ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อับราฮัม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Din00720 (คุย | ส่วนร่วม)
Din00720 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 96: บรรทัด 96:


อีกคนหนึ่งกล่าวว่าเราจะต้องลงโทษเขาอย่างสาสม เละหลังจากนั้นก็ฆ่าเขาซะเพื่อที่จะได้เป็นอุทาหรณ์ให้กับผู้ที่จะมาดูถูกเหยียดหยามบนบรรดาพระเจ้าผู้สู่งส่งของพวกเรา
อีกคนหนึ่งกล่าวว่าเราจะต้องลงโทษเขาอย่างสาสม เละหลังจากนั้นก็ฆ่าเขาซะเพื่อที่จะได้เป็นอุทาหรณ์ให้กับผู้ที่จะมาดูถูกเหยียดหยามบนบรรดาพระเจ้าผู้สู่งส่งของพวกเรา

===การตัดสิน(เรื่อง)ของนบิบรอฮีม===


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:18, 7 ธันวาคม 2555

อับราฮัม (อังกฤษ: Abraham) เป็นบุคคลสำคัญในศาสนาอับราฮัม เรื่องราวของเขาถูกบันทึกไว้ในหนังสือปฐมกาลบทที่ 11 ถึงบทที่ 25 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์โทราห์ของศาสนายูดาห์และคัมภีร์พันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามก็ถืออับราฮัมเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ด้วย

อับราฮัม เดิมชื่อ "อับราม" ส่วนอิสลามเรียกว่า นบีอิบรอฮีม เป็นบุตรของ เทราห์ สืบเชื้อสายมาจาก เชม บุตรของโนอาห์หรือนบีนุฮ [1]

ทูตสวรรค์ยับยั้งอับราฮัมขณะกำลังจะถวายอิสอัคให้แก่พระยาห์เวห์

อับราฮัมในคัมภีร์ไบเบิล

การเดินทาง

เทราห์บิดาของอับราฮัมได้นำอับราฮัม นางซาราห์ และโลท หลานชายออกเดินทางจากเมืองเออร์ ไปอยู่เมืองฮาราน ในดินแดนของคานาอัน ภายหลังจากบิดาเสียชีวิต เมื่ออับราฮัมมีอายุได้ 75 ปี เขาได้รับการทรงเรียกจากพระเจ้า ให้ไปยังดินแดนที่พระเจ้าจะนำทาง อับราฮัมจึงออกเดินทางพร้อมด้วยนางซาราห์ และพาโลทไปด้วย

เมื่อเกิดการกันดารอาหาร อับราฮัมจึงได้อพยพเข้าไปใน อียิปต์ เนื่องด้วยนางซาราห์เป็นคนสวย อับราฮัมเกรงจะถูกฆ่าเพื่อแย่งนาง อับราฮับจึงบอกคนอียิปต์ว่านางเป็นน้องสาว ด้วยเหตุนี้นางซาราห์จึงถูกนำไปถวายตัวแก่ฟาโรห์ พระเจ้าจึงทรงทำให้เกิดภัยพิบัติร้ายแรงแก่ฟาโรห์ ฟาโรห์จีงเรียกอับราฮัมมาและได้มอบตัวนางซาราห์ และทรัพย์สมบัติให้ อับราฮัมจึงเดินทางออกจากอียิปต์[2]

เมื่อออกจากอียิปต์ อับราฮัม ได้แยกทางกับ โลท เนื่องจากทั้งสองมีฝูงสัตว์ และคนรับใช้เยอะมาก ฝ่ายโลทเลือกเดินทางไปยังที่ลุ่มแม่น้ำจอร์แดน ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองโสโดม และเมืองโกมาราห์ ฝ่ายอับราฮัมก็เลือกไปอีกทางหนึ่ง


พันธสัญญาของพระเจ้า

เมื่ออับราฮัมอาศัยอยู่ในที่พำนักนั้น พระเจ้าทรงมีพระดำรัสกับอับราฮัมว่า "มองดูฟ้าเถิด ถ้าเจ้านับดาวทั้งหลายได้ ก็นับไปเถิด...พงศ์พันธ์ของเจ้าจะมากมายเช่นนั้น" [3] และทรงมีคำพยากรณ์ให้อัมราฮัมอีกว่า "...พงศ์พันธุ์ของเจ้า จะเป็นคนต่างด้าวในดินแดนซึ่งมิใช่ของเขา และเขาจะต้องรับใช้ชาวเมืองนั้น ชาวเมืองนั้นจะบีบบังคับเขาถึงสี่ร้อยปี..." [4]

