ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรียงความ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
VolkovBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: wa:Assaye
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: tg:Иншо
บรรทัด 81: บรรทัด 81:
[[ta:கட்டுரை]]
[[ta:கட்டுரை]]
[[te:వ్యాసము]]
[[te:వ్యాసము]]
[[tg:Иншо]]
[[tl:Sanaysay]]
[[tl:Sanaysay]]
[[tr:Deneme (edebiyat)]]
[[tr:Deneme (edebiyat)]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:54, 9 พฤศจิกายน 2555

เรียงความ เป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการใช้ภาษาเรียบเรียงความคิดเป็นเรื่อง โดยแสดงความคิด ความรู้สึก จินตนาการ และความเข้าใจ ด้วยภาษาที่ถูกต้อง สละสลวย

ในความหมายที่เฉพาะทางมากขึ้น เรียงความ จะหมายถึงการเขียนที่มีรูปแบบค่อนข้างตายตัว กล่าวคือประกอบด้วย คำนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป ซึ่งแตกต่างจากความเรียงที่มีรูปแบบในการเขียนที่กว้างกว่า ในความหมายนี้ เรียงความที่ดีจะต้องมี

  • เอกภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หมายความว่าไม่ให้เขียนนอกเรื่อง
  • สัมพันธภาพ คือ ความสัมพันธ์กัน หมายถึง ข้อความแต่ละข้อความหรือแต่ละย่อหน้าจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน
  • สารัตถภาพ คือ การเน้นสาระสำคัญของย่อหน้าแต่ละย่อหน้า และของเรื่องทั้งหมด โดยใช้ประโยคสั้น ๆ สรุปกินความทั้งหมด

เรียงความกับความเรียง

คำสองคำนี้มักถูกใช้สับสนกัน ถ้าพิจารณาในความหมายที่กว้างของเรียงความ ซึ่งหมายถึงกิจกรรมการเรียบเรียงความคิดแล้ว ความเรียงก็จะจัดว่าเป็นเรียงความรูปแบบหนึ่ง ดังที่ฐะปะนีย์ นาครทรรพได้กล่าวไว้ว่า "...ความเรียงนั้นก็คือ เรียงความ อย่างหนึ่งนั่นเอง มีผู้เทียบให้ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Essay"[ต้องการอ้างอิง]

อย่างไรก็ตาม ถ้ามองในความหมายเฉพาะทางเราจะพบว่าความเรียงนั้นสามารถมีขอบเขต และกลวิธีในการเขียนได้มากกว่า[ต้องการอ้างอิง]