ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่อิโวะจิมะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
Robot: ru:Битва за Иводзиму is a good article
DixonDBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: ml:ഇവോ ജിമ പോരാട്ടം
บรรทัด 77: บรรทัด 77:
[[ko:이오 섬 전투]]
[[ko:이오 섬 전투]]
[[lt:Ivo Džimos mūšis]]
[[lt:Ivo Džimos mūšis]]
[[ml:ഇവോ ജിമ പോരാട്ടം]]
[[mr:इवो जिमाची लढाई]]
[[mr:इवो जिमाची लढाई]]
[[nl:Landing op Iwo Jima]]
[[nl:Landing op Iwo Jima]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:40, 26 ตุลาคม 2555

ยุทธการที่อิโวะจิมะ
สถานที่
{{{place}}}

ยุทธการอิโวะจิมะ เป็นการรบที่เกิดขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่นที่เกาะอิโวะจิมะ ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม พ.ศ. 2488 และนับเป็นส่วนหนึ่งของสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายสหรัฐอเมริกาได้วางแผนการรบครั้งนี้ในชื่อ ปฏิบัติการดีแทชเมนต์ (Operation Detachment) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะยึดสนามบินที่อยู่บนเกาะนี้ใช้เป็นฐานบินโจมตีประเทศญี่ปุ่น

การรบครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการรบที่ดุเดือดที่สุดครั้งหนึ่ง เพราะกองทัพจักรววรดิญี่ปุ่นสร้างแนวป้องกันเกาะไว้อย่างหนาแน่นด้วยสนามเพลาะจำนวนมาก ปืนใหญ่ที่ถูกอำพรางไว้ตามจุดต่างๆ และอุโมงค์ที่ขุดไว้รอบเกาะรวมความยาวได้ 18 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังเป็นการโจมตีแผ่นดินแม่ของญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกของกองทัพสหรัฐอเมริกา ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้พยายามรักษาเกาะไว้ให้ได้นานที่สุด ทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตไปในการรบครั้งนี้กว่า 20,000 จากจำนวนทั้งหมดเกือบ 22,000 คน และเหลือรอดเป็นเชลยเพียง 216 คนเท่านั้น

ในการรบครั้งนี้ โจ โรเซนธัล ช่างภาพจากสำนักข่าวเอพีได้ถ่ายภาพการปักธงชาติสหรัฐอเมริกาของทหารเรือเสนารักษ์และทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯ ที่ยอดเขาสุริบาชิ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดในการรบครั้งนี้ ที่จริงแล้วภาพดังกล่าวเป็นภาพของการปักธงครั้งที่ 2 ส่วนภาพการปักธงครั้งแรกนั้นเป็นภาพถ่ายของหลุยส์ อาร์. โลว์เวอรี ช่างภาพนาวิกโยธินสหรัฐฯ เหตุที่มีการปักธง 2 ครั้งก็เพราะว่านายทหารระดับสูงของกองทัพเรือสหรัฐฯ ต้องการเก็บธงที่ปักไว้ผืนแรกเป็นที่ระลึก

ลักษณะสมรภูมิ

เกาะอิโวะจิมะเป็นเกาะภูเขาไฟซึ่งอยู่ทางใต้กรุงโตเกียวไปประมาณ 1,200 กม. (650 ไมล์ทะเล) และอยู่ทางเหนือของเกาะกวมไปประมาณ 1,300 กม. (702 ไมล์ทะเล) และเกือบอยู่กึ่งกลางระหว่างโตเกียวและเกาะไซปัน เกาะมีพื้นที่ประมาณ 21 ตารางกิโลเมตร ทางตอนใต้ของเกาะอิโวะจิมะคือที่ตั้งของภูเขาสุริบาชิ ซึ่งมียอดเขาสุริบาชิเป็นจุดสูงสุดของเกาะ

ประวัติ

ทหารอเมริกันกับธงชาติสหรัฐฯ บทยอดเขาสุริบาชิ
(ธงในภาพนี้เป็นธงที่ปักในครั้งที่ 2 ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าธงที่ปักครั้งแรก)