เมื่ออับราฮัม อายุได้ 99 ปี พระเจ้าทรงปรากฏต่อหน้าอับราฮัม และทรงเปลี่ยนชื่อ จากเดิม อับราม เป็น อับราฮัม และทรงกระทำพันธสัญญาแก่อับราฮัม ว่า "เจ้าจะเป็นบิดาของประชาชาติมากมาย ชื่อของเจ้าจะมิใช่อับรามอีกต่อไป เจ้าจะมีชื่อใหม่คืออับราฮัม เพราะเราให้เจ้าเป็นบิดาของประชาชาติมากมาย เราจะกระทำให้เจ้ามีพงศ์พันธุ์มากอย่างยิ่ง เราจะกระทำเจ้าให้เป็นชนหลายชาติ และกษัตริย์หลายองค์จะเกิดมาจากเจ้า เราจะตั้งพันธสัญญาของเราไว้ระหว่างเรากับเจ้า และเชื้อสายของเจ้าที่สืบมาตลอดชั่วชาติพันธุ์ของเขาให้เป็นพันธสัญญานิรันดร์ คือเป็นพระเจ้าแก่เจ้า และแก่เชื้อสายของเจ้าที่สืบมา เราจะให้ดินแดนที่เจ้าอาศัยอยู่นี้ คือแผ่นดินคานาอันทั้งสิ้นแก่เจ้า และแก่เชื้อสายของเจ้าที่สืบมา ให้เป็นกรรมสิทธิ์นิรันดร์ และเราจะเป็นพระเจ้าของเขา" [5]

พระเจ้าทรงให้อับราฮัมและครอบครัวของเขาถือสุหนัต เพื่อเป็นพันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับอับราฮัมและเชื้อสาย โดยการตัดหนังหุ้มปลายองคชาต โดยกำหนดให้ผู้ชายทุกคนในครอบครัว ตั้งแต่เด็กที่มีอายุ 8 วันขึ้นไปต้องประกอบพิธีเข้าสุหนัต [6]

บุตรชายของอับราฮัม

เรื่องราวบุตรชายของอับราฮัมที่กล่าวถึงในพระคัมภีร์ที่โดดเด่นมีด้วยกัน 2 คน คืออิชมาเอลและอิสอัค และมีมุมมองต่อบุคคลทั้งสองแตกต่างกัน ระหว่างศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์

อิชมาเอล

นางซาราห์ ภรรยาของอับราฮัมเป็นหมัน นางจึงยกนางฮาการ์ สาวใช้ชาวอียิปต์ ให้เป็นภรรยาอับราฮัม นางฮาการ์ก็ตั้งครรภ์ และคลอดบุตรชาย ชื่อ อิชมาเอล ตามที่คัมภีร์ไบเบิลระบุไว้ว่าพระเจ้าไม่ได้ให้อิชมาเอลเป็นผู้สืบเชื้อสายของอับราฮัม แต่ในคัมภีร์อัลกุรอานมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป

ในหนังสือปฐมกาลกล่าวว่า เมื่อนางฮาการ์ตั้งครรภ์ ก็ดูถูกนายหญิงของตน ภายหลังเมื่อนางซาราห์มีบุตรของตนเอง นางฮาการ์และอิชมาเอล จึงถูกขับไล่ออกจากครอบครัว[7] แต่พระเจ้าทรงสัญญาว่าจะให้พงศ์พันธุ์ของอิชมาเอลเป็นพงศ์พันธ์ใหญ่เช่นกัน นักศาสนศาสตร์บางท่านเชื่อว่า อิชมาเอล คือบรรพบุรุษของชาวเปอร์เซีย แต่ในทัศนะของอิสลาม อิชมาเอล เป็นบรรพบุรุษของอาหรับ

อิสอัค

อิสอัคเป็นบุตรของอับราฮัมและนางซาราห์ อิสอัคคลอดเมื่ออับราฮัมมีอายุได้หนึ่งร้อยปี[8] เมื่ออิสอัคโตขึ้น พระเจ้าก็ทรงลองใจอับราฮัม โดยให้ถวายอิสอัคเป็นเครื่องบูชา[9] และเมื่ออับราฮัมแสดงความไว้วางใจพระเจ้า พระองค์ก็ให้ทูตสวรรค์มายั้งมืออับราฮัม และมอบลูกแกะให้เป็นเครื่องบูชาแทน

