ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขตอัครบิดร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: pl:Monarchia patrymonialna, es:Patriarcado (iglesia), sv:Patriarkat (kristendom) แก้ไข: no:Patriark
Esoglou (คุย | ส่วนร่วม)
เรื่องที่แตกต่างกัน
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
[[nl:Patriarchaat (kerk)]]
[[nl:Patriarchaat (kerk)]]
[[no:Patriark]]
[[no:Patriark]]
[[pl:Monarchia patrymonialna]]
[[ru:Патриархат (церковь)]]
[[ru:Патриархат (церковь)]]
[[sv:Patriarkat (kristendom)]]
[[sv:Patriarkat (kristendom)]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:49, 8 ตุลาคม 2555

เขตอัครบิดร[1] (อังกฤษ: Patriarchate) เป็นเขตอำนาจการปกครองของอัครบิดร (Patriarch) คำว่า “อัครบิดร” อาจจะใช้สำหรับ

ประวัติ

ตำแหน่งอัครบิดร (Pentarchy) เดิมมี 5 ตำแหน่ง ประกอบด้วยสมเด็จพระสันตะปาปาซึ่งเป็นอัครบิดรแห่งโรม อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล, อัครบิดรแห่งอเล็กซานเดรีย อัครบิดรแห่งแอนติออก และอัครบิดรแห่งเยรูซาเลม ในปี ค.ศ. 1054 เกิดความแตกแยกระหว่างคริสตจักรตะวันออกและตะวันตก (East-West Schism) ทำให้คริสตจักรแยกออกเป็นเขตอัครบิดรที่ใช้ภาษาละติน คือนิกายโรมันคาทอลิกในปัจจุบัน และสี่เขตอัครบิดรที่ใช้ภาษากรีกซึ่งเป็นนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ในปัจจุบัน ส่วนอัครบิดรแห่งแอนติออกย้ายสำนักไปตั้งที่ดามัสกัสในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ในระหว่างสมัยการปกครองของมามลุคอียิปต์ผู้พิชิตซีเรีย แม้ว่าจะตั้งอยู่ในดามัสกัสแล้ว แต่ตำแหน่งนี้ก็ยังเรียกว่าอัครบิดรแห่งแอนติออก

ตำแหน่งอัครบิดรของออร์ทอดอกซ์ทั้งสี่ อันได้แก่ คอนสแตนติโนเปิล, อเล็กซานเดรีย, อันติโอค, และ เยรูซาเลม และหนึ่งตำแหน่งทางตะวันตกในกรุงโรมถือกันว่าเป็นตำแหน่ง “ผู้อาวุโส” (กรีก: πρεσβυγενή หรือ παλαίφατα หรือ “ผู้เกิดก่อน” "of ancient fame") โดยแต่ละตำแหน่งก็มีหนึ่งในอัครทูตเป็นอัครบิดรองค์แรก ได้แก่ นักบุญแอนดรูว์ นักบุญมาร์ค นักบุญปีเตอร์ นักบุญเจมส์ และนักบุญปีเตอร์อีกครั้งตามลำดับ

ในบางประเทศให้เขตอัครบิดร (Patriarchate) มีสถานะเป็นนิติบุคคลคือถือว่าเป็นบรรษัท (corporation) แบบหนึ่ง สามารถดำเนินการฟ้องร้องคดีในศาลได้


อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 375-6
  • Catholic Encyclopedia: Patriarch and Patriarchate[1]

ดูเพิ่ม