ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วลาดีมีร์ ปูติน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต แก้ไข: ca:Vladímir Vladímirovitx Putin
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: ลิงก์บทความคัดสรร af:Wladimir Poetin
บรรทัด 95: บรรทัด 95:
{{Link FA|he}}
{{Link FA|he}}
{{Link GA|zh}}
{{Link GA|zh}}
{{Link FA|af}}


[[ab:Владимир Путин]]
[[ab:Владимир Путин]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:00, 15 ตุลาคม 2555

วลาดีมีร์ วลาดีมีโรวิช ปูติน
Владимир Владимирович Путин
ภาพครึ่งตัวทางการของปูติน
ประธานาธิบดีรัสเซีย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรีวิคตอร์ ชูกอฟ์ (รักษาการ)
ดมีตรี เมดเวเดฟ
ก่อนหน้าดมีตรี เมดเวเดฟ
ดำรงตำแหน่ง
31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ก่อนหน้าบอริส เยลต์ซิน
ถัดไปดมีตรี เมดเวเดฟ
นายกรัฐมนตรีรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2542 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
ประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน
ก่อนหน้าเซียร์เกย์ สเตปาชิน
ถัดไปมิฮาอิล คัสยานอฟ
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ประธานาธิบดีดมีตรี เมดเวเดฟ
ก่อนหน้าวิคตอร์ ซุบคอฟ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 ตุลาคม พ.ศ. 2495 (71 55)
เลนินกราด สหภาพโซเวียต
ศาสนานิกายรัสเซียนออร์ทอดอกซ์
คู่สมรสลุดมีลา ปูตินา
ลายมือชื่อ

วลาดีมีร์ วลาดีมีโรวิช ปูติน (รัสเซีย: Владимир Владимирович Путин; อังกฤษ: Vladimir Vladimirovich Putin, เกิด 7 ตุลาคม พ.ศ. 2495) เป็นนักการเมืองรัสเซียผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียคนที่สี่และคนปัจจุบัน เช่นเดียวกับประธานพรรคยูไนเต็ดรัสเซียและประธานสภารัฐมนตรีสหภาพรัสเซียและเบลารุส เขารักษาการตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เมื่อประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซินลาออกจากตำแหน่งในการเคลื่อนไหวอันน่าประหลาดใจ ปูตินชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี พ.ศ. 2543 และใน พ.ศ. 2547 เขาได้รับเลือกตั้งกลับมาเป็นสมัยที่สอง ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

เพราะถูกจำกัดสมัยการดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ ปูตินจึงไม่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สาม หลังชัยชนะของผู้สืบทอดเขา ดมีตรี เมดเวเดฟ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี พ.ศ. 2551 เมดเวเดฟได้เสนอชื่อปูตินเป็นนายกรัฐมนตรีของรัสเซีย ปูตินดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ปูตินและเมดเวเดฟตกลงกันว่าปูตินจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สามไม่ติดต่อกันในการเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซีย พ.ศ. 2555 ซึ่งเขาชนะรอบแรกเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555[1][2]

ปูตินได้รับชื่อเสียงว่านำพาเสถียรภาพทางการเมือง[3] ระหว่างการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา เศรษฐกิจรัสเซียเติบโตขึ้นเก้าปีต่อเนื่อง โดยเห็นจีดีพีเพิ่มขึ้น 72% โดยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (หกเท่าในราคาตลาด)[4][5] ความยากจนลดลงมากกว่า 50%[6][7][8] และค่าจ้างรายเดือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 80 เป็น 640 ดอลลาร์สหรัฐ[4][9][10] ความสำเร็จนี้คาดว่ามาจากการจัดการเศรษฐกิจมหภาค การปฏิรูปนโยบายการคลังอย่างสำคัญและประจวบกับราคาน้ำมันที่สูง การไหลบ่าเข้ามาของทุนและการเข้าถึงเงินทุนภายนอกราคาถูกเพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน[11] ซึ่งนักวิเคราะห์อธิบายว่า น่าประทับใจ[12][13]

ระหว่างดำรงตำแหน่ง ปูตินผ่านกฎหมายปฏิรูปขั้นพื้นฐานหลายฉบับ รวมทั้งภาษีเงินได้อัตราเดียว การลดภาษีกำไร และประมวลที่ดินและกฎหมายใหม่[12][14] เขาทุ้มเทความพยายามอย่างมากในการพัฒนานโยบายพลังงานของรัสเซีย โดยยืนยันตำแหน่งของรัฐเซียเป็นอภิมหาอำนาจด้านพลังงาน[15][16] ซึ่งรวมถึงการฟื้นฟูอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ในประเทศและการริเริ่มการก่อสร้างท่อส่งออกหลักหลายแห่ง รวมทั้งเอสโปและนอร์ดสตรีม เช่นเดียวกับเมกะโปรเจกต์อื่น ๆ ในรัสเซีย

ขณะที่การปฏิรูปและพฤติการณ์หลายอย่างระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีถูกวิจารณ์โดยผู้สังเกตการณ์ตะวันตกและผู้ต่อต้านภายในประเทศว่าไม่เป็นประชาธิปไตย[17] การดูแลการฟื้นฟูระเบียบและเสถียรภาพของปูตินทำให้เขาได้รับความนิยมในสังคมรัสเซีย ปูตินมักสนับสนุนภาพลักษณ์ชายทรหดในสื่อ โดยแสดงความสามารถทางกายของเขาและเข้าร่วมในกิจกรรมวิสามัญหรืออันตราย เช่น กีฬาเอกซ์ตรีมและปฏิสัมพันธ์กับสัตว์ป่า[18] ปูตินเป็นนักยูโดและนักกีฬาแซมโบ เคยเป็นแชมป์เลนินกราดสมัยวัยเยาว์ ปูตินมีส่วนสำคัญในการพัฒนากีฬารัสเซีย ที่โดดเด่นคือ ช่วยให้นครโซชีชนะการประกวดเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2014

