ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
ดร.ปฐมพงษ์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2510 ในครอบครัวที่มีพ่อแม่เป็นชาวนาและหมอลำพื้นบ้านในเวลาเดียวกัน บิดาเป็นชาว[[อำเภอวารินชำราบ]] [[จังหวัดอุบลราชธานี]] มารดาเป็นชาว[[จังหวัดศรีสะเกษ]] บวชเรียนแล้วสอบได้เปรียญ 9 ขณะเป็นสามเณร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เป็น [[นาคหลวง]] รูปแรกของ [[วัดบวรนิเวศวิหาร]], สำเร็จการศึกษาศาสนศาสตรบัณฑิต (สาขาภาษาและวรรรณคดีอังกฤษ) เกียรตินิยม ได้ที่ 1 ในคณะมนุษยศาสตร์ จาก[[มหามกุฏราชวิทยาลัย]] หลังจากขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตลาสิกขา [[สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช|สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก]]ได้ประทานทุนส่วนพระองค์จาก [[นิธิน้อย คชวัตร]]ให้ศึกษาต่อจนสำเร็จอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสันสกฤต-บาลี จาก [[คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ระหว่างศึกษา ได้ทุนคะแนนเยี่ยมภาษาสันสกฤตในนามนิสิตจุฬาฯ จาก [[มูลนิธิคีตาศรม]]ประเทศไทย
ดร.ปฐมพงษ์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2510 ในครอบครัวที่มีพ่อแม่เป็นชาวนาและหมอลำพื้นบ้านในเวลาเดียวกัน บิดาเป็นชาว[[อำเภอวารินชำราบ]] [[จังหวัดอุบลราชธานี]] มารดาเป็นชาว[[จังหวัดศรีสะเกษ]] บวชเรียนแล้วสอบได้เปรียญ 9 ขณะเป็นสามเณร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เป็น [[นาคหลวง]] รูปแรกของ [[วัดบวรนิเวศวิหาร]], สำเร็จการศึกษาศาสนศาสตรบัณฑิต (สาขาภาษาและวรรรณคดีอังกฤษ) เกียรตินิยม ได้ที่ 1 ในคณะมนุษยศาสตร์ จาก[[มหามกุฏราชวิทยาลัย]] หลังจากขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตลาสิกขา [[สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช|สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก]]ได้ประทานทุนส่วนพระองค์จาก [[นิธิน้อย คชวัตร]]ให้ศึกษาต่อจนสำเร็จอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสันสกฤต-บาลี จาก [[คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ระหว่างศึกษา ได้ทุนคะแนนเยี่ยมภาษาสันสกฤตในนามนิสิตจุฬาฯ จาก [[มูลนิธิคีตาศรม]]ประเทศไทย