คัมภีร์ไบเบิลบันทึกไว้ว่าอับราฮัมสิ้นใจเมื่อมีอายุได้หนึ่งร้อยเจ็ดสิบห้าปี เมื่ออับราฮัมเสียชีวิตอิสอัคและอิชมาเอลก็ฝังศพของท่านไว้ในถ้ามัคเปลาห์

อิบราฮีมในคัมภีร์อัลกุรอาน

ท่านคือ อิบรอฮีม บุตร อาซาร (ตาริค) บุตร อาบิร บุตร ซาม บุตร นัวฮฺ

ท่านนบีอิบรอฮีม กำเนิดในเมืองบาบิล ในประเทศอิรัค

ท่านเป็นบิดาของบรรดานบีทั้งหลาย ที่ถูกกล่าวขานเช่นนี้ก็เพราะ บรรดานบีต่างๆที่มาหลังจาดท่านนั้น มีเชื้อสายมาจากท่าน

การเข้าไปในสถานที่แห่งการเคารพสักการะ

ท่านนบีอิบรอฮีมได้เข้าไปในสถานที่แห่งการเคารพสักการะที่เต็มไปด้วยเจว็ดที่ถูกสร้างขึ้นมาจากก้อนหิน และท่านก็เห็นว่าผู้คนเคารพสักการะมัน และก็ได้มอบสัตว์พลีที่พวกเจาเชือดให้แก่เจว็ด ดังนั้นท่านจึงแปลกใจในการกระทำของพวกเขา

ท่านกล่าวว่า : พวกเขาจะเคารพสักการะเจว็ดได้อย่างไร ในเมื่อพวกเขาเป็นคนสร้างมันมากับมือ ?

และท่านก็ได้กล่าวกับตัวของท่านเองว่า : ฉันจะไม่มีวันเคารพสักการะมันอย่างแน่นอน

เมื่อท่านนบีอิบรอฮีมออกมา ท่านก็กำลังคิดว่า ในจักรวาลนี้จำเป็นที่จะต้องมีพระผู้เป็นเจ้า แต่ว่า.....พระองค์อยู่ทที่ไหน ?

ขณะที่ท่านเห็นดวงดาวหนึ่งดวงบนท้องฟ้า ท่านได้กล่าวว่า : จำเป็นที่จะต้องมีพระเจ้าแห่งจักรวาลนี้

และเมื่อมัน (ดาว) หายไป ท่านก็กล่าวว่า : นั่นไม่ใช่พระเจ้า เพราะว่าพระเจ้าจะต้องไม่ทิ้งจักรวาล

และเมื่อท่านเห็นดวงจันทร์ ท่านก็กล่าวว่า : นี่คือพระเจ้าของฉัน

และเมื่อมัน (ดวงจันทร์) หายไป ท่านก็กล่าวว่า : นั่นไม่ใช่พระเจ้าของฉัน

และเมื่อท่านเห็นดวงอาทิตย์ ท่านกล่าวว่า : นี่คงจะเป็นพระเจ้าของฉัน

และเมื่อมัน (ดวงอาทิตย์) หายไป ท่านก็กล่าวว่า : พระเจ้าของฉัน โปรดนำทางให้ฉันไปสู่ความจริงด้วยเถิด

ทางที่ถูกต้องของอัลลอฮฺ

อัลเลาะห์ ทรงส่งคัมภีร์เล่มหนึ่งมาให้ท่านนบีอิบรอฮีม ในนั้นมีมารยาทต่างๆ ข้อคิดและคติสอนใจต่างๆ และในนั้นได้อธิบายถึงการงานที่ดี ซึ่งอัลลอฮฺ ได้ใช้ให้บ่าวของพระองค์ปฏิบัติตาม และเช่นเดียวกัน ก็ได้อธิบายถึงการงานที่ไม่ดีไว้ด้วย ซึ่งอัลเลาะห์ไม่ชอบที่จะให้บ่าวของพระองค์ปฏิบัติมัน

ท่านนบีอิบรอฮีมก็ได้เริ่มทำการเคารพสักการะอัลเลาะห์ แสวงหาความดีจากพระองค์อยู่เสมอ

อัลลอฮฺทรงรักท่านนบีอิบรอฮีม และทำให้ท่านเป็นสหายของพระองค์ ดังที่เราได้อ่านในอัลกุรอาน

