ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ละครเร่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18: บรรทัด 18:
}}
}}


'''ละครเร่''' <ref>ภาพยนตร์ ละครเร่ อัศวินภาพยนตร์ 2512</ref> ภาพยนตร์ไทยแนวดราม่าชีวิตคณะละครรำ ระบบ 35 มม.ซูเปอร์ซีเนสโคป สีอิสต์แมน เสียง (พากย์)ในฟิล์ม ของ อัศวินภาพยนตร์ บทพระนิพนธ์และกำกับโดย ภาณุพันธ์ หรือ [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล]] บทภาพยนตร์โดย เวตาล ฉายที่โรงภาพยนตร์เฉลิมเขตร์ เมื่อ พ.ศ. 2512 และเป็นตัวแทนจากประเทศไทย ร่วมงานมหกรรมภาพยนตร์เอเซีย-แปซิฟิค ที่ กรุงมนิลา ฟิลิปปินส์ ในปีเดียวกัน ได้รับรางวัลชมเชยด้านกำกับศิลป์
'''ละครเร่''' <ref>ภาพยนตร์ ละครเร่ อัศวินภาพยนตร์ 2512</ref> ภาพยนตร์ไทยแนวดราม่าชีวิตคณะละครรำ ระบบ 35 มม.อัศวินซูเปอร์ซีเนสโคป สีอัศวินอิสต์แมน เสียง(พากย์)ในฟิล์ม ของ อัศวินภาพยนตร์ บทพระนิพนธ์และกำกับโดย ภาณุพันธ์ หรือ [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล]] บทภาพยนตร์โดย เวตาล ฉายที่โรงภาพยนตร์เฉลิมเขตร์ เมื่อ พ.ศ. 2512 และเป็นตัวแทนจากประเทศไทย ร่วมงานมหกรรมภาพยนตร์เอเซีย-แปซิฟิค ที่ กรุงมนิลา ฟิลิปปินส์ ในปีเดียวกัน ได้รับรางวัลชมเชยด้านกำกับศิลป์


เนื้อเรื่องเรียบง่าย มีเสน่ห์ด้วยโครงเรื่องหลักที่การนำเสนอเอกลักษณ์ไทยด้านศิลปวัฒนธรรม ข้อคิดเกี่ยวกับความสำนึก ความเสียสละและความกตัญญูรู้คุณที่ยังทันสมัยทุกกาลเวลา บวกกับงานสร้างและการแสดงระดับคุณภาพทำให้เป็นงานคลาสสิคอีกเรื่องของอัศวิน แม้จะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่นับเป็นภาพยนตร์ไทยที่มีคุณค่าในตัวเองและเจตนารมณ์อย่างชัดเจนของผู้สร้างที่มุ่งเสนอผลงานเพื่อศิลป์อย่างแท้จริง
เนื้อเรื่องเรียบง่าย มีเสน่ห์ด้วยโครงเรื่องหลักที่การนำเสนอเอกลักษณ์ไทยด้านศิลปวัฒนธรรม ข้อคิดเกี่ยวกับความสำนึก ความเสียสละและความกตัญญูรู้คุณที่ยังทันสมัยทุกกาลเวลา บวกกับงานสร้างและการแสดงระดับคุณภาพทำให้เป็นงานคลาสสิคอีกเรื่องของอัศวิน แม้จะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่นับเป็นภาพยนตร์ไทยที่มีคุณค่าในตัวเองและเจตนารมณ์อย่างชัดเจนของผู้สร้างที่มุ่งเสนอผลงานเพื่อศิลป์อย่างแท้จริง


พ.ศ. 2535 ดาราวิดีโอ สร้างเป็นละครโทรทัศน์ นำแสดงโดย [[สันติสุข พรหมศิริ]] ,[[กมลชนก โกมลฐิติ]] ,[[บดินทร์ ดุ๊ก]] ,[[ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง]] และ [[หวังเต๊ะ]] ทาง[[ช่อง 7 สี]]
ช่วงทศวรรษ 2530-2540 เอสทีวิดีโอ เผยแพร่ในรูปแบบตลับแถบวีดิทัศน์ (Video Cassette) '''ฉบับสมบูรณ์''' ซึ่งเริ่มตั้งแต่ตราบริษัทจนถึงภาพสุดท้ายขึ้นคำว่า "จบ" และต่อมา บริษัทมูวี่ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ออกเป็นวีซีดี (VCD) ซึ่งฉากสำคัญหลายตอนขาดหายไป รวมทั้งทำตอนจบใหม่ด้วยคอมพิวเตอร์ใช้คำ "อวสาน" แทน