หลังจากนั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯได้ทรงสนับสนุนทุนให้ไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ จนสำเร็จปริญญาโททาง [[วรรณคดี]] [[สันสกฤต]] ของ [[พระพุทธศาสนา]] [[มหายาน]] และของ [[ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู]] จาก[[วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและอาฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน]] (The School of Oriental and African Studies, University of London=SOAS) และปริญญาเอกจากคณะบูรพคดีศึกษา [[สถาบันตะวันออก]] [[มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด]] โดยสังกัด[http://www.st-annes.ox.ac.uk วิทยาลัยเซนต์แอนส์] ระหว่างศึกษาในอ๊อกซฟอร์ด มี ศ.ดร.ริชาร์ด ฟรานซิส กอมบริช ผู้ก่อตั้ง [[ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษาในอ๊อกซฟอร์ด]] และ ดร.เจมส์ เบนสัน ผู้ชำนาญ [[อัษฏาธยายี]] ของอ๊อกซฟอร์ดเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ วิชาที่ศึกษาในอ๊อกซฟอร์ดคือ[[ภาษา]]ที่บันทึกคัมภีร์[[พระเวท]], [[อัษฏาธยายี]] ของ [[ปาณินิ]], [[ภาษาอเวสตะ]], [[ภาษาเปอร์เซียโบราณ]] และ [[นิรุกติศาสตร์เปรียบเทียบ]] (Comparative philology) ระหว่างศึกษา ได้ทุนโบเดนประจำสถาบันตะวันออกของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด และทุนอื่นๆ ในอ๊อกซฟอร์ด เพื่อไปทำวิจัยเพิ่มเติมที่ภาควิชาสันสกฤตและอินเดียศึกษา [[มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด]] ในอเมริกาและ [[มหาวิทยาลัยปารีส]] ในฝรั่งเศส
หลังจากนั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯได้ทรงสนับสนุนทุนให้ไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ จนสำเร็จปริญญาโททาง [[วรรณคดี]] [[สันสกฤต]] ของ [[พระพุทธศาสนา]] [[มหายาน]] และของ [[ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู]] จาก[[วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและอาฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน]] (The School of Oriental and African Studies, University of London=SOAS) และปริญญาเอกจากคณะบูรพคดีศึกษา [[สถาบันตะวันออก]] [[มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด]] โดยสังกัด[http://www.st-annes.ox.ac.uk วิทยาลัยเซนต์แอนส์] ระหว่างศึกษาในอ๊อกซฟอร์ด มี ศ.ดร.ริชาร์ด ฟรานซิส กอมบริช ผู้ก่อตั้ง [[ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษาในอ๊อกซฟอร์ด]] และ ดร.เจมส์ เบนสัน ผู้ชำนาญ [[อัษฏาธยายี]] ของอ๊อกซฟอร์ดเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ วิชาที่ศึกษาในอ๊อกซฟอร์ดคือ[[วรรณคดี]][[พระเวท]], [[อัษฏาธยายี]] ของ [[ปาณินิ]], [[ภาษาอเวสตะ]], [[ภาษาเปอร์เซียโบราณ]] และ [[นิรุกติศาสตร์เปรียบเทียบ]] (Comparative philology) ระหว่างศึกษา ได้ทุนโบเดนประจำสถาบันตะวันออกของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด และทุนอื่นๆ ในอ๊อกซฟอร์ด เพื่อไปทำวิจัยเพิ่มเติมที่ภาควิชาสันสกฤตและอินเดียศึกษา [[มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด]] ในอเมริกาและ [[มหาวิทยาลัยปารีส]] ในฝรั่งเศส


คนไทยรุ่นก่อนที่เรียน[[ภาษาบาลี]]และ[[ภาษาสันสกฤต|สันสกฤต]] ที่สถาบันตะวันออก [[มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด]] ได้แก่ [[กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์]] (พระองค์วรรณไวทยากร), [[กรมพระจันทบุรีนฤนาถ]], [[หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล]] ฯลฯ แต่ ดร.ปฐมพงษ์เป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก
คนไทยรุ่นก่อนที่เรียน[[ภาษาบาลี]]และ[[ภาษาสันสกฤต|สันสกฤต]] ที่สถาบันตะวันออก [[มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด]] ได้แก่ [[กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์]] (พระองค์วรรณไวทยากร), [[กรมพระจันทบุรีนฤนาถ]], [[หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล]] ฯลฯ แต่ ดร.ปฐมพงษ์เป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:18, 20 มีนาคม 2550

ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ เป็นนักวิชาการทางบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) สังกัด มหาวิทยาลัยมหิดล เคยมีผลงานเขียนทั้งบทกวีและบทความตามสื่อมวลชนมาระยะหนึ่งก่อนจะปักหลักทำงานสอนและวิจัยในวิชาชีพที่ถนัดอย่างจริงจังในปัจจุบัน

การศึกษา

ดร.ปฐมพงษ์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2510 ในครอบครัวที่มีพ่อแม่เป็นชาวนาและหมอลำพื้นบ้านในเวลาเดียวกัน บิดาเป็นชาวอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มารดาเป็นชาวจังหวัดศรีสะเกษ บวชเรียนแล้วสอบได้เปรียญ 9 ขณะเป็นสามเณร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เป็น นาคหลวง รูปแรกของ วัดบวรนิเวศวิหาร, สำเร็จการศึกษาศาสนศาสตรบัณฑิต (สาขาภาษาและวรรรณคดีอังกฤษ) เกียรตินิยม ได้ที่ 1 ในคณะมนุษยศาสตร์ จากมหามกุฏราชวิทยาลัย หลังจากขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตลาสิกขา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกได้ประทานทุนส่วนพระองค์จาก นิธิน้อย คชวัตรให้ศึกษาต่อจนสำเร็จอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสันสกฤต-บาลี จาก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างศึกษา ได้ทุนคะแนนเยี่ยมภาษาสันสกฤตในนามนิสิตจุฬาฯ จาก มูลนิธิคีตาศรมประเทศไทย

หลังจากนั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯได้ทรงสนับสนุนทุนให้ไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ จนสำเร็จปริญญาโททาง วรรณคดี สันสกฤต ของ พระพุทธศาสนา มหายาน และของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จากวิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและอาฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน (The School of Oriental and African Studies, University of London=SOAS) และปริญญาเอกจากคณะบูรพคดีศึกษา สถาบันตะวันออก มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด โดยสังกัดวิทยาลัยเซนต์แอนส์ ระหว่างศึกษาในอ๊อกซฟอร์ด มี ศ.ดร.ริชาร์ด ฟรานซิส กอมบริช ผู้ก่อตั้ง ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษาในอ๊อกซฟอร์ด และ ดร.เจมส์ เบนสัน ผู้ชำนาญ อัษฏาธยายี ของอ๊อกซฟอร์ดเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ วิชาที่ศึกษาในอ๊อกซฟอร์ดคือวรรณคดีพระเวท, อัษฏาธยายี ของ ปาณินิ, ภาษาอเวสตะ, ภาษาเปอร์เซียโบราณ และ นิรุกติศาสตร์เปรียบเทียบ (Comparative philology) ระหว่างศึกษา ได้ทุนโบเดนประจำสถาบันตะวันออกของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด และทุนอื่นๆ ในอ๊อกซฟอร์ด เพื่อไปทำวิจัยเพิ่มเติมที่ภาควิชาสันสกฤตและอินเดียศึกษา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในอเมริกาและ มหาวิทยาลัยปารีส ในฝรั่งเศส

คนไทยรุ่นก่อนที่เรียนภาษาบาลีและสันสกฤต ที่สถาบันตะวันออก มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ได้แก่ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (พระองค์วรรณไวทยากร), กรมพระจันทบุรีนฤนาถ, หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ฯลฯ แต่ ดร.ปฐมพงษ์เป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก

สาขาที่สนใจเป็นพิเศษ

หน้าที่การงานในปัจจุบัน

หน้าที่การงานในอดีต

ตำราทางวิชาการ

  • ศิลปะในการแปลภาษาบาลี. กรุงเทพฯ: มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย .
  • ประวัติภาษาบาลี: ความเป็นมา และที่สัมพันธ์กับภาษาปรากฤตและสันสกฤต . กรุงเทพฯ : มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • บาลี-สันสกฤตวิชาการ (บรรณาธิการ). รวมบทความนักบาลีและสันสกฤตร่วมสมัย มูลนิธิมหามกุฏ ฯ จัดพิมพ์เนื่องในวันประสูติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆ ปริณายก และเนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี แห่งการสถาปนามหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ภาษาและภาษาศาสตร์ในบาลีและสันสกฤต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย .
  • Nine Lectures on Buddhism (ed.). A Collection of Articles from an International Conference held by the World Fellowship of Buddhists at Thammasat Univertsity in honour of H.M. King of Thailand on his 60 th Birthday Anniversay. Bangkok: The World Fellowsip of Buddhists.

บทความทางวิชาการ

  • "การศึกษาของสงฆ์ในอดีต (ตั้งแต่สมัย พุทธกาลจนถึงรัชกาลที่ 4)." ใน 100 ปี มหามกุฏราชวิทยาลัย 2436 - 2536. กรุงเทพฯ : มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2536, pp. 409-425
  • "ความหมายดั้งเดิมของอาตมัน (อัตตา) ในอินเดีย." นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ 84 ปีที่ 85 ฉบับที่ 5 กุมภาพันธ์ 2544, pp. 64-71.
  • "ภิกษุณีและสามเณรีในประเทศไทย: ทางตันและทางออก." นิตยสารธรรมจักษุ พฤศจิกายน 2545 (ภาคที่หนึ่ง ) และธันวาคม 2545 (ภาคที่สอง ).
  • พระพุทธศาสนาจะช่วยแก้ปัญหาภาคใต้ได้อย่างไร?. ใน สันติวิธีจากมุมมองทางศาสนา (วารีญา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคามและคณะ, บรรณาธิการ). เอกสารประกอบการสัมมนา หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาศาสนาเปรียบเทียบ ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 25 มีนาคม 2548, หน้า 125-133.
  • Somdet Phra Nyanasamvara: The Supreme Patriarch of Thailand. In The WFB Review: A Special Volume in Honour of His Holiness the Supreme Patriarch of Thailand on the Auspicious Occasion of his 90th Birthday Anniversary. Vol. XL, No.4:October-December 2546 (2003):19-29.
  • Life and Work of Sujib Punyanubhab (1917-2000): The Father of Modern Buddhist University in Thailand. In Buddhist Unity in the Globalisation Age (eds. Pathompong Bodhiprasiddhinand & Suchin Thongyuak). Bangkok: Mahamakut Buddhist University for the Fourth World Buddhist Summit, under the Patronage of H.H.Supreme Patriarch and with an Approval of the Thai Sangha Supreme Council in Celebration of the 60th Anniversary of His Majesty the King's Accession to the Throne at H.R.H.Prince Chumpon Khet Udomsak Hall, during 1-5 November 2548 (2005). Pp.116-137.

บทความนำเสนอในที่ประชุม (Papers)

  • พัฒนาการพระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษ: ประวัติศาสตร์และสถานการณ์ในปัจจุบัน. นำเสนอ ณ ห้องประชุมใหญ่ ของสำนักงานใหญ่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก, มิถุนายน 2546.
  • ข้อบกพร่องในการตรวจชำระคัมภีร์ภาษาบาลีของนักวิชาการภาษาบาลีในประเทศไทย: ปัญหาที่รอการแก้ไขเร่งด่วน. นำเสนอในที่ประชุมคณาจารย์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กันยายน 2546.
  • Mind and Body Medicine (ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต,โรคทางกายที่เกิดจากจิตบกพร่อง,โรคทางจิตที่เกิดจากกายบกพร่อง,การบำบัดโรคทางกายด้วยจิต). นำเสนอในที่ประชุมคณาจารย์และนักวิจัยโครงการวิจัยธาลัสซีเมีย ประจำ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล มี ศ.พญ.ชนิกา ตู้จินดา นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดลและศ.นพ.สุทัศน์ ฟู่เจริญ กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธาน 27 มกราคม 2549; นำเสนอในที่ประชุมสมาชิก สมาคมค้นคว้าทางจิตแห่งประเทศไทย มีศ.ดร.นพ.เทพพนม เมืองแมน เป็นประธาน 20 กุมภาพันธ์ 2549; นำเสนอในงานประชุมนานานาชาติ มังสวิรัติแห่งภูมิภาคเอเซียครั้งที่ 2 ณ อาคารเฉลิมพระบารมี แพทยสมาคม ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรี กรุงเทพมหานคร จัดโดยสหพันธ์มังสวิรัติเอเซีย, สหพันธ์มังสวิรัติแห่งประเทศไทย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและสมาพันธ์อโรคยา โดยการสนับสนุนของ สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) ระหว่างวันที่ 23-25 มีนาคม 2549.
  • Some Observations on 'Hiranyagarbha' in Vedic Texts and 'Tathagatagarbha' in Buddhist Sanskrit Texts. Presented in a Buddhist Seminar organised by Department of the Study of Religions, School of Oriental and African Studies, University of London, January 1998.
  • Vijnanavada School of Mahayana Buddhism: From a Perspective of Pre-canonical Buddhism. Presented in a Budddhist Seminar organised by Department of the Study of Religions, School of Oriental and African Studies, University of London, May 1998.
  • Notes on the Concept of Maya in early Upanishadic Texts, early Buddhist Texts and the Bhagavadgita. Presented in a Buddhist Seminar organised by Department of the Study of Religions, School of Oriental and African Studies, University of London, June 1998.
  • Problems which Hinder the Development of Buddhist Studies in Thailand. Delivered at An International Buddhist Academic Conference for the 30th Anniversary of the Post Graduate Institute of Pali and Buddhist Studies, Kelaniya University, Columbo, Sri Lanka, during 10-11 December 2005.
  • Buddhist Studies in Thailand: With Special Reference to a New PhD International Programme in Buddhist Studies of Mahidol University, Yunnan Normal University, Yunnan Province, People's Republic of China, 14 February 2006.

กวีนิพนธ์

แหล่งข้อมูลอื่น

บทความทางอินเทอร์เน็ต