ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮะรอม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต แก้ไข: de:Ḥarām
Dinamik-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.2) (โรบอต เพิ่ม: ky:Харам
บรรทัด 108: บรรทัด 108:
[[kk:Харам]]
[[kk:Харам]]
[[ko:하람]]
[[ko:하람]]
[[ky:Харам]]
[[lt:Haram]]
[[lt:Haram]]
[[ms:Haram]]
[[ms:Haram]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:13, 23 ธันวาคม 2555

ฮะรอม เป็นคำศัพท์นิติบัญญัติอิสลาม จากภาษาอาหรับ วิธีการสะกดอื่น ๆ มีเช่น หะรอม, ฮารอม ในภาษาพูดคำว่า ฮะรอม เพี้ยนเป็น ฮาหร่าม

ฮะรอม คือกฏบัญญัติห้าม ที่มุกัลลัฟ (มุสลิมผู้อยู่ในศาสนนิติภาวะ) ทุกคนต้องละเว้น เช่น

  1. การตั้งภาคีต่ออัลลอหฺ
  2. การแหนงหน่ายต่อความเมตตาของอัลลอหฺ
  3. การหมดหวังในความเมตตาต่ออัลลอหฺ
  4. การเชื่อว่าสามารถรอดพ้นจากการลงโทษของอัลลอหฺ
  5. การสังหารชีวิตผู้ไม่มีความผิด
  6. การเนรคุณต่อมารดาและบิดา
  7. การตัดขาดจากญาติพี่น้อง
  8. การกินทรัพย์สินของลูกกำพร้าโดยอธรรม
  9. การกินดอกเบี้ย
  10. การผิดประเวณี
  11. การรักร่วมเพศระหว่างชาย
  12. การใส่ร้ายผู้บริสุทธิ์ว่าทำผิดประเวณีหรือรักร่วมเพศ
  13. การดื่มสุราเมรัยหรือทำการใดที่เกี่ยวข้องกับสุราเมรัย
  14. การเล่นการพนัน
  15. การอยู่กับการละเล่นบันเทิง
  16. การฟังหรือขับร้องเพลงและเล่นดนตรี
  17. การพูดเท็จ
  18. การสาบานเท็จ
  19. การเป็นพยานเท็จ
  20. การไม่ยอมให้การหรือเป็นพยาน
  21. การผิดสัญญา
  22. การทำลายไม่รับผิดชอบสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
  23. การขโมยลักทรัพย์
  24. การหลอกลวง
  25. การบริโภค อุปโภคสิ่งที่ได้มาโดยทุจริตวิธี
  26. การไม่ยอมจ่ายหนี้หรือเหนี่ยวรั้งทรัพย์สินของผู้อื่น
  27. การหนีจากสงครามศาสนา
  28. การกลับคืนสู่อวิชชาหลังจากได้เรียนรู้สัจธรรมอิสลามแล้ว
  29. การฝักใฝ่กับผู้อธรรม
  1. การไม่ช่วยเหลือผู้ถูกอธรรม
  2. การเรียนและทำคุณไสย
  3. ความฟุ่มเฟือย
  4. ความเย่อหยิ่งทรนง
  5. การต่อสู้กับศรัทธาชน
  6. รับประทานซากสัตว์ เลือด เนื้อสุกร และสัตว์ที่ไม่ได้ถูกเชือดตามหลักศาสนา
  7. การละทิ้งการนมาซ
  8. การไม่จ่ายซะกาต
  9. การไม่ใยดีต่อการทำหัจญ์
  10. การละทิ้งกฎบัญญัติศาสนา เช่น การถือศีลอด ญิฮาด การสั่งทำความดี การห้ามทำความชั่ว การภักดีต่อบรรดาอิมาม การผละตนออกจากศัตรูบรรดาอิมาม
  11. การทำบาปเล็กบาปน้อยจนเป็นกิจวัตร
  12. การนินทากาเล
  13. การยุยงให้ผู้คนแตกแยกกัน
  14. การวางแผนหลอกลวงผู้อื่น
  15. อิจฉาริษยา
  16. การกักตุนสินค้าจนทำให้ข้าวยากหมากแพง
  17. การตั้งตัวเป็นศัตรูต่อศรัทธาชน
  18. การรักร่วมเพศระหว่างหญิง
  19. การเป็นแมงดาหรือแม่เล้าติดต่อให้แก่โสเภณี การยินยอมให้ภารยาและบุตรีผิดประเวณี
  20. การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง
  21. การทำการอุตริในศาสนา
  22. การพิพากษาคดีด้วยความฉ้อฉล
  23. การทำสงครามในเดือนต้องห้ามทั้งสี่ คือ ซุลกออิดะหฺ ซุลฮิจญะหฺ มุฮัรรอม และรอญับ นอกจากจะเป็นฝ่ายถูกรุกราน
  24. การล่วงละเมิดสิทธิของศรัทธาชนด้วยการล้อเล่น เหยียดหยาม ด่าทอ
  25. การหักห้ามกีดกันผู้อื่นเข้าสู่สัจธรรม
  26. การเนรคุณต่อคุณงามความดีของอัลลอหฺ
  27. การก่อเหตุวุ่นวายในสังคม
  28. การขายอาวุธแก่ที่ก่อความไม่สงบสุข
  29. การใส่ร้ายผู้อื่น
  30. การไม่ให้ความเคารพต่ออัลลอหฺ
  31. การลบหลู่ดูหมิ่นต่อกะอฺบะหฺ
  32. การลบหลู่ดูหมิ่นต่อมัสยิด
  33. การที่บุรุษสวมใส่ผ้าไหม
  34. การใช้ภาชนะทำด้วยทองคำและเงิน


โทษทัณฑ์ของผู้ผ่าฝืนกฏบัญญัติห้าม

มุกัลลัฟที่ฝ่าฝืนกฏบัญญัติห้ามจะถูกลงโทษในสองรูปแบบคือ

1. การลงทัณฑ์โดยรัฐอิสลาม เพื่อรักษารักษาความเป็นระเบียบในสังคม เช่น ลงทัณฑ์ฆาตกร ผู้ผิดประเวณี ขโมย ผู้ดื่มสุรา

2. การลงโทษในวันปรโลก อันเป็นหน้าที่ของอัลลอหฺพระผู้เป็นเจ้า

บุคคลที่ฝ่าฝืนกฏบัญญัติห้ามจะได้รับการลุโทษในวันปรโลกได้หากสำนึกผิด(เตาบัต) แต่การลุโทษโดยรัฐอิสลามนั้นขึ้นอยู่กับผู้พิพากษา

อ้างอิง

สยามิคดอตคอม ศาสนวินัย