ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ็องเรียต มารีแห่งฝรั่งเศส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แทนที่คำ
บรรทัด 43: บรรทัด 43:


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
<references />





รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:28, 24 ธันวาคม 2555

อ็องเรียต มารีแห่งฝรั่งเศส

เฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
ประสูติ25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1609
พระราชวังลูฟร์ ปารีส ฝรั่งเศส
สิ้นพระชนม์10 กันยายน ค.ศ. 1669(อายุ 59 ปี)
วังแห่งโคลอมบ์ ฝรั่งเศส
จักรพรรดินีสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ
เฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
พระบุตรสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ
สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ
เฮนเรียตตา แอนน์ สจวต
ราชวงศ์สจวต
บูร์บอง
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส
พระมารดามารี เดอ เมดิชิ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

เฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: Henrietta Maria of France) (25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1609 - 10 กันยายน ค.ศ. 1669)

พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศสประสูติเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1609 ที่พระราชวังลูฟร์ที่ปารีสในฝรั่งเศส ทรงเป็นพระธิดาในพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศสและมารี เดอ เมดิชิ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส[1] ต่อมาทรงเป็นพระราชินีในสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1625 ถึงวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียสิ้นพระชนม์เมื่อ 10 กันยายน ค.ศ. 1669 ที่วังแห่งโคลอมบ์ ฝรั่งเศส พระศพตั้งอยู่ที่มหาวิหารแซงท์เดเนส์ ปารีส ฝรั่งเศส พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศสทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่ง ราชอาณาจักรอังกฤษ ราชอาณาจักรสกอตแลนด์และราชอาณาจักรไอร์แลนด์ โดยการเสกสมรสกับพระเจ้าชาร์ลส์ และทรงเป็นพระราชมารดาของกษัตริย์สองพระองค์ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และ สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และทรงเป็นพระอัยกีของทั้งพระเจ้าวิลเลียมที่ 3และพระราชินีนาถแมรี และพระราชินีนาถแอนน์

เบื้องต้น

พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียทรงเป็นพระราชธิดาองค์สุดท้องของพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส และพระอัครมเหสีองค์ที่สอง มารี เดอ เมดิชิ ในฐานะที่เป็นพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์เจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียจีงทรงดำรงตำแหน่งเป็น “เจ้าหญิงสืบสายพระโลหิต” ทรงเป็นพระขนิษฐาองค์เล็กของ พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าอองรีพระราชบิดาถูกปลงพระชนม์โดยฟรองซัวส์ ราไวแย็ค (François Ravaillac) ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1610 เมื่อเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียทรงมีพระชนมายุได้เพียงไม่ถึงพรรษา เจ็ดปีต่อมาในปี ค.ศ. 1617 พระมารดาก็ทรงถูกขับจากราชสำนัก

เจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียทรงได้รับการเลี้ยงดูอย่างโรมันคาทอลิก ทรงเสกสมรสโดยฉันทะ (Marriage by proxy) กับพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1625 ไม่นานก่อนที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 จะขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษ แต่การแต่งงานของทั้งสองพระองค์ไม่เป็นที่นิยมกันในอังกฤษเพราะการที่เจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียทรงเป็นผู้นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก

การเสกสมรส

เจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียทรงเสกสมรสด้วยพระองค์เองกับพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เมื่อวันที่ 13 มืถุนายน ค.ศ. 1625 แต่การที่ทรงเป็นโรมันคาทอลิกทำให้ไม่สามารถที่จะได้รับการสวมมงกุฏกับพระสวามีได้ในพิธีอังกลิคัน ความสัมพันธ์ระหว่างสองพระองค์เมื่อเริ่มแรกเป็นไปอย่างเย็นชา พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียทรงนำผู้ติดตามจำนวนหลายคนมาจากฝรั่งเศสซึ่งล้วนแต่เป็นโรมันคาทอลิกและแต่ละคนต่างก็ใช้เงินเก่งจนต้องพระราชทรัพย์จำนวนมากในการบำรุงรักษาสตรีเหล่านั้น กล่าวกันว่าในที่สุดพระเจ้าชาร์ลส์ก็ทรงทนไม่ได้ จึงทรงส่งข้าราชบริพารของพระราชินีกลับฝรั่งเศส เหลือไว้แต่เพียงแชพเพลน (chaplain) และนางสนองพระโอษฐ์อีกสองคน

