ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เส้นใยอาหาร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
DixonDBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต แก้ไข: ko:식이 섬유
บรรทัด 43: บรรทัด 43:
[[it:Fibra alimentare]]
[[it:Fibra alimentare]]
[[ja:食物繊維]]
[[ja:食物繊維]]
[[ko:식이섬유]]
[[ko:식이 섬유]]
[[ms:Serabut diet]]
[[ms:Serabut diet]]
[[nl:Voedingsvezels]]
[[nl:Voedingsvezels]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:56, 25 ตุลาคม 2555

ใยอาหาร (อังกฤษ: dietary fiber) คือ ส่วนของพืช ผัก ผลไม้ที่คนเรากินได้ แต่ไม่ถูกย่อยโดยน้ำย่อยของคน แต่อาจถูกย่อยโดยจุลินทรีย์บางชนิดในทางเดินอาหารของคน ใยอาหารเป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ ๆ

ใยอาหารแบ่งเป้นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ

  1. ใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ ช่วยเพิ่มกากอาหาร และทำความสะอาดทางเดินอาหาร
  2. ใยอาหารละลายน้ำ พวกนี้ เมื่อละลายน้ำ จะมีลักษณะเป็นเจล สามารถจับน้ำตาล ดูดซับน้ำมันได้

ใยอาหาร มีประโยชน์ต่อร่างกายในแง่ช่วยให้การขับถ่ายสะดวก ช่วยจับไขมันจากอาหาร ลดการดูดซึมพวกน้ำตาล ดังนั้นจึงมีผลดีต่อคนเป็นเบาหวาน ช่วยป้องกันการดูดซึมของสารก่อมะเร็ง เพราะขับถ่ายออกได้เร็ว และลดการสัมผัสต่อผนังลำไส้ นอกจากนี้ยังช่วยในการลดน้ำหนัก เนื่องจากทำให้ปริมาณอาหารมากขึ้น มีการดูดน้ำเข้ามาในทางเดินอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว ลดการบริโภคอาหารลง

ผลต่อการขับถ่าย ใยอาหารชนิดที่เป็นเซลลูโลส มีคุณสมบัติอุ้มน้ำ ทำให้อุจจาระอ่อน ขับถ่ายดี ท้องไม่ผูก ทำให้ไม่เป็นโรคริดสีดวงทวาร ลำไส้โป่งพอง และมะเร็งลำไส้ใหญ่

แหล่งอาหารที่มีใยอาหารสูง ได้แก่

นอกจากนี้พบได้ใน ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดพืช และข้าวซ้อมมือ มนุษย์ต้องการใยอาหารวันละ 25 กรัม สำหรับเด็กปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน = อายุ + 5 เช่นอายุ 12 ปี ปริมาณใยอาหารที่ควรบริโภค = 12+5 = 17 กรัม เป็นต้น

การที่จะได้รับใยอาหารให้เพียงพอ ควรได้รับผักประมาณ 2 ทัพพี ต่อมื้อ และกินข้าวกล้อง มีผลไม้ 3 - 4 ส่วนต่อวัน ถ้าได้รับใยอาหารมากเกินไป โดยเฉพาะได้จากยาเม็ดสกัดใยอาหาร อาจทำให้มีการขับแคลเซียม เหล็ก สังกะสี แมกนีเซียม ออกทางอุจจาระได้