ช่วงทศวรรษ 2530-2540 [[เอสทีวิดีโอ]] เผยแพร่ในรูปแบบตลับแถบวีดิทัศน์ (Video Cassette) '''ฉบับสมบูรณ์''' ซึ่งเริ่มตั้งแต่ตราบริษัทจนถึงภาพสุดท้ายขึ้นคำว่า "จบ" และต่อมา บริษัทมูวี่ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ออกเป็นวีซีดี (VCD) ซึ่งฉากสำคัญหลายตอนขาดหายไป รวมทั้งทำตอนจบใหม่ด้วยคอมพิวเตอร์ใช้คำ "อวสาน" แทน


==เรื่องย่อ==
==เรื่องย่อ==
บรรทัด 33: บรรทัด 35:
*การฝึกซ้อมรำตามบ้านในชนบท บรรยากาศภายในวิกละครและวิกหนัง
*การฝึกซ้อมรำตามบ้านในชนบท บรรยากาศภายในวิกละครและวิกหนัง
*ชีวิตชาวชนบทไทยริมน้ำ งานวัด อาคารไม้ย่านตลาดของกินยามค่ำ
*ชีวิตชาวชนบทไทยริมน้ำ งานวัด อาคารไม้ย่านตลาดของกินยามค่ำ
*กำกับภาพ (โชน บุนนาค กับ พูนสวัสดิ์ ธีมากร)และจัดแสง (วิรัติ วาสนาส่ง) สวยงามมีมิติเป็นธรรมชาติ ซึ่งอัศวินให้ความสำคัญด้านนี้กับทุกเรื่องที่สร้าง
*กำกับภาพ (โชน บุนนาค กับ [[พูนสวัสดิ์ ธีมากร]]) และจัดแสง (วิรัติ วาสนาส่ง) สวยงามมีมิติเป็นธรรมชาติ ซึ่งอัศวินให้ความสำคัญด้านนี้กับทุกเรื่องที่สร้าง
*ระบบเสียง Westrex Recording System ระดับสตูดิโอฮอลลีวูด ที่มีเฉพาะภาพยนตร์ของอัศวิน
*ระบบเสียง Westrex Recording System ระดับสตูดิโอฮอลลีวูด ที่มีเฉพาะภาพยนตร์ของอัศวิน
*ฝีมือการแสดงของดาราอาวุโสของอัศวินตั้งแต่ยุคละครเวที ได้แก่ สาหัส บุญ-หลง ,มาลี เวชประเสริฐ ,จันตรี สาริกบุตร ,ดอกดิน กัญญามาลย์ ,สมพงษ์ พงษ์มิตร ฯลฯ
*ฝีมือการแสดงของดาราอาวุโสของอัศวินตั้งแต่ยุคละครเวที ได้แก่ สาหัส บุญ-หลง ,[[มาลี เวชประเสริฐ]] ,จันตรี สาริกบุตร ,[[ดอกดิน กัญญามาลย์]] ,[[สมพงษ์ พงษ์มิตร]] ฯลฯ
*ความสามารถในการรำของบรรดานักแสดงนำที่ต้องใช้เวลาฝึกซ้อมเต็มที่ในเวลาจำกัดก่อนการถ่ายทำ (เหตุผลส่วนหนึ่งของการสร้างดาราใหม่ที่เหมาะกับบุคลิกตัวละครและมีความพร้อมเรื่องเวลา)
*ความสามารถในการรำของบรรดานักแสดงนำที่ต้องใช้เวลาฝึกซ้อมเต็มที่ในเวลาจำกัดก่อนการถ่ายทำ (เหตุผลส่วนหนึ่งของการสร้างดาราใหม่ที่เหมาะกับบุคลิกตัวละครและมีความพร้อมเรื่องเวลา)


