่าปราสาทสระกำแพงใหญ่น่าจะมีชุมชนรายรอบอย่างหนาแน่น ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ห่างออกไปประมาณ 400 เมตร มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ เรียกว่า "สระกำแพง" สันนิษฐานว่าน่าจะขุดขึ้นเมื่อครั้งสร้างปราสาท ส่วนทางทิศตะวันออกมีลำห้วยเล็ก ๆ ไหลผ่าน คือ ห้วยตาเหมา ซึ่งเป็นลำห้วยสาขาที่แยกออกมาจากห้วยสำราญ

ปราสาทสระกำแพงน้อย

ปราสาทสระกำแพงน้อย

ปราสาทหินวัดสระกำแพงน้อย ตั้งอยู่ที่บ้านกลาง ตำบลขะยุง อำเภออุทุมพรพิสัย ห่างจากตัวจังหวัด 9 กิโลเมตร อยู่ด้านขวามือติดถนนบนเส้นทางสายศีรษะเกษ-อุทุมพรพิสัย ปราสาทหินสระกำแพงน้อยประกอบด้วยปรางค์และวิหาร ก่อด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าปราสาทหินแห่งนี้เดิมเป็นศาสนสถานมาก่อน แล้วต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18 รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาจมีการบูรณะหรือสร้างเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ สังเกตได้จากมีสถาปัตยกรรมแบบบายนอยู่ด้วย สิ่งก่อสร้างดังกล่าวเรียกกันในสมัยนั้นว่า "อโรคยศาล" หมายถึง สถานพยาบาลหรือสุขศาลาประจำชุมชน

บุคคลสำคัญ

หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท หรือพระมงคลวุฒ อดีตเจ้าอาวาสวัดสระกำแพงใหญ่ เป็นพระเกจิชื่อดังและพระนักพัฒนาที่ชาวอีสานใต้ต่างให้ความเลื่อมใสศรัทธากันเป็นอย่างดียิ่ง ด้วยความเป็นพระเถระที่มีเมตตาธรรมขั้นสูง เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เข้มขลังในวิทยาคมศักดิ์สิทธิ์ด้านเมตตามหานิยม เป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจแก่ผู้ประสบทุกข์ร้อนเดือดร้อนทั้งหลาย

หลวงปู่เครื่อง มีนามเดิมว่า เครื่อง ประถมบุตร เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ ณ บ้านค้อกำแพง (ปัจจุบันคือ บ้านหนองแปน) หมู่ที่ 3 ตำบลสระกำแพงใหญ่

การเดินทาง

รถยนต์ การเดินทางจากตัวจังหวัดศรีสะเกษไปอำเภออุทุมพรพิสัยสามารถใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (ศรีสะเกษ-อุทุมพรพิสัย) และเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (อุทุมพรพิสัย-ราษีไศล) มายังอำเภออุทุมพรพิสัย ระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตร

รถไฟ การเดินทางจากตัวกรุงเทพมหานครไปอำเภออุทุมพรพิสัยสามารถใช้รถไฟเดินทางมาได้ มีขบวนรถโดยสารออกจากกรุงเทพทุกวัน ขบวนรถโดยสารหยุดรับส่งผู้โดยสารทุกขบวน ระยะทางรถไฟจากสถานีกรุงเทพ 494.45 กิโลเมตร