หลังจากที่หมู่เกาะมาร์แชลถูกบุกยึดโดยกองทัพอเมริกัน และหมู่เกาะทรักที่อยู่ใกล้กับหมู่เกาะแคโรลีน ถูกกองทัพอากาศอเมริกันโจมตีอย่างหนักหน่วงที ใน พ.ศ. 2487 ทำให้กองบัญชาการของญี่ปุ่นต้องทำการวิเคราะห์สถานการณ์รบอีกครั้ง โดยทุกเบาะแสชี้ว่ากองทัพอเมริกันจะมุ่งโจมตีไปที่หมู่เกาะมารีนาและหมู่เกาะแคโรลีน เพื่อตั้งรับการบุกตรงจุดนั้น จึงมีการตั้งแนวป้องกันชั้นใน ซึ่งเริ่มจากหมู่เกาะแคโรลีนเหยียดขึ้นไปทางเหนือจนถึงหมู่เกาะมารีอานนา และขึ้นเหนือไปอีกจนถึงหมู่เกาะโอกะสะวาระ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2487 กองพลที่สามสิบเอ็ด นำโดยพลเอกฮิเดะโยชิ โอบาตะ จึงถูกเรียกเข้าประจำการแนวป้องกันชั้นในนี้ ส่วนผู้บัญชาการประจำฐานทัพที่เกาะชิชิจิมานั้นได้รับแต่งตั้งให้ควบคุมกองกำลังภาคพื้นดินและภาคพื้นสมุทรประจำหมู่เกาะโอกะสะวาระอย่างพอเป็นพิธีเท่านั้น

หลังจากที่กองทัพอเมริกันสามารถบุกยึกฐานทัพในหมู่เกาะมาร์แชลในการรบที่เกาะเควจลินและเกาะเอนิวิท็อกได้ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 กำลังเสริมจากทั้งภาคพื้นดินและภาคพื้นสมุทรจึงถูกส่งมายังเกาะอิโวะจิมะ โดยทหาร 500 นายจากฐานทัพเรือที่โยโกะสุกะ กับอีก 500 นายจากชิชิจิม่าได้เคลื่อนพลมาถึงเกาะอิโวะจิมะในระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายนในปี 1944 ในเวลาเดียวกันนั้น เมื่อกำลังเสริมจากชิชิจิมาและหมู่เกาะแผ่นดินแม่มาถึงเกาะ กองทัพรักษาการณ์บนเกาะอิโวะจิมะก็มีกำลังพลกว่า 5,000 คน และมีสรรพาวุธเป็นปืนใหญ่ 13 กระบอก, ปืนกลขนาดเบาและหนัก 200 กระบอก และปืนยาว 4,552 กระบอก นอกจากนี้ กองทัพรักษาการณ์ยังครอบครองปินใหญ่ 120 มม. ติดชายฝั่งหลายกระบอก, ปืนต่อสู้อากาศยานขนาดหนัก 12 กระบอก และปืนลำกล้องคู่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 25 มม. อีก 30 กระบอก

ความพ่ายแพ้ที่หมู่เกาะมารีอานนาในฤดูร้อนของปี พ.ศ. 2487 ทำให้ญี่ปุ่นยิ่งต้องให้ความสำคัญกับหมู่เกาะโอกาสะวาระ เนื่องจากการเสียหมู่เกาะนี้ไปจะทำให้กองกำลังอเมริกันสามารถทำการโจมตีทางอากาศกับหมู่เกาะบนแผ่นดินแม่ได้ ซึ่งจะรบกวนการผลิตอาวุธสงครามและทำให้ขวัญกำลังใจของประชาชนลดลงอย่างยิ่ง

หากแต่ แผนสุดท้ายเพื่อป้องกันเกาะโอกาสะวาระของญี่ปุ่นนั้น เป็นอันต้องตกไป เนื่องด้วยข้อเท็จจริงที่ว่ากองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นนั้นสูญเสียกำลังไปจนแทบไม่เหลือแล้ว และไม่สามารถป้องกันการบุกขึ้นฝั่งของกองทัพอเมริกันได้อีกต่อไป นอกจากนี้ กองกำลังอากาศยานก็ประสบกับความสูญเสียอย่างหนัก ถึงขนาดที่ แม้ว่าการผลิตเครื่องบินรบของญี่ปุ่นจะไม่ถูกรบกวนด้วยการโจมตีทางอากาศของอเมริกาก็ตาม แต่จำนวนเครื่องบินรบของญี่ปุ่นก็ยังไม่น่าจะถึง 3,000 ลำ ภายในเดือนมีนาคมหรือเมษายน ในปี พ.ศ. 2488 อีกทั้ง เครื่องบินเหล่านี้ก็ไม่สามารถบินจากหมู่เกาะแผ่นดินแม่มาโจมตีเกาะอิโวะจิมะได้ เนื่องจากระยะบินของเครื่องบินนั้นไม่สามารถบินเกินระยะ 900 กม. ได้ นอกจากนี้ เครื่องบินรบที่เหลือทั้งหมดยังต้องถูกนำไปเผื่อไว้ใช้กับไต้หวันและเกาะอื่นๆ ที่อยู่ใกล้กับฐานทัพอีกด้วย