==เกร็ดเบื้องหลัง==
==เกร็ดเบื้องหลัง==
*ภาพยนตร์เรื่องแรกของ มานพ อัศวเทพ ในฐานะดารานำ สายัณห์ จันทรวิบูลย์ ,จารุวรรณ ปัญโญภาส ดาราร่วมแสดง และเรื่องเดียวของ กนกวรรณ ด่านอุดม ดาราจอแก้ว-ศิษย์นาฏศิลป์ ช่อง 4 บางขุนพรหม
*ภาพยนตร์เรื่องแรกของ มานพ อัศวเทพ ในฐานะดารานำ สายัณห์ จันทรวิบูลย์ ,[[จารุวรรณ ปัญโญภาส]] ดาราร่วมแสดง และเรื่องเดียวของ กนกวรรณ ด่านอุดม ดาราจอแก้ว-ศิษย์นาฏศิลป์ [[ช่อง 4 บางขุนพรหม]] *[[ยุพน ธรรมศรี]] และ [[จุรี โอศิริ]] พากย์เสียงดารานำชายและหญิง ตามลำดับ
*[[ยุพน ธรรมศรี]] และ [[จุรี โอศิริ]] พากย์เสียงดารานำชายและหญิง ตามลำดับ
*ดอกดิน กัญญามาลย์ ,สาหัส บุญ-หลง ,ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร ,สมพงษ์ พงษ์มิตร ,ชรินทร์ นันทนาคร ,กนกวรรณ ด่านอุดม พากย์เสียงตนเอง
*ดอกดิน กัญญามาลย์ ,สาหัส บุญ-หลง ,ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร ,สมพงษ์ พงษ์มิตร ,ชรินทร์ นันทนาคร ,กนกวรรณ ด่านอุดม พากย์เสียงตนเอง
*[[ธานินทร์ อินทรเทพ]] ร้องเพลงแทนเสียง มานพ อัศวเทพ
*[[ธานินทร์ อินทรเทพ]] ร้องเพลงแทนเสียง มานพ อัศวเทพ
*สง่า อารัมภึร์ และ ปรีชา เมตไตรย์ เป็น คามิโอนักเปียโนในไนท์คลับ
*[[สง่า อารัมภีร]] และ ปรีชา เมตไตรย์ ผู้แต่งเพลงและนักดนตรี เป็นคามิโอ (cameo) นักเปียโนในไนท์คลับ
*ลมูล ยมะคุปต์ แห่งกรมศิลปากร ผู้ฝึกท่ารำ เป็นคามิโอ สตรีสูงวัยผู้ช่วยแต่งตัวหลังโรงละคร
*ลมูล ยมะคุปต์ แห่งกรมศิลปากร ผู้ฝึกท่ารำ เป็นคามิโอ (cameo) สตรีสูงวัยผู้ช่วยแต่งตัวหลังโรงละคร
*เพลง ''[[เรือนแพ]] ,ริน ริน ริน ,หากรู้สักนิด ,ในฝัน'' มาจากละครและภาพยนตร์ก่อนหน้าของอัศวินและไทยฟิล์ม
*เพลง ''[[เรือนแพ]] ,ริน ริน ริน ,หากรู้สักนิด ,ในฝัน'' มาจากละครและภาพยนตร์ก่อนหน้าของอัศวินและไทยฟิล์ม
*เพลง ''ลครชีวิต'' แต่งคำร้องโดย ดอกดิน กัญญามาลย์ ร้องโดย กนกวรรณ ด่านอุดม (ในเรื่อง) และ [[จินตนา สุขสถิตย์]] (ตอนจบ)
*เพลง ''ลครชีวิต'' แต่งคำร้องโดย ดอกดิน กัญญามาลย์ ร้องโดย กนกวรรณ ด่านอุดม (ในเรื่อง) และ [[จินตนา สุขสถิตย์]] (ตอนจบ)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:02, 25 พฤศจิกายน 2555

ละครเร่
กำกับภาณุพันธุ์
เขียนบทภาณุพันธุ์ / เวตาล
อำนวยการสร้างปริม บุนนาค
นักแสดงนำสุทิศา พัฒนุช
มานพ อัศวเทพ
ดอกดิน กัญญามาลย์
สาหัส บุญ-หลง
ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร
มาลี เวชประเสริฐ
ชรินทร์ นันทนาคร
ล้อต๊อก
จันตรี สาริกบุตร
สมพงษ์ พงษ์มิตร
กนกวรรณ ด่านอุดม
จารุวรรณ ปัญโญภาส
สายัณห์ จันทรวิบูลย์
กำกับภาพโชน บุนนาค
พูนสวัสดิ์ ธีมากร
ตัดต่อมนัส โตเพราะญาติ
ดนตรีประกอบภาณุพันธุ์
สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์
ดอกดิน กัญญามาลย์
สง่า อารัมภีร์
ม.ล.ประพันธ์ สนิทวงศ์
ม.จ.ฐิติพันธ์ ยุคล
นริศ ทรัพย์ประภา
บริษัทผู้สร้าง
อัศวินภาพยนตร์
วันฉาย12 เมษายน พ.ศ. 2512
ประเทศไทย
ภาษาไทย

