ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แอร์บัส เอ380"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
CocuBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (Robot: Modifying fa:ایرباس آ-۳۸۰ to fa:ایرباس-۳۸۰
บรรทัด 336: บรรทัด 336:
[[et:Airbus A380]]
[[et:Airbus A380]]
[[eu:Airbus A380]]
[[eu:Airbus A380]]
[[fa:ایرباس آ-۳۸۰]]
[[fa:ایرباس-۳۸۰]]
[[fi:Airbus A380]]
[[fi:Airbus A380]]
[[fr:Airbus A380]]
[[fr:Airbus A380]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:20, 1 ธันวาคม 2555

Airbus A380-800
รูปภาพของ Airbus A380
ชนิด เครื่องบินพลเรือน
นักบิน 2
เที่ยวบินแรก 27 เมษายน พ.ศ. 2548
เที่ยวบินทางการพาณิชย์แรก 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550 (โดย สิงคโปร์แอร์ไลน์)
ผู้ผลิต แอร์บัส
ขนาด
ความยาว 73 ม. 239 ฟุต 6 นิ้ว
ความกว้างปีก 79.8 ม. 261 ฟุต 10 นิ้ว
ความสูง 24.1 ม. 79 ฟุต 1 นิ้ว
ความกว้างปีก 845 ม.² 9,100 ฟุต²
น้ำหนัก
ว่างเปล่า 280,000 กก. 617,300 ปอนด์
เต็มความจุ 560,000 kg 1,235,000 ปอนด์
ความจุผู้โดยสาร สูงสุด 555 คน (3-คลาส)
สูงสุด 840 คน (1-คลาส)
ความจุสินค้า 38 LD3s or 13 pallets
กำลังเครื่องยนต์
เครื่องยนต์ Four Rolls-Royce Trent 900 หรือ Engine Alliance GP7200 turbofans
แรงดัน 1,208 kN 271,560 lbf
สมรรถนะ
ความเร็วปกติ 0.85 มัค (ประมาณ 902 กม./ชม.) ประมาณ 561 ไมล์/ชม.
ความเร็วสูงสุด 0.89 มัค (ประมาณ 945 กม./ชม.) ประมาณ 587 ไมล์/ชม.
ขอบเขตการบิน 15,100 กม. 9,383 ไมล์
เพดานบิน 13,100 ม. 43,000 ฟุต
อัตราการไต่ระดับ ม./วินาที ฟุต/วินาที
A380 ลำแรกที่เสร็จสมบูรณ์ที่ "งานแสดง A380" ในเมืองทูลูซของฝรั่งเศส
A380 ลำแรกที่เสร็จสมบูรณ์ที่ "งานแสดง A380" ในเมืองทูลูซของฝรั่งเศส
เครื่องบินแอร์บัส เอ380 สีเครื่องเอมิเรตส์แอร์ไลน์ ที่นำมาแสดงในงาน ดูไบแอร์โชว์ ปีพ.ศ. 2548

เครื่องบิน แอร์บัส A380 เป็นเครื่องบินห้องโดยสารสองชั้นขนาดใหญ่ ผลิตโดยแอร์บัสแอสอาแอส เครื่องบินสี่เครื่องยนต์ลำนี้สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 800 คน หรือ 500 คนถ้าวางที่นั่งแบบ 3 ชั้นผู้โดยสารตามเครื่องบินพาณิชย์ปกติ เครื่องบินรุ่นนี้ได้ผ่านกำหนดการทดสอบการบินเที่ยวแรกในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2548 โดยบินขึ้นจากเมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส และได้ส่งมอบให้สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นสายการบินแรกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550

แนะนำ

A380 รู้จักมาเป็นเวลาหลายปีในขณะที่มีแอร์บัสมีแผนการผลิต แอร์บัส A3XX โดยจะเป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อเริ่มให้บริการ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550

A380 ได้เปิดตัวในงานของเมืองตูลูสในฝรั่งเศสในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 หมายเลขอนุกรมของผู้ผลิต (MSN - Manufacturer's serial number) คือ 001 และรหัสทะเบียน F-WWOW.

ข้อมูลทั่วไป

เครื่องบินแอร์บัสรุ่นใหม่นี้ ในเบื้องต้นจะผลิตขาย 2 แบบด้วยกัน คือA380-800 เป็นแบบ 2 ชั้นสมบูรณ์แบบ สามารถจุผู้โดยสารได้ 555 คน ในชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ หรือถึง 800 คน ในชั้นประหยัด ในระยะการบิน 8,000 ไมล์ทะเล (14,800 กิโลเมตร) และแบบA380-800F เป็นเครื่องบินสำหรับบรรทุกโดยเฉพาะ บรรทุกสัมภาระได้ 150 ตัน สำหรับพิสัยการบินระยะ 5,600 ไมล์ (10,400 กิโลเมตร)

การผลิต

เครื่องบิน A380 สร้างขึ้นจากหลายๆ ประเทศใน ยุโรปได้แก่ Aeroapatiale-Matra ที่ Toulouse จะทำการประกอบส่วนต่างๆ ของเครื่องบินในช่วงสุดท้าย การสร้างภายในลำตัว ดำเนินการ โดย DASA ที่ Hamburg ทั้ง Aerospatiale และ DASA สร้างส่วนต่างๆของโครงสร้างลำตัวด้วย, บริษัท BAE Systems สร้างส่วนของปีก, บริษัท CASA ของสเปน สร้างส่วนของแพนหาง, เครื่องยนต์ก็มีความก้าวหน้าในโครงการค้นคว้า บริษัท Rolls-Royce ก็ดำเนินการเองโดยลำพัง โดยพัฒนาจากเครื่องยนต์ตระกูล Trent

สิงคโปร์แอร์ไลน์เลือกเครื่องยนต์ Rolls-Royce Trent 900 ส่วนบริษัท Pratt และบริษัท GE ได้ร่วมมือกันพัฒนาเครื่องยนต์ จากตระกูล GE90 และ PW4000 โดยให้ชื่อว่า GP7200 ซึ่งแผนการปัจจุบันจะมีใบพัด (fan blade) ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 110 นิ้ว มีอัตราส่วนของอากาศที่ผ่านเครื่องยนต์เท่ากับ 8:1 สำหรับใช้กับเครื่องบิน A380 ซึ่งมีแรงขับดันระหว่าง 67,000-80,000 ปอนด์ เพื่อใช้กับโครงการ A380 (B747X จะใช้เครื่องยนต์รุ่น GP 7100 ซึ่งใบพัดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 101 นิ้ว อัตราส่วนของอากาศที่ผ่าน เครื่องยนต์เท่ากับ 7:1) ราคาของเครื่องบินลำนี้ประมาณ 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ระบบไฮดรอลิก

ระบบไฮดรอลิกของ A380 จะใช้ระบบที่มีแรงดัน 5000 psi. (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) แทนการใช้ระบบ 3000 psi. (ปัจจุบัน เครื่องบินพาณิชย์ใช้อยู่คือ 3000 psi.) เพื่อใช้ในการควบคุมส่วนของโครงสร้างที่ใช้บังคับการบิน และทำให้อุปกรณ์ไฮดรอลิกที่ใช้เล็กลง ( แรง = แรงดัน x พื้นที่) และ สามารถลดน้ำหนักของเครื่องบินได้ประมาณถึงตัน

  • บริษัท Airbus ได้ประกาศ บริษัทที่ได้รับคัดเลือกให้ ผลิตอุปกรณ์บางชนิดเพื่อมาใช้กับเครื่อง A380 ดังนี้:
    • บริษัท Parker Hannifin Corp.แผนก Electronic Systems Division ได้รับคัดเลือกให้ผลิตระบบเครื่องวัด และระบบบริหารการใช้เชื้อเพลิง
    • บริษัท TRW / Thales ได้รับการคัดเลือกให้ร่วมกัน พัฒนาระบบไฟฟ้าแบบความถี่ไม่คงที่
    • บริษัท Goodrich Corp. ได้รับการคัดเลือก ให้ผลิตระบบการออกฉุกเฉิน (evacuation systems) และระบบล้อประธาน (main landing gear) สำหรับ A380
    • บริษัท Rolls-Royce ได้รับให้ผลิตระบบการจ่ายเชื้อเพลิงเข้าเครื่องยนต์ Trent 900 ของตัวเอง

การสั่งซื้อและการส่งมอบ

การสั่งซื้อ

จนถึง ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 มีลูกค้าที่สั่งจองเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 จำนวน 196 ลำ จากลูกค้า 18 ราย คือ

สายการบิน A380-800 A380-800F Options ส่งมอบแล้ว เครื่องยนต์
อาร์เจนตินา แอโรลิเนียส์ อาร์เจนตินา 2* - 2* - TBD
สเปน แอร์โคเม็ต 2* - - - TBD
ฝรั่งเศส แอร์ฟรานซ์ 12 - 2 6 GP7200
สหราชอาณาจักร บริติช แอร์เวย์ 12 - 7 - Trent 900
จีน ไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์ 5 - - 2 Trent 900
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เอมิเรตส์แอร์ไลน์ 58 - - 15 GP7200
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เอทิฮัดแอร์เวย์ 4 - - - Trent 900
สหรัฐ ILFC 10 - 4 - GP7200
อินเดีย คิงฟิชเชอร์แอร์ไลน์ 5 - 5 - TBC
เกาหลีใต้ โคเรียนแอร์ 5 + 3* - - 2 GP7200
เยอรมนี ลุฟต์ฮันซา 15 - 10 8 Trent 900
มาเลเซีย มาเลเซียแอร์ไลน์ 6 - - 1 Trent 900
ออสเตรเลีย แควนตัส 20 - 4 10 Trent 900
ประเทศกาตาร์ กาตาร์แอร์เวย์ 5 - 2 - TBC
สิงคโปร์ สิงคโปร์แอร์ไลน์ 19 + 6 - 6 12 Trent 900
ไทย การบินไทย 6 - 2 2 Trent 900
สหราชอาณาจักร เวอร์จิ้น แอตแลนติก แอร์เวย์ - - 6 - Trent 900
ซาอุดีอาระเบีย เจ้าชายอัล-วาลีด บิน ทาลาล[1] 1 - - - Trent 900
รวมทั้งหมด 196 0 48 53  
* มีการประกาศสั่งซื้อ แต่ยังไม่ยืนยันคำสั่งซื้อ

ราคา

ยังไม่มีการประกาศราคาอย่างเป็นทางการ แต่มีการประเมินราคาไว้ที่ 296 - 316 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อาจจะมีส่วนลดหากมีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก

การส่งมอบ

การกำหนดการเดิมนั้น สิงคโปร์แอร์ไลน์จะได้รับเครื่องบินแอร์บัส เอ380 เครื่องแรก ในช่วงปลายปีพ.ศ. 2549 แควนตัสจะได้รับในช่วงต้นปีพ.ศ. 2550 และเอมิเรตส์จะได้รับก่อนปีพ.ศ. 2551 แต่เนื่องจากไม่สามารถผลิตได้ทันตามกำหนดการ ทำให้แอร์บัสต้องเลื่อนวันส่งมอบออกไป

จนในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2549 แอร์บัสก็ประกาศเลื่อนการส่งมอบเป็นครั้งที่ 3 ทำให้คาดว่าจะสามารถส่งมองเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ให้กับสิงคโปร์แอร์ไลน์ ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 และจะเพิ่มอัตราการผลิตให้ได้ 13 ลำในปีพ.ศ. 2551, 25 ลำ ในปีพ.ศ. 2552 และเต็มอัตราการผลิตที่ 45 ลำ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ส่วนเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นลูกค้าใหญ่ที่สุดของ เอ380 จะได้รับเครื่องบินลำแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 และผลจากการล่าช้าทำให้หลายสายการบินยกเลิกคำสั่งซื้อ และหันไปเลือกคู่แข่งโบอิง 747-8 สำหรับเครื่องบินโดยสาร และโบอิง 777F สำหรับเครื่องบินขนส่งสินค้า

สำหรับเครื่องบินลำแรกที่จะส่งมอบให้สิงคโปร์แอร์ไลน์นั้นได้ลงสีเป็นลายเครื่องของสิงคโปร์แอร์ไลน์เรียบร้อยแล้ว[2] ซึ่งสิงคโปร์แอร์ไลน์ประกาศว่าจะใช้ในเส้นทางบินระหว่างลอนดอน และซิดนีย์ โดยผ่าน สิงคโปร์ เส้นทางการบินย่อของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ อาจครอบคลุม เส้นทาง สิงคโปร์ - ซานฟรานซิสโก โดยผ่าน ฮ่องกง และบินตรงไปยังปารีส และแฟรงค์เฟิร์ต ส่วนแควนตัส ก็ได้ประกาศเช่นกัน ว่าในตอนแรกจะใช้เครื่องบินนี้ บินในเส้นทางบิน ลอสแองเจิลลิส ไปซิดนีย์

แอร์บัสแถลงว่า ในที่สุดแล้ว ตนจะสามารถผลิตและส่งมอบเครื่องบินได้เดือนละ 4 ลำ[3]

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของเมืองตูลูซ แอร์บัสได้ส่งมอบเครื่องบินแอร์บัส เอ 380-800 ลำแรก ให้กับสิงคโปร์แอร์ไลน์ ซึ่งจะเริ่มให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์เที่ยวแรกในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เส้นทาง สิงคโปร์-ซิดนีย์

การบินทดสอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ลำทดสอบหมายเลข F-WXXL เที่ยวบินที่ AIB 002 มีกำหนดมาบินทดสอบที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นครั้งแรก ลงจอดเวลาประมาณ 13:00 น. และเดินทางออกจากสนามบินสุวรรณภูมิในวันที่ 7 ธันวาคม เวลาประมาณ 12:00 น

วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 เที่ยวบินพิเศษ AIB-701 เดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ-ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ พร้อมด้วยผู้โดยสารประกอบด้วยสื่อมวลชนและแขกรับเชิญเพื่อสาธิตการบินในทวีปเอเชียและประเทศไทย ในขณะใช้รถลากจูงออกจากอาคารจอดเครื่องบิน ปลายปีกของเครื่องบินได้เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวกับประตูโรงจอดเสียหายเล็กน้อย บริเวณใบส่งตัวรับลมปลายปีก หรือ วิงเล็ต วิศวกรตรวจสอบแล้วเห็นว่าอาจทำให้อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูงขึ้น แต่ไม่มีผลต่อความปลอดภัยระหว่างการบิน จึงถอดชิ้นส่วนนั้นออก และทำการบินไปจังหวัดเชียงใหม่ตามปกติ [4][5]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
Related development

แอร์บัส เอ 350

เครื่องบินที่คล้ายกัน

โบอิง 747 - MD-12 แอนโตนอฟ แอน-124 แอนโตนอฟ แอน-225

รุ่นในซีรีส์เดียวกัน

แอร์บัส เอ 300 - แอร์บัส เอ 310 - แอร์บัส เอ 318 - แอร์บัส เอ 319 - แอร์บัส เอ 320 - แอร์บัส เอ 321 - แอร์บัส เอ 330 - แอร์บัส เอ 340 - แอร์บัส เอ 350 - แอร์บัส เอ 380

หัวข้อเดียวกัน

รายชื่อสายการบิน - เครื่องบินพาณิชย์

แม่แบบ:หัวข้ออากาศยาน แม่แบบ:Link FA

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link FA