ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัปสร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: tr:Apsara
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:Dancing art Thai ancient show in the Wat Phra Thaen Sila At fair 01.jpg|thumb|150px|ระบำนางอัปสรในปัจจุบัน ในรูปแบบเดียวกันกับภาพสลักปราสาทขอมโบราณ]]
[[ไฟล์:Dancing art Thai ancient show in the Wat Phra Thaen Sila At fair 01.jpg|thumb|150px|ระบำนางอัปสรในปัจจุบัน ในรูปแบบเดียวกันกับภาพสลักปราสาทขอมโบราณ]]


บรรทัด 15: บรรทัด 14:


ในปราสาท[[นครวัด]]ของ[[กัมพูชา]] มีการสลักภาพนางอัปสรไว้มากมาย โดยที่แต่ละรูปมีใบหน้า ท่าทาง และการแต่งกายที่แตกต่างกันไป
ในปราสาท[[นครวัด]]ของ[[กัมพูชา]] มีการสลักภาพนางอัปสรไว้มากมาย โดยที่แต่ละรูปมีใบหน้า ท่าทาง และการแต่งกายที่แตกต่างกันไป

== อ้างอิง ==
* Marchal, Sappho. ''Khmer Costumes and Ornaments of the Devatas of Angkor Wat''. First English edition. Orchid Press, 2005. ISBN 978-974-524-057-5


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:36, 9 ตุลาคม 2555

ระบำนางอัปสรในปัจจุบัน ในรูปแบบเดียวกันกับภาพสลักปราสาทขอมโบราณ

อัปสร หรือ นางอัปสร (สันสกฤต: अप्सराः อปฺสราห์, พหูพจน์ अप्सरसः อปฺสรสห์) ถือเป็นชาวสวรรค์จำพวกหนึ่ง มีเพศเป็นหญิง อาจเรียกว่า นางฟ้า ก็ได้ แต่ไม่ใช่เทวดา มีฐานะเป็นอมนุษย์ บังเกิดขึ้นเมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทร เพื่อเอาน้ำอมฤตขึ้นมา ดังความปรากฏในมหากาพย์มหาภารตะ ของอินเดีย

คำว่า "อัปสร" นั้น มาจากคำว่า "อัป" (หมายถึง น้ำ) และ "สร" (หมายถึง การเคลื่อนไป) อัปสร จึงหมายถึง ผู้ที่เคลื่อนไปในน้ำ อันเป็นกำเนิดของนาง ทว่าโดยทั่วไป ถือว่านางเป็นชาวสวรรค์

ในเรื่องเล่าของอินเดียมีการกล่าวถึงนางอัปสรไว้มากมาย นับว่าเป็นตัวละครที่สำคัญตัวหนึ่งในตำนานของอินเดีย ไม่น้อยไปกว่าเทพเจ้าและชาวสวรรค์อื่นๆ

ตามตำนานของฮินดู กล่าวว่าพระพรหมทรงสร้างนางอัปสรขึ้น และเป็นนางบำเรออยู่ในราชสำนักของพระอินทร์ ในคัมภีร์นาฏยศาสตร์ ได้กล่าวถึงนางอัปสรที่สำคัญไว้หลายตนด้วยกัน เช่น มัญชุเกศี, สุเกศี, มิสรเกศี, สุโลจนะ, เสาทมิณี, เทวทัตตะ, เทวเสนะ, มโนรม, สุทาติ, สุนทรี, วิคัคธะ, วิวิธ, พุธ, สุมล, สันตติ, สุนันทา, สุมุขี, มาคธี, อรชุนี, สรลา, เกระลา, ธฤติ, นันทา, สุปุษกลา, สุปุษปมาลา และ กาลภา

นางอัปสรมีอำนาจแปลงกายได้ ทั้งยังมีความสามารถในการขับร้องและเต้นรำเป็นอย่างยิ่ง ในราชสำนักของพระอินทร์มีนางอัปสรอยู่ 26 ตน แต่ละตนมีความสามารถในเชิงศิลปะต่างๆ กัน เทียบได้กับตำนานมูเซ (muse) ของกรีกโบราณ

นอกจากนี้ยังมีตำนานกล่าวต่อไปว่า นางอัปสรนั้นเป็นชายาของคนธรรพ์ ซึ่งเป็นนักดนตรีในสวรรค์ โดยนางจะเต้นรำไปตามจังหวะดนตรีที่สามีของตนบรรเลง โดยทั่วไปมีความเชื่อว่านางอัปสรเป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญงอกงาม แต่บางถิ่นก็เชื่อว่าอัปสรมีอำนาจแห่งความชั่วร้ายอยู่ด้วย

ในปราสาทนครวัดของกัมพูชา มีการสลักภาพนางอัปสรไว้มากมาย โดยที่แต่ละรูปมีใบหน้า ท่าทาง และการแต่งกายที่แตกต่างกันไป

อ้างอิง

  • Marchal, Sappho. Khmer Costumes and Ornaments of the Devatas of Angkor Wat. First English edition. Orchid Press, 2005. ISBN 978-974-524-057-5

แหล่งข้อมูลอื่น