ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทำเนียบขาว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink: คอมมอนส์-หมวดหมู่
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: jv:Gedung Putih
บรรทัด 74: บรรทัด 74:
[[it:Casa Bianca]]
[[it:Casa Bianca]]
[[ja:ホワイトハウス]]
[[ja:ホワイトハウス]]
[[jv:Gedung Putih]]
[[ka:თეთრი სახლი]]
[[ka:თეთრი სახლი]]
[[kk:Ақ Үй]]
[[kk:Ақ Үй]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:35, 12 ตุลาคม 2555

ทำเนียบขาว

ทำเนียบขาว หรือ ไวท์เฮาส์ (อังกฤษ: White House) เป็นบ้านอย่างเป็นทางการและสถานที่ทำงานของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1792 ถึง ค.ศ. 1800 ด้วยหินทรายและสีขาวในสไตล์จอร์เจียนยุคหลัง และกลายเป็นที่อยู่อาศัยของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาทุกคนนับตั้งแต่ประธานาธิบดีจอห์น แอดัมส์

ประวัติศาสตร์และการต่อเติม

เมื่อประธานาธิบดีทอมัส เจฟเฟอร์สัน ได้ย้ายมายังบ้านหลังนี้ในปี 1801 เขากับสถาปนิก เบนจามิน เฮนรี่ แลทโรบ (Benjamin Henry Latrobe) ได้ขยายพื้นที่อาคารออกไป โดยการสร้าง แนวเสาระเบียงสองด้านอันมีความหมายถึงการปกปิดความมั่นคงและการเก็บรักษา

ในปี 1814 ระหว่างช่วงสงครามแห่งปี 1812 คฤหาสน์หลังนี้ถูกกลุ่มทหารชาวอังกฤษเผา ทำให้กำแพงภายในและภายนอกไหม้เกรียมอย่างมาก หลังจากนั้นจึงได้มีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่เกือบทันที ประธานาธิบดีเจมส์ มอนโรได้ย้ายเข้ามาสู่บ้านที่บูรณะขึ้นใหม่นี้ในเดือนตุลาคม ปี 1817 การก่อสร้างได้ดำเนินการต่อและได้เพิ่มเติมระเบียงทางทิศใต้ (South Portico) ในปี 1824 และทางทิศเหนือ (North Portico)

ในปี 1829 เนื่องจากว่ามีคนจำนวนมากในตัวคฤหาสน์ ประธานาธิบดีทีโอดอร์ รูสเวลต์จึงได้ย้ายห้องทำงานเกือบทั้งหมดไปยังปีกตะวันตกในปี 1901 จากนั้น 8 ปีต่อมา ประธานาธิบดีวิลเลียม เอช. ทัฟต์ จึงได้ขยายส่วนที่เป็นปีกตะวันตก และได้สร้างห้องทำงานรูปไข่ห้องแรกขึ้น ห้องใต้หลังคาชั้น 3 เปลี่ยนเป็นที่ที่สามารถอยู่อาศัยได้ในปี 1927 หลังจากได้เพิ่มหลังคาที่ทันสมัยและหน้าต่างที่รับแสง มีการปรับปรุงปีกตะวันออกครั้งใหม่เพื่อใช้เป็นห้องรับรองและสำหรับงานสังคมต่างๆ ทั้งสองปีกนั้นจะเชื่อมเข้าหากันโดยแนวระเบียงเจฟเฟอร์สัน ปีกตะวันออกได้เปลี่ยนแปลงเสร็จเรียบร้อยในปี 1946 และได้มีการสร้างพื้นที่ห้องทำงานเพิ่มอีกด้วย

ต่อมา ในปี 1948 คานรับน้ำหนักที่ทำด้วยไม้ของกำแพงภายในและภายนอกบ้านนั้นดูเหมือนจะรับน้ำหนักไม่ไหว ห้องที่อยู่ภายในจึงได้ถูกรื้อออกโดยสมบูรณ์ เป็นผลให้ภายในบ้านนั้นมีเหล็กกล้าเป็นโครงสร้างหลัก และได้ต่อเติมบ้านบูรณะห้องต่างๆในบ้านขึ้นมาใหม่

ทุกวันนี้ ได้มีการรวมไปที่พักอาศัย และปีกตะวันตก-ตะวันออกเข้าด้วยกันเรียกว่า ศูนย์รวมทำเนียบขาว (The White House Complex) ทำเนียบขาวนั้นมีด้วยกัน 6 ชั้นได้แก่ ชั้นหนึ่ง ชั้นลอย ชั้นสอง ชั้นสาม และชั้นใต้ดินอีก 2 ชั้น ตั้งอยู่เลขที่ 1600 ถนนเพนซิลเวเนีย NW ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในฐานะที่เป็นที่ทำงานสำคัญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ชื่อของ "ทำเนียบขาว" จึงได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองด้วยระบบประธานาธิบดี ซึ่งนับเป็นทรัพย์สินของอุทยานแห่งชาติและเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประธานาธิบดี

นอกจากนี้ ภาพของทำเนียบขาวยังถูกนำไปใช้ในด้านหลังของธนบัตรใบละ 20 ดอลลาร์สหรัฐ อีกด้วย

โครงสร้าง

มุมมองด้านบนของทำเนียบขาว สังเกตเห็นตัวบ้านและอุทยานประธานาธิบดี

ทำเนียบขาวมีพื้นที่ใช้สอยรวม 55,000 ตารางฟุต (5,100 ตร.ม.) มีห้องทั้งหมด 132 ห้อง และสระว่ายน้ำ 1 สระ ทำเนียบขาวเป็นอาคารหลังแรกในวอชิงตัน ดี.ซี. ที่ทำทางลาดสำหรับรถเข็น ซึ่งปรับปรุงในสมัยประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ที่นั่งรถเข็นเนื่องจากอาการเจ็บป่วย

ปีกตะวันตก (The West Wing)

เพื่อเป็นการตอบสนองต่อจำนวนทีมงานของประธานาธิบดีที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีการสร้างอาคารเพิ่มอีก 2 ปีกเชื่อมกับอาคารกลาง โดยปีกตะวันตกเป็นสำนักงานของประธานาธิบดี (ห้องทำงานรูปไข่ หรือ Oval Office) และทีมงานระดับสูงอีกประมาณ 50 คน รวมถึงห้องประชุมของคณะรัฐมนตรี

ปีกตะวันออก (The East Wing)

ปีกตะวันออกถูกสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1942 เพื่อใช้ประโยชน์หลายอย่าง ใน ค.ศ. 1977 โรสลิน คาร์เตอร์ สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งได้ใช้ปีกตะวันออกเป็นสำนักงานของเธอ และตั้งชื่อว่า "สำนักงานของสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง" ซึ่งใช้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 38°53′51″N 77°02′12″W / 38.89763°N 77.03658°W / 38.89763; -77.03658