ประวัติ

วลาดีมีร์ ปูตินในวัยเด็ก เป็นช่วงที่หนังสายลับได้รับความนิยมจึงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับปูติน ในสมัยนั้นมีอาชีพอยู่เพียงสองประเภทที่สามารถเป็นสายลับได้คือต้องเป็นทหารหรือจบนิติศาสตร์

วลาดีมีร์ ปูตินได้ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สาขานิติศาสตร์ จบมาเขาได้ทำงานกับหน่วยสายลับได้ประจำหน่วยข่าวกรองสายลับและได้ถูกส่งไปประจำที่เยอรมนีตะวันออกในสมัยที่ยังไม่รวมประเทศ แต่ต่อมาสหภาพโซเวียตล่มสลาย เขาจึงลาออกจากเคจีบี แล้วกลับไปอยู่กับอาจารย์ที่ชื่อว่า ดร. อนาโตลี ซับซัค และช่วยหาเสียงจน ดร. อนาโตลี ซับซัคได้เป็นผู้ว่าการกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมื่อ ดร.อนาโตลี ซับซัค ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดนข้อหาข้อทุจริต แล้วปูตินเป็นลูกศิษย์ที่ไม่ยอมทิ้งอาจารย์ไป ได้หาข้อมูลมาช่วยอาจารย์จนพ้นความผิด

ต่อมาเพื่อนร่วมรุ่นมาชวนปูตินไปทำงานในทำเนียบประธานาธิบดีเยลซินในกรุงมอสโก จึงได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยบอริส เยลซิน เป็นประธานาธิบดี ต่อมา บอริส เยลซิน ได้ลาออกแล้วให้ปูตินมารักษาการณ์แทน แล้วปูตินก็ได้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ของรัสเซีย เพราะบอริส เยลซินเป็นคนแนะนำ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2547

ต่อมา เดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 นิตยสารไทม์ได้เลือกให้เขาเป็นบุคคลแห่งปี 2550 ด้วยเหตุผลว่าเขามีความเป็นผู้นำซึ่งเปลี่ยนความวุ่นวายในรัสเซียให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น โดยนิตยสารไทมส์ ได้ขนานนามแก่ปูตินว่าเป็น "ซาร์แห่งรัสเซียใหม่" แม้ว่าปูตินจะสละตำแหน่งประธานาธิบดีให้แก่ ดมีตรี เมดเวเดฟแล้วก็ตาม แต่ปูตินก็ยังคงมีอำนาจและได้รับความนิยมอยู่[19]

อ้างอิง

  1. Putin Hails Vote Victory, Opponents Cry Foul RIAN
  2. "Elections in Russia: World Awaits for Putin to Reclaim the Kremlin". The World Reporter. March 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-03. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. Krone-Schmalz, Gabriele (2008). "Der Präsident". Was passiert in Russland? (ภาษาGerman) (4 ed.). München: F.A. Herbig. ISBN 9783776625257.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 "Russians weigh Putin's protégé". Moscow. Associated Press. 3 May 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-12-29.
  5. GDP of Russia from 1992 to 2007 International Monetary Fund Retrieved on 12 May 2008
  6. Putin’s Eight Years Kommersant Retrieved on 4 May 2008
  7. Russia’s economy under Vladimir Putin: achievements and failures RIA Novosti Retrieved on 1 May 2008
  8. Putin’s Economy – Eight Years On. Russia Profile, 15 August 2007. Retrieved on 23 April 2008
  9. Putin visions new development plans for Russia China Economic Information Service Retrieved on 2008-05-08.
  10. "RUSSIA AVERAGE MONTHLY ACCRUED WAGES OF EMPLOYEES". Russia's Federal State Statistics Service.
  11. "Russian Economic Report" (PDF). World Bank. November 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-11-12.
  12. 12.0 12.1 "The Putin Paradox". Americanprogress.org. 2004-06-24. สืบค้นเมื่อ 2010-03-02.
  13. Rutland, Peter (2005). "Putin's Economic Record". ใน White, Gitelman, Sakwa (บ.ก.). Developments in Russian Politics. Vol. 6. Duke University Press. ISBN 0822335220.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  14. Sharlet, Robert (2005). "In Search of the Rule of Law". ใน White, Gitelman, Sakwa (บ.ก.). Developments in Russian Politics. Vol. 6. Duke University Press. ISBN 0822335220.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  15. Russia, China in Deal On Refinery, Not Gas by Jacob Gronholt-Pedersen. Wall Street Journal, Sept 22, 2010
  16. Did A New Pipeline Just Make Russia The Most Important Energy Superpower By Far by Graham Winfrey. Business Insider, 6 Jan 2010
  17. Treisman, D. "Is Russia's Experiment with Democracy Over?". UCLA International Institute. สืบค้นเมื่อ 31 Dec. 2007. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. Putin Bolsters Tough Guy Image With Shirtless Photos. Abcnews.go.com (2009-08-05). Retrieved on 2011-09-25.
  19. "The odd couple". The Economist. 2008-07-10.เรียกข้อมูลวันที่ 2008-07-13 (อังกฤษ)
ก่อนหน้า วลาดีมีร์ ปูติน ถัดไป
ดมีตรี เมดเวเดฟ ประธานาธิบดีรัสเซีย
(พ.ศ. 2555 —)
ยังดำรงตำแหน่ง

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link FA