ในการศึกษาหลังสงคราม นายทหารญี่ปุ่นได้อธิบายกลยุทธที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับการป้องกันเกาะอิโวจิม่า โดยยึดหลักดังต่อไปนี้:

"จากสถานการณ์ที่เป็นในตอนนั้น เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะทำการปฏิบัติการณ์ทางบก, ทะเลหรืออากาศใดๆ บนเกาะอิโวะจิมะ แล้วหวังจะประสบกับชัยชนะได้เลย ดังนั้น เพื่อซื้อเวลาที่จำเป็นในการเตรียมการป้องกันมาตุภูมิ กองกำลังของเราจึงควรที่จะพึ่งยุทธปัจจัยที่เอื้อต่อการป้องกันในบริเวณนั้นอย่างเต็มที่ และทำการชะลอการรุกคืบของศัตรูโดยใช้ยุทธวิธีถ่วงเวลา แม้ว่าการโจมตีแบบพลีชีพของทหารกลุ่มเล็กๆ ในกองทัพบก, เครื่องบินพลีชีพในกองทัพเรือ, การจู่โจมสายฟ้าแลบของเรือดำน้ำ และปฏิบัติการณ์ของหน่วยพลร่มของเรา ถึงแม้ว่าจะมีประสิทธิภาพ แต่ก็ควรถือว่าเป็นเพียงแค่กลยุทธลวงของเราเท่านั้น เป็นความคิดที่น่าหดหู่ที่สุด ว่าเราไม่เหลือช่องทางใดๆ เปิดให้เราได้ใช้กลยุทธใหม่ๆ ที่ได้ผุดขึ้นมาตลอดยุทธการเหล่านี้"

เครื่องบินทิ้งระเบิดอเมริกันที่บินมาจากหมู่เกาะมารีอานนา ได้ทำการโจมตีหมู่เกาะแผ่นดินแม่ เป็นประจำทุกวัน (ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในยุทธการสคาเวนเจอร์) เกาะอิโวะจิมะจึงทำหน้าที่เป็นสถานีเตือนภัยล่วงหน้า ซึ่งจะคอยวิทยุรายงานถึงเครื่องบินที่กำลังใกล้เข้ามา ส่งสัญญาณกลับไปยังแผ่นดินแม่ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นสามารถตระเตรียมการป้องกันทางอากาศเพื่อตั้งรับการทิ้งระเบิดของอเมริกาได้อย่างทันท่วงที

หลังจากการรบแห่งเกาะเลเตที่ฟิลิปปินส์ได้สิ้นสุดลง ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงเหลือเวลาอีกสองเดือนเต็ม ที่จะเริ่มปฏิบัติการณ์เพื่อเตรียมการบุกยึดเกาะโอกินาวา ในส่วนของเกาะอิโวะจิมะนั้น ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์อย่างมาก เนื่องจากเกาะนี้เป็นฐานทัพอากาศให้กับเครื่องบินรบญี่ปุ่นที่คอยเข้าสกัดเครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกล B-29 ทั้งยังเป็นท่าจอดเรือรบญี่ปุ่นในยามฉุกเฉิน การยึดเกาะอิโวะจิมะจะกำจัดปัญหาเหล่านี้ไป และจะปูทางให้กับการบุกยึดแผ่นดินแม่ของญี่ปุ่น การบุกยึดจะทำให้ระยะทางที่ B-29 จะต้องบินลดลงไปเกือบครึ่ง และจะเป็นฐานให้กับเครื่องบินขับไล่มัสแตง P-51 ได้ทำหน้าที่ได้การคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิด ฝ่ายข่าวกรองนั้นมั่นใจว่าอิโวะจิมะจะถูกยึดภายใน 5 วันแน่นอน หารู้ไม่ว่าฝ่ายญี่ปุ่นได้เตรียมการป้องกันมาอย่างสมบูรณ์แบบ และใช้กลยุทธที่แตกต่างจากการรบที่ผ่านๆ มา การป้องกันนั้นดีมากเสียจนระเบิดเป็นร้อยๆ ตันจากเครื่องบินทิ้งระเบิดและปืนใหญ่ที่ระดมยิงจากเรือรบเป็นพันๆ นัดของฝ่ายพันธมิตร แทบจะทำอะไรกับฝ่ายป้องกันไม่ได้เลย ทั้งยังพร้อมที่จะสร้างความเสียหายกับนาวิกโยธินสหรัฐฯ อย่างร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในสงครามแปซิฟิก เมื่อข้อมูลข่าวกรองเป็นใจ การบุกยึดเกาะอิโวะจิมะจึงได้รับการอนุมัติ โดยการบุกขึ้นหาดมีชื่อรหัสปฏิบัติการว่า "ปฏิบัติการดีแทชเมนต์"

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA