ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระรอกอิรวดี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink: คอมมอนส์-หมวดหมู่
Thijs!bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: nl:Callosciurus pygerythrus
บรรทัด 42: บรรทัด 42:
[[es:Callosciurus pygerythrus]]
[[es:Callosciurus pygerythrus]]
[[eu:Callosciurus pygerythrus]]
[[eu:Callosciurus pygerythrus]]
[[nl:Callosciurus pygerythrus]]
[[sr:Иравадијска веверица]]
[[sr:Иравадијска веверица]]
[[zh:蓝腹松鼠]]
[[zh:蓝腹松鼠]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:27, 15 ตุลาคม 2555

กระรอกท้องแดง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Rodentia
วงศ์: Sciuridae
สกุล: Callosciurus
สปีชีส์: C.  pygerythrus
ชื่อทวินาม
Callosciurus pygerythrus
(I. Geoffroy Saint Hilaire, 1832)
ชนิดย่อย
  • C. p. pygerythrus
  • C. p. blythii
  • C. p. janetta
  • C. p. lokroides
  • C. p. mearsi
  • C. p. owensi
  • C. p. stevensi

กระรอกท้องแดง หรือ กระรอกอิระวดี หรือที่นิยมเรียกกันว่า กระรอกสวน (อังกฤษ: Belly-Banded Squirrel, Irrawaddy Squirrel) เป็นกระรอกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Callosciurus pygerythrus จัดเป็นกระรอกขนาดกลาง มีความยาวลำตัวประมาณ 21 เซนติเมตร ความยาวหางประมาณ 18 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 280 กรัม มีสีลำตัวและหางสีน้ำตาล หลังมีแถบสีดำ ส่วนท้องเป็นสีแดง

มีการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้างขวาง คือ พบตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้, ตอนใต้ของจีน, พม่า, ไทย, ลาว, เวียดนามจนถึงคาบสมุทรมลายู มีชนิดย่อย 7 ชนิดด้วยกัน โดยในประเทศไทยนับเป็นกระรอกชนิดที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย โดยสามารถพบได้ทั่วไปตามพื้นที่สวนหรือสวนสาธารณะในเขตตัวเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร จึงทำให้ได้อีกชื่อหนึ่งที่นิยมเรียกกันว่า "กระรอกสวน" ในภูมิภาคพบได้ทั่วประเทศ

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็มีการนิยมซื้อขายและเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเหมือนกระรอกชนิดอื่น ๆ ทั่วไป

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Callosciurus pygerythrus ที่วิกิสปีชีส์