ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสือโคร่งเบงกอล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JackieBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: lmo:Panthera tigris tigris
CocuBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: mr:भारतीय वाघ
บรรทัด 66: บรรทัด 66:
[[ml:ബംഗാൾ കടുവ]]
[[ml:ബംഗാൾ കടുവ]]
[[mn:Бенгалын бар]]
[[mn:Бенгалын бар]]
[[mr:भारतीय वाघ]]
[[ms:Harimau Benggala]]
[[ms:Harimau Benggala]]
[[nl:Bengaalse tijger]]
[[nl:Bengaalse tijger]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:57, 16 ธันวาคม 2555

เสือโคร่งเบงกอล
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
สกุล: Panthera
สปีชีส์: P.  tigris
สปีชีส์ย่อย: P.  t. tigris
Trinomial name
Panthera tigris tigris
(Linnaeus, 1758)
จุดสีแดง แสดงตำแหน่งถิ่นอาศัย
ของเสือโคร่งเบงกอล

เสือโคร่งเบงกอล (เบงกาลี:বাঘ, ฮินดี: बाघ) เป็นเสือโคร่งพันธุ์ย่อยพันธุ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris tigris จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในวงศ์เสือและสิงโต (Felidae) นับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของบรรดาเสือโคร่งทั้งหมด รองจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) ที่พบในแถบไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย

เสือโคร่งเบงกอล ตัวผู้เมื่อมีขนาดใหญ่เต็มที่อาจยาวได้ถึง 360 เซนติเมตร หนัก 180 - 270 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 140 - 180 กิโลกรัม

การกระจายพันธุ์จะกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ในประเทศอินเดีย เนปาล บังกลาเทศ และกระจายเข้าไปในแถบประเทศพม่าด้วย

สถานะในธรรมชาติ จัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการถูกล่าเพื่อทำหนังเป็นเครื่องประดับ และกระดูก อวัยวะ เป็นยาสมุนไพรตามความเชื่อ อย่างไรก็ตาม เสือโคร่งเบงกอลนั้นนับได้ว่า เป็นเสือโคร่งชนิดที่ยังมีเหลืออยู่มากที่สุดในธรรมชาติ คาดว่ามีอยู่ประมาณ 2,000 ตัว ในธรรมชาติ ในเขตป่าอนุรักษ์และอินเดียและเนปาล และเป็นเสือที่มนุษย์นำมาเลี้ยงและขยายพันธุ์ได้มากและแพร่หลายที่สุด ในสถานที่เลี้ยง พบว่า เสือโคร่งเบงกอล เป็นเสือโคร่งที่มีความเชื่องและดุร้ายน้อยที่สุด จนสามารถฝึกหัดให้เล่นละครสัตว์ได้

อ้างอิง