ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เคมีสิ่งแวดล้อม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Antelope (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Dinamik-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.2) (โรบอต เพิ่ม: hy:Էկոլոգիական քիմիա
บรรทัด 27: บรรทัด 27:
[[fi:Ympäristökemia]]
[[fi:Ympäristökemia]]
[[hr:Kemija okoliša]]
[[hr:Kemija okoliša]]
[[hy:Էկոլոգիական քիմիա]]
[[id:Kimia lingkungan]]
[[id:Kimia lingkungan]]
[[it:Chimica ambientale]]
[[it:Chimica ambientale]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:42, 23 ธันวาคม 2555

เคมีสิ่งแวดล้อม (อังกฤษ: Environmental chemistry) เป็นสาขาของวิชาเคมีที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางเคมีและชีวเคมีที่เกิดขึ้นในธรรมชาติซึ่งจะรวมถึงเคมีของน้ำ (Aquatic chemistry) และเคมีของดิน (soil chemistry ) แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม (Green chemistry) งานหลักของเคมีสิ่งแวดล้อมคือ

  1. วิเคราะห์ทางเคมีเชิงปริมาณเพื่อให้เข้าใจเคมีของระบบธรรมชาติ
  2. เป็นเครื่องมือของหน่วยงานสิ่งแวดล้อมที่จะต้องตรวจสอบให้ได้ว่ามีสิ่งปนเปื้อนถูกปล่อยจากอุตสาหกรรมสู่น้ำ ดิน และอากาศมากน้อยเท่าใด
  3. ตรวจสอบระดับไนเตรท (nitrate) และ ฟอสเฟต (phosphate) จากพื้นที่เกษตรกรรมที่ถูกปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลองแล้วทำให้พวกสาหร่ายตะไคร่น้ำเจริญเติบโต (algal bloom) และเกิดสารอาหารให้สิ่งแวดล้อม (eutrophication) อันจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเท่าใด

เคมีสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมทั้งในน้ำ อากาศ ดิน ตลอดจนสารเคมีที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม แหล่งกำเนิดวิถีของปฏิกิริยา (pathway) ปฏิกิริยา (reaction) และผลต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ

Manahan (2004) ได้ให้คำจำกัดความของวิชานี้ว่า เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด (source) การลำเลียง (transport) ผลและปฏิกิริยาของสารเคมีในน้ำ น้ำมัน และอากาศ ตลอดจนผลของเทคโนโลยีต่าง ๆ ดังนั้นเคมีสิ่งแวดล้อมจึงเป็นการศึกษาเกี่ยวกับสารเคมีที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม แหล่งกำเนิด การลำเลียง การเปลี่ยนแปลงและปฏิกิริยาของสารเคมี วิถีของปฏิกิริยา และปรากฏการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อม ผลต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการนำความรู้ทางเคมีไปใช้ประโยชน์ในการป้องกัน ปรับปรุง และแก้ไขสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น