ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิติศาสตร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sharky~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดทันใจด้วยสคริปต์จัดให้
Cheeptham333 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 26: บรรทัด 26:
== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==
* [[กฎหมาย]]
* [[กฎหมาย]]
* [[คณะนิติศาสตร์ ม.รังสิต]][http://www.rsu.ac.th/law/?gclid=CPf7qs64iosCFQtKTAod2W3vEw]


[[หมวดหมู่:นิติศาสตร์| ]]
[[หมวดหมู่:นิติศาสตร์| ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:07, 23 มีนาคม 2550

นิติศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องกฎหมาย หรืออาจกล่าวได้ว่ามีกฎหมายเป็นวัตถุของการศึกษา ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ได้ใช้คำภาษาอังกฤษแทนวิชานิติศาสตร์ว่า "science of law"

การศึกษานิติศาสตร์

วิชานิติศาสตร์สามารถแบ่งออกเป็นหลายแขนงได้ตามแง่มุมที่ศึกษา ซึ่งอาจสามารถแบ่งออกได้เป็น

  • วิชานิติศาสตร์โดยแท้ (legal science proper) ได้แก่ การศึกษาตัวบทกฎหมายเพื่อนำไปใช้ประกอบวิชาชีพนักกฎหมาย
  • นิติศาสตร์ทางข้อเท็จจริง (legal science of facts) เป็นการศึกษากฎหมายในฐานะ ข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์หรือในสังคม เช่น วิชาประวัติศาสตร์กฎหมาย
  • นิติศาสตร์เชิงคุณค่า (legal science of values) เป็นการศึกษากฎหมายในเชิงวิจารณ์เปรียบเทียบและประเมินคุณค่า เช่น วิชากฎหมายเปรียบเทียบ

การศึกษากฎหมายในระดับที่มีความสัมพันธ์กับปรัชญา จะถูกเรียกว่าวิชา นิติปรัชญา หรือ philosophy of law

Jurisprudence

Jurisprudence เป็นคำเก่าที่ใช้ตั้งแต่สมัยโรมัน โดยมาจากภาษาลาตินว่า jurisprudentium มีรากศัพท์จาก "juris" แปลว่า กฎหมาย และ "prudntium" แปลว่า ความฉลาด ซึ่งรวมแล้วแปลว่า "ความรู้กฎหมายหรือวิชากฎหมาย" โดยในประมวลกฎหมายของพระเจ้าจัสติเนียน จะกล่าวไว้ในมูลบทนิติศาสตร์ฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วว่า "jurisprudence is the knowledge of things devine and human; the scince of the just and the unjust".

อย่างไรก็ตาม jurisprudence ยังคงมีการใช้ในความหมายพิเศษอีก ได้แก่

การเรียนการสอนนิติศาสตร์ในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้ทรงก่อตั้ง "โรงเรียนกฎหมาย" ขึ้นในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเปิดการเรียนการสอนโดยคณาจารย์ส่วนใหญ่เป็นตุลาการ ต่อมา จึงมีการจัดตั้ง "คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์" ขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2476 หลังจากนั้นเพียง 8 เดือน คณะนิติศาสตร์แห่งแรกของประเทศได้ย้ายไปสังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ปัจจุบัน คือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเมื่อปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดการเรียนการสอนนิติศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งใน คณะรัฐศาสตร์ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็น คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2515 และมีการก่อตั้ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ปัจจุบัน มีสถาบันอุดมศึกษาได้เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชานิติศาสตร์ในหลายสถาบันทั้งในภาครัฐและเอกชน

ดูเพิ่ม รายชื่อคณะนิติศาสตร์ในประเทศไทย

อ้างอิง

  • นิติปรัชญา โดย ปรีดี เกษมทรัพย์
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป โดย หยุด แสงอุทัย
  • กฎหมายมหาชน โดย บวรศักดิ์ อุวรรณโณ

ดูเพิ่ม