ละครเร่ [1] ภาพยนตร์ไทยแนวดราม่าชีวิตคณะละครรำ ระบบ 35 มม.อัศวินซูเปอร์ซีเนสโคป สีอัศวินอิสต์แมน เสียง(พากย์)ในฟิล์ม ของ อัศวินภาพยนตร์ บทพระนิพนธ์และกำกับโดย ภาณุพันธ์ หรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล บทภาพยนตร์โดย เวตาล ฉายที่โรงภาพยนตร์เฉลิมเขตร์ เมื่อ พ.ศ. 2512 และเป็นตัวแทนจากประเทศไทย ร่วมงานมหกรรมภาพยนตร์เอเซีย-แปซิฟิค ที่ กรุงมนิลา ฟิลิปปินส์ ในปีเดียวกัน ได้รับรางวัลชมเชยด้านกำกับศิลป์

เนื้อเรื่องเรียบง่าย มีเสน่ห์ด้วยโครงเรื่องหลักที่การนำเสนอเอกลักษณ์ไทยด้านศิลปวัฒนธรรม ข้อคิดเกี่ยวกับความสำนึก ความเสียสละและความกตัญญูรู้คุณที่ยังทันสมัยทุกกาลเวลา บวกกับงานสร้างและการแสดงระดับคุณภาพทำให้เป็นงานคลาสสิคอีกเรื่องของอัศวิน แม้จะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่นับเป็นภาพยนตร์ไทยที่มีคุณค่าในตัวเองและเจตนารมณ์อย่างชัดเจนของผู้สร้างที่มุ่งเสนอผลงานเพื่อศิลป์อย่างแท้จริง

พ.ศ. 2535 ดาราวิดีโอ สร้างเป็นละครโทรทัศน์ นำแสดงโดย สันติสุข พรหมศิริ ,กมลชนก โกมลฐิติ ,บดินทร์ ดุ๊ก ,ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง และ หวังเต๊ะ ทางช่อง 7 สี

ช่วงทศวรรษ 2530-2540 เอสทีวิดีโอ เผยแพร่ในรูปแบบตลับแถบวีดิทัศน์ (Video Cassette) ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ตราบริษัทจนถึงภาพสุดท้ายขึ้นคำว่า "จบ" และต่อมา บริษัทมูวี่ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ออกเป็นวีซีดี (VCD) ซึ่งฉากสำคัญหลายตอนขาดหายไป รวมทั้งทำตอนจบใหม่ด้วยคอมพิวเตอร์ใช้คำ "อวสาน" แทน

เรื่องย่อ

คณะละครรำครูทัพ มีบุญเอก เป็นตัวชูโรงและขวัญใจแม่ยก คู่กับ กะถิน ลูกสาวพ่อครู เป็นนางเอก ตลอดมา ค่ำวันหนึ่ง แววนภา ลูกสาวเจ้าของวิกฉายหนัง พบเขาโดยบังเอิญที่ตลาดและแอบชอบจึงพยายามสนับสนุนให้เป็นนักร้องในไนท์คลับที่กรุงเทพโดยอาสาพารับส่งจนมีชื่เสียง ทำให้การแสดงละครมีปัญหาเกิดเรื่องถึงขั้นต้องลาออกจากคณะ เมื่อขาดพระเอกยอดนิยม คณะละครซบเซา นายทองดำ ผู้จัดการต้องเอาสมบัติส่วนตัวไปขายเป็นเงินเดือนจ่ายชาวคณะ และใส่ทองเก๊โดยไม่มีใครรู้

ชรินทร์ คู่หมั้นของแววนภา เห็นใจคณะละคร จึงแต่งเพลงให้บุญเอกคิดถึงชีวิตตนเองที่ผ่านมาจนทำให้เขาสะเทือนใจมากและกลับไปอยู่กับคณะละครตามเดิม ขณะที่ทองดำตัดสินใจครั้งสุดท้ายแลกชีวิตกับเงินประกันก้อนใหญ่เพื่อพ่อครูและความอยู่รอดของทุกคนที่ยังต้องมีชีวิตต่อไป

จุดเด่น

  • การแสดงนาฏศิลปไทยรำเบิกโรงซัดชาตรี ,พรานบุญถวายนางมโนราห์แก่พระสุธน ,มโนราห์บูชายัญ ,เจ้าเงาะ-นางรจนาเสี่ยงพวงมาลัย
  • การฝึกซ้อมรำตามบ้านในชนบท บรรยากาศภายในวิกละครและวิกหนัง
  • ชีวิตชาวชนบทไทยริมน้ำ งานวัด อาคารไม้ย่านตลาดของกินยามค่ำ
  • กำกับภาพ (โชน บุนนาค กับ พูนสวัสดิ์ ธีมากร) และจัดแสง (วิรัติ วาสนาส่ง) สวยงามมีมิติเป็นธรรมชาติ ซึ่งอัศวินให้ความสำคัญด้านนี้กับทุกเรื่องที่สร้าง
  • ระบบเสียง Westrex Recording System ระดับสตูดิโอฮอลลีวูด ที่มีเฉพาะภาพยนตร์ของอัศวิน
  • ฝีมือการแสดงของดาราอาวุโสของอัศวินตั้งแต่ยุคละครเวที ได้แก่ สาหัส บุญ-หลง ,มาลี เวชประเสริฐ ,จันตรี สาริกบุตร ,ดอกดิน กัญญามาลย์ ,สมพงษ์ พงษ์มิตร ฯลฯ
  • ความสามารถในการรำของบรรดานักแสดงนำที่ต้องใช้เวลาฝึกซ้อมเต็มที่ในเวลาจำกัดก่อนการถ่ายทำ (เหตุผลส่วนหนึ่งของการสร้างดาราใหม่ที่เหมาะกับบุคลิกตัวละครและมีความพร้อมเรื่องเวลา)

เกร็ดเบื้องหลัง

  • ภาพยนตร์เรื่องแรกของ มานพ อัศวเทพ ในฐานะดารานำ สายัณห์ จันทรวิบูลย์ ,จารุวรรณ ปัญโญภาส ดาราร่วมแสดง และเรื่องเดียวของ กนกวรรณ ด่านอุดม ดาราจอแก้ว-ศิษย์นาฏศิลป์ ช่อง 4 บางขุนพรหม *ยุพน ธรรมศรี และ จุรี โอศิริ พากย์เสียงดารานำชายและหญิง ตามลำดับ
  • ดอกดิน กัญญามาลย์ ,สาหัส บุญ-หลง ,ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร ,สมพงษ์ พงษ์มิตร ,ชรินทร์ นันทนาคร ,กนกวรรณ ด่านอุดม พากย์เสียงตนเอง
  • ธานินทร์ อินทรเทพ ร้องเพลงแทนเสียง มานพ อัศวเทพ
  • สง่า อารัมภีร และ ปรีชา เมตไตรย์ ผู้แต่งเพลงและนักดนตรี เป็นคามิโอ (cameo) นักเปียโนในไนท์คลับ
  • ลมูล ยมะคุปต์ แห่งกรมศิลปากร ผู้ฝึกท่ารำ เป็นคามิโอ (cameo) สตรีสูงวัยผู้ช่วยแต่งตัวหลังโรงละคร
  • เพลง เรือนแพ ,ริน ริน ริน ,หากรู้สักนิด ,ในฝัน มาจากละครและภาพยนตร์ก่อนหน้าของอัศวินและไทยฟิล์ม
  • เพลง ลครชีวิต แต่งคำร้องโดย ดอกดิน กัญญามาลย์ ร้องโดย กนกวรรณ ด่านอุดม (ในเรื่อง) และ จินตนา สุขสถิตย์ (ตอนจบ)
  • อรวรรณ-ระวิวรรณ สร้อยหงษ์พราย คู่นักร้องดาวเต้นชื่อดังแห่งยุค ปรากฏตัวครั้งแรกครั้งเดียวบนจอเงินในฉากเพลง Gibbon says / ชะนีเรียกผัว
  • ใบปิดภาพยนตร์ เป็ดน้อย และ จำปูน ของผู้สร้างเรื่องนี้ ใช้ประกอบฉากด้านหลังที่ขายตั๋วหน้าวิก
  • ดอกดิน กัญญามาลย์ ผู้กำกับของกัญญามาลย์ภาพยนตร์ ซึ่งขณะนั้นห่างหายจากงานแสดงนอกสังกัดมานานหลายปี รับแสดงเป็นพิเศษเพียงเรื่องเดียว เพื่อถวายเสด็จพระองค์ชายใหญ่ที่ทรงมีอุปการคุณโดยไม่รับค่าตัว

รางวัล


อ้างอิง

  1. ภาพยนตร์ ละครเร่ อัศวินภาพยนตร์ 2512