ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระรัตนสัมภวพุทธะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แทนที่คำ
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
* ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. กทม. ศูนย์ไทยทิเบต. 2538
* ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. กทม. ศูนย์ไทยทิเบต. 2538
* สุมาลี มหณรงค์ชัย. พระชินพุทธะทั้งห้า. กทม. ศูนย์ไทยทิเบต. 2547
* สุมาลี มหณรงค์ชัย. พระชินพุทธะทั้งห้า. กทม. ศูนย์ไทยทิเบต. 2547
{{รายการอ้างอิง}}
<references />
[[หมวดหมู่:พระพุทธเจ้าตามคติมหายาน|รัตนสัมภวะพุทธะ]]
[[หมวดหมู่:พระพุทธเจ้าตามคติมหายาน|รัตนสัมภวะพุทธะ]]
{{พระพุทธเจ้า}}
{{พระพุทธเจ้า}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:37, 24 ธันวาคม 2555

พระรัตนสัมภวะพุทธะ
พระรัตนสัมภวะพุทธะ ศิลปะธิเบต
สันสกฤตรตนสมฺภว
จีน南方宝生部主宝生佛
ญี่ปุ่น宝生如来 Hōshō Nyorai
มองโกเลียᠡᠷᠳᠡᠨᠢ ᠭᠠᠷᠬᠣ ᠢᠢᠨ ᠣᠷᠣᠨ
Эрдэнэ гарахын орон
Erdeni garkhu yin oron
ทิเบตརིན་ཆེན་འབྱུང་གནས Rinchen Jung ne
ข้อมูล
นับถือในวัชรยาน
พระลักษณะความเท่าเทียม
ศักตินางมมกิ (Mamaki)
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

พระรัตนสัมภวะพุทธะ (ภาษาสันสกฤต: रत्नसंभव, ภาษาญี่ปุ่น: 宝生如来, Hōshō Nyorai, ภาษาจีน: 寳生如來, Baosheng Rulai)เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ พระนามหมายถึงพระผู้เป็นต้นกำเนิดแห่งสิ่งมีค่าทั้งมวล ประทับอยู่ทางทิศใต้ของพุทธมณฑล พระกายสีเหลืองทอง เป็นต้นตระกูลพระโพธิสัตว์ตระกูลรัตนะ ซึ่งเปรียบได้กับปัญญาอันประเสริฐ เป็นสัญญลักษณ์ของพระรัตนตรัย สัญญลักษณ์ประจำพระองค์คือ จินดามณี หมายถึงการเข้าถึงความรู้แจ้ง มโนวิญญาณธาตุและจิตตรัสรู้ ทรงม้าเป็นพาหนะ

ความเชื่อ

พระองค์เป็นประมุขของรัตนโคตร ซึ่งแสดงความอุดมสมบูรณ์ รูปลักษณ์ที่อยู่เดี่ยวๆของพระองค์หายาก มักจะรวมอยู่กับพระธยานิพุทธะองค์อื่นๆ ประทับอยู่ทางทิศใต้ของพุทธมณฑล ทรงเป็นตัวแทนปัญญาญาณแบบเท่าเทียม คือมองเห็นผู้อื่นเท่าเทียมกับตน ในคัมภีร์มรณศาสตร์ของทิเบต กล่าวว่าพระองค์จะปรากฏกายในวันที่สามของบาร์โด พร้อมด้วยแสงสีเหลือง พระโพธิสัตว์ที่ปรากฏพร้อมกับพระองค์คือ พระอากาศครรภ์โพธิสัตว์และพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ [1]

รูปลักษณ์

ท่าทาง

ภาพของพระองค์มักมีกายสีเหลืองทอง พระหัตถ์ทำท่าทานมุทรา คือพระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลาอยู่ในท่าทำสมาธิ พระหัตถ์ขวาเหยียดลง แบพระหัตถ์ออก ปลายนิ้วชี้จดนิ้วโป้ง

พาหนะ

พาหนะของพระองค์คือม้าบิน ซึ่งตามความเชื่อของคนโบราณมักเป็นตัวแทนของแสงสว่างเพราะเป็นพาหนะของพระอาทิตย์ ส่วนชาวพุทธมหายาน จะถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของโชคและความสง่างาม

สัญลักษณ์

สัญลักษณ์ของพระองค์คือจินดามณี ซึ่งอาจหมายถึงได้ทั้งพระรัตนตรัยและจิตที่หลุดพ้นแล้ว

เสียง

เสียงประจำพระองค์คือ ตรัม ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดจากศูนย์ลมที่สะดือ จึงเป็นการสะท้อนความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชีวิต การเปลี่ยนถ่ายเวทนาขันธ์และความผูกพันระหว่างแม่กับลูก

อ้างอิง

  • ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. กทม. ศูนย์ไทยทิเบต. 2538
  • สุมาลี มหณรงค์ชัย. พระชินพุทธะทั้งห้า. กทม. ศูนย์ไทยทิเบต. 2547
  1. เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช. คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งทิเบต แปลโดย อนุสรณ์ ติปยานนท์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. มูลนิธิโกมลคีมทอง. 2536