เดิมพระเจ้าชาร์ลส์ตั้งพระทัยที่จะเสกสมรสกับมาเรีย แอนนาแห่งสเปน พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าฟิลลิปที่ 3 แห่งสเปน แต่ไม่สำเร็จซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ของพระองค์กับเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียเมื่อเริ่มแรกไม่เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น เมื่อทรงพบกันครั้งใดก็ทรงมีปากมีเสียงกันและแยกจากกัน ไม่ได้พบพระพักตร์กันเป็นอาทิตย์

เจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียไม่ทรงโปรดจอร์จ วิลเลียรส์ ดยุคแห่งบัคคิงแฮม คนโปรดของเจ้าชาร์ลส์ในทันทีที่ทรงพบ แต่หลังจากดยุคแห่งบัคคิงแฮมสิ้นชีวิตในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1628 ความสัมพันธ์ระหว่างสองพระองค์ก็ค่อยกระเตื้องขึ้นและในที่สุดก็ทรงมีความรักต่อกันอย่างลึกซึ้ง การที่ไม่ทรงยอมเลิกเป็นโรมันคาทอลิกทำให้ไม่เป็นที่พึงพอใจของข้าราชสำนักผู้มีอำนาจเช่นวิลเลียม ลอด (William Laud) ผู้เป็นอัครบาทหลวงแห่งแคนเตอร์บรี และ ทอมัส เว็นเวิร์ธ เอิร์ลแห่งสตราฟฟอร์ด แต่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เองทรงมีความเอนเอียงไปทางโรมันคาทอลิก

สงครามกลางเมืองอังกฤษ

พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรีย ราวคริสต์ทศศตวรรษ 1630

พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียทรงเพิ่มความมีบทบาทในความขัดแย้งทางการเมืองในระหว่างคริสต์ทศศตวรรษ 1630 ไม่ทรงโปรดข้าราชสำนักเพียวริตัน เมื่อสงครามการเมืองเริ่ม พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียก็ทรงพยายามหาทุนสนับสนุนพระสวามีจากฝ่ายโรมันคาทอลิกในยุโรปเช่นจากสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 8 หรือจากฝรั่งเศสซึ่งทำให้ทางฝ่ายอังกฤษผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลส์ไม่พอใจ นอกจากนั้นยังทรงมีความเห็นพระทัยต่อผู้นับถือโรมันคาทอลิกเช่นการทรงจัดเร็คเควียมภายในชาเปลส่วนพระองค์ที่วังซอมเมอร์เซ็ทให้กับหลวงพ่อริชาร์ด เบลาท์เมื่อปี ค.ศ. 1638

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1642 เมื่อความขัดแย้งเริ่มต้นในอังกฤษพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียประทับอยู่ที่ฝรั่งเศส เพื่อจะหาทุนสนับสนุนฝ่ายกษัตริย์ (Royalist) และไม่ได้เสด็จกลับอังกฤษจนปี ค.ศ. 1643 เมื่อทรงขึ้นฝั่งอังกฤษก็ทรงมาพร้อมกับกองทหารที่บริดลิงตันในยอร์คเชอร์เพื่อมาสมทบกับกองทหารฝ่ายกษัตริย์ของอังกฤษทางตอนเหนือ และทรงตั้งกองบัญชาการอยู่ที่ยอร์ค พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียประทับอยู่กับกองทหารทางเหนืออยู่หลายเดือนก่อนที่เสด็จลงมาพบกับพระเจ้าชาร์ลส์ที่อ็อกฟอร์ด การที่สถานะการณ์ของพระเจ้าชาร์ลส์ทรุดลงหลังจากการแทรกแซงของสกอตแลนด์ และการที่พระเจ้าชาร์ลส์ไม่ทรงยอมรับข้อตกลงของรัฐบาลในการสงบศึกทำให้พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียเสด็จหนีไปฝรั่งเศสพร้อมกับพระโอรสในปี ค.ศ. 1644 พระเจ้าชาร์ลส์ถูกสำเร็จโทษในปี พระเจ้าชาร์ลส์ ค.ศ. 1649 ทิ้งพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียให้ฐานะที่เกือบไม่มีทรัพย์สินใดใดเหลือ

อ้างอิง

  1. Catholic Encyclopedia, Maria de' Medici[1]


ดูเพิ่ม