อัลลอฮฺทรงตรัสว่า : และอัลลอฮฺ ได้ถือเอาอิบรอฮีมเป็นสหาย (อันนิซาอฺ : 125) ค่อลีล หมายถึง สหาย

การเชิญชวนบิดาของท่าน

บิดาของท่านนบีอิบรอฮีมเป็นคนทำเจว็ด และเขาก็เคารพสักการะมันและท่านนบีอิบรอฮีมได้กล่าวกับเขาว่า : พ่อจ๋า ทำไมพ่อถึงเคารพเจว็ดเหล่านี้ ทั้งที่มันไม่ได้ให้คุณและโทษกับพ่อเลย ?

บิดากล่าวว่า : เจ้าจงอย่าพูดอย่างนั้นกับพระเจ้านะอิบรอฮีม

อิบรอฮีมกล่าวว่า : พ่อจ๋า แท้จริง ชัยฏอนมันได้ล่อลวงท่านให้ไปเคารพก้อนหินพวกนี้ พ่อจ๋า ฉันรู้ว่า แท้จริงอัลลอฮฺจะเอาคนที่เคารพสักการะมัน (เจว็ด) ลงนรกและผู้ที่ไม่ได้เคารพมันเข้าสวรรค์

บิดากล่าวว่า : อิบรอฮีม หากเจ้าไม่หยุดคำพูดนี้ ฉันจะขว้างเจ้าด้วยก้อนหิน จนกว่าเจ้าจะตาย

อิบรอฮีมกล่าวว่า : ฉันจะขอดุอาจากอัลลอฮฺให้แก่พ่อของฉัน ให้พระองค์ทรงอภัยให้แก่ท่าน และอภัยให้จากบาปของท่าน แต่ว่าฉันจะทิ้งท่านและจะไม่เคารพเจว็ดกับท่านเป็นอันขาด

เจว็ดพังทลาย

ในวันตรุษ บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาได้พากันไปที่สวนสาธารณะเพื่อละเล่นกันอย่างเพลิดเพลิน ท่านนบีอิบรอฮีมเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่จะไม่มีใครมาพบท่านใน (มะอฺบัด) ท่านได้ทำลายเจว็ดเหล่านั้น และเอาขวานไปแขวนไว้ที่เจว็ดตัวที่ใหญ่ที่สุด เพื่อยืนยันว่ามันไม่สามารถให้คุณหรือโทษกับพวกเขาได้ และไม่สามารถที่จะปกป้องตัวมันเองได้ ดังนั้นไม่จำเป็นที่เราจะต้องเคารพสักการะมัน

และเมื่อบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธากลับมาพวกเขาก็พบว่ารูปปั้นพินาศ พวกเขากล่าวว่า : ผู้ใดที่เป็นคนทำกับพระเจ้าของเราอย่างนี้ ?

คนหนึ่งจากพวกเขาได้กล่าวข้นว่า : อิบรอฮีม เพราะเขาเป็นผู้ที่ล่าวว่า แท้จริงรูปปั้นเหล่านี้ไม่ได้ให้คุณและโทษ และสั่งให้พวกเราเลิกเคารพสักการะรูปปั้นพวกนี้

อีกคนหนึ่งกล่าวว่าเราจะต้องลงโทษเขาอย่างสาสม เละหลังจากนั้นก็ฆ่าเขาซะเพื่อที่จะได้เป็นอุทาหรณ์ให้กับผู้ที่จะมาดูถูกเหยียดหยามบนบรรดาพระเจ้าผู้สู่งส่งของพวกเรา

การตัดสิน(เรื่อง)ของนบิบรอฮีม

อ้างอิง

  1. หนังสือปฐมกาล บทที่ 11 ข้อที่ 10-26
  2. หนังสือปฐมกาล บทที่ 12
  3. หนังสือปฐมกาล บทที่ 15 ข้อที่ 4-5
  4. หนังสือปฐมกาล บทที่ 15 ข้อที่ 13
  5. หนังสือปฐมกาล บทที่ 17 ข้อที่ 4-8
  6. หนังสือปฐมกาล บทที่ 17 ข้อ 10-14
  7. หนังสือปฐมกาล บทที่ 16 และบทที่ 21
  8. หนังสือปฐมกาล บทที่ 21 ข้อ 5
  9. พระธรรมปฐมกาล บทที่ 22 ข้อ1-19