ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรคตับแข็ง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Gerakibot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: el:Κίρρωση
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ko:간경변, or:ସିରୋସିସ୍
บรรทัด 66: บรรทัด 66:
[[ja:肝硬変]]
[[ja:肝硬変]]
[[kk:Бауыр циррозы]]
[[kk:Бауыр циррозы]]
[[ko:간경변]]
[[ky:Боордун циррозу]]
[[ky:Боордун циррозу]]
[[la:Cirrhosis hepatis]]
[[la:Cirrhosis hepatis]]
บรรทัด 74: บรรทัด 75:
[[nl:Cirrose]]
[[nl:Cirrose]]
[[no:Skrumplever]]
[[no:Skrumplever]]
[[or:ସିରୋସିସ୍]]
[[pl:Marskość wątroby]]
[[pl:Marskość wątroby]]
[[pt:Cirrose hepática]]
[[pt:Cirrose hepática]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:15, 8 ธันวาคม 2555

ตับแข็ง
(Cirrhosis)
ภาพตับที่เป็นมะเร็งตับซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงอย่างหนึ่งของตับแข็ง
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10K70.3, K71.7, K74
ICD-9571
DiseasesDB2729
eMedicineme/3183 radio/175
MeSHD008103

ตับแข็ง (อังกฤษ: Cirrhosis) เป็นภาวะซึ่งเป็นผลจากโรคตับเรื้อรัง มีลักษณะเฉพาะคือการมีเนื้อเยื่อพังผืดเกิดขึ้นในเนื้อตับ ดึงรั้งเนื้อตับดีจนเป็นผิวตะปุ่มตะป่ำเรียกว่า regenerative nodule ทำให้ตับเสียการทำงานลงไป ตับแข็งมักเกิดขึ้นเป็นผลจากพิษสุราเรื้อรัง ตับอักเสบจากไวรัส (โดยเฉพาะจากไวรัสตับอักเสบบีและซี) และโรคตับคั่งไขมัน รวมถึงสาเหตุอื่นๆ อีกหลายอย่าง

ภาวะแทรกซ้อนจากตับแข็งที่พบบ่อยคือภาวะท้องมาน ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการสูญเสียคุณภาพชีวิต เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และผลเสียในระยะยาว ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตคือโรคสมองที่เกิดจากตับ (hepatic encephalopathy) และการมีเลือดออกจากหลอดเลือดขอดในหลอดอาหาร (esophageal varices) ตับแข็งนั้นเมื่อเกิดแล้วมักไม่สามารถกลับเป็นปกติได้ การรักษาจึงมักมุ่งไปที่การยับยั้งการดำเนินโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน หากเป็นมากอาจมีทางเลือกในการรักษาเพียงทางเดียวคือการผ่าตัดเปลี่ยนตับ

อาการ

อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง จะมีอาการอ่อนเพลีย ตาเหลือง ปัสสาวะเหลือง ท้องโตขึ้น ขาบวม แต่ในรายที่มีอาการยังไม่มากอาจมีแค่อ่อนเพลีย แต่อาจยังไม่มีตาเหลือง ท้องโตขึ้นก็ได้ บางรายอาจจะมีผื่นสีแดงขึ้นที่ลำตัว หรือไยแมงมุม บางรายมีผลข้างเคียง ผู้ชายจะมีนมหน้าอกโตและเจ็บ


สาเหตุ

ตับแข็งมีสาเหตุที่สำคัญดังต่อไปนี้

  • โรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสชนิดB หรือ C
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • ภาวะไขมันสะสมในตับ พบได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน, โรคอ้วน,ไขมันในเลือดสูง
  • การรับประทานยาบางชนิดที่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเป็นระยะเวลานานๆ

